อาระเบียนไฟต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Arabian Fight)
อาระเบียนไฟต์
ใบปลิวอาระเบียนไฟต์ ฉบับอาร์เคดของญี่ปุ่น
ผู้พัฒนาเซกา เอเอ็ม2
ผู้จัดจำหน่ายเซกา
เครื่องเล่นอาร์เคด
วางจำหน่ายมกราคม ค.ศ. 1992
แนวบีตเอ็มอัป
เกมต่อสู้
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, ผู้เล่นสี่คนร่วมมือกัน
ระบบอาร์เคดเซกาซิสเต็ม 32

อาระเบียนไฟต์ (ญี่ปุ่น: アラビアンファイト; อังกฤษ: Arabian Fight) เป็นเกมตู้แนวบีตเอ็มอัปแบบเลื่อนฉากด้านข้างที่ได้รับการเปิดตัวโดยเซกาในปี ค.ศ. 1992 (แม้ว่าปีลิขสิทธิ์บนหน้าจอจะเป็นปี ค.ศ. 1991 เมื่อเกมได้กำเนิดและผลิตก่อนเปิดตัว) เช่นเดียวกับเกมอาร์เคดของเซกาหลายเกมที่ไม่เคยนำเข้าสู่ระบบคอนโซลบ้าน และดูเหมือนว่าจะได้รับการเปิดตัวในการแข่งขันโดยตรงกับเกมแนวอาหรับของไทโทอย่างอาระเบียนเมจิก ซึ่งได้รับการเปิดตัวในปี ค.ศ. 1992

รูปแบบการเล่น[แก้]

ภาพจับหน้าจอของรูปแบบการเล่น

รูปแบบการเล่นมีความคล้ายคลึงกับเกมแนวบีตเอ็มอัปทั้งหลายในยุคสมัยก่อน รวมถึงเกมแบบเลื่อนฉากด้านข้างอื่น ๆ ของเซกาอย่างโกลเดนแอกซ์ และสตรีตออฟเรจ โดยใช้ปุ่มการกระทำสามปุ่ม ประกอบด้วยหนึ่งปุ่มต่อย, หนึ่งปุ่มเตะ และหนึ่งปุ่มสำหรับการโจมตีพิเศษ ในกรณีนี้ จะเป็นการใช้เวทมนตร์ ซึ่งคล้ายกับการโจมตีพิเศษของโกลเดนแอกซ์ ตัวละครยังสามารถทุ่มคู่ต่อสู้ และสามารถรวบรวมไอเท็มจากหีบ เช่นเดียวกับศัตรูบางราย ที่จะให้คะแนนพิเศษ, ฟื้นฟูพลังชีวิต และมอบการโจมตีพิเศษให้แก่ตัวละคร

เกมดังกล่าวใช้เทคนิคสไปรต์สเกลเพื่อให้ตัวละครเคลื่อนที่ไปด้านหลังสุดของหน้าจอ และให้ความรู้สึกของระยะใกล้ไกล เกมนี้ยังใช้ฉากหน้า ซึ่งบางสิ่งที่ไม่ค่อยทำในเวลานี้ เมื่อตัวละครทำการโจมตีพิเศษใกล้กับหน้าจอมาก จะมีเฉพาะลำตัวและศีรษะพอดี ในทำนองเดียวกัน ศัตรูก็สามารถกระโดดมาจากฉากหน้าเพื่อต่อสู้เช่นกัน (ตัวละครไม่สามารถโจมตีได้ขณะอยู่ในภาพเคลื่อนไหวเหล่านี้)

เรื่องย่อ[แก้]

ชีคซาซาบิสผู้ประพฤติชั่วได้ลักพาตัวเจ้าหญิงลูรานา และเขาใช้ประโยชน์จากวิธีไร้ยางอายทุกอย่างที่เขามี เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดในการยึดครองโลก สี่นักรบผู้กล้าหาญจึงได้มาเผชิญหน้ากับซาซาบิส ในขณะที่พวกเขาต่อสู้เพื่อช่วยชีวิตเจ้าหญิงลูรานา ทั้งสี่คนได้ใช้เวทมนตร์โดยสมัครใจ เพื่อสิ่งที่มีค่าที่สุดของพวกเขา โดยเดินทางไปยังปราสาทซาซาบิสเพื่อช่วยเจ้าหญิงและโลก

ตัวละคร[แก้]

ผู้เล่นสี่คนสามารถเล่นพร้อมกัน ด้วยหนึ่งในสี่ตัวละครที่เลือกได้ ได้แก่ ซินแบท (ไม่ใช่การสะกดคำผิดของ "ซินแบด"), รามายา, โกลดอร์ และทัตตา โดยซินแบทในเกมเป็นพระเอกหน้าตาดี, รามายาเป็นหญิงสาวทรงเสน่ห์, โกลดอร์เป็นตัวละครร่างกำยำที่ดูเหมือนว่าจะแก่กว่าซินแบทและรามายา ส่วนทัตตานั้นเป็นชายศีรษะโล้นที่มีรูปลักษณ์ในทางพระ

การตอบรับ[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนได้จัดอันดับอาระเบียนไฟต์ในฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 ว่าเป็นหน่วยเกมอาร์เคดบนโต๊ะที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอันดับเจ็ดของปี[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Game Machine's Best Hit Games 25 - テーブル型TVゲーム機 (Table Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 425. Amusement Press, Inc. 1 May 1992. p. 25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]