การโจมตียะลา พ.ศ. 2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 2019 Yala attack)
การโจมตียะลา พ.ศ. 2562
เป็นส่วนหนึ่งของความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
แผนที่จังหวัดยะลาจุดเกิดเหตุอำเภอเมืองยะลา
สถานที่ป้อมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา[1]
วันที่5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
ประมาณ 22:20 น.[2][3] (UTC+07:00)
เป้าหมายเป้าหมายอ่อนแอ[4]
ประเภทการสังหารหมู่[5]
อาวุธฝ่ายบีอาร์เอ็น:
 • อาก้า[3]
 • เอ็ม 16[3]
 • ปืนลูกซอง[3]
 • ระเบิดขว้าง[6]
 • เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79[6]
ฝ่าย ชรบ.:
 • เอ็ม 16[7]
 • ปืนลูกซอง[7]
 • ปืนพก[7]
ตายฝ่าย ชรบ.:
15 ราย (พุทธ 13 ราย, มุสลิม 2 ราย)[6]
เจ็บฝ่ายบีอาร์เอ็น:
เชื่อว่าสาหัส 1–2 ราย[2][4][8]
ฝ่าย ชรบ.:
5 ราย (สาหัส 3 ราย, เล็กน้อย 2 ราย)[9]
ผู้ก่อเหตุบีอาร์เอ็น[5]
ผู้ต่อต้านชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 มีผู้เสียชีวิต 15 คน และบาดเจ็บอีก 5 คน จากการโจมตีจุดตรวจรักษาความปลอดภัย ที่จังหวัดยะลา ประเทศไทย[10] ในบรรดาผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บคือเจ้าหน้าที่ตำรวจและอาสาสมัครป้องกันหมู่บ้านจำนวนมาก[11] โดยผู้เสียชีวิตเป็นชาย 10 ราย และหญิง 5 ราย นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่สุดของกองกำลังภาคประชาชนในเหตุการณ์ไฟใต้[12]

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้ก่อเหตุได้ปล้นปืนของผู้เสียชีวิตไปด้วย 8 กระบอก ได้แก่ เอ็ม 16 จำนวน 1 กระบอก, ปืนลูกซอง 2 กระบอก และปืนพก 5 กระบอก[7] รวมถึงมีการโปรยตะปูเรือใบ, ตัดต้นไม้ขวางทาง และเผายางรถยนต์กลางถนน เพื่อสกัดกั้นการติดตามของเจ้าหน้าที่[13][14]

ผลที่ตามมา[แก้]

หลังเกิดเหตุการณ์ไม่นาน พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เร่งเดินทางมายังพื้นที่ เพื่อตรวจจุดก่อเหตุการสังหารหมู่ด้วยตนเอง พร้อมสั่งให้ตำรวจชุดพิสูจน์หลักฐาน รวบรวมพยานหลักฐานในจุดเกิดเหตุให้ครอบคลุมทั้งหมด รวมถึงให้ติดตามผู้ก่อเหตุอย่างเร่งด่วน[15][16]

จากหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ได้พบรอยเลือดและดีเอ็นเอของผู้ก่อเหตุ โดยมีการออกหมายจับและสอบปากคำผู้ต้องสงสัย[17][18][19]

เนื่องด้วยความแตกต่างด้านอาวุธ ที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) มีเพียงปืนลูกซองที่บรรจุกระสุนได้เพียง 6 นัด และปืนพกที่บรรจุกระสุนได้อย่างจำกัด อีกทั้งไม่มีเสื้อเกราะกันกระสุน ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามมีทั้งอาก้า, เอ็ม 16, ระเบิดขว้าง และอาวุธสงครามครบมือ ญาติของผู้เสียชีวิตจึงได้ขอความช่วยเหลือจากทางการ ในการจัดหาเสื้อเกราะและอาวุธสงครามประจำกายแก่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน[20]

สิ่งสืบทอด[แก้]

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางกระทรวงกลาโหมได้เน้นงานด้านการข่าวเพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชน รวมถึงให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพกล้องวงจรปิดที่มีระบบปัญญาประดิษฐ์ (ระบบเอไอ) เสริมการทำงาน ส่วนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในเบื้องต้นได้มอบเงินรายละ 500,000 บาทแก่ผู้เสียชีวิต และทางรัฐบาลไทยได้ให้การดูแลทายาทหรือบุตรของผู้สูญเสีย ให้ได้รับการศึกษาจนสำเร็จปริญญาตรี หรือจนถึงอายุ 25 ปี[21]

สำหรับวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา, ชาวบ้าน และอาสารักษาหมู่บ้าน ได้ร่วมทำการรื้อป้อมดังกล่าว เพื่อไม่ให้ชาวบ้าน, ญาติพี่น้องในชุมชนลำพะยารู้สึกสลดใจ เมื่อผ่านมาเห็นป้อมดังกล่าว รวมถึงมีการหารือกับชุมชน เพื่อสร้างป้อมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านแห่งใหม่ให้แก่ชุมชน[22]

อ้างอิง[แก้]

  1. สะเทือนใจ ‘ลูกสาวเหยื่อโจรใต้’ เผยทั้งน้ำตา สูญเสียพ่อ-แม่จากเหตุยิงถล่มป้อมชรบ.ยะลา - Matichon
  2. 2.0 2.1 ส่งสุนัขสงครามตามรอยเลือด! คาดโจรใต้ชุดถล่ม “ชรบ.ต.ลำพะยา” บาดเจ็บสาหัส 1-2 ราย
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ยะลาเดือด! พลีชีพ 15 ศพ คนร้ายบุกถล่มป้อม ชรบ. - ThaiQuote
  4. 4.0 4.1 เรื่องเด่น-ภาคใต้ - แม่ทัพ 4 สั่งปรับแผนห้ามเฝ้าป้อม-นอนฐาน - ปากคำชาวบ้านคนร้ายมีสาหัส
  5. 5.0 5.1 สรุปเหตุยิงสังหารหมู่ 15 ศพยะลา ฝีมือแนวร่วมบีอาร์เอ็น - เดลินิวส์
  6. 6.0 6.1 6.2 เผย ชรบ.ลำพะยา ยิงสู้จนกระสุนหมด ลูกสาวหลั่งน้ำตา สูญเสียทั้งพ่อแม่
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 ยิงถล่มป้อม ชรบ. 3 จุดที่ยะลา ปล้นปืน 8 กระบอก ชรบ.เสียชีวิต 15 คน บาดเจ็บ 4 คน
  8. "หน่วยความมั่นคงฯ คาด คนร้ายยิงถล่มป้อมลำพะยา เพราะแก้แค้น! - ejan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-24. สืบค้นเมื่อ 2019-12-24.
  9. "คนร้ายไม่ทราบจำนวนยิงถล่มป้อม ชรบ.ตำบลลำพะยา อ.เมืองยะลา เสียชีวิต 15 ราย ก่อนปล้นอาวุธปืนหลบหนี!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-24. สืบค้นเมื่อ 2019-12-24.
  10. "Gunmen kill 15 in southern Thailand". British Broadcasting Corporation. 7 November 2019. สืบค้นเมื่อ 7 November 2019.
  11. "Over a dozen killed in attack in Thailand's Yala province". Aljazeera. 7 November 2019. สืบค้นเมื่อ 7 November 2019.
  12. เรื่องเด่น-ภาคใต้ - เสียงจากลำพะยา...โจมตีป้อม ชรบ.ตาย 15 เกิดขึ้นได้ไง
  13. ยะลาเดือด! ยิงถล่ม 15 ศพ - บ้านเมือง
  14. สุดสะเทือนใจ! “กู้ภัยแม่กอเหนี่ยวยะลา” เผยความรู้สึกแรกเห็นภาพ ชรบ.ต.ลำพะยาหลังโจรใต้ถล่ม
  15. "จักรทิพย์" บินด่วน ตรวจจุดฆ่าหมู่ 15 ศพ ลำพะยา เผยนายกฯเป็นห่วง
  16. ผบ.ตร.บินด่วนลงพื้นที่ตรวจจุดเกิดเหตุป้อม ชรบ.ลำพะยา
  17. ผลเลือด-ดีเอ็นเอ หลักฐานมัด ออกหมายจับ 2 มือปืน ถล่มป้อมชคต.ลำพะยา
  18. ตำรวจขอหมายจับชุดแรก 2 ผู้ต้องหาร่วมโจมตีป้อมชรบ.ลำพะยา
  19. ออกหมายจับ 2 มือยิงถล่ม ชรบ.ลำพะยา ชี้มี DNA ตรงที่เกิดเหตุ - บ้านเมือง
  20. ญาติ 15 ศพ ลั่น ปืนประจำกาย ชรบ.สู้อาวุธสงครามไม่ได้ - LINE Today
  21. "รมช.กลาโหม ย้ำ จนท. มุ่งเน้นงานด้านการข่าวเพิ่มประสิทธิภาพ กล้องวงจรปิด ระบุ เหตุยิงชรบ.ลำพะยา รัฐ เร่งให้ความช่วยเหลือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-24. สืบค้นเมื่อ 2019-12-24.
  22. รื้อแล้ว! ป้อม ชรบ.ลำพะยา จ.ยะลา หลังเกิดเหตุสลด ยิงถล่มดับ 15 ศพ