ว่านหางจระเข้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Aloe vera)

ว่านหางจระเข้
พืชและรายละเอียดของดอกไม้ (ภาพด้านใน)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
อันดับ: หน่อไม้ฝรั่ง
วงศ์: Asphodelaceae
วงศ์ย่อย: Asphodeloideae
สกุล: Aloe
(L.) Burm.f.
สปีชีส์: Aloe vera
ชื่อทวินาม
Aloe vera
(L.) Burm.f.
ชื่อพ้อง[1][2]
  • Aloe barbadensis Mill.
  • Aloe barbadensis var. chinensis Haw.
  • Aloe chinensis (Haw.) Baker
  • Aloe elongata Murray
  • Aloe flava Pers.
  • Aloe indica Royle
  • Aloe lanzae Tod.
  • Aloe maculata Forssk. (illegitimate)
  • Aloe perfoliata var. vera L.
  • Aloe rubescens DC.
  • Aloe variegata Forssk. (illegitimate)
  • Aloe vera Mill. (illegitimate)
  • Aloe vera var. chinensis (Haw.) A. Berger
  • Aloe vera var. lanzae Baker
  • Aloe vera var. littoralis J.Koenig ex Baker
  • Aloe vulgaris Lam.

ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออวบอิ่ม จัดอยู่ในตระกูลลิเลียม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในคาบสมุทรอาหรับ สายพันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากกว่า 300 สายพันธุ์ ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีแตกต่างกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น

คำว่า "อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขมในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย โดยปลูกเพื่อใช้ในการเกษตรและการแพทย์[3] รวมถึงสำหรับการตกแต่งและปลูกเป็นต้นไม้กระถาง[4]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ว่านหางจระเข้เป็นพืชชนิดหนึ่งที่พืชอวบน้ำลำต้นสั้นหรือไม่มีลำต้นสูง 10- 100 ซม. (24–39 นิ้ว) กระจายพันธุ์โดยตะเกียง ใบหนาอ้วนมีสีเขียวถึงเทา-เขียว บางสายพันธุ์มีจุดสีขาวบนและล่างของโคนใบ[5] ขอบใบเป็นหยักและมีฟันเล็กๆสีขาว ออกดอกในฤดูร้อนบนช่อเชิงลด สูงได้ถึง 90 ซm (35 in) ดอกเป็นดอกห้อย วงกลีบดอกสีเหลืองรูปหลอด ยาว 2–3 ซม. (0.8–1.2 นิ้ว)[5][6] ว่านหางจระเข้ก็เหมือนพืชชนิดอื่นในสกุลที่สร้างอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (arbuscular mycorrhiza) ขึ้น ซึ่งเป็นสมชีพที่ทำให้พืชดูดซึมสารอาหารและแร่ธาตุในดินได้ดีขึ้น[7]

อนุกรมวิธาน[แก้]

รูปแบบมีจุดของว่านหางจระเข้ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในชื่อ Aloe vera var. chinensis.

ว่านหางจระเข้ได้รับการจำแนกครั้งแรกโดยคาโรลัส ลินเนียสในปี ค.ศ. 1753 เป็น Aloe perfoliata var. vera[8] และจำแนกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1768 โดย นิโคลาส เลาเรนส์ บูร์มัน (Nicolaas Laurens Burman) เป็น Aloe vera ใน Flora Indica ในวันที่ 6 เมษายน และโดย ฟิลิป มิลเลอร์ (Philip Miller) เป็น Aloe barbadensis 10 วันหลังบูร์มันใน Gardener's Dictionary[9]

ด้วยวิธีการเปรียบเทียบ DNA แสดงว่าว่านหางจระเข้เป็นญาติใกล้ชิดกับ Aloe perryi พืชถิ่นเดียวของประเทศเยเมน[10] และด้วยวิธีที่คล้ายกัน ด้วยการเปรียบเทียบการจัดลำดับ DNA ของคลอโรพลาสต์และ ISSR แสดงว่าว่านหางจระเข้ยังเป็นญาติใกล้ชิดกับ Aloe forbesii, Aloe inermis, Aloe scobinifolia, Aloe sinkatana และ Aloe striata ด้วยเช่นกัน[11] ถ้าไม่นับชนิดในแอฟริกาใต้คือ A. striata พืชในสกุล Aloe จะมีถิ่นกำเนิดในเกาะโซโคตร้า (Socotra) ในประเทศเยเมน, ประเทศโซมาเลีย และ ประเทศซูดาน.[11] และเนื่องจากไม่มีการสังเกตถึงประชากรในธรรมชาติทำให้ผู้แต่งบางคนเสนอว่าว่านหางจระเข้อาจมีกำเนิดมาจากลูกผสม[12]

ศัพท์มูลวิทยา[แก้]

ชื่อพ้องของว่านหางจระเข้ก็ยังมี: A. barbadensis Mill., Aloe indica Royle, Aloe perfoliata L. var. vera และ A. vulgaris Lam.,[13][14] และชื่อสามัญอื่นก็มี Chinese Aloe, Indian Aloe, true Aloe, Barbados Aloe, burn Aloe และ first aid plant[6][15][16][17][18] ส่วนอื่นสามัญอื่นในประเทศไทยก็มี ว่านไฟไหม้ (เหนือ) และ หางตะเข้ (กลาง,ตราด)[19] ชื่อสปีชีส์ vera หมายความว่า "ถูกต้อง" หรือ "แท้จริง"[15] ในหนังสือบางเล่มจะระบุบรูปแบบที่เป็นจุดสีขาวของว่านหางจระเข้เป็น Aloe vera var. chinensis[20][21] อย่างไรก็ตาม ว่านหางจระเข้มีลักษณะของจุดที่ใบหลากหลาย[22] และมีการเสนอว่ารูปแบบจุดของว่านหางจระเข้อาจทำให้มันเป็นชนิดเดียวกันกับ A. massawana[23]

สรรพคุณทางยา[แก้]

วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-emodin, Aloesin, Aloin, สารประเภท Glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร Anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่า วุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะในวุ้นใบว่านหางจระเข้นอกจากจะมีสรรพคุณรักษาแผลต่อต้านเชื้อแบคทีเรียแล้วยังช่วยสมานแผลได้อีกด้วย

การเพาะปลูก[แก้]

ว่านหางจระเข้ปลูกง่าย โดยการใช้หน่ออ่อน ปลูกได้ดีในบริเวณทะเลที่เป็นดินทราย และมีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ดี จะปลูกเอาไว้ในกระถางก็ได้ ในแปลงปลูกก็ได้ ปลูกห่างกันสัก 1-2 ศอก เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องมีการระบายน้ำดีพอ มิฉะนั้นจะทำให้รากเน่าและตาย ว่านหางจระเข้ชอบแดดรำไร ถ้าถูกแดดจัดใบจะเป็นสีน้ำตาลแดง และอีกวิธีสามารถนำเมล็ดไปปลูกในกระถางต้นไม้ได้อีกด้วย

การรักษาแผล[แก้]

ว่านหางจระเข้ (Aloe vera) ที่เรารู้จักกันดีว่ามีส่วนในการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลสด ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน มีส่วนช่วยในแก้รักษาแผลผ่าตัดเช่นกัน

ว่านหางจระเข้ มีฤทธิ์สมานแผลการที่แผลหายเร็วขึ้น เนื่องจากในว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยเร่งให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวเพื่อซ่อมแซมผิวให้ดีขึ้น หรือหากนำว่านหางจระเข้ไปสกัดเป็นน้ำ เมื่อนำไปใช้ในการรักษาแผลผ่าตัด พบว่าช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น ป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น หรือหากใครที่รอยแผลแล้วเมื่อใช้จะช่วยขจัดรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้น ทำให้แผลแลดูจางลง

นอกจากจะช่วยในเรื่องของการสมานแผลแล้ว ว่านหางจระเข้ยังมีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อลดการอักเสบ เราจึงเห็นผลิตภัณฑ์ที่นำประโยชน์ของว่านหางจระเข้ไปเป็นส่วนผสมในรูปแบบต่างๆ ทั้งครีมทารักษาโรคผิวหนังและแผลอักเสบ  ที่ช่วยรักษาการอักเสบของผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน  หรือการทำเป็นโลชั่นโดยมีส่วนประกอบของวุ้นว่านหางจระเข้ เป็นต้น [24]

อ้างอิง[แก้]

  1. Aloe vera (L.) Burm. f. Tropicos.org
  2. "Aloe vera L. Burm.f. Fl. Indica : 83 (1768)". World Flora Online. World flora Consortium. 2022. สืบค้นเมื่อ 16 December 2022.
  3. "Aloe vera (true aloe)". CABI. 13 February 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. Perkins, Cyndi. "Is Aloe a Tropical Plant?". SFgate.com. สืบค้นเมื่อ 13 February 2016.
  5. 5.0 5.1 Yates A. (2002) Yates Garden Guide. Harper Collins Australia
  6. 6.0 6.1 Random House Australia Botanica's Pocket Gardening Encyclopedia for Australian Gardeners Random House Publishers, Australia
  7. Gong M, Wang F, Chen Y (2002). "[Study on application of arbuscular-mycorrhizas in growing seedings of Aloe vera]". Zhong Yao Cai (ภาษาจีน). 25 (1): 1–3. PMID 12583231.
  8. Linnaeus, C. (1753). Species plantarum, exhibentes plantas rite cognitas, ad genera relatas, cum differentiis specificis, nominibus trivialibus, synonymis selectis, locis natalibus, secundum systema sexuale digestas. Vol. 2 pp. [i], 561–1200, [1–30, index], [i, err.]. Holmiae [Stockholm]: Impensis Laurentii Salvii.
  9. Newton, L. E. (1979). In defense of the name Aloe vera. The Cactus and Succulent Journal of Great Britain 41: 29–30.
  10. Darokar MP, Rai R, Gupta AK, Shasany AK, Rajkumar S, Sunderasan V and Khanuja SPS (2003). Molecular assessment of germplasm diversity in Aloe spp. using RAPD and AFLP analysis. J Med. Arom. Plant Sci.25(2): 354–361.
  11. 11.0 11.1 Treutlein, J., Smith, G. F. S., van Wyk, B. E. & Wink, W. (2003). Phylogenetic relationships in Asphodelaceae (Alooideae) inferred from chloroplast DNA sequences (rbcl, matK) and from genomic finger-printing (ISSR). Taxon 52:193.
  12. Jones WD, Sacamano C. (2000) Landscape Plants for Dry Regions: More Than 600 Species from Around the World. California Bill's Automotive Publishers. USA.
  13. "Aloe vera, African flowering plants database". Conservatoire et Jardin botaniques de la Ville de Genève. สืบค้นเมื่อ 2008-06-20.[ลิงก์เสีย]
  14. "Taxon: Aloe vera (L.) Burm. f." Germplasm Resources Information Network, United States Department of Agriculture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2008-07-16.
  15. 15.0 15.1 Ombrello, T. "Aloe vera". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-05. สืบค้นเมื่อ 2008-06-21.
  16. Liao Z, Chen M, Tan F, Sun1 X and Tang K (2004) Microprogagation of endangered Chinese aloe Plant Cell, Tissue and Organ Culture 76(1):83–86.
  17. T. T. Jamir, H. K. Sharma and A. K. Dolui (1999) Folklore medicinal plants of Nagaland, India. Fitoterapia 70(1):395–401.
  18. Barcroft and Myskja (2003) Aloe Vera: Nature's Silent Healer. BAAM, USA. ISBN 0-9545071-0-X
  19. "เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-01. สืบค้นเมื่อ 2010-06-06.
  20. Wang H, Li F, Wang T, Li J, Li J, Yang X, Li J (2004). "[Determination of aloin content in callus of Aloe vera var. chinensis]". Zhong Yao Cai (ภาษาจีน). 27 (9): 627–8. PMID 15704580.
  21. Gao W, Xiao P (1997). "[Peroxidase and soluble protein in the leaves of Aloe vera L. var. chinensis (Haw.)Berger]". Zhongguo Zhong Yao Za Zhi (ภาษาจีน). 22 (11): 653–4, 702. PMID 11243179.
  22. Akinyele BO, Odiyi AC (2007) Comparative study of the vegetative morphology and the existing taxonomic status of Aloe vera L. Journal of Plant Sciences 2(5):558–563.
  23. Lyons G. "The Definitive Aloe vera, vera?". Huntington Botanic Gardens. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กรกฎาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2008.
  24. ว่านหางจระเข้ มีฤทธิ์สมานแผลการที่แผลหายเร็วขึ้น http://www.scarlakon.com/easy-surgery-wound-healing/ เก็บถาวร 2018-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]