สงครามอังกฤษ-สเปน (ค.ศ. 1585)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Anglo–Spanish War (1585))
สงครามอังกฤษ-สเปน ค.ศ. 1585
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปดสิบปี

การประชุมระหว่างทูตอังกฤษและสเปนที่คฤหาสน์ซัมเมอร์เซ็ท
วันที่ค.ศ. 1585 - ค.ศ. 1604
สถานที่
ผล สนธิสัญญาลอนดอน[1][2]
คู่สงคราม
สเปน สเปน
โปรตุเกส โปรตุเกส (ภายใต้สเปนของฮับส์บวร์ก)
อังกฤษ อังกฤษ
สาธารณรัฐดัตช์ สาธารณรัฐดัตช์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สเปนโปรตุเกส ฟิลิปที่ 2
สเปนโปรตุเกส ฟิลิปที่ 3
สเปน Marquis of Santa Cruz
สเปน Duke of Medina Sidonia
สเปน Alexander Farnese, Duke of Parma
อังกฤษ เอลิซาเบธที่ 1
อังกฤษ ฟรานซิส เดรค
อังกฤษ จอห์น ฮอว์คินส์
อังกฤษ โรเบิร์ต ดัดลีย์ เอิร์ลแห่งเลสเตอร์ที่ 1

สงครามอังกฤษ-สเปน ค.ศ. 1585 (อังกฤษ: Anglo-Spanish War (1585)) เป็นส่วนหนึ่งของสงครามแปดสิบปีที่เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวระหว่างสเปนและอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1585 จนถึง ค.ศ. 1604 ที่มิได้มีการประกาศเป็นสงครามอย่างเป็นทางการ ในช่วงเวลานั้นก็มีการต่อสู้ในยุทธการต่างๆ เป็นบางครั้ง ที่เริ่มด้วยการรณรงค์ทางทหารของอังกฤษในเนเธอร์แลนด์ภายใต้การนำของโรเบิร์ต ดัดลีย์ เอิร์ลแห่งเลสเตอร์ที่ 1 ในการสนับสนุนฝ่ายต่อต้านการปกครองของราชวงศ์ฮับส์บวร์กในเนเธอร์แลนด์

ฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะที่คาดิซ (Cádiz) ในปี ค.ศ. 1587 และชัยชนะต่อกองเรืออาร์มาดาสเปนในปี ค.ศ. 1588 แต่มาพ่ายแพ้ในกองเรืออาร์มาดาอังกฤษในปี ค.ศ. 1589 กองเรืออาร์มาดาสเปนอีกสองกองถูกส่งมาแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนักเพราะสภาวะอากาศอันเลวร้าย

สิบปีหลังจากความพ่ายแพ้ของกองเรืออาร์มาดา สเปนก็สร้างเสริมกองทัพเรือให้แข็งแกร่งขึ้น และสามารถใช้ในการพิทักษ์การขนส่งโลหะมีค่าจากอเมริกากลับมายังสเปนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากนั้นอังกฤษก็กลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบในยุทธการต่อๆ มา แต่เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สงครามก็มาถึงจุดที่ไม่มีฝ่ายใดแพ้ฝ่ายใดชนะระหว่างการรณรงค์ทางทหารในบริตานี และใน สงครามเก้าปี

ในที่สุดสงครามอังกฤษ-สเปนก็มาสิ้นสุดลงโดยการลงนามในสนธิสัญญาลอนดอน ที่เป็นผลมาจากการเจรจาต่อรองกันระหว่างอังกฤษกับสเปนในปี ค.ศ. 1604 ระหว่างผู้แทนในสมเด็จพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งสเปน และ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ตามสนธิสัญญาสเปนตกลงที่จะยุติการแทรกแซงทางทหารในไอร์แลนด์ ขณะที่อังกฤษตกลงที่จะยุติการแทรกแซงทางทหารในเนเธอร์แลนด์ของสเปน นอกจากนั้นอังกฤษก็ยอมตกลงยุติการใช้โจรสลัดในปล้นเรือในมหาสมุทร ทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้รับผลประโยชน์บางส่วนจากการตกลงครั้งนี้ แต่ในขณะเดียวกันทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายอันมหาศาลไปกับการสงครามที่เกิดขึ้น

อ้างอิง[แก้]

  1. "The first item of Jame's agenda was to bring to a close the long standing war with Spain. This was done by the Treaty of London in August 1604. Its terms were flagantry generous to the Spanish, the first black mark against the new king. Morover James, unlike Elizabeth, had every intention of honoring them." Burgess, Douglas: The Pirates' Pact: The Secret Alliances Between History's Most Notorious Buccaneers and Colonial America. McGraw-Hill Professional, 2008, page 29. ISBN 0071474765
  2. Channing, Edward: A history of the United States. Octagon Books, 1977, v. 1, page 158. ISBN 0374914141

บรรณานุกรม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]