การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563
จำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมรายจังหวัดต่อล้านคน
โรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
สถานที่ประเทศไทย
การระบาดครั้งแรกอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
ผู้ป่วยต้นปัญหาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ
วันแรกมาถึง13 มกราคม พ.ศ. 2563 (4 ปี 3 เดือน 12 วัน)
ผู้ป่วยยืนยันสะสม3,622 คน[1]
ผู้ต้องสงสัยป่วย457,853 คน
อาการร้ายแรง0 คน
หาย3,439 คน[1]
เสียชีวิต59 คน[1]
ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ covid19.th-stat.com
ผู้ป่วยต้องสงสัยยังไม่ได้รับยืนยันว่าเกิดขึ้นจากสายพันธุ์นี้จากการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ แม้อาจแยกสายพันธุ์อื่นออกไปบ้างแล้ว

การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 ดำเนินอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยยืนยันรายแรกนอกประเทศจีน[2] การคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศพบผู้ป่วยประปรายตลอดเดือนมกราคม ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาจากหรือเป็นผู้พำนักอยู่ในประเทศจีนแทบทั้งสิ้น การแพร่เชื้อท้องถิ่นที่มีรายงานรายแรกมีการยืนยัน เมื่อวันที่ 31 มกราคม[3] จำนวนผู้ป่วยยังมีน้อยตลอดเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีผู้ป่วยยืนยัน 40 ราย เมื่อสิ้นเดือน แต่จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากในกลางเดือนมีนาคม ซึ่งมีการระบุสาเหตุจากกลุ่มการแพร่เชื้อหลายกลุ่ม ซึ่งกลุ่มใหญ่สุดเกิดที่การชกมวยไทย ณ สนามมวยเวทีลุมพินี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม[4] ผู้ป่วยยืนยันแล้วเพิ่มเกิน 100 คนต่อวัน ในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา

การตอบสนองของรัฐบาลต่อการระบาดเริ่มจากการคัดกรองและการติดตามการสัมผัส มีการคัดกรองโควิดตามท่าอากาศยานนานาชาติ ตลอดจนที่โรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่มีประวัติเดินทางหรือสัมผัส[5] มีการสอบสวนโรคกรณีที่เกิดกลุ่มการระบาด กระทรวงศึกษาธิการเน้นการเฝ้าระวังตนเอง การรักษาความสะอาดโดยเฉพาะการล้างมือ และการเลี่ยงฝูงชน (หรือใส่หน้ากากอนามัยแทน)[6] แม้บุคคลที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยงสูงจะได้รับคำแนะนำให้กักตนเอง แต่ยังไม่มีคำสั่งจำกัดการเดินทางจนวันที่ 5 มีนาคม[7] และวันที่ 19 มีนาคม มีประกาศเพิ่มเติมให้ต้องมีเอกสารการแพทย์รับรองการเดินทางระหว่างประเทศ และคนต่างด้าวต้องมีประกันสุขภาพ[8][9] ปลายเดือนมีนาคม สถานที่สาธารณะและธุรกิจห้างร้านได้รับคำสั่งให้ปิดในกรุงเทพมหานคร และอีกหลายจังหวัด[10] นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน มีผลวันที่ 26 มีนาคม[11] และมีประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานยามวิกาล ตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563[12] พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินยังสั่งงดจำหน่ายสุราชั่วคราวและให้ประชาชนชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด พบผู้ติดเชื้อยืนยันในประเทศรายล่าสุดในเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังไม่ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน และเพิ่งมาผ่อนปรนการเรียนในสถานศึกษาในเดือนสิงหาคม

รัฐบาลถูกวิจารณ์อย่างหนักจากการรับมือวิกฤตการณ์ในหลายด้าน ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ หลังเกิดความกังวลต่อการกักตุนและโก่งราคาขายหน้ากากอนามัย รัฐบาลเข้าควบคุมราคาและแทรกแซงการจัดจำหน่าย[13] แต่ยังไม่สามารถป้องกันการขาดแคลนตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้ และเกิดกรณีอื้อฉาวจากกรณีที่ประชาชนสงสัยว่ามีการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการลักเอาจากคลัง[14][15][16] นอกจากนี้ รัฐบาลยังถูกวิจารณ์เกี่ยวกับนโยบายข้อกำหนดการเดินทางระหว่างประเทศและการกักโรค ลงมือไม่เด็ดขาดและล่าช้า และการสื่อสารแบบกลับไปกลับมา[17][18] การสั่งปิดธุรกิจห้างร้านในกรุงเทพมหานครโดยพลัน ทำให้คนงานหลายหมื่นคนเดินทางกลับภูมิลำเนา ยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเข้าไปอีก สะท้อนภาพความล้มเหลวของการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ[19] อีกด้านหนึ่ง ประเทศไทยค่อนข้างประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคระบาด โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนได้แก่โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่ทนทาน[20][21]

โรคระบาดทำให้เศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการท่องเที่ยวที่มีความสำคัญ กองทุนการเงินระหว่างประเทศทำนายว่าจีดีพีของไทยจะหดตัวลงร้อยละ 6.7[22] ในปี 2563 ปรับลดจากเดิมขยายตัวร้อยละ 2.5 รัฐบาลประกาศมาตรการช่วยเหลือหลายอย่าง รวมทั้งการกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านบาท แต่มีผู้ได้รับการช่วยเหลือจำนวนน้อย[23] ปฏิกิริยาต่อมาตรการของรัฐบาลส่วนหนึ่งนำไปสู่การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563

เส้นเวลา

มกราคม

ใบประกาศแจ้งเตือนผู้ป่วยที่กลับจากประเทศจีนและมีอาการ ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่พบการติดเชื้อในประเทศไทย สังเกตว่าระบุเฉพาะผู้ป่วยที่กลับมาจาก “ประเทศจีน” เท่านั้น

วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563 มีการพบผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันรายแรก นับเป็นรายแรกที่พบนอกประเทศจีน โดยเป็นหญิงชาวจีน อายุ 61 ปี ซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ในนครอู่ฮั่น เธอไม่เคยเดินทางไปยังตลาดอาหารทะเลหวาหนานมาก่อน แต่เคยไปที่ตลาดอื่นแทน เธอมีอาการเจ็บคอ มีไข้ มีอาการหนาวสะท้าน และปวดศีรษะ ในวันที่ 5 มกราคม และได้เดินทางกับครอบครัว และกลุ่มทัวร์จากนครอู่ฮั่นมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 8 มกราคม โดยเธอถูกตรวจพบด้วยกล้องตรวจจับความร้อน และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในวันเดียวกัน 4 วันให้หลัง จากการใช้ RT-PCR ผลการทดสอบหาไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นั้นผลเป็นบวก[24][25][26]

ผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นหญิง อายุ 74 ปี ซึ่งเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานครโดยเที่ยวบินจากนครอู่ฮั่น ในวันที่ 17 มกราคม[27] ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 ชายอายุ 18 ปี เดินทางถึงยังเชียงใหม่ด้วยเที่ยวบินจากนครอู่ฮั่นถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลนครพิงค์ และผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ ได้ระบุว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ต้องสงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา และมีการส่งตัวอย่างเลือดไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อตรวจสอบ[28][29]

วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563 กระทรวงสาธารณสุขประกาศว่าพบผู้ป่วยในประเทศไทยเป็นรายที่ 3 และ 4 โดยรายที่ 3 เป็นนักท่องเที่ยวชายชาวจีน อายุ 68 ปี คล้ายกรณีก่อนหน้า และรายที่ 4 เป็นหญิงไทย อายุ 74 ปี ซึ่งเดินทางกลับมาจากนครอู่ฮั่น และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม[30][31]

มีการยืนยันผู้ป่วยรายที่ 5 ในวันที่ 24 มกราคม เป็นหญิงชาวจีน อายุ 33 ปี เดินทางมาจากนครอู่ฮั่นพร้อมบุตรสาว อายุ 7 ปี ซึ่งไม่มีการติดเชื้อ มีรายงานว่าเธอเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถี ในสามวันให้หลังนับจากที่เดินทางถึงกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 21 มกราคม[32]

วันที่ 25 มกราคม หน่วยราชการของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รายงานว่าพบผู้ป่วยเป็นหญิงชาวจีน อายุ 73 ปี ที่เดินทางมาจากนครอู่ฮั่นตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม และเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนในหัวหิน เมื่อวันที่ 23 มกราคม ผลการตรวจเลือดแรกให้ผลเป็นบวก อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กำลังรอผลยืนยันจากห้องปฏิบัติการอื่นร่วมด้วย[33]

วันที่ 26 มกราคม กระทรวงสาธารณสุข ออกแถลงสรุปสถานการณ์ โดยมีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 8 คน รวมถึงกรณีจากหัวหินด้วย เนื่องจากผลทดสอบทางห้องปฏิบัติการออกแล้ว ทั้งหมดเป็นชาวจีน ยกเว้นหญิงไทยคนเดียวจากจังหวัดนครปฐม และผู้ป่วย 5 คนแรก ได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้น และออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว และมีผู้ต้องสงสัยรอการยืนยันอีก จำนวน 39 ราย[34]

วันที่ 28 มกราคม มีการยืนยันผู้ป่วยเพิ่มอีก 6 ราย โดย 5 คน เป็นสมาชิกครอบครัวเดียวกันจากนครอู่ฮั่น และอีกรายมาจากฉงชิ่ง เป็นผลให้ประเทศไทยเริ่มคัดกรองนักท่องเที่ยวชาวจีนทุกคนในทันที[35][36]

วันที่ 31 มกราคม มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มเติมอีก 5 ราย ทำให้จำนวนผู้ป่วยรวมอยู่ที่ 19 ราย หนึ่งในนั้นเป็นคนขับรถแท็กซี่ ที่ไม่เคยเดินทางไปยังประเทศจีน และต้องสงสัยว่าอาจติดเชื้อจากนักท่องเที่ยวชาวจีนที่รับมา ทำให้เป็นกรณีแรกของการแพร่ระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์ของไวรัสในประเทศไทย มีรายงานว่าคนขับแท็กซี่ได้ติดต่อกับคนอื่นอย่างน้อย 13 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในครอบครัว ก่อนจะเดินทางไปเข้ารับการรักษา[37] ส่วนผู้ป่วยรายอื่นเป็นชาวจีน[38][39]

กุมภาพันธ์

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ แพทย์ 2 คนจากโรงพยาบาลราชวิถี พบความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจากไวรัสโคโรนา โดยใช้ยารักษาไข้หวัดใหญ่ (โอเซลทามิเวียร์) และเอชไอวี (โลปินาเวียร์และริโตนาเวียร์) โดยคนไข้อาการดีขึ้นอย่างมากภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากนำไปรักษา อย่างไรก็ตาม ยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวได้ว่าวิธีการนี้จะสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยรายอื่นได้[40]

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ รัฐบาลไทยส่งเที่ยวบินของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ไปรับพลเมือง 138 คน ที่ติดอยู่ในนครอู่ฮั่นจากมาตรการปิดเมือง โดยเครื่องลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ในเวลา 19:00 น. โดยในบรรดาผู้ได้อพยพมาทั้งหมด มีผู้มีไข้สูงถูกนำส่งโรงพยาบาล 6 ราย ส่วนที่เหลือถูกกักโรคไว้ที่สัตหีบ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และยังมีผู้ที่ไม่ได้อพยพอีก 3 คน ประกอบด้วยนักศึกษา 2 คน ที่มีไข้สูง และอีกคนเนื่องจากวีซ่าหมดอายุ[41] ในวันเดียวกัน มีการยืนยันผู้ป่วยเพิ่มเติมอีก 6 ราย รวมถึงคู่สามีภรรยาชาวไทยที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น และยังไม่แน่ชัดว่าทั้งคู่ติดเชื้อมาในระหว่างการเดินทาง หรือหลังจากกลับมาประเทศไทยแล้ว และอีก 2 กรณีเป็นคนขับรถซึ่งรับส่งผู้โดยสารชาวจีน[42]

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ มีผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นอีก 6 ราย เป็นชาวจีน 2 ราย เป็นผู้โดยสารที่เดินทางมากับเที่ยวบินอพยพเมื่อ 4 วันก่อน และที่เหลือเป็นชาวไทยที่ได้สัมผัสกับนักท่องเที่ยว รวมทำให้มีผู้ป่วยยืนยันเป็น 32 ราย[43]

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ มีผู้ป่วยยืนยันเพิ่มอีก 1 ราย รวมเป็น 33 ราย[44]

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ มีการพบหญิงชาวไทยคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ป่วยรายที่ 35 ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โดยเป็นกรณีแรกที่ผู้ป่วยเป็นบุคลากรด้านสาธารณสุขในประเทศไทย จากการสอบสวนพบว่า บุคคลนี้มิได้มีการสวมหน้ากากอนามัยและชุดป้องกันขณะให้การรักษาผู้ป่วย[45] ทั้งนี้มีรายงานหลายแห่งออกมากล่าวว่าบุคคลนี้ทำงานอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง และภายหลังมีการชี้แจงโดยกระทรวงสาธารณสุข[46]

ต่อมานับเป็นเวลา 8 วันที่ไม่มีผู้ป่วยเพิ่มเติม จนวันที่ 24 กุมภาพันธ์ มีการรายงานผู้ป่วยเพิ่มอีก 2 ราย ทำให้ยอดรวมเป็น 37 ราย[47] สองวันต่อมา จำนวนผู้ป่วยเพิ่มเป็น 40 ราย เป็นชาวไทยที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นคู่ตายายที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากจังหวัดฮกไกโด และได้แพร่เชื้อต่อไปยังหลานชายวัย 8 ปี ที่บ้าน ขณะก่อนเข้ารับการรักษา โดยมีกลุ่มเสี่ยงจำนวน 101 คนที่ทั้งคู่ได้สัมผัสด้วยซึ่งได้รับการตรวจหาไวรัส ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มทัวร์ สมาชิกในครอบครัว ผู้โดยสารที่เดินทางมาโดยเที่ยวบินเดียวกัน บุคลากรทางการแพทย์ และเพื่อนร่วมชั้นของหลานชาย[48] กรณีนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้กล่าวว่า การที่คุณตาปกปิดประวัติการเดินทางเมื่อเดินทางไปพบแพทย์ ทำให้ตัวของคุณตาเองนั้นมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์[49]

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ มีการพบผู้ป่วยรายใหม่อีก ทำให้ยอดรวมเป็น 42 ราย โดยผู้ป่วยเป็นพนักงานขาย อายุ 21 ปี ซึ่งจากลักษณะการทำงานทำให้ต้องมีการสัมผัสกับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ[50]

มีนาคม

มาตรการป้องกันการติดเชื้อโดยการเว้นระยะห่างกับสังคม (Social distancing) โดยห้ามนั่งเก้าอี้ติดกัน ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

วันที่ 1 มีนาคม กระทรวงสาธารณสุขรายงานพบผู้เสียชีวิตรายแรกของประเทศ เป็นชายไทย อายุ 35 ปี ซึ่งมีอาการไข้เลือดออกมาแต่เดิมเมื่อปลายเดือนมกราคม ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ต่อมาได้มีการส่งตัวต่อไปยังสถาบันบำราศนราดูร ในวันที่ 5 มีนาคม ภายหลังจากการทดสอบพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ด้วย จึงได้มีการรักษาและหายดีตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม ความเสียหายที่ไวรัสสร้างเอาไว้ที่ปอดของผู้ป่วยเกินกว่าจะรักษาได้ ต่อมาผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยกลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะ ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์[51]

15​ มีนาคม​ มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี​ปลดอธิบดีกรมการค้าภายใน​[52]โดยให้ ทันตแพทย์ ​ประโยชน์​ เพ็ญสุต​ เป็นรักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นคำสั่งที่วิพากษ์วิจารณ์​อย่างกว้างขวางเนื่องจากนายกรัฐมนตรี​สั่งปลดเองและแต่งตั้งเป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ศบค.

17 มีนาคม รัฐบาลมีนโยบายให้ปิดสถานที่มีคนมารวมตัวกันเป็นกิจวัตร ซึ่งเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อได้ง่าย โดยสถาบันการศึกษา สถาบันกวดวิชา ร้านนวด ผับ สถานบันเทิง สถานบริการ นวดแผนโบราณ และโรงมหรสพ ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ให้ปิดตั้งแต่ 18–31 มีนาคม ขณะที่สนามมวย สนามกีฬา สนามม้า ให้ปิดทันทีจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และให้งดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมากที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรค และให้ทุกหน่วยงานพิจารณามาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน และการทำงานที่บ้าน[53] วันที่ 23 มีนาคม ประชาชนในกรุงเทพมหานครทยอยเดินทางกลับต่างจังหวัด[54]

24 มีนาคม กระทรวงสาธารณสุขยืนยัน มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย รวมผู้เสียชีวิต 4 ราย และมีผู้ป่วยรายใหม่ 106 ราย รวมผู้ป่วยสะสมในไทย 827 ราย โดยผู้เสียชีวิต 3 ราย ได้แก่ ชายไทย อายุ 70 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 มีนาคม เป็นผู้ป่วยที่มีอาการวัณโรคร่วม รักษาที่สถาบันบำราศนราดูร คนที่ 2 เป็นชายไทย อายุ 79 ปี มีประวัติเดินทางไปดูมวยที่สนามมวย มีอาการหนักตั้งแต่แรกรับ มีโรคประจำตัวหลายโรค รักษาที่สถาบันบำราศนราดูร และคนที่ 3 เป็นชายไทย อายุ 45 ปี มีภาวะโรคเบาหวานและโรคอ้วนอยู่เดิม รักษาที่โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพฯ[55]

วันที่ 25 มีนาคม รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม – 30 เมษายน โดยมีระบุสิ่งที่ห้ามทำและให้ทำ เช่น ห้ามเข้าพื้นที่เขตกำหนดตามคำสั่งผู้ว่าฯ ห้ามคนทั้งหลายเดินทางเข้าราชอาณาจักรไทย (มีข้อยกเว้นสำหรับบุคคลต่าง ๆ) ห้ามชุมนุมมั่วสุม ห้ามแพร่ข่าวเท็จ เป็นต้น[56] นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้ง "ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019" (ศบค.)[57]เป็นหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการ[58]

ห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม ปิดบริการเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียงส่วนซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา และร้านอาหารแบบนำกลับบ้าน

เมษายน

3 เมษายน รัฐบาลประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในยามวิกาล (เคอร์ฟิว) ทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 22.00–04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น[59]

วันที่ 9 เมษายน อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงว่ามีการค้นหาโรคเชิงรุก (Active case finding) และกำลังเฝ้าติดตามคนไทยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังระบุว่าได้ชี้เป้าหมายให้จังหวัดถูเก็ตดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค หลังพบผู้ป่วยในจังหวัดภูเก็ต 158 รายตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทางจังหวัดมีมาตรการปิดสถานบันเทิง ร้านนวดขยายทั้งจังหวัด และปิดช่องทางเข้าออกจังหวัด[60] 17 เมษายน พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง แถลงว่าจากการลงพื้นที่ตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 เชิงรุกในพื้นที่กรุงเทพมหานครร่วมกับเพจ หมอแล็บแพนด้า ทำให้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย[61]

รายงานการศึกษาพฤติกรรมคนไทยในช่วงล็อกดาวน์จัดทำโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า คนในเขตเมืองปฏิบัติตามคำแนะนำของรัฐค่อนข้างดีมากกว่า 75% ทุกมาตรการ แต่คนยากจนในเขตเมืองและคนชนบทยังปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมได้น้อย เนื่องจากเลี่ยงพื้นที่แออัดไม่ได้ และคนชนบทยังมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอยู่ งานวิจัยพบว่า 89% ของกิจกรรมเกิดขึ้นในบ้านพักตนเองหรือญาติ ประชาชนติดตามข่าวสารน้อยลงและมีความตั้งใจปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ลดลงมากหลังจากล็อกดาวน์ 2 สัปดาห์ และพบว่าหากมีการล็อกดาวน์ต่อ ความตั้งใจในการปฏิบัติตามอาจไม่กลับสู่ค่าเดิมในช่วงแรกของการล็อกดาวน์ได้อีก[62]

แถวประชาชนที่รอรับแจกอาหาร ถ่ายที่เกาะสมุย

วันที่ 20 และ 22 เมษายน เกิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่จับผู้แจกอาหารให้แก่ผู้มารอรับบริจาคทั้งที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดภูเก็ตตามลำดับ[63] ด้านกรุงเทพมหานครมีข้อกำหนดสำหรับการแจกอาหาร เช่น ให้เจ้าหน้าที่ช่วยแจก แจกในที่ที่ราชการกำหนด หรือใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางในการประสานงานกับเจ้าหน้าที่[64] 25 เมษายน มีข่าวว่าราชการอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ไม่รับประสานการแจกของบริจาคช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยมีคำพูดว่า "จะแจกเพื่ออะไร อยากได้หน้า หรือหาเสียง"[65]

24 เมษายน ฝ่ายค้านเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกพระราชกำหนดฯ สถานการณ์ฉุกเฉิน และให้เปิดสมัยประชุมวิสามัญเพื่ออภิปรายปัญหาโควิด-19[66]

25 เมษายน ศบค. เปิดเผยว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 42 รายจากการตรวจหาเชื้อในแรงงานข้ามชาติ ณ ศูนย์กักขังที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อ. สะเตา จ. สงขลา[67]

พฤษภาคม

เจ้าหน้าที่ประจำห้างค้าส่งแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ให้ลูกค้าสแกนไทยชนะ ก่อนเข้าภายในอาคาร

3 พฤษภาคม ได้เริ่มบังคับใช้มาตรการผ่อนปรนระยะที่ 1 ใน 6 กลุ่มกิจกรรมในโซนสีขาว ให้กลับมาดำเนินการได้ปกติ ได้แก่ ตลาด ร้านจำหน่ายอาหาร กิจการค้าปลีก-ส่ง กีฬาสันทนาการ ร้านตัดผมและเสริมสวยและร้านตัดผมและฝากเลี้ยงสัตว์ ของ ศบค. มีผล[68] วันเดียวกัน จังหวัดยะลาพบจำนวนผู้ป่วยจากการตรวจหาผู้ป่วยใหม่เชิงรุกจำนวน 23 คน ด้านโฆษก ศบค. แถลงว่า จากกระแสข่าวที่ตรวจพบผู้ป่วยใหม่ 40 รายก่อนหน้านี้นั้นเป็นตัวเลขสัดส่วนที่มากผิดปกติ จึงสั่งให้มีการทบทวนใหม่ก่อน และยืนยันว่าจะไม่มีการปกปิดข้อมูล[69]

4 พฤษภาคม พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 18 รายที่ศูนย์กักคนเข้าเมือง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา[70] วันเดียวกัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยอยู่ในระดับที่ควบคุมได้และมีจังหวัดเกินครึ่งหนึ่งของประเทศที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในช่วง 4 สัปดาห์หลัง แต่จะยังเฝ้าระวังการระบาดระลอกที่สองต่อไป[71]

13 พฤษภาคม ศบค. แถลงว่าประเทศไทยไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เป็นวันแรก และเป็นวันที่ 17 ที่จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อต่ำกว่าวันละ 10 คน นอกจากนี้ ภายใน 28 วันที่ผ่านมามี 50 จังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม โดยจำนวนผู้ป่วยสะสมยังคงมากในกรุงเทพมหานครและภาคใต้[72]

17 พฤษภาคม ได้เริ่มบังคับใช้มาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 2 ตามประกาศของ ศบค. มีผลบังคับโดย อนุญาตให้เปิดห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานออกกำลังกายบางส่วน แต่ให้ปิดบริการเวลา 20.00 น. และปรับเวลาการเริ่มเคอร์ฟิวจาก 22.00 เป็น 23.00 น. แต่ยังคงงดและชะลอการเคลื่อนย้ายข้ามจังหวัด[73]

27 พฤษภาคม คณะรัฐมนตรีมีมติต่อ พรก. ฉุกเฉินอีก 1 เดือน มีกำหนดสิ้นสุด 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563[74] รวมทั้งการผ่อนปรนระยะที่ 3 และลดระยะเวลาเคอร์ฟิวเป็น 23.00–3.00 น.[75]

มิถุนายน

1 มิถุนายน ได้เริ่มบังคับใช้มาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 3 ตามประกาศของ ศบค. และสามารถเคลื่อนย้ายข้ามจังหวัดได้[76]

15 มิถุนายน เริ่มบังคับใช้มาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 4 มีผลบังคับให้ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถาน และสามารถใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียน หรือสถานศึกษา สถาบันกวดวิชา และสามารถเปิดโรงเแรม โรงมหรสพ ห้องประชุม ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร และเครื่องดื่มทั่วไป อนุญาตให้มีการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ ยกเว้น สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการประเภทผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานที่พำนักอาศัย สามารถเปิดได้แต่ต้องมีมาตรการ ยกเว้นสถานบันเทิง สถานแข่งขัน[77]

24 มิถุนายน ศบค. ประกาศผ่อนปรนระยะที่ 5 ซึ่งรวมถึงธุรกิจผับ บาร์ คาราโอเกะ โรงอาบน้ำ โรงน้ำชา ร้านเกมและอินเทอร์เน็ต[78] 30 มิถุนายน คณะรัฐมนตรีต่ออายุ พรก. ฉุกเฉินไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 โดยมีคำสั่งห้ามชุมนุม ห้ามกักตุนสินค้า และห้ามเสนอข่าวเท็จ[79]

กรกฎาคม

8 กรกฎาคม พบกรณีทหารอียิปต์จากเครื่องบินทหารพบติดโควิด-19 แต่ไม่ได้กักตัว และ 10 กรกฎาคม พบผู้ป่วยเด็กครอบครัวของอุปทูตซูดานติดโควิด-19 แต่ไม่ได้กักตัวที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[80] 14 กรกฎาคม ศบค. ชี้แจงว่า กรณีทหารอียิปต์ใช้เพียงวิธีระบบติดตามตัวเท่านั้น[81] มีคำสั่งกักตัวผู้ใกล้ชิดจากการบินไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[82][83] นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีคำสั่งย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง[84]

สิงหาคม

ในวันที่ 19 สิงหาคม มีรายงานพบผู้ป่วยที่อาจเป็นการติดเชื้อรายแรกในประเทศในรอบ 86 วัน แต่ขณะนี้กำลังรอผลตรวจ[85] วันที่ 21 สิงหาคม โฆษก ศบค. ประกาศว่าที่ประชุมมีมติขยายเวลาสถานการณ์ฉุกเฉินไปอีก 1 เดือน จนหมดเขตวันที่ 30 กันยายน โดยอ้างว่าเพื่อควบคุมการเดินทางเข้าประเทศของคนต่างด้าวหลายเส้นทาง พร้อมกับให้เหตุผลว่า ประชาชนไม่ได้รับผลกระทบจาก พรก. ฉุกเฉิน และที่ประชุม ศบค. ได้ผ่อนปรนการบังคับใช้กฎหมายมากแล้ว เช่น เปิดให้มีการเรียนการสอนในสถานศึกษา[86]

สถิติ

ผู้ป่วย โควิด-19 ใน ประเทศไทย  ()
     เสียชีวิต        รักษาหาย        ่ป่วยกำลังรักษา
2020202020212021
ม.ค.ม.ค.ก.พ.ก.พ.มี.ค.มี.ค.เม.ย.เม.ย.พ.ค.พ.ค.มิ.ย.มิ.ย.ก.ค.ก.ค.ส.ค.ส.ค.ก.ย.ก.ย.ต.ค.ต.ค.พ.ย.พ.ย.ธ.ค.ธ.ค.
ม.ค.ม.ค.ก.พ.ก.พ.มี.ค.มี.ค.เม.ย.เม.ย.
15 วันล่าสุด15 วันล่าสุด
วันที่
# ผู้ป่วย
# เสียชีวิต
2020-01-13
1(n.a.)
1(=)
2020-01-17
2(+100%)
2(=)
2020-01-22
4(+100%)
2020-01-23
4(=)
2020-01-24
5(+25%)
2020-01-25
6(+20%)
2020-01-26
8(+33%)
2020-01-27
8(=)
2020-01-28
14(+75%)
2020-01-29
14(=)
2020-01-30
14(=)
2020-01-31
19(+36%)
2020-02-01
19(=)
2020-02-02
19(=)
2020-02-03
19(=)
2020-02-04
19(=)
2020-02-05
25(+32%)
25(=)
2020-02-09
32(+28%)
2020-02-10
32(=)
2020-02-11
33(+3.1%)
2020-02-12
33(=)
2020-02-13
33(=)
33(=)
2020-02-16
34(+3%)
2020-02-17
35(+2.9%)
35(=)
2020-02-20
35(=)
2020-02-21
35(=)
2020-02-22
35(=)
2020-02-23
35(=)
2020-02-24
35(=)
2020-02-25
37(+5.7%)
2020-02-26
40(+8.1%)
2020-02-27
40(=)
2020-02-28
40(=)
2020-02-29
40(=)
2020-03-01
42(+5%) 1(n.a.)
2020-03-02
43(+2.4%) 1(=)
43(=) 1(=)
2020-03-05
47(+9.3%) 1(=)
2020-03-06
48(+2.1%) 1(=)
2020-03-07
50(+4.2%) 1(=)
2020-03-08
50(=) 1(=)
2020-03-09
50(=) 1(=)
2020-03-10
53(+6%) 1(=)
2020-03-11
59(+11%) 1(=)
2020-03-12
70(+19%) 1(=)
2020-03-13
75(+7.1%) 1(=)
2020-03-14
82(+9.3%) 1(=)
2020-03-15
114(+39%) 1(=)
2020-03-16
147(+29%) 1(=)
2020-03-17
177(+20%) 1(=)
2020-03-18
212(+20%) 1(=)
2020-03-19
272(+28%) 1(=)
2020-03-20
322(+18%) 1(=)
2020-03-21
411(+28%) 1(=)
2020-03-22
599(+46%) 1(=)
2020-03-23
721(+20%) 1(=)
2020-03-24
827(+15%) 4(+300%)
2020-03-25
934(+13%) 4(=)
2020-03-26
1,045(+12%) 4(=)
2020-03-27
1,136(+8.7%) 5(+25%)
2020-03-28
1,245(+9.6%) 6(+20%)
2020-03-29
1,388(+11%) 7(+17%)
2020-03-30
1,524(+9.8%) 9(+29%)
2020-03-31
1,651(+8.3%) 10(+11%)
2020-04-01
1,771(+7.3%) 12(+20%)
2020-04-02
1,875(+5.9%) 15(+25%)
2020-04-03
1,978(+5.5%) 19(+27%)
2020-04-04
2,067(+4.5%) 20(+5.3%)
2020-04-05
2,169(+4.9%) 23(+15%)
2020-04-06
2,220(+2.4%) 26(+13%)
2020-04-07
2,258(+1.7%) 27(+3.8%)
2020-04-08
2,369(+4.9%) 30(+11%)
2020-04-09
2,423(+2.3%) 32(+6.7%)
2020-04-10
2,473(+2.1%) 33(+3.1%)
2020-04-11
2,518(+1.8%) 35(+6.1%)
2020-04-12
2,551(+1.3%) 38(+8.6%)
2020-04-13
2,579(+1.1%) 40(+5.3%)
2020-04-14
2,613(+1.3%) 41(+2.5%)
2020-04-15
2,643(+1.1%) 43(+4.9%)
2020-04-16
2,672(+1.1%) 46(+7%)
2020-04-17
2,700(+1%) 47(+2.2%)
2020-04-18
2,733(+1.2%) 47(=)
2020-04-19
2,765(+1.2%) 47(=)
2020-04-20
2,792(+0.98%) 47(=)
2020-04-21
2,811(+0.68%) 48(+2.1%)
2020-04-22
2,826(+0.53%) 49(+2.1%)
2020-04-23
2,839(+0.46%) 50(+2%)
2020-04-24
2,854(+0.53%) 50(=)
2020-04-25
2,907(+1.9%) 51(+2%)
2020-04-26
2,922(+0.52%) 51(=)
2020-04-27
2,931(+0.31%) 52(+2%)
2020-04-28
2,938(+0.24%) 54(+3.8%)
2020-04-29
2,947(+0.31%) 54(=)
2020-04-30
2,954(+0.24%) 54(=)
2020-05-01
2,960(+0.2%) 54(=)
2020-05-02
2,966(+0.2%) 54(=)
2020-05-03
2,969(+0.1%) 54(=)
2020-05-04
2,987(+0.61%) 54(=)
2020-05-05
2,988(+0.03%) 54(=)
2020-05-06
2,989(+0.03%) 55(+1.9%)
2020-05-07
2,992(+0.1%) 55(=)
2020-05-08
3,000(+0.27%) 55(=)
2020-05-09
3,004(+0.13%) 56(+1.8%)
2020-05-10
3,009(+0.17%) 56(=)
2020-05-11
3,015(+0.2%) 56(=)
2020-05-12
3,017(+0.07%) 56(=)
2020-05-13
3,017(=) 56(=)
2020-05-14
3,018(+0.03%) 56(=)
2020-05-15
3,025(+0.23%) 56(=)
2020-05-16
3,025(=) 56(=)
2020-05-17
3,028(+0.1%) 56(=)
2020-05-18
3,031(+0.1%) 56(=)
2020-05-19
3,033(+0.07%) 56(=)
2020-05-20
3,034(+0.03%) 56(=)
2020-05-21
3,037(+0.1%) 56(=)
2020-05-22
3,037(=) 56(=)
2020-05-23
3,040(+0.1%) 56(=)
2020-05-24
3,040(=) 56(=)
2020-05-25
3,042(+0.07%) 57(+1.8%)
2020-05-26
3,045(+0.1%) 57(=)
2020-05-27
3,054(+0.3%) 57(=)
2020-05-28
3,065(+0.36%) 57(=)
2020-05-29
3,076(+0.36%) 57(=)
2020-05-30
3,077(+0.03%) 57(=)
2020-05-31
3,081(+0.13%) 57(=)
2020-06-01
3,082(+0.03%) 57(=)
2020-06-02
3,083(+0.03%) 58(+1.8%)
2020-06-03
3,084(+0.03%) 58(=)
2020-06-04
3,101(+0.55%) 58(=)
2020-06-05
3,102(+0.03%) 58(=)
2020-06-06
3,104(+0.06%) 58(=)
2020-06-07
3,112(+0.26%) 58(=)
2020-06-08
3,119(+0.22%) 58(=)
2020-06-09
3,121(+0.06%) 58(=)
2020-06-10
3,125(+0.13%) 58(=)
2020-06-11
3,125(=) 58(=)
2020-06-12
3,129(+0.13%) 58(=)
2020-06-13
3,134(+0.16%) 58(=)
2020-06-14
3,135(+0.03%) 58(=)
2020-06-15
3,135(=) 58(=)
2020-06-16
3,135(=) 58(=)
2020-06-17
3,135(=) 58(=)
2020-06-18
3,141(+0.19%) 58(=)
2020-06-19
3,146(+0.16%) 58(=)
2020-06-20
3,147(+0.03%) 58(=)
2020-06-21
3,148(+0.03%) 58(=)
2020-06-22
3,151(+0.1%) 58(=)
2020-06-23
3,156(+0.16%) 58(=)
2020-06-24
3,157(+0.03%) 58(=)
2020-06-25
3,158(+0.03%) 58(=)
2020-06-26
3,162(+0.13%) 58(=)
2020-06-27
3,162(=) 58(=)
2020-06-28
3,162(=) 58(=)
2020-06-29
3,169(+0.22%) 58(=)
2020-06-30
3,171(+0.06%) 58(=)
2020-07-01
3,173(+0.06%) 58(=)
2020-07-02
3,179(+0.19%) 58(=)
2020-07-03
3,180(+0.03%) 58(=)
2020-07-04
3,185(+0.16%) 58(=)
2020-07-05
3,190(+0.16%) 58(=)
2020-07-06
3,195(+0.16%) 58(=)
2020-07-07
3,195(=) 58(=)
2020-07-08
3,197(+0.06%) 58(=)
2020-07-09
3,202(+0.16%) 58(=)
2020-07-10
3,202(=) 58(=)
2020-07-11
3,216(+0.44%) 58(=)
2020-07-12
3,217(+0.03%) 58(=)
2020-07-13
3,220(+0.09%) 58(=)
2020-07-14
3,227(+0.22%) 58(=)
2020-07-15
3,232(+0.15%) 58(=)
2020-07-16
3,236(+0.12%) 58(=)
2020-07-17
3,239(+0.09%) 58(=)
2020-07-18
3,246(+0.22%) 58(=)
2020-07-19
3,249(+0.09%) 58(=)
2020-07-20
3,250(+0.03%) 58(=)
2020-07-21
3,255(+0.15%) 58(=)
2020-07-22
3,261(+0.18%) 58(=)
2020-07-23
3,269(+0.25%) 58(=)
2020-07-24
3,279(+0.31%) 58(=)
2020-07-25
3,282(+0.09%) 58(=)
2020-07-26
3,291(+0.27%) 58(=)
2020-07-27
3,295(+0.12%) 58(=)
2020-07-28
3,297(+0.06%) 58(=)
2020-07-29
3,298(+0.03%) 58(=)
2020-07-30
3,304(+0.18%) 58(=)
2020-07-31
3,310(+0.18%) 58(=)
2020-08-01
3,312(+0.06%) 58(=)
2020-08-02
3,317(+0.15%) 58(=)
2020-08-03
3,320(+0.09%) 58(=)
2020-08-04
3,321(+0.03%) 58(=)
2020-08-05
3,328(+0.21%) 58(=)
2020-08-06
3,330(+0.06%) 58(=)
2020-08-07
3,345(+0.45%) 58(=)
2020-08-08
3,348(+0.09%) 58(=)
2020-08-09
3,351(+0.09%) 58(=)
2020-08-10
3,351(=) 58(=)
2020-08-11
3,351(=) 58(=)
2020-08-12
3,356(+0.15%) 58(=)
2020-08-13
3,359(+0.09%) 58(=)
2020-08-14
3,376(+0.51%) 58(=)
2020-08-15
3,376(=) 58(=)
2020-08-16
3,377(+0.03%) 58(=)
2020-08-17
3,378(+0.03%) 58(=)
2020-08-18
3,381(+0.09%) 58(=)
2020-08-19
3,382(+0.03%) 58(=)
2020-08-20
3,389(+0.21%) 58(=)
2020-08-21
3,390(+0.03%) 58(=)
2020-08-22
3,390(=) 58(=)
2020-08-23
3,395(+0.15%) 58(=)
2020-08-24
3,397(+0.06%) 58(=)
2020-08-25
3,402(+0.15%) 58(=)
2020-08-26
3,403(+0.03%) 58(=)
2020-08-27
3,404(+0.03%) 58(=)
2020-08-28
3,410(+0.18%) 58(=)
2020-08-29
3,411(+0.03%) 58(=)
2020-08-30
3,411(=) 58(=)
2020-08-31
3,412(+0.03%) 58(=)
2020-09-01
3,417(+0.15%) 58(=)
2020-09-02
3,425(+0.23%) 58(=)
2020-09-03
3,427(+0.06%) 58(=)
2020-09-04
3,431(+0.12%) 58(=)
2020-09-05
3,438(+0.2%) 58(=)
2020-09-06
3,444(+0.17%) 58(=)
2020-09-07
3,445(+0.03%) 58(=)
2020-09-08
3,446(+0.03%) 58(=)
2020-09-09
3,447(+0.03%) 58(=)
2020-09-10
3,454(+0.2%) 58(=)
2020-09-11
3,461(+0.2%) 58(=)
2020-09-12
3,466(+0.14%) 58(=)
2020-09-13
3,473(+0.2%) 58(=)
2020-09-14
3,475(+0.06%) 58(=)
2020-09-15
3,480(+0.14%) 58(=)
2020-09-16
3,490(+0.29%) 58(=)
2020-09-17
3,490(=) 58(=)
2020-09-18
3,497(+0.2%) 58(=)
2020-09-19
3,500(+0.09%) 59(+1.7%)
2020-09-20
3,506(+0.17%) 59(=)
2020-09-21
3,506(=) 59(=)
2020-09-22
3,511(+0.14%) 59(=)
2020-09-23
3,514(+0.09%) 59(=)
2020-09-24
3,516(+0.06%) 59(=)
2020-09-25
3,519(+0.09%) 59(=)
2020-09-26
3,522(+0.09%) 59(=)
2020-09-27
3,523(+0.03%) 59(=)
2020-09-28
3,545(+0.62%) 59(=)
2020-09-29
3,559(+0.39%) 59(=)
2020-09-30
3,564(+0.14%) 59(=)
2020-10-01
3,569(+0.14%) 59(=)
2020-10-02
3,575(+0.17%) 59(=)
2020-10-03
3,583(+0.22%) 59(=)
2020-10-04
3,585(+0.06%) 59(=)
2020-10-05
3,590(+0.14%) 59(=)
2020-10-06
3,600(+0.28%) 59(=)
2020-10-07
3,615(+0.42%) 59(=)
2020-10-08
3,622(+0.19%) 59(=)
2020-10-09
3,628(+0.17%) 59(=)
2020-10-10
3,634(+0.17%) 59(=)
2020-10-11
3,636(+0.06%) 59(=)
2020-10-12
3,641(+0.14%) 59(=)
2020-10-13
3,643(+0.05%) 59(=)
2020-10-14
3,652(+0.25%) 59(=)
2020-10-15
3,665(+0.36%) 59(=)
2020-10-16
3,669(+0.11%) 59(=)
2020-10-17
3,679(+0.27%) 59(=)
2020-10-18
3,686(+0.19%) 59(=)
2020-10-19
3,691(+0.14%) 59(=)
2020-10-20
3,700(+0.24%) 59(=)
2020-10-21
3,709(+0.24%) 59(=)
2020-10-22
3,719(+0.27%) 59(=)
2020-10-23
3,727(+0.22%) 59(=)
2020-10-24
3,731(+0.11%) 59(=)
2020-10-25
3,736(+0.13%) 59(=)
2020-10-26
3,743(+0.19%) 59(=)
2020-10-27
3,746(+0.08%) 59(=)
2020-10-28
3,759(+0.35%) 59(=)
2020-10-29
3,763(+0.11%) 59(=)
2020-10-30
3,775(+0.32%) 59(=)
2020-10-31
3,780(+0.13%) 59(=)
2020-11-01
3,784(+0.11%) 59(=)
2020-11-02
3,787(+0.08%) 59(=)
2020-11-03
3,797(+0.26%) 59(=)
2020-11-04
3,804(+0.18%) 59(=)
2020-11-05
3,810(+0.16%) 59(=)
2020-11-06
3,818(+0.21%) 60(+1.7%)
2020-11-07
3,830(+0.31%) 60(=)
2020-11-08
3,837(+0.18%) 60(=)
2020-11-09
3,840(+0.08%) 60(=)
2020-11-10
3,844(+0.1%) 60(=)
2020-11-11
3,847(+0.08%) 60(=)
2020-11-12
3,852(+0.13%) 60(=)
2020-11-13
3,861(+0.23%) 60(=)
2020-11-14
3,866(+0.13%) 60(=)
2020-11-15
3,874(+0.21%) 60(=)
2020-11-16
3,875(+0.03%) 60(=)
2020-11-17
3,878(+0.08%) 60(=)
2020-11-18
3,880(+0.05%) 60(=)
2020-11-19
3,888(+0.21%) 60(=)
2020-11-20
3,892(+0.1%) 60(=)
2020-11-21
3,902(+0.26%) 60(=)
2020-11-22
3,913(+0.28%) 60(=)
2020-11-23
3,920(+0.18%) 60(=)
2020-11-24
3,922(+0.05%) 60(=)
2020-11-25
3,926(+0.1%) 60(=)
2020-11-26
3,942(+0.41%) 60(=)
2020-11-27
3,961(+0.48%) 60(=)
2020-11-28
3,966(+0.13%) 60(=)
2020-11-29
3,977(+0.28%) 60(=)
2020-11-30
3,998(+0.53%) 60(=)
2020-12-01
4,008(+0.25%) 60(=)
2020-12-02
4,026(+0.45%) 60(=)
2020-12-03
4,039(+0.32%) 60(=)
2020-12-04
4,053(+0.35%) 60(=)
2020-12-05
4,072(+0.47%) 60(=)
2020-12-06
4,086(+0.34%) 60(=)
2020-12-07
4,107(+0.51%) 60(=)
2020-12-08
4,126(+0.46%) 60(=)
2020-12-09
4,151(+0.61%) 60(=)
2020-12-10
4,169(+0.43%) 60(=)
2020-12-11
4,180(+0.26%) 60(=)
2020-12-12
4,192(+0.29%) 60(=)
2020-12-13
4,209(+0.41%) 60(=)
2020-12-14
4,237(+0.67%) 60(=)
2020-12-15
4,246(+0.21%) 60(=)
2020-12-16
4,261(+0.35%) 60(=)
2020-12-17
4,281(+0.47%) 60(=)
2020-12-18
4,297(+0.37%) 60(=)
2020-12-19
4,331(+0.79%) 60(=)
2020-12-20
4,907(+13%) 60(=)
2020-12-21
5,289(+7.8%) 60(=)
2020-12-22
5,716(+8.1%) 60(=)
2020-12-23
5,762(+0.8%) 60(=)
2020-12-24
5,829(+1.2%) 60(=)
2020-12-25
5,910(+1.4%) 60(=)
2020-12-26
6,020(+1.9%) 60(=)
2020-12-27
6,141(+2%) 60(=)
2020-12-28
6,285(+2.3%) 60(=)
2020-12-29
6,440(+2.5%) 61(+1.7%)
2020-12-30
6,690(+3.9%) 61(=)
2020-12-31
6,884(+2.9%) 61(=)
2021-01-01
7,163(+4.1%) 63(+3.3%)
2021-01-02
7,379(+3%) 64(+1.6%)
2021-01-03
7,694(+4.3%) 64(=)
2021-01-04
8,439(+9.7%) 65(+1.6%)
2021-01-05
8,966(+6.2%) 65(=)
2021-01-06
9,331(+4.1%) 66(+1.5%)
2021-01-07
9,636(+3.3%) 67(+1.5%)
2021-01-08
9,841(+2.1%) 67(=)
2021-01-09
10,053(+2.2%) 67(=)
2021-01-10
10,298(+2.4%) 67(=)
2021-01-11
10,547(+2.4%) 67(=)
2021-01-12
10,834(+2.7%) 67(=)
2021-01-13
10,991(+1.4%) 67(=)
2021-01-14
11,262(+2.5%) 69(+3%)
2021-01-15
11,450(+1.7%) 69(=)
2021-01-16
11,680(+2%) 70(+1.4%)
2021-01-17
12,054(+3.2%) 70(=)
2021-01-18
12,423(+3.1%) 70(=)
2021-01-19
12,594(+1.4%) 70(=)
2021-01-20
12,653(+0.47%) 71(+1.4%)
2021-01-21
12,795(+1.1%) 71(=)
2021-01-22
13,104(+2.4%) 71(=)
2021-01-23
13,302(+1.5%) 72(+1.4%)
2021-01-24
13,500(+1.5%) 73(+1.4%)
2021-01-25
13,687(+1.4%) 75(+2.7%)
2021-01-26
14,646(+7%) 75(=)
2021-01-27
15,465(+5.6%) 76(+1.3%)
2021-01-28
16,221(+4.9%) 76(=)
2021-01-29
17,023(+4.9%) 76(=)
2021-01-30
17,953(+5.5%) 77(+1.3%)
2021-01-31
18,782(+4.6%) 77(=)
2021-02-01
19,618(+4.5%) 77(=)
2021-02-02
20,454(+4.3%) 79(+2.6%)
2021-02-03
21,249(+3.9%) 79(=)
2021-02-04
22,058(+3.8%) 79(=)
2021-02-05
22,644(+2.7%) 79(=)
2021-02-06
23,134(+2.2%) 79(=)
2021-02-07
23,371(+1%) 79(=)
2021-02-08
23,557(+0.8%) 79(=)
2021-02-09
23,746(+0.8%) 79(=)
2021-02-10
23,903(+0.66%) 80(+1.3%)
2021-02-11
24,104(+0.84%) 80(=)
2021-02-12
24,279(+0.73%) 80(=)
2021-02-13
24,405(+0.52%) 80(=)
2021-02-14
24,571(+0.68%) 80(=)
2021-02-15
24,714(+0.58%) 82(+2.5%)
2021-02-16
24,786(+0.29%) 82(=)
2021-02-17
24,961(+0.71%) 82(=)
2021-02-18
25,111(+0.6%) 82(=)
2021-02-19
25,241(+0.52%) 83(+1.2%)
2021-02-20
25,323(+0.32%) 83(=)
2021-02-21
25,415(+0.36%) 83(=)
2021-02-22
25,504(+0.35%) 83(=)
2021-02-23
25,599(+0.37%) 83(=)
2021-02-24
25,692(+0.36%) 83(=)
2021-02-25
25,764(+0.28%) 83(=)
2021-02-26
25,809(+0.17%) 83(=)
2021-02-27
25,881(+0.28%) 83(=)
2021-02-28
25,951(+0.27%) 83(=)
2021-03-01
26,031(+0.31%) 83(=)
2021-03-02
26,073(+0.16%) 84(+1.2%)
2021-03-03
26,108(+0.13%) 84(=)
2021-03-04
26,162(+0.21%) 85(+1.2%)
2021-03-05
26,241(+0.3%) 85(=)
2021-03-06
26,305(+0.24%) 85(=)
2021-03-07
26,370(+0.25%) 85(=)
2021-03-08
26,441(+0.27%) 85(=)
2021-03-09
26,501(+0.23%) 85(=)
2021-03-10
26,540(+0.15%) 85(=)
2021-03-11
26,598(+0.22%) 85(=)
2021-03-12
26,679(+0.3%) 85(=)
2021-03-13
26,757(+0.29%) 86(+1.2%)
2021-03-14
26,927(+0.64%) 86(=)
2021-03-15
27,005(+0.29%) 87(+1.2%)
2021-03-16
27,154(+0.55%) 87(=)
2021-03-17
27,402(+0.91%) 88(+1.1%)
2021-03-18
27,494(+0.34%) 89(+1.1%)
2021-03-19
27,594(+0.36%) 90(+1.1%)
2021-03-20
27,713(+0.43%) 90(=)
2021-03-21
27,803(+0.32%) 90(=)
2021-03-22
27,876(+0.26%) 91(+1.1%)
2021-03-23
28,277(+1.4%) 92(+1.1%)
2021-03-24
28,346(+0.24%) 92(=)
2021-03-25
28,443(+0.34%) 92(=)
2021-03-26
28,577(+0.47%) 92(=)
2021-03-27
28,657(+0.28%) 93(+1.1%)
2021-03-28
28,734(+0.27%) 94(+1.1%)
2021-03-29
28,773(+0.14%) 94(=)
2021-03-30
28,821(+0.17%) 94(=)
2021-03-31
28,863(+0.15%) 94(=)
2021-04-01
28,889(+0.09%) 94(=)
2021-04-02
28,947(+0.2%) 94(=)
2021-04-03
29,031(+0.29%) 95(+1.1%)
2021-04-04
29,127(+0.33%) 95(=)
2021-04-05
29,321(+0.67%) 95(=)
2021-04-06
29,571(+0.85%) 95(=)
2021-04-07
29,905(+1.1%) 95(=)
2021-04-08
30,310(+1.4%) 95(=)
2021-04-09
30,869(+1.8%) 96(+1.1%)
2021-04-10
31,658(+2.6%) 97(+1%)
2021-04-11
32,625(+3.1%) 97(=)
แหล่งข้อมูล:
  • "รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019". ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข.


แผนที่ของประเทศไทยที่พบผู้ป่วยไวรัสโคโรนายืนยันแล้วหรือผู้ป่วยต้องสงสัย (ณ 20 พฤษภาคม):
  มีรายงานผู้ป่วยยืนยันแล้วและผู้เสียชีวิต
  มีรายงานผู้ป่วยยืนยันแล้ว
  มีรายงานผู้ป่วยต้องสงสัย
  ไม่มีรายงานผู้ป่วย (รักษาหายทั้งหมด)
  ไม่มีผู้ติดเชื้อยืนยันหรือไม่มีข้อมูล
จำนวนผู้ป่วยยืนยันแล้วเรียงตามจังหวัด (ณ 20 พฤษภาคม):
  1–9
  10–99
  100–499
  500–999
  1,000–9,999
รายละเอียดของจำนวนผู้ป่วยและผู้ต้องสงสัยป่วยในประเทศไทย (ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2563)[87][88]
สถานะ ในโรงพยาบาล เสียชีวิต หาย สังเกตอาการ รวม
ยืนยันติดเชื้อ 124 59 3,439 3,622 (+7 จากวันก่อน)
ต้องสงสัย 457,853 (+201 จากวันก่อน)
จำนวนผู้ป่วยยืนยันและผู้เสียชีวิต รายวันและสะสม (WHO situation reports)

ดูเพิ่มเติมที่: การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา 2019/ประเทศไทย/ข้อมูลผู้เสียชีวิต

ดูเพิ่มเติมที่: การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา 2019/ประเทศไทย/ข้อมูลผู้ติดเชื้อ

สถิติผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 สะสมรายจังหวัดในประเทศไทย ณ วันที่ 1 มกราคม 2564[91] ()
ภูมิภาค จังหวัด จำนวนผู้ป่วย เปลี่ยนแปลงจากวันก่อน จำแนกตามเพศ จำแนกตามสัญชาติ เสียชีวิต
ชาย หญิง ไม่ระบุ ไทย ต่างชาติ ไม่ระบุ
กรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล
 กรุงเทพมหานคร 2,355 Negative increase +32 1,273 1,050 32 1,872 466 17 26
 จังหวัดสมุทรปราการ 338 Negative increase +13 180 139 19 278 41 19 4
 จังหวัดนนทบุรี 248 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 131 100 17 186 45 17 1
 จังหวัดสมุทรสาคร[i] 213 Negative increase +99 32 52 129 79 8 126
 จังหวัดนครปฐม 62 Negative increase +1 35 26 1 62
 จังหวัดปทุมธานี 59 Negative increase +2 25 32 2 53 6 1
รวม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (6 จาก 6 จังหวัด) 3,275 Negative increase +147 1,676 1,399 200 2,530 566 179 32
ภาคเหนือ  จังหวัดเชียงราย 73 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 11 62 73
 จังหวัดเชียงใหม่ 47 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 24 23 42 5 1
 จังหวัดอุตรดิตถ์ 6 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 3 3 5 1
 จังหวัดแม่ฮ่องสอน 5 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 4 1 5
 จังหวัดลำปาง 5 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 2 3 5
จังหวัดลำพูน 5 Negative increase +1 2 2 1 5
 จังหวัดพะเยา 4 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 3 4 1
 จังหวัดแพร่ 1 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 1
รวม ภาคเหนือ (8 จาก 9 จังหวัด) 146 Negative increase +1 48 97 1 140 5 1 2
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จังหวัดนครราชสีมา 26 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 10 16 26
 จังหวัดอุบลราชธานี 17 Negative increase +1 9 7 1 17
 จังหวัดบุรีรัมย์ 14 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 4 10 11 3 1
 จังหวัดอุดรธานี 11 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 6 5 10 1
 จังหวัดสุรินทร์ 11 Negative increase +1 5 5 1 11 1
 จังหวัดชัยภูมิ 10 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 5 5 10
 จังหวัดขอนแก่น 9 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 3 6 9
 จังหวัดศรีสะเกษ 8 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 3 5 8
 จังหวัดเลย 6 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 3 3 6
 จังหวัดมุกดาหาร 4 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 3 1 4
 จังหวัดหนองคาย 4 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 3 4
 จังหวัดหนองบัวลำภู 3 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 2 3
 จังหวัดกาฬสินธุ์ 3 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 2 1 3
 จังหวัดร้อยเอ็ด 3 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 2 3
 จังหวัดอำนาจเจริญ 3 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 2 1 3
 จังหวัดนครพนม 2 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 2 2
 จังหวัดมหาสารคาม 2 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 1 2 1
 จังหวัดยโสธร 1 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 1
 จังหวัดสกลนคร 1 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 1
รวม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (19 จาก 20 จังหวัด) 138 Negative increase +2 60 76 2 134 4 0 3
ภาคกลาง  จังหวัดสระบุรี 16 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 6 10 16
 จังหวัดสมุทรสงคราม 14 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 10 3 1 14
 จังหวัดนครสวรรค์ 11 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 6 5 11
 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 10 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 3 7 10 1
 จังหวัดสุพรรณบุรี 7 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 3 4 7
 จังหวัดพิษณุโลก 6 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 2 4 6
 จังหวัดชัยนาท 6 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 3 3 6
 จังหวัดพิจิตร 5 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 3 2 2 3
 จังหวัดนครนายก 5 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 4 1 4 1
 จังหวัดเพชรบูรณ์ 4 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 3 1 3 1
 จังหวัดสุโขทัย 4 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 3 4
 จังหวัดลพบุรี 3 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 2 3
 จังหวัดกำแพงเพชร 2 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 2 2
 จังหวัดอ่างทอง 2 Negative increase +1 1 1 1 1
 จังหวัดอุทัยธานี 1 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 1
 จังหวัดสิงห์บุรี 1 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 1
รวม ภาคกลาง (16 จาก 16 จังหวัด) 97 Negative increase +1 47 48 2 91 6 0 1
ภาคตะวันออก  จังหวัดชลบุรี 785 Negative increase +51 293 317 175 578 32 175 3
 จังหวัดระยอง 272 Negative increase +37 46 58 168 82 22 169 1
 จังหวัดจันทบุรี 47 Negative increase +29 3 3 41 6 41
 จังหวัดฉะเชิงเทรา 39 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 25 13 1 37 1 1 1
 จังหวัดสระแก้ว 12 Negative increase +2 3 7 2 10 2
 จังหวัดตราด 12 Negative increase +8 12 12
 จังหวัดปราจีนบุรี 11 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 6 5 11 1
รวม ภาคตะวันออก (7 จาก 7 จังหวัด) 1,178 Negative increase +127 376 403 399 724 55 399 6
ภาคตะวันตก  จังหวัดตาก 29 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 16 13 16 13 1
 จังหวัดเพชรบุรี 24 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 9 15 24
 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 17 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 10 7 8 9 2
 จังหวัดราชบุรี 17 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 7 10 17
 จังหวัดกาญจนบุรี 10 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 6 4 8 1 1
รวม ภาคตะวันตก (5 จาก 5 จังหวัด) 97 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 48 49 0 73 23 0 3
ภาคใต้ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 231 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 99 132 187 44 3
 จังหวัดสงขลา 136 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 93 43 71 65
 จังหวัดยะลา 135 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 98 37 135 2
 จังหวัดปัตตานี 94 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 64 30 94 1
 จังหวัดนราธิวาส 44 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 34 10 44 2
 จังหวัดกระบี่ 27 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 12 15 18 9
 จังหวัดชุมพร 21 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 2 19 21 3
 จังหวัดสุราษฎร์ธานี 20 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 12 8 16 4
 จังหวัดสตูล 20 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 19 1 20
 จังหวัดนครศรีธรรมราช 15 Negative increase +1 7 7 1 15 1
 จังหวัดพัทลุง 14 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 8 6 14
 จังหวัดตรัง 8 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 2 6 7 1
 จังหวัดพังงา 2 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 1 2​
 จังหวัดระนอง 1 Steady ไม่เปลี่ยนแปลง 1 1​
รวม ภาคใต้ (14 จาก 14 จังหวัด) 767 Negative increase +1 452 315 0 644 123 0 12
ไม่ระบุจังหวัด[ii] 1,464 15 10 1,439 13 5 1,446 4?
รวม 75 จาก 77 จังหวัด 7,163 Negative increase +279 2,722 2,397 2,044 4,350 787 2,025 63
หมายเหตุ:
  1. ไม่รวมผู้ป่วยยืนยันจากการคัดกรองเชิงรุกในกลุ่มแรงงานต่างด้าว
  2. ข้อมูลคำนวณจากส่วนต่างในตารางข้อมูลของ data.go.th และข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมรายวันของ ศบค.





ดูเพิ่มเติมที่: การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา 2019/แผนภูมิ/เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มาตรการรับมือ

มาตรการต่อผู้เดินทางเข้าประเทศ

a ground of a tourist attraction in Bangkok with no people
พระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานคร สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ (มิถุนายน 2563)
a Chinatown street with almost no car and people
เช่นเดียวกันกับเยาวราช ถนนคนเดินที่มักพลุกพล่านด้วยผู้คนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ (พฤษภาคม 2563)

เริ่มมีการคัดกรองผู้โดยสารขาเข้าจากประเทศจีนในท่าอากาศยาน 6 แห่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ท่าอากาศยานดอนเมือง, ท่าอากาศยานภูเก็ต, ท่าอากาศยานเชียงใหม่, ท่าอากาศยานกระบี่ และท่าอากาศยานเชียงราย (เริ่ม 24 มกราคม) พบผู้ป่วยต้องสงสัยจำนวนหนึ่งที่มีภาวะทางเดินหายใจที่พบทั่วไปโรคอื่น[92][93][5]

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ เอ็มเอส เวสเตอร์ดัม ถูกปฏิเสธเข้าเทียบท่า ณ ท่าเรือแหลมฉบัง[94] หลังถูกปฏิเสธจากฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และกวม มาแล้วก่อนหน้านี้[95] วันที่ 13 กุมภาพันธ์ เรือ เอ็มวี ซีบอร์นโอเวชัน และเรือ ควอนตัมออฟเดอะซีส์ ได้รับอนุญาตให้เทียบท่า ทั้งนี้ เพราะเรือทั้งสองมีกำหนดขึ้นฝั่งที่ประเทศไทยอยู่แล้ว ผู้โดยสารบนเรือได้รับการตรวจคัดกรองก่อนได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่ง[96][97]

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ การคัดกรองโควิด-19 ขยายรวมไปถึงผู้เดินทางเข้าประเทศจากประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ กระทรวงสาธารณสุขยังเพิ่มมาตรการต่อโควิด-19 เป็นระดับ 3 เพื่อเตรียมรับการแพร่เชื้อที่เพิ่มขึ้น ทุกจังหวัดต้องมีโรงพยาบาลที่มีศักยภาพทดสอบโควิด-19 ได้อย่างน้อย 1 แห่ง[98] วันที่ 21 กุมภาพันธ์ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเกณฑ์คัดรองใหม่ โดยเพิ่มการตรวจเพิ่มเติมสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศจากฮ่องกง มาเก๊า เกาหลีใต้ และไต้หวัน ผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมไม่ทราบสาเหตุ และอาศัยอยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัดที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมเดินทางมา ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย ชลบุรี กระบี่ ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรปราการ จะถือว่าเป็นผู้ป่วยต้องสงสัยโควิด-19 อัตโนมัติ[99]

วันที่ 6 เมษายน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยออกประกาศขยายเวลาห้ามเที่ยวบินขาเข้าประเทศ จนถึงวันที่ 18 เมษายน[100]

หน่วยงานที่กำกับดูแล

หน่วยงานที่กำกับดูแลการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย คือศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โดยเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ เป็นกรรมการ[58] นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน เป็นโฆษก[101] และแพทย์หญิง พรรณประภา ยงค์ตระกูล เป็นผู้ช่วยโฆษกตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม[102] สำหรับการแถลงข่าวจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และสื่อสารต่อประชาชนเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในทุก ๆ วัน

มาตรการจำกัดการระบาดในประเทศ

วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศเพื่อสกัดการแพร่ของโควิด-19 โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ วันที่ 26 มีนาคม – 30 เมษายน มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ห้ามบุคคลเข้าไปในเขตที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งห้าม รวมทั้งห้ามชุมนุมและเผยแพร่ข่าวปลอม[103] วันที่ 3 เมษายน รัฐบาลประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหะสถาน ตั้งแต่เวลา 22.00 น. – 4.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ยกเว้นบางอาชีพ เป็นมาตรการรับมือโควิด-19 วันที่ 17 เมษายน ตำรวจรายงานว่าจับกุมผู้ฝ่าฝืนคำสั่งได้ 7,000 คน[104]

วันที่ 7 เมษายน คณะรัฐมนตรีสั่งเลื่อนวันเปิดภาคเรียนภาคเรียนที่ 1/2563 เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม วันที่ 8 เมษายน กระทรวงวัฒนธรรมสั่งห้ามจัดงานสงกรานต์ทุกระดับ[54]

จนวันที่ 9 เมษายน 14 จังหวัดและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศห้ามเข้าออก ได้แก่ เชียงราย ตาก น่าน แพร่ ตราด บึงกาฬ ภูเก็ต สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เมืองพัทยา และระนอง[105] วันที่ 11 เมษายน 47 จังหวัดมีคำสั่งงดจำหน่ายสุราชั่วคราว[106] หลังราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งอนุญาตให้จำหน่ายสุราได้แต่ห้ามนั่งดื่มที่ร้าน ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีและพิษณุโลกสั่งห้ามจำหน่ายสุราต่อไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม และสั่งปิดท่าอากาศยานพิษณุโลกสำหรับให้อากาศยานใช้ขึ้นลงด้วย[107]

วันที่ 1 พฤษภาคม พรก. ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ โดยยังคงเคอร์ฟิวและให้งดเว้นการเดินทางข้ามจังหวัดยกเว้นมีเหตุจำเป็น และให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่กำหนด[108]

จากเหตุการณ์พบทหารอียิปต์ติดโตวิด-19 จำนวน 1 นายในวันที่ 8 กรกฎาคม มีคำสั่งปิดโรงเรียนในจังหวัดระยอง 274 แห่ง[109] และมีการปิดห้างจำนวน 2 แห่ง ผู้ที่อยู่ในห้างในช่วงดังกล่าวจำนวนเกือบ 800 คนได้รับคำแนะนำให้ตรวจหาเชื้อไวรัส[110]

มาตรการทางเศรษฐกิจ

วันที่ 17 เมษายน ประยุทธ์แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ ว่าจะส่งจดหมายเปิดผนึกถึงมหาเศรษฐีไทย 20 อันดับแรก เพื่อขอให้ร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาโควิด-19[111] วันที่ 19 เมษายน ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกำหนดกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวม 3 ฉบับ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท[112]

วันที่ 21 เมษายน สำนักงานประกันสังคมเปิดเผยว่ามีผู้ประกันตนยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนแล้วกว่า 1.2 ล้านราย พร้อมยืนยันว่าสำนักงานฯ มีเงินลงทุนกรณีว่างงานกว่า 160,000 ล้านบาท ไม่กระทบต่อเสถียรภาพของสำนักงานฯ[113]

วันที่ 24 เมษายน ศบค. ออกมาเปิดเผยว่าค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 คิดเป็นประมาณ 1 ล้านบาทต่อคน[114]

กระทรวงการคลังแถลงว่าจะมีผู้ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาททางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ครบ 11 ล้านคนจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[115]

ระหว่างเดือนมิถุนายนถึง 13 กรกฎาคม ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานว่าได้อนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแล้ว 63,342 ราย คิดเป็นมูลค่า 103,750 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของวงเงิน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอีกกว่า 2.4 ล้านราย (ร้อยละ 83 ของผู้ประกอบการทั้งหมด) ไม่มีสิทธิในเงินกู้ดังกล่าว[116]

ในเดือนสิงหาคม มีการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของ "Phuket Bubble Model" หรือการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าจังหวัดภูเก็ต[117]

ข้อจำกัดสำหรับผู้เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงติดโรค

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดพื้นที่เสี่ยงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เขตติดโรคติดต่ออันตราย[118] และพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง[119]

เขตติดโรคติดต่ออันตราย

ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศ จีน (รวมฮ่องกง และ มาเก๊า), เกาหลีใต้, อิตาลี และ อิหร่าน จะได้รับการกักตัวในพื้นที่ที่รัฐกำหนดเป็นเวลา 14 วัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 เมษายน ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดเขตติดโรคติดต่ออันตราย เพิ่มเติมจากประกาศฉบับแรกอีก 5 ประเทศ[120] รวมเป็นทั้งหมด 9 ประเทศ

ในวันที่ 15 พฤษภาคม มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขยกเลิกท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดต่อโรคอันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยยกเลิกประเทศ จีน (รวมฮ่องกง และ มาเก๊า) และ เกาหลีใต้ ออกจากเขตติดต่อโรคอันตราย[121]

พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง

ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศดังกล่าว ต้องแยกตัวจากผู้อื่นและไม่ควรออกจากบ้านเป็นเวลา 14 วัน และจะมีเจ้าหน้าที่ติดตามใกล้ชิด

ผลกระทบ

วันที่ 13 เมษายน ประธานหอการค้าไทยเปิดเผยว่า คนไทยอาจสูญเสียงานแล้วกว่า 7 ล้านตำแหน่ง และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านตำแหน่งหากการระบาดยังยืดเยื้อต่อไปอีก 2–3 เดือน[122] วันที่ 17 เมษายน สายการบินพาณิชย์ที่ดำเนินการในประเทศไทย 8 แห่งยื่นหนังสือทวงถามกระทรวงการคลังถึงมาตรการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 25,000 ล้านบาทที่ร้องขอไปก่อนหน้านี้[123] ด้านสายการบินแห่งชาติของไทย การบินไทย ได้รับผลกระทบต่อผลประกอบการอย่างหนัก สำนักข่าวนิกเกอิรายงานเมื่อวันที่ 23 เมษายนว่า การบินไทยอาจเป็นสายการบินแห่งชาติรายแรกของโลกที่ล้มละลายท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19[124] แม้ว่ากระทรวงการคลังจะออกเงินกู้วงเงิน 50,000 ล้านบาทเมื่อวันที่ 29 เมษายน แต่จำนวนดังกล่าวน่าจะทำให้บริษัทคงสภาพคล่องไปได้ถึงสิ้นปี พ.ศ. 2563 เท่านั้น[125]

การสำรวจขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติในเดือนมิถุนายน 2563 พบว่า อุตสาหกรรมกว่าร้อยละ 90 คาดว่าจะเสียรายได้กว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีกลาย[126]: 1  มาตรการของรัฐทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์มีดัชนีสมรรถนะการผลิต (MPI) ในเดือนเมษายน 2563 ลดลงปีต่อปีร้อยละ 82 นับเป็นการผลิตที่ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2530 อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักรองลงมา ได้แก่ ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์, มอลต์และเครื่องดื่มมอลต์ ระบบเครื่องปรับอากาศและน้ำตาล[126]: 2  ส่วนอุตสาหกรรมที่มี MPI เพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2563 ได้แก่ คอนกรีตและซีเมนต์ การแพทย์ แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารสัตว์ โดยเพิ่มขึ้นปีต่อปีตั้งแต่ร้อยละ 10 ถึง 40[126]: 2 

ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม เกิดการประท้วงเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ และมาตรการตอบสนองของรัฐบาลที่ล้มเหลว ในเดือนสิงหาคม มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ของปี 2563 พบว่าเศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 12.2 อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.95 หรือประมาณ 8 แสนคน ด้านมหาวิทยายลัยหอการค้าไทยเปิดเผยว่า หากสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดีขึ้นใน 6 เดือนจะมีการปลดคนงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านคน[127] ด้านนายกรัฐมนตรีกล่าวโทษการประท้วงว่าทำให้เศรษฐกิจทรุดหนักเข้าไปอีก

การแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ

 เกาหลีใต้ – เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ หญิงชาวเกาหลีใต้กลับจากการเดินท่องเที่ยวประเทศไทย พบว่าผลเป็นบวก และยืนยันการติดเชื้อเป็นกรณีที่ 16 ของประเทศ[128]

 เยอรมนี – เมื่อ 4 มีนาคม เมืองโคโลญยืนยันผู้ป่วย 5 กรณี ซึ่งรวมถึงหญิงที่กลับจากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย และคาดว่าติดเชื้อที่นั่น[129]

 ออสเตรเลีย – เมื่อ 5 มีนาคม รัฐควีนส์แลนด์ยืนยันว่า ชายวัย 81 ปี ที่เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศไทยได้ทำการทดสอบโรค พบว่าผลเป็นบวก และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซันไชน์โคสต์[130]

 อินเดีย – เมื่อ 6 มีนาคม อินเดียรายงานยืนยันกรณีที่ 31 ผู้ป่วยเป็นชาวอินเดียที่มีประวัติการเดินทางจากประเทศไทยและมาเลเซีย[131]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 COVID-19 Dashboard
  2. Cheung, Elizabeth (13 January 2020). "Thailand confirms first case of Wuhan virus outside China". South China Morning Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2020. สืบค้นเมื่อ 13 January 2020.
  3. "สธ.แถลง พบคนขับแท็กซี่ ติดไวรัสโคโรน่า เป็นคนไทยรายแรก ไม่มีประวัติไปจีน" [MOPH announces taxi driver infected with coronavirus; first Thai case with no records of travelling to China]. Thairath Online. 31 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  4. "ผู้ป่วยโควิด-19 ในไทย ปะทุจากผับกทม.4 ย่านดัง- สนามมวยแพร่ไป 9 จ." [COVID-19 cases in Thailand surge; spreads from four major Bangkok-area entertainment districts – boxing stadiums to 9 provinces]. Krungthep Turakij. 20 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  5. 5.0 5.1 "รายงานข่าวกรณีโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Novel Coronavirus;2019-nCoV) ประจำวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563" [Report of Novel Coronavirus (2019-nCoV) situation in Thailand, 1 February 2020]. 1 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020 – โดยทาง Ministry of Public Health, Thailand.
  6. "สธ.ยกระดับควบคุมป้องกันโรค ประกาศคำเตือนระดับ 3 หลีกเลี่ยงเดินทางไปพื้นที่ระบาด" [MOPH ramps up disease control measures; issues level 3 warning to avoid areas with ongoing transmission]. The Bangkok Insight. 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  7. "4 ประเทศกลุ่มเสี่ยงเข้าไทยต้องมี "ใบรับรองแพทย์"" [Arrivals from 4 high-risk coutries required to present "medical certificates"]. Thai PBS. 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  8. "ประกาศสกัดโควิด-19 ต่างชาติเข้าไทยต้องมีใบรับรองแพทย์-ประกันภัยแสนเหรียญ" [To curb COVID-19, foreigners arriving in Thailand now required to possess medical certificate – 100,000 USD health insurance]. Thairath Online. 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  9. "Covid-19: Thailand's strict new entry requirements take effect". New Straits Times. 22 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  10. "กทม.และ 5 จังหวัด ประกาศปิดห้างกับ 25 สถานที่ (คลิป)" [Bangkok and five other provinces close malls and 25 other locations (with clip)]. Thairath Online. 22 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  11. The Standard Team (24 March 2020). "นายกฯ ประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน คุมโควิด-19 มีผล 26 มี.ค. ย้ำยังไม่ประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกนอกบ้าน" [PM declares state of emergency effective 26 March in response to COVID-19; maintains there is no curfew yet]. The Standard. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  12. "Curfew starts today". Bangkok Post. 3 April 2020. สืบค้นเมื่อ 3 April 2020.
  13. "ประกาศราชกิจจาฯ 'หน้ากากอนามัย-เจลล้างมือ' สินค้าควบคุม 1 ปี" [New regulations imposed on 'face masks – hand gels' to remain in effect for one year]. Krungthep Turakij. 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  14. "'จุรินทร์'รับกำลังผลิตหน้ากากอนามัยไม่เพียงพอ" ['Churin' admits production capacity of face masks still not enough]. Daily News. 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  15. "หน้ากากอนามัยไม่เพียงพอ สธ.แนะคนไม่ป่วยให้ใส่หน้ากากผ้า" [In face of mask shortage, MOPH advises the healthy to wear cloth masks]. Workpoint News. 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  16. Rojanaphruk, Pravit (9 March 2020). "Minister's Aide Accused of Hoarding, Selling Millions of Masks to China". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  17. "คนไทยในต่างแดนฟ้องศาลปกครองสั่งยกเลิกใบ Fit to Fly" [Thais living abroad file petition with Administrative Court to rescind fit-to-fly order]. BBC Thai. 27 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  18. "มึน กทม. "ยกเลิกข่าว" ปิดห้าง 22 วัน" [Confusion ensues as Bangkok authorities "cancel" news release of 22-day mall shutdown]. Thansettakij. 21 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  19. "เผยคนแห่นั่งรถทัวร์ กลับบ้านหนีโควิด เกือบแสน! รมว.คมนาคม สั่งทำ 7 ขั้นตอน" [Nearly 100,000 flock home on tour buses to flee COVID! Transport Minister orders 7-step procedure]. Khaosod. 22 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  20. Abuza, Zachary (21 April 2020). "Explaining Successful (and Unsuccessful) COVID-19 Responses in Southeast Asia". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. Bello, Walden (3 June 2020). "How Thailand Contained COVID-19". Foreign Policy In Focus. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. Paweewun, Oranan (16 April 2020). "IMF: Thai GDP down 6.7%". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.
  23. Theparat, Chatrudee (7 April 2020). "Cabinet gives green light to B1.9tn stimulus". Bangkok Post.
  24. Schnirring, Lisa (14 January 2020). "Report: Thailand's coronavirus patient didn't visit outbreak market". CIDRAP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
  25. "Novel coronavirus (02): Thailand ex China (HU) WHO. Archive Number: 20200113.6886644". Pro-MED-mail. International Society for Infectious Diseases. สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
  26. "Thailand confirms first case of Wuhan virus outside China". South China Morning Post. 13 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2020. สืบค้นเมื่อ 13 January 2020.
  27. Sui-Lee Wee (15 January 2020). "Japan and Thailand Confirm New Cases of Chinese Coronavirus". The New York Times. ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2020. สืบค้นเมื่อ 17 January 2020.
  28. CityNews. "New patient suspected of new corona virus found in Chiang Mai". Chiang Mai Citylife (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-22.
  29. Nwdnattawadee, Nwdnattawadee (2020-01-21). "ด่วน! เชียงใหม่พบผู้ต้องสงสัยปอดอักเสบ เป็นชายชาวจีน มีไข้สูง เดินทางมาจากอู่ฮั่น ประเทศจีน". CM108 เชียงใหม่108. สืบค้นเมื่อ 2020-01-22.
  30. "First Thai infected with coronavirus". Bangkok Post. 22 January 2020. สืบค้นเมื่อ 23 January 2020.
  31. "Govt confirms Thai coronavirus case". Bangkok Post. 23 January 2020. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
  32. "สธ.ยืนยัน สาวจีนป่วย ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ รายที่ 5 แล้วในไทย". Khaoosod. 24 January 2020. สืบค้นเมื่อ 25 January 2020.
  33. "ผลออกแล้ว!หญิงชาวจีนที่หัวหิน ติดเชื้อ'ไวรัสโคโรน่า'". Dailynews. 25 January 2020. สืบค้นเมื่อ 25 January 2020.
  34. "สธ.ยืนยันพบผู้ป่วย "ไวรัสโคโรนา" 8 ราย". PPTVHD36. 25 January 2020. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
  35. "ด่วน! สธ.ยืนยัน พบนักท่องเที่ยวจีนในไทยติดเชื้อโคโรนาเพิ่ม 6 คน". Thai PBS. 2020-01-28. สืบค้นเมื่อ 2020-01-28.
  36. "Thailand confirms 6 more Wuhan virus infections, bringing total to 14". CNA. 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
  37. "สธ.แถลง พบคนขับแท็กซี่ ติดไวรัสโคโรน่า เป็นคนไทยรายแรก ไม่มีประวัติไปจีน" [Ministry of Health announces taxi driver infected with coronavirus, first Thai with no records of travelling to China]. Thairath Online. 31 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  38. "Thailand confirms first human-to-human coronavirus transmission, total cases rises to 19". CNA. 31 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
  39. "Human transmission of coronavirus confirmed in Thailand". Bangkok Post. 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
  40. "Cocktail of flu, HIV drugs appears to help fight coronavirus: Thai doctors". Reuters. 3 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
  41. "เครื่องบินรับ 138 คนไทยจากอู่ฮั่น เดินทางถึงสนามบินอู่ตะเภาแล้ว (มีคลิป)" [Plane carrying 138 Thais from Wuhan has landed at U-Tapao Airport (with clip)]. Sanook. 4 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
  42. Thepgumpanat, Panarat; Tanakasempipat, Patpicha (4 February 2020). "Thailand confirms six new coronavirus cases, including four Thais". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
  43. "Seven new virus cases found". Bangkok Post. 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020.
  44. "Thailand reports 1 new case of coronavirus, brings total to 33". Bangkok Post. Reuters. 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  45. "First case of medical worker found". Bangkok Post. 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020.
  46. "บุคลากรทางการแพทย์ไทย ติด 'ไวรัสโคโรน่า 2019' รายแรก". 15 February 2020. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020 – โดยทาง กรุงเทพธุรกิจ.
  47. Boonbandit, Tappanai (25 February 2020). "Thailand Reports 2 More Cases of Coronavirus, 37 in Total". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  48. "ผลตรวจ 101 คน สัมผัส 'ปู่ย่าหลาน' ป่วย 'โควิด-19' ออกแล้ว!" [Lab results of 101 individuals who came into contact with 'grandparents-grandson' infected with 'COVID-19' are out!]. Krungthep Turakij. 27 February 2020. สืบค้นเมื่อ 27 February 2020.
  49. "`อนุทิน` รับผู้ป่วยโควิด-19 ล่าสุด เสี่ยงเป็น Super spreader". efinancethai. 26 February 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  50. "New coronavirus infection in Thailand takes tally to 42". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-02-29. สืบค้นเมื่อ 2020-02-29.
  51. "ไวรัสโคโรนา : ผู้ป่วยโควิด-19 คนไทย เสียชีวิตรายแรก" [First Thai COVID-19 death]. 1 March 2020. สืบค้นเมื่อ 1 March 2020 – โดยทาง BBC Thailand.
  52. นายก สั่งเด้ง! อธิบดีกรมการค้าภายใน ย้ายไปสำนักนายก
  53. "ไวรัสโคโรนา : ครม.สั่งปิดสถานศึกษา-สถานบันเทิง ชาวต่างชาติจากเขตโรคติดต่อต้องมีใบรับรองแพทย์". บีบีซีไทย. 17 March 2020. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
  54. 54.0 54.1 ย้อนไทม์ไลน์ 100 วัน กับสถานการณ์ ‘โควิด-19’ ในประเทศไทย
  55. "ไวรัสโคโรนา : สธ.แถลงผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิตอีก 3 ติดเชื้อเพิ่ม 106 ราย". บีบีซีไทย. 24 March 2020. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
  56. "ไวรัสโคโรนา : รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งประเทศ 26 มี.ค.-30 เม.ย. สกัดโควิด-19 ยังไม่สั่ง "ปิดประเทศ-ปิดเมือง-ปิดบ้าน"". บีบีซีไทย. 25 March 2020. สืบค้นเมื่อ 31 March 2020.
  57. คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
  58. 58.0 58.1 ไทยโพสต์ (25 March 2020). "เปิดคำสั่งตั้ง 'ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19' บิ๊กตู่นำทัพต้านไวรัสนรก". www.thaipost.net. สืบค้นเมื่อ 6 April 2020.
  59. หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ (10 April 2020). "โควิด-19 : เคอร์ฟิว 24 ชม. ในไทยยังเป็นแค่ "ข่าวปลอม" แล้วมีประเทศไหนบ้างที่สั่ง "ปิดบ้าน" สกัดไวรัสโคโรนา". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 10 April 2020.
  60. ปูพรมตรวจ Active case finding ตัดตอน COVID-19 ระบาด
  61. กรุงผวาอีกรอบ! กทม.ตรวจโควิดเชิงรุก เจอติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 5
  62. “เจาะลึกพฤติกรรมคนไทย” ต่อมาตรการลดแพร่ระบาดโควิด-19
  63. เพื่อไทย ห่วง จนท.ทำเกินกว่าเหตุ จับผู้ใจบุญแจกอาหารช่วงโควิด-19
  64. เปิดวิธี ‘แจกอาหาร’ ให้ถูกระเบียบ กทม. สู้ภัยโควิด-19 ไปด้วยกัน
  65. ฟังแล้วจุก! ติดต่อแจก ของบริจาค โดนถามกลับ อยากได้หน้าเหรอ?
  66. โควิด-19 : ฝ่ายค้านมีมติให้รัฐบาลเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขอเปิดสภาสมัยวิสามัญถกปัญหาไวรัส
  67. โควิด-19 : ไทยพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 53 ราย จากการตรวจกลุ่มแรงงานข้ามชาติซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงรายใหม่
  68. โควิด-19 : ศบค. เคาะมาตรการผ่อนปรน 6 กลุ่มกิจการ-กิจกรรม เริ่ม 3 พ.ค.
  69. เผยยะลาปฏิบัติการเชิงรุก พบผู้ติดโควิดที่ยะหากว่า 20 คน สั่งตรวจใหม่
  70. ไทยพบผู้ติดเชื้อ 'โควิด-19' เพิ่ม 18 ราย รวมยอดสะสม 2,987 ราย ไม่พบเสียชีวิตเพิ่ม
  71. '4 สัญญาณ'เฝ้าระวัง'โควิด-19'ระบาดระลอก2ในไทย
  72. โควิด-19 : ไทยไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่เป็นวันแรก
  73. โควิด-19 : ศบค. เดินหน้าผ่อนปรนมาตรการระยะ 2 ลดเวลาเคอร์ฟิว เปิดห้างใหญ่-สนามกีฬา 17 พ.ค.
  74. เคาะต่อพรก.ฉุกเฉิน1เดือน…ลุ้นลดเคอร์ฟิว-ผ่อนปรนเฟส3
  75. เบื้องหลัง “คลายล็อกเฟส 3" เตรียมยกเลิก "พรก.ฉุกเฉิน" หลังระยะ4
  76. สปริงนิวส์ (31 May 2020). "เดินทางข้ามจังหวัด ตามมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 ต้องทำอย่างไรบ้าง?". www.springnews.co.th. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
  77. กทม. ประกาศผ่อนปรนระยะ 4 เช็ก 11 สถานที่เปิดได้ ส่วนอีก 5 ยังหมดสิทธิ์
  78. โควิด-19 : ผ่อนคลายมาตรการระยะ 5 ผับ-บาร์-คาราโอเกะ-อาบอบนวด เปิดได้แต่ต้องปิดเที่ยงคืน
  79. ต่ออายุ "พรก.ฉุกเฉิน" ครม.เคาะวันนี้ เตือน ห้ามชุมนุม-กักตุนสินค้า โทษหนัก
  80. สรุปครบ! ประเด็น 'ทหารอียิปต์' และ 'ลูกทูตซูดาน' ป่วยโควิด-19 เสี่ยงระบาดในไทย
  81. เคลียร์ชัด! เคส VIP 'ทหารอียิปต์' ศบค.แจงทำไมไม่ตรวจ 'โควิด-19'
  82. 'การบินไทย' สั่งกักตัว 7 จนท.ภาคพื้น หลังให้บริการ 'ทหารอียิปต์'
  83. กักตัวตำรวจภูธรเมืองระยอง 6 นายเสี่ยงโควิด-19
  84. ครม.ไฟเขียว สั่งย้ายผู้ว่าฯ ระยอง
  85. ""โอกาสที่จะเป็นการติดเชื้อในประเทศได้น้อยมาก"". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  86. "ศบค.ชุดใหญ่ เคาะต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือน". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  87. "เว็บท่าสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)". ไทยรู้สู้โควิด. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 20 June 2020.
  88. "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถานการณ์ในประเทศไทย". กรมควบคุมโรค. สืบค้นเมื่อ 20 June 2020.
  89. 89.0 89.1 89.2 "รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019". สืบค้นเมื่อ 30 June 2020 – โดยทาง กระทรวงสาธารณสุข.
  90. "รายงาน COVID-19 ประจำวัน". สืบค้นเมื่อ 3 July 2020 – โดยทาง Open Government Data of Thailand.
  91. รายงาน COVID-19 ประจำวัน. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2563 – โดยทาง สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล.
  92. "WHO | Novel Coronavirus – Thailand (ex-China)". WHO. 14 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
  93. "Wuhan viral pneumonia alert". Chiang Mai Citylife. 7 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
  94. Slessor, Camron (11 February 2020). "Westerdam cruise ship stranded at sea again after being refused entry to Thailand amid coronavirus fears". ABC News. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  95. "Thailand bars Westerdam cruise ship, China virus toll tops 1,000". Bangkok Post. 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  96. "Phuket liner let-in cops flak". Bangkok Post. 14 February 2020. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
  97. "สรุปประเด็นเรือสำราญเทียบท่าภูเก็ต". The Standard. 13 February 2020. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
  98. "Japanese and S'pore arrivals screened". Bangkok Post. 18 February 2020. สืบค้นเมื่อ 18 February 2020.
  99. "Thailand expands virus detection". Bangkok Post. 21 February 2020. สืบค้นเมื่อ 22 February 2020.
  100. โควิด-19 : ออกคำสั่งขยายเวลาห้ามเครื่องบินโดยสารเข้าไทยชั่วคราว จาก 6 เม.ย. ไปถึง 18 เม.ย.
  101. สยามรัฐ (26 March 2020). "'ศบค.' ตั้ง 'หมอทวีศิลป์ วิษณุโยธิน' ปฏิบัติหน้าที่ โฆษก ศบค". siamrath.co.th. สืบค้นเมื่อ 1 August 2020.
  102. สนุก.คอม (16 May 2020). "เปิดประวัติ "หมอบุ๋ม" พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษก ศบค". www.sanook.com. สืบค้นเมื่อ 1 August 2020.
  103. ไวรัสโคโรนา : รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งประเทศ 26 มี.ค.-30 เม.ย. สกัดโควิด-19 ยังไม่สั่ง “ปิดประเทศ-ปิดเมือง-ปิดบ้าน”
  104. 7,000 Curfew Arrests Made Over the Past Two Weeks: Police
  105. เช็กที่นี่!! 14 จังหวัดประกาศล็อกดาวน์ ห้ามเข้า-ออกแล้ว
  106. “มหาดไทย” เปิดชื่อ 47 จังหวัด งดขายเหล้า สกัดโควิด-19
  107. เพชรบุรี-พิษณุโลก ยังห้ามขายเหล้าต่ออีก 1 เดือน
  108. พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯยังคงเคอร์ฟิว4ทุ่มถึงตี4ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด
  109. ลุกลาม! ระยองสั่งปิดโรงเรียน 274 แห่ง ปม "ทหารอียิปต์" ติดโควิด
  110. ปิดห้างระยอง 2 วันคุม COVID-19 คัดกรองคนเฉียดพัน
  111. นายกฯ ปลุกพลังคนไทย ขอความร่วมมือ 20 เศรษฐีไทย รวมใจ ฝ่าภัยโควิด-19. ไทยรัฐ.
  112. ด่วน! ราชกิจจาประกาศ พ.ร.ก.เงินกู้ 1.9 ล้านล้าน 3 ฉบับรวด “ห้ามจ่ายนอกรายการโควิด”
  113. ผู้ว่างงานขอเยียวยาทะลุ 1.2 ล้านราย ได้เงินแล้ว 8 พันราย
  114. ศบค.เผย งบฯ รักษาติดเชื้อโควิด-19 คนละล้าน-เกิดระบาดรอบ 2 อีกไม่ได้
  115. 'เราไม่ทิ้งกัน' โอน 'เงินเยียวยา' ส่วนที่เหลือแล้ว 5-8 พ.ค.ได้เงินครบทั้ง 11 ล้านคน
  116. ส่อง Soft Loan แบงก์ชาติ SME เข้าถึงแค่ 12% ของผู้ประกอบการที่มีสินเชื่อ
  117. "ศบค.ลงพื้นที่ภูเก็ต หารือเตรียมความพร้อมผ่อนปรนให้คนต่างชาติเข้าภูเก็ต ฟื้นฟูเศรษฐกิจ". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  118. "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักร ที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019". กรมควบคุมโรค. 6 March 2020.
  119. "ผู้เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง หรือพื้นที่พบผู้ป่วยตามรายงานขององค์การอนามัยโลก". กรมควบคุมโรค. 16 March 2020.
  120. "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๙๓ ง หน้า ๑๖. ๒๒ เมษายน ๒๕๖๓.
  121. "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. ๒๕๖๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง หน้า ๒๑. ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓.
  122. Covid-19 outbreak ‘could kill 10m Thai jobs’
  123. ออกโรงทวงเงินกู้ 2.5 หมื่นล้าน วอนรัฐอย่าลืม “ธุรกิจการบิน”
  124. Thai Airways on financial brink as government debates rescue
  125. โควิด-19 : วิกฤตโรคระบาดทำสายการบินทั่วโลก ลดคน-ลดเงินเดือน-ขอรัฐช่วย
  126. 126.0 126.1 126.2 Impact Assessment of COVID-19 on Thai Industrial Sector (PDF). UNIDO Regional Office Hub in Thailand, United Nations Thailand. June 2020.
  127. "ขีดเส้น6เดือนเศรษฐกิจไม่กระเตื้องตกงานอีก2ล้านคน". โพสต์ทูเดย์ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  128. "Coronavirus: South Korean woman travelling home from Thailand tests positive for virus". The Straits Times. 4 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
  129. "Coronavirus Mitglied des WDR-Rundfunkrats positiv getestet – 29 Fälle in Köln". Kölner Stadt-Anzeiger. 4 March 2020.
  130. "Novel Coronavirus alert". Queensland Government. 5 March 2020.
  131. "Coronavirus: Delhi resident tests positive for coronavirus, total 31 people infected in India". Hindustan Times. สืบค้นเมื่อ 6 March 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น