ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์แอกโซลอเติล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ambystomatidae)
วงศ์แอกโซลอเติล
แอกโซลอเติล (Ambystoma mexicanum)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Amphibia
อันดับ: Caudata
อันดับย่อย: Salamandroidea
วงศ์: Ambystomatidae
สกุล: Ambystoma
Tschudi, 1838
ชนิด
ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง
  • Rhyacosiredon Dunn, 1928

วงศ์แอกโซลอเติล (อังกฤษ: Mole salamander; วงศ์: Ambystomatidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Caudata) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ambystomatidae

เป็นซาลาแมนเดอร์ที่มีรูปร่างป้อมและใหญ่ ไม่มีเหงือกและไม่มีช่องเปิดเหงือก ไม่มีร่องในโพรงจมูก มีปอด ประสาทไขสันหลังมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับซาลาแมนเดอร์ในวงศ์ Plethodonidae แต่โครงสร้างหลายประการยังคงรูปแบบแบบโบราณอยู่ การคงรูปโครงสร้างของระยะวัยอ่อนของซาลาแมนเดอร์ในวงศ์นี้อาจเกิดขึ้นเป็นบางโอกาสหรือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยบางชนิดได้ถูกนำมาศึกษาทางวิชาการ เช่น แอกโซลอเติล (Ambystoma mexicanum) โดยถูกนำมาศึกษาการเจริญเติบโตในระยะวัยอ่อนมาก และถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย

โดยรวมแล้ว ซาลาแมนเดอร์วงศ์นี้มีความยาวลำตัวจรดหางประมาณ 10-30 เซนติเมตร ส่วนมากอาศัยอยู่บนพื้นดิน การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายในตัว การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เกิดในกลางฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิ การเกี้ยวพาราสีเกิดขึ้นในน้ำ โดยตัวผู้ไปถึงแหล่งน้ำก่อนและรอตัวเมีย ตัวผู้จะแสดงพฤติกรรมต่อหน้าตัวเมียหลายตัวและสัมผัสกับตัวเมียบางตัว ต่อจากนั้นจึงถ่ายสเปอร์มาโทฟอร์ให้ตัวเมียใช้ทวารร่วมหนีบไป ตัวเมียจะวางไข่ในอีกหลายวันต่อมา จากนั้นทั้งคู่จะแยกย้ายกันไป ก่อนจะมาผสมพันธุ์กันอีกในปีถัดมา แต่ในบางชนิดจะมีช่วงผสมพันธุ์ระหว่างฤดูใบไม้ร่วง การเกี้ยวพาราสีอยู่บนพื้นดินและวางไข่บนพื้นดิน ซึ่งรังที่ใช้วางไข่ถูกน้ำท่วมโดยฝนกลางฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิหรือจากน้ำที่เกิดขึ้นจากการละลายของหิมะ วัยอ่อนเมื่ออกจากไข่จะอาศัยอยู่ในน้ำ

มีทั้งหมดประมาณ 33 ชนิด มีเพียงสกุลเดียว คือ Ambystoma พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ใต้สุดของแคนาดาไปจนถึงใต้สุดของที่ราบสูงเม็กซิโก[1]

การจำแนก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หน้า 313, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]