ทุเรียนเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Annona muricata)
ทุเรียนเทศ
สถานะการอนุรักษ์
ปลอดภัยจากการคุกคาม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Magnoliales
วงศ์: Annonaceae
สกุล: Annona
สปีชีส์: A.  muricata
ชื่อทวินาม
Annona muricata
L.
ผลทุเรียนเทศ
ทุเรียนเทศพันธุ์subonica
ดอกทุเรียนเทศ

ทุเรียนเทศ หรือ ทุเรียนน้ำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Annona muricata L.) ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ทุเรียนแขก (ภาคกลาง) หมากเขียบหลดหรือหมากพิลด (ภาคอีสาน) ทุเรียนน้ำ (ภาคใต้) และ มะทุเรียน (ภาคเหนือ) เป็นพืชในวงศ์เดียวกับน้อยหน่าและกระดังงา ใบเดี่ยว กลีบดอกแข็ง มีกลิ่นหอมตอนเช้า ผลมีรูปร่างคล้ายทุเรียน มีหนาม เปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดแก่สีดำ ปลูกมากในแถบอเมริกากลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพืชที่ชอบที่ที่มีความชื้นสูง

การใช้ประโยชน์[แก้]

ทุเรียนเทศใช้กินเป็นผลไม้สด และนำมาแปรรูปเป็นผลไม้กวน เยลลี่ ไอศกรีมและซอส ในมาเลเซียนำไปทำน้ำผลไม้กระป๋อง เวียดนามนิยมทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น เมล็ดมีพิษ ใช้ทำยาเบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลง ในทางโภชนาการ ทุเรียนเทศมีคาร์โบไฮเดรตมาก โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโทส วิตามินซี และวิตามินบี ผล ใบ และเมล็ดมีฤทธิ์ทางยา ใช้เป็นยาสมุนไพร ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซียใช้ใบใช้ฆ่าแมลงขนาดเล็ก ผลใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร[1] และมีสารต้านอนุมูลอิสระ[2]

ในเม็กซิโกและโคลัมเบีย เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานและใช้ทำขนม เช่นเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม agua fresca ซึ่งเป็นน้ำผลไม้ผสมนม ไอศกรีมทำจากทุเรียนเทศเป็นที่นิยม ในอินโดนีเซีย dodol sirsak ทำจากทุเรียนเทศโดยนำไปต้มในน้ำ เติมน้ำตาลจนกว่าจะแข็ง และนำไปทำน้ำผลไม้ปั่น ในฟิลิปปินส์เรียกทุเรียนเทศว่า guyabano ซึ่งน่าจะมาจากภาษาสเปน guanabana ซึ่งนิยมกินผลสุกและทำน้ำผลไม้ สมูทตี และไอศกรีม บางครั้งใช้ทำให้เนื้อนุ่ม ในเวียดนาม ทางภาคใต้เรียก mãng cầu Xiêm ส่วนทางภาคเหนือเรียก mãng cầu ใช้กินสดหรือทำสมูทตี นิยมนำเนื้อไปปั่นใส่นมข้น น้ำแข็งเกล็ดหรือทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น ในมาเลเซียและอินโดนีเซียนิยมกินเป็นผลไม้เช่นกัน ในไทยสมัยโบราณนิยมนำผลอ่อนไปแกงส้ม หรือเชื่อมแบบเชื่อมสาเก ผลสุกกินเป็นผลไม้[3]

การปลูกทุเรียนเทศ[แก้]

การปลูกทุเรียนเทศ หรือทุเรียนน้ำนั้น สามารถทำได้ไม่ยาก เพราะทุเรียนน้ำนั้นใช้วิธีขยายพันธุ์โดยเมล็ด ซึ่งเพียงแค่นำเมล็ดมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1-2 วัน จากนั้นนำไปเพาะดินผสมปกติ ต้นทุเรียนเทศจะงอกขึ้นมาได้ภายใน 7 วัน แต่ต้นกล้าจะโตช้าและออกดอกเมื่อมีอายุ3 ปีขึ้นไป และจะติดผลในปีที่ 4 ได้ผลผลิตประมาณปีละ 1.5 - 2 ตัน/ไร่ หรือหากจะใช้วิธีขยายพันธุ์แบบเสียบยอดและทาบกิ่งก็สามารถทำได้ โดยต้นทุเรียนน้ำนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดี

ความเสี่ยง[แก้]

มีงานวิจัยในแถบทะเลแคริบเบียนที่แสดงให้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการรับประทานทุเรียนเทศกับโรคพาร์คินสัน เพราะทุเรียนเทศมีannonacinซึ่งเป็นสาเหตุของโรคนี้สูง[4][5][6][7]

มีการวิจัยออกมาว่าในประเทศที่มีการใช้เมล็ดเป็นยาพื้นเมืองฆ่าพยาธิ พบว่าคนเป็นพาร์คินสัน จึงควรเลี่ยงการกินเมล็ด ในผลทุเรียนน้ำสด1ผล มีสารannonacin 15 milligrams และ1 กระป๋องของ น้ำผลไม้ที่ทำสำเร็จแล้วเพื่อการค้ามี annonacin 36 milligrams annonacin มีความเกี่ยวข้องกับ การเกิดแผลในสมอง ทำให้มีอาการแบบพาร์คินสัน จึงควรหลีกเลี่ยงการกินผลทุเรียนน้ำมากเกินไป

ทุเรียนเทศยังเป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ในยาที่ขายในตลาดในชื่อ Triamazon.[8] Triamazon นี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นยาในอังกฤษ[9]

รวมภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ทุเรียนเทศ ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 97
  1. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
  2. "ตลาดสดสนามเป้า 5 ตุลาคม 2557 แตงโม ล้วงสูตร บะหมี่ไก่กรอบชิ้นยักษ์ 4/4 [HD]". ยูทิวบ์. 5 October 2014. สืบค้นเมื่อ 6 October 2014.
  3. ยอดแต้ว อักษรา. ฟูดอับเดท: ทุเรียนเทศผลไม้โบราณที่แทบจะถูกลืมไปแล้ว. ครัว. ปีที่ 18 ฉบับที่ 214 เมษายน 2555 หน้า 12
  4. Lannuzel, A (2003-10-06). "The mitochondrial complex i inhibitor annonacin is toxic to mesencephalic dopaminergic neurons by impairment of energy metabolism". Neuroscience. International Brain Research Organization. 121 (2): 287–296. doi:10.1016/S0306-4522(03)00441-X. PMID 14521988. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  5. Champy, Pierre (2005-08-02). "Quantification of acetogenins in Annona muricata linked to atypical parkinsonism in guadeloupe". Movement Disorders. 20 (12): 1629–1633. doi:10.1002/mds.20632. PMID 16078200. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  6. Lannuzel A, Höglinger GU, Champy P, Michel PP, Hirsch EC, Ruberg M. (2006). "Is atypical parkinsonism in the Caribbean caused by the consumption of Annonacae?". J Neural Transm Suppl. Journal of Neural Transmission. Supplementa. 70 (70): 153–7. doi:10.1007/978-3-211-45295-0_24. ISBN 978-3-211-28927-3. PMID 17017523.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Caparros-Lefebvre D, Elbaz A. (1999-07-24). "Possible relation of atypical parkinsonism in the French West Indies with consumption of tropical plants: a case-control study". Lancet. 354 (9175): 281–6. doi:10.1016/S0140-6736(98)10166-6. PMID 10440304.
  8. BriefingWire, Can Graviola cure cancer?, Cancer Research UK
  9. Messenger Newspapers, 29th September 2010

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]