โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Anorexia nervosa)
โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ
ชื่ออื่นAnorexia
ภาพวาด "นางสาว A—" ในปี ค.ศ. 1866 และหลังรับการรักษาในปี ค.ศ. 1870 เธอเป็นผู้ป่วยโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจรายแรก ๆ ที่มีการบันทึกไว้
ภาพจากเอกสารการแพทย์ของวิลเลียม กอล
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
อาการน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์, อาการกลัวน้ำหนักขึ้น, มีความต้องการผอมอย่างมาก, การจำกัดอาหาร[1]
ภาวะแทรกซ้อนโรคกระดูกพรุน, ภาวะการมีบุตรยาก, โรคหัวใจ, การฆ่าตัวตาย[1]
การตั้งต้นวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[1]
สาเหตุไม่ทราบ[2]
ปัจจัยเสี่ยงประวัติในครอบครัว, นักกีฬา, นักเดินแบบ, นักเต้นรำ[2][3][4]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ, โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา, ความผิดปกติเหตุสารเสพติด, ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน, โรคลำไส้อักเสบ, การกลืนลำบาก, มะเร็ง[5][6]
การรักษาการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม, การรักษาด้วยการเพิ่มน้ำหนักในโรงพยาบาล[1][7]
พยากรณ์โรคเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 5% หากป่วยเกินกว่า 10 ปี[3][8]
ความชุก2.9 ล้านคน (ค.ศ. 2015)[9]
การเสียชีวิต600 คน (ค.ศ. 2015)[10]

โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ (อังกฤษ: anorexia nervosa) หรือ อะนอเร็กเซีย เป็นความผิดปกติของการรับประทานที่ผู้ป่วยมีลักษณะน้ำหนักลด จำกัดอาหาร มีความกลัวน้ำหนักขึ้นและมีความต้องการที่จะผอมอย่างมาก[1] ผู้ป่วยอะนอเร็กเซียมักมองว่าตัวเองมีน้ำหนักเกินทั้งที่ในความจริงมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมักปฏิเสธว่าตัวเองมีปัญหาด้านน้ำหนักลด พวกเขามักใช้วิธีลดน้ำหนักด้วยการทานน้อย ออกกำลังกายอย่างหนัก ทำให้ตัวเองอาเจียนหรือใช้ยาระบาย[1] ภาวะแทรกซ้อนจากโรคนี้ได้แก่โรคกระดูกพรุน ภาวะการมีบุตรยาก โรคหัวใจ ในผู้หญิงมักพบภาวะขาดประจำเดือน[3]

สาเหตุของอะนอเร็กเซียยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ายีนบางตัวส่งผลต่อผู้ป่วยที่เป็นแฝดแท้มากกว่า[2] ปัจจัยด้านสังคมที่ให้คุณค่ากับความผอมส่งผลให้อัตราโรคนี้สูงขึ้นเช่นกัน โรคอะนอเร็กเซียพบได้ในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับรูปลักษณ์เช่น นักกีฬา นักเดินแบบและนักเต้นรำ รวมถึงหลังจากประสบความเครียดหรือเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อจิตใจ[3] การวินิจฉัยทั่วไปจะใช้การวัดน้ำหนักและแบ่งความรุนแรงตามดัชนีมวลกาย (BMI) ในผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคอะนอเร็กเซียระดับต่ำจะมีค่า BMI สูงกว่า 17, ระดับกลาง BMI 16-17, ระดับสูง BMI 15-16 และระดับร้ายแรง BMI ต่ำกว่า 15[3] โรคอะนอเร็กเซียมีภาวะตั้งต้นในช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[1]

การรักษาโรคอะนอเร็กเซียจะเป็นการฟื้นฟูน้ำหนัก รักษาด้านจิตใจและพฤติกรรม มีรายงานว่าการบำบัดแบบอื่น ๆ เช่นการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและการบำบัดครอบครัวมอดส์ลีย์ได้ผลเช่นกัน[11] ผู้ป่วยบางรายอาจประสบโรคนี้ช่วงเดียวแล้วอาการดีขึ้น ในขณะที่บางรายอาจป่วยได้หลายช่วงในเวลาหลายปี มีรายงานว่าภาวะแทรกซ้อนจะลดลงหากกลับมามีน้ำหนักตามเกณฑ์อีกครั้ง[7]

มีผู้ป่วยอะนอเร็กเซียทั่วโลกประมาณ 2.9 ล้านคนในปี ค.ศ. 2015[9] โดยพบว่า ผู้หญิงชาวตะวันตกประมาณ 0.9-4.3% และผู้ชายชาวตะวันตก 0.2-0.3% จะประสบโรคนี้ในช่วงหนึ่งของชีวิต[12] ในปี ค.ศ. 2015 โรคนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตโดยตรงประมาณ 600 คน[10] และเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น เช่น การฆ่าตัวตาย[12] วิลเลียม กอล แพทย์ชาวอังกฤษเป็นผู้นิยามชื่อโรคและบรรยายถึงโรคนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1873[13] โดยมาจากคำในภาษากรีก ἀνορεξία (anorexía) ที่แปลว่า "ไม่อยากอาหาร" ดังนั้น anorexia nervosa จึงมีความหมายว่า "ผู้ป่วยทางจิตที่ไม่อยากอาหาร"[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "What are Eating Disorders?". NIMH. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 Attia E (2010). "Anorexia Nervosa: Current Status and Future Directions". Annual Review of Medicine. 61 (1): 425–35. doi:10.1146/annurev.med.050208.200745. PMID 19719398.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Diagnostic and statistical manual of mental disorders : DSM-5 (5 ed.). Washington: American Psychiatric Publishing. 2013. pp. 338–345. ISBN 978-0-89042-555-8.
  4. Arcelus, J; Witcomb, GL; Mitchell, A (March 2014). "Prevalence of eating disorders amongst dancers: a systemic review and meta-analysis". European Eating Disorders Review. 22 (2): 92–101. doi:10.1002/erv.2271. PMID 24277724.
  5. Parker, Robert; Sharma, Asheesh (2008). General Medicine (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 56. ISBN 978-0723434610.
  6. M.D, Michael B. First (19 November 2013). DSM-5 Handbook of Differential Diagnosis. American Psychiatric Pub. ISBN 9781585624621 – โดยทาง Google Books.
  7. 7.0 7.1 "Feeding and eating disorders" (PDF). American Psychiatric Publishing. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 May 2015. สืบค้นเมื่อ 9 April 2015.
  8. Espie J, Eisler I (2015). "Focus on anorexia nervosa: modern psychological treatment and guidelines for the adolescent patient". Adolesc Health Med Ther. 6: 9–16. doi:10.2147/AHMT.S70300. PMC 4316908. PMID 25678834.
  9. 9.0 9.1 GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence, Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282. {{cite journal}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  10. 10.0 10.1 GBD 2015 Mortality and Causes of Death, Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/S0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281. {{cite journal}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  11. Hay, P (July 2013). "A systematic review of evidence for psychological treatments in eating disorders: 2005–2012". The International Journal of Eating Disorders. 46 (5): 462–9. doi:10.1002/eat.22103. PMID 23658093.
  12. 12.0 12.1 Smink, FR; van Hoeken, D; Hoek, HW (August 2012). "Epidemiology of eating disorders: incidence, prevalence and mortality rates". Current Psychiatry Reports. 14 (4): 406–14. doi:10.1007/s11920-012-0282-y. PMC 3409365. PMID 22644309.
  13. Gull, WW (September 1997). "Anorexia nervosa (apepsia hysterica, anorexia hysterica). 1868". Obesity Research. 5 (5): 498–502. doi:10.1002/j.1550-8528.1997.tb00677.x. PMID 9385628.
  14. Douglas Harper (November 2001). "Online Etymology Dictionary: anorexia". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2019-06-15.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]