Adenia

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Adenia
Adenia digitata
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: อันดับโนรา
วงศ์: วงศ์กะทกรก
สกุล: Adenia
Forssk.
ชนิด

106 ชนิด[1]

ชื่อพ้อง

Adenia เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์กะทกรก กระจายตัวอยู่ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของพื้นที่โลกเก่า[2] ศูนย์กลางของการแพร่กระจายอยู่ที่มาดากัสการ์ พื้นที่เขตร้อนทางตะวันออกและตะวันตกของแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3] ชื่อสกุล Adenia มาจากคำว่า "aden" ซึ่งเป็นชื่อภาษาอาหรับของพืชชนิดหนึ่งในสกุลนี้ บรรยายโดย Peter Forsskål [4]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

พืชในสกุล Adenia ทั้งหมดเป็นพืชที่มีอายุยืนหลายปี มีหลายลักษณะคึอเป็นไม้ล้มลุก ไม้เถา ไม้เลื้อย ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้น[5] หลายชนิดเป็นไม้อวบน้ำ และบางชนิดเป็นไม้โขด บางชนิดมีระบบรากเป็นฝอย และบางชนิดมีรากสะสมอาหาร[5] Adenia พบได้ในหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ทะเลทรายในแอฟริกา จนถึงป่าฝนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] มีพืชประมาณ 100 ชนิดอยู่ในสกุลนี้[6]

ประโยชน์และการใช้[แก้]

พืชหลายชนิดในสกุลนี้ถูกใช้เป็นยาพื้นบ้านของแอฟริกาเช่น หลายส่วนของพืช A. cissampeloides ใช้รักษาในหลายอาการ ทั้งปัญหาทางเดินอาหาร การอักเสบ เจ็บปวด ไข้ มาลาเรีย โรคเรื้อน หิด อหิวาตกโรค โลหิตจาง หลอดลมอักเสบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนมากผิดปกติ และความผิดปกติทางจิต[7] ถูกใช้เป็นทั้งยาทำแท้ง และยาป้องกันการแท้งบุตร[7] ใบของ A. dinklagei ใช้กินเพื่อรักษาอาการใจสั่น ใบของ A. tricostata ใช้เป็นยาแก้ไข้ ใบหรือน้ำยางของใบ A. bequaertii ใช้รักษาอาการปวดหัว ความผิดปกติทางจิต และอาการผีเข้า[7]

ผักอีนูน หรือ ผักสาบ A. viridiflora เป็นผักพื้นบ้านไทย นิยมนำยอดอ่อน ดอกอ่อน ใบอ่อน มารับประทานสดด้วยการลวกให้มันสุก กินพร้อมน้ำพริก หรือนำไปใส่ในแกงต่างๆ[8]

นอกจากนั้นพืชหลายชนิดในสกุลนี้เป็นที่นิยมในหมู่ผู้เลี้ยงและนักสะสมพันธุ์ไม้แปลกหายากต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะชนิดที่มีถิ่นกำเนิดจากในแถบทวีปแอฟริกา เช่น A. aculeata, A. glauca, A. globosa, A. pechuelii A. spinosa, A. stylosa ฯลฯ

ชนิด[แก้]

Adenia fruticosa
Adenia glauca
Adenia globosa
Adenia hondala
Adenia pechuelii

ปัจจุบันมีชนิดที่ได้รับการยอมรับทั้งหมด 106 ชนิด[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Adenia Forssk. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 May 2022.
  2. Adenia. Flora of China.
  3. Hearn, David J. (2007). "Novelties in Adenia (Passifloraceae): Four New Species, a New Combination, a Vegetative Key, and Diagnostic Characters for Known Madagascan Species". Brittonia. 59 (4): 308–27. doi:10.1663/0007-196X(2007)59[308:NIAPFN]2.0.CO;2. JSTOR 30218764.
  4. Peter Forsskål. Flora Aegyptiaco-Arabica. 1775. page 77
  5. 5.0 5.1 5.2 Hearn, David J. (2006). "Adenia (Passifloraceae) and its adaptive radiation: phylogeny and growth form diversification". Systematic Botany. 31 (4): 805–21. doi:10.1600/036364406779695933. JSTOR 25064211. S2CID 86541538.
  6. "Adenia — the Plant List".
  7. 7.0 7.1 7.2 Grace, O. M. and D. Fowler. 2007. Adenia cissampeloides (Planch. ex Hook.) Harms.เก็บถาวร 8 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน In: Schmelzer, G. H. and A. Gurib-Fakim (Eds.) Prota 11(1): Medicinal Plants/Plantes médicinales 1. PROTA, Wageningen, Netherlands.
  8. "ผักสาบ ผักพื้นบ้าน ของไทย ที่หลายคนไม่รู้จัก". อีจัน. สืบค้นเมื่อ 26 May 2022.