ไวต์สตาร์ไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไวท์ สตาร์ ไลน์)
บริษัทโอเชียนิกสตีมแนวิเกชัน
Oceanic Steam Navigation Company
ชื่อท้องถิ่น
ไวต์สตาร์ไลน์ (White Star Line)
ประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด
อุตสาหกรรมการเดินเรือ, การขนส่ง
ก่อตั้ง1845; 179 ปีที่แล้ว (1845)
เลิกกิจการ1934; 90 ปีที่แล้ว (1934)
สาเหตุควบรวมกิจการกับคิวนาร์ดไลน์
ถัดไปคิวนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์
สำนักงานใหญ่ลิเวอร์พูล, อังกฤษ
พื้นที่ให้บริการ
มหาสมุทรแอตแลนติก
ผลิตภัณฑ์เรือโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
บริษัทแม่อิสเมย์, อิมรี แอนด์ โค (Ismay, Imrie and Co.)
เชิงอรรถ / อ้างอิง

ธงเดินเรือ

บริษัทโอเชียนิกสตีมแนวิเกชัน (อังกฤษ: Oceanic Steam Navigation Company) หรือ ไวต์สตาร์ไลน์ (White Star Line) เป็นสายการเดินเรือสัญชาติสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นจากบริษัทขนส่งที่เลิกกิจการไปแล้ว และค่อย ๆ เติบโตขึ้นจนเป็นหนึ่งในบริษัทขนส่งที่โดดเด่นที่สุดในโลก โดยให้บริการผู้โดยสารและขนส่งสินค้าระหว่างจักรวรรดิอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สายการเดินเรืออื่น ๆ จำนวนมากเน้นที่ความเร็วเป็นหลัก แต่ไวต์สตาร์ก็สร้างแบรนด์บริการของตนโดยเน้นไปที่การมอบทางเดินที่สะดวกสบายสำหรับนักเดินทางทั้งระดับบนและระดับล่าง

ประวัติ[แก้]

ก่อนหน้าที่จะถึงยุคการเดินทางด้วยเครื่องบินเหมือนในปัจจุบัน การเดินทางจากทวีปยุโรปไปยังสหรัฐอเมริกามีทางเดียวเท่านั้นคือ การเดินทางด้วยเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ดังนั้นกิจการเดินเรือจึงเป็นกิจการที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูงในช่วงนั้น เกิดสายการเดินเรือขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ด้วยอุดมการณ์การเดินเรือที่ต่างกัน บ้างก็เน้นความใหญ่ บ้างก็เน้นความหรูหรา บ้างก็เน้นความประหยัด บ้างก็เน้นความเร็ว บ้างก็เน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งมีสถิติมากมาย ที่สายการเดินเรือต่าง ๆ ต้องพยายามแข่งขันกัน เพื่อครองสถิติให้ได้มาก ๆ

ในราวปี ค.ศ. 1850[1][แก้]

ทอมัส อิสเมย์ (Thomas Ismay)

สายการเดินเรือไวต์สตาร์ได้ถือกำเนิด ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ต่อมาได้ถูกซื้อกิจการไปโดยทอมัส อิสเมย์ (Thomas Ismay) และเซอร์เอ็ดเวิร์ด ฮาร์แลนด์ นักธุรกิจผู้มั่งคั่งชาวอังกฤษ ซึ่งต่อมาทอมัส อิสเมย์ได้ผลักดันลูกชายคนโตคือ เจ. บรูซ อิสเมย์ ให้เข้ามารับช่วงแทน

สายการเดินเรือไวต์สตาร์สร้างเรือ 4 ลำ สำหรับเรือตระกูลโอเชียนิก (Oceanic-class ship) ได้แก่ อาร์เอ็มเอสโอเชียนิก (ค.ศ. 1870) (RMS Oceanic), อาร์เอ็มเอสแอตแลนติก (RMS Atlantic), อาร์เอ็มเอสบอลติก (1) (RMS Baltic) และ เอสเอสรีพับลิก (ค.ศ. 1872) (SS Republic)

ชื่อเรือส่วนใหญ่ของสายการเดินเรือไวต์สตาร์จะลงท้ายด้วย -ic; ส่วนชื่อเรือส่วนใหญ่ของสายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) จะลงท้ายด้วย -ia

ต่อมาในปี ค.ศ. 1902[1][แก้]

เจ. พี. มอร์แกน

กิจการของสายการเดินเรือไวต์สตาร์ได้ถูกซื้อไปอีกต่อหนึ่งโดยบริษัทของ เจ. พี. มอร์แกน ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน แต่ก็ยังคงใช้พนักงานและลูกเรือชาวอังกฤษโดยไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้ง เจ. บรูซ อิสเมย์ ก็ยังคงมีบทบาทอยู่ในสายการเดินเรือแห่งนี้โดยเป็นกรรมการผู้จัดการของสายการเดินเรือ

สายการเดินเรือไวต์สตาร์นั้น เชื่อเสมอว่าคนทั่วไปสามารถโดยสารกับเรือได้นาน ถ้าเรือนั้นมีความเพียบพร้อมในการบริการที่ดีเยี่ยม สะดวกสบายราวกับอยู่บ้าน และความเร็วเรือที่ได้ต้องใช้เชื้อเพลิงซึ่งเป็นถ่านหินจำนวนมาก ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม (ไวต์สตาร์เป็นพวกนักอนุรักษ์)

การแข่งขันของสายการเดินเรือ[แก้]

เรือลำใหญ่ 4 ลำ[1][แก้]

เอสเอส บริแทนนิก (1) (RMS Britannic) และ เอสเอส เยอรมนิก (ค.ศ. 1875) (SS Germanic)
SS Majestic (ค.ศ. 1890)
อาร์เอ็มเอส เอเดรียติก (RMS Adriatic)

ในปี ค.ศ. 1858 สายการเดินเรือ "อีสเทิร์น สตีม เนวิเกชั่น คอมปานี" (Eastern Steam Navigation Company) ได้สร้างเรือยักษ์ เอสเอส เกรทอีสเทิร์น (SS Great Eastern) ซึ่งเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกในยุคนั้น SS Great Eastern มีขนาด 18,915 ตัน ใหญ่กว่าเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดลำก่อนหน้ามันมากกว่า 4.5 เท่า แต่ใช้ได้เพียง 9 ปี ก็ต้องเลิกใช้ไปใน ค.ศ. 1867 และหลังจากสูญเสียมันไปนานกว่า 30 ปี ยังไม่มีเรือโดยสารลำใดที่ใหญ่กว่า SS Great Eastern

สายการเดินเรือไวต์สตาร์สร้างเรือ 4 ลำที่โด่งดัง ได้แก่ เอสเอส บริแทนนิก (1) (RMS Britannic), เอสเอส เยอรมนิก (ค.ศ. 1875) (SS Germanic), SS Teutonic (ค.ศ. 1889) และ SS Majestic (ค.ศ. 1890)

ในปี ค.ศ. 1899 สายการเดินเรือไวต์สตาร์สร้างเรือ อาร์เอ็มเอส โอเชียนิก (2) (RMS Oceanic) ที่ยาวกว่า SS Great Eastern

แต่ใน ค.ศ. 1901 สายการเดินเรือไวต์สตาร์ไลน์ ได้ตัดสินใจสร้างเรือโดยสารที่ใหญ่กว่าเรือ SS Great Eastern เป็นลำแรก โดยจัดทำเป็นโครงการสร้างเรือใหญ่ 4 ลำ

เรือทั้งสี่จะมีขนาดกว่า 20,000 ตัน เน้นการออกแบบภายในเรือที่สะดวกสบาย ดังนั้นเรือทั้งสี่ลำนี้จึงมีความเร็วบริการประมาณ 16-17 น็อต (29.632-31.484 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซึ่งความเร็วระดับนี้น้อยเกินกว่าจะสู้เรือของสายการเรืออื่น ๆ ได้ โดยเรือลำแรกของโครงการดังกล่าว คือเรือ อาร์เอ็มเอส เคลติค (ค.ศ. 1901) (RMS Celtic) ปล่อยลงน้ำครั้งแรกในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1901 กลายเป็นเรือใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาด 21,035 ตัน ตามมาด้วยเรือ อาร์เอ็มเอส เซดริก (RMS Cedric) แต่มันไม่ได้เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ใน ค.ศ. 1905 เอสเอส อเมริกา (SS America) ของสายการเดินเรืออื่นสร้างเสร็จ แย่งตำแหน่งเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปจาก Celtic แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่ทันจบปี ค.ศ. 1905เรือโดยสารลำที่ 3 ของโครงการสร้าง 4 เรือยักษ์ ชื่อ อาร์เอ็มเอส บอลติก (ค.ศ. 1903) (RMS Baltic) สร้างเสร็จในปีเดียวกัน ชิงตำแหน่งเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกกลับคืนสู่สายการเดินเรือไวต์สตาร์ไลน์ได้ 1 ปี ก่อนจะถูกสายการเดินเรืออื่นแย่งตำแหน่งไปอีก

และเรือลำสุดท้ายของโครงการ สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1907 คือเรือ อาร์เอ็มเอส เอเดรียติก (RMS Adriatic) แต่เรือลำนี้ไม่ได้เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เรือ SS Kaiserin Auguste Victoria (RMS Empress of Scotland (1906)) จากสายการเดินเรืออื่น แย่งตำแหน่งเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปจาก RMS Baltic ในปี ค.ศ. 1906

เรือคู่แฝดของสายการเดินเรือคูนาร์ด[2][แก้]

ต่อมา สายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญของไวต์สตาร์ไลน์ ได้ต่อเรือ อาร์เอ็มเอส ลูซิทาเนีย (RMS Lusitania) ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ John Brown ใน ค.ศ. 1907 เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทนเรือ SS Kaiserin Auguste Victoria

และในปีเดียวกัน คูนาร์ดก็สร้าง อาร์เอ็มเอส มอริทาเนีย หรือ อาร์เอ็มเอส มอร์ทาเนีย (RMS Mauretania) ที่ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ Tyneside ได้ออกบริการในปีเดียวกัน เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทน RMS Lusitania ทั้งคู่มีขนาดใหญ่กว่า 30000 ตัน แล่นด้วยความบริการ 24 นอต (44.448 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เป็นเรือแฝดรุ่นใหม่ของคูนาร์ด ล้ำหน้ากว่าเรือ 4 ลำของไวต์สตาร์ ทั้งด้านความเร็ว และขนาด

เรือชั้นโอลิมปิก (Olympic class ships)[2][แก้]

โปสการ์ดอาร์เอ็มเอส ไททานิก
อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก

ใน ค.ศ. 1907 หรือปีที่เรือแฝดคูนาร์ดออกบริการนั่นเอง บุคคลสำคัญของสายการเดินเรือไวต์สตาร์ได้ร่วมจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำที่บ้าน downshire Belgrave Square ในกรุงลอนดอน เพื่อร่วมกันคิดรูปแบบเรือลำที่ดีกว่าเรือแฝดคู่นั้น

หลัง RMS Mauretania เป็นเรือโดยสารใหญ่ที่สุดในโลกมาราว 4 ปี เรือลำแรกในโครงการต่อเรือ 3 ลำของไวต์สตาร์ไลน์ (เป็นการต่อเรือขนาดใหญ่ 3 ใบเถา เน้นรูปแบบการบริการของสายการเดินเรือที่หรูหราเป็นหลักความเร็วเป็นรอง) ชื่อ อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก (RMS Olympic) สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1911 มีขนาดใหญ่กว่าเรือ RMS Mauretania มากกว่า 40% ทำให้กลายเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก และต่อมา เรือลำที่สองในโครงการ ชื่อ อาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1912 เป็นเรือโดยสารใหญ่ที่สุดในโลกแทนโอลิมปิก

และเรือลำสุดท้ายของโครงการ ตอนแรกจะใช้ชื่อ อาร์เอ็มเอส ไจแกนติก หรือ อาร์เอ็มเอส ไกแกนติก (RMS Gigantic) แต่ว่า มันสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1914 ภายหลังการล่มของไททานิก ส่งผลให้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อาร์เอ็มเอส บริทานิก (RMS Britannic)

ในการออกแบบขั้นต้นเรือทั้ง 3 ลำมีโครงสร้างคล้ายคลึงกัน และทั้งสามมีขนาดใหญ่กว่าเรือแฝดของคูนาร์ด ขับเคลื่อนด้วย 2 ใบจักร 2 เครื่องยนต์กระบอกสูบ แต่ต่อมาเพิ่มเครื่องยนต์เทอร์ไบน์อีกกลายเป็น 3 ใบจักร เนื่องจากเรือรุ่น 4 ลำก่อนมีเพียง 2 เครื่องยนต์สามารถทำความเร็วได้ต่ำ ในขนาดที่เรือคู่แข่งมี 4 เครื่องยนต์ เรือทั้งสามมีเสากระโดงเรือ 2 หรือ 3 แห่ง ปล่องไฟ 3 ปล่อง แต่ต่อมาเพิ่มเป็น 4 ให้เท่ากับจำนวนปล่องบนเรือ Mauretania และ Lusitania เพื่อให้เรือดูสมดุล (และหลอกว่ามีกำลังขับเคลื่อนสูง) โดย 3 ปล่องแรกจะไว้ใช้ระบายอากาศจากเครื่องยนต์ แต่ปล่องสุดท้ายไว้ใช้ระบายอากาศภายในเรือ เรือทั้ง 3 มีโครงสร้างเหมือนกันเกือบทั้งหมด รวมทั้งมีขนาดใกล้เคียงกันมาก โอลิมปิกและไททานิกถูกสร้างขึ้นก่อนที่อู่ต่อเรือในเมืองเบลฟาสต์ในไอร์แลนด์เหนืออันเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเรื่องการต่อเรือในยุคนั้น

ต่อมา ใน วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เรือไททานิกจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ หลังจากกชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง ในการเดินทางครั้งแรก มีผู้รอดชีวิตทั้งสิ้นกว่า 700 คนและมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเดินเรือ

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1[3][แก้]

เอชเอ็มที โอลิมปิก (HMT Olympic)


ภายหลังการล่มของไททานิก เรือโอลิมปิกได้รับการปรับปรุงอีกครั้งเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ทำให้เรือโอลิมปิก กลายเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เรือโอลิมปิก ต้องถูกส่งซ่อมเป็นเวลา 6 เดือน เพราะเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับเรืออีกลำที่ชื่อ HMS Hawke ด้วยสาเหตุที่สรุปออกมาว่ามาจาก ขนาดและความเร็วของเรือ Olympic มีผลทำให้เกิดกระแสน้ำดึงเอาเรือ Hawke เข้าไปทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว

หลังจากการจมของเรือไททานิก ทำให้เรือโอลิมปิก ต้องมีการปรับปรุงขนานใหญ่เพื่อความปลอดภัยเป็นเวลา 6 เดือน เช่นการเพิ่มความแข็งแรงของส่วนล่างของเรือ และที่แน่นอน คือการรวมถึงการเพิ่มเรือชูชีพเข้าไปอีกด้วย

ต่อมา สายการเดินเรือฮาเป็ก (Hapag หรือ Hamburg Amerika Line) จากเยอรมนี ได้สร้างเรือ เอสเอส อิมเพอเรเตอร์ (SS Imperator) (ต่อมาเป็น RMS Berengaria ของสายการเดินเรือคูนาร์ด) สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1912 เป็นเรือลำแรกในโครงการต่อเรือ 3 ลำ SS Imperator ใหญ่กว่าเรือโอลิมปิก

ในปี 1914 (2 ปีกว่าหลังเรือไททานิกจม) เรือโอลิมปิกได้ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นเรือรบเพื่อเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 และเปลี่ยนชื่อเป็น เอชเอ็มที โอลิมปิก (HMT Olympic) และอยู่รอดจนจบสงคราม และถูกนำกับมาใช้เป็นเรือโดยสารเหมือนเดิมในปี 1920 ในกระทั่งในปี 1935 เรือได้เดินทางขนส่งผู้โดนสารเป็นเที่ยวสุดท้ายแล้วกลับเข้าอู่เรือในเมืองเซาท์แธมตัน ประเทศอังกฤษ (Southampton, England) และถูกขายต่อให้บริษัทอุตสาหกรรมโลหะ และถูกแยกชิ้นในปี 1937 นับว่าเป็นเรือลำเดียวจากเรือคู่แฝด 3 ลำที่หมดอายุการใช้งานบนบก

เรือ อาร์เอ็มเอส บริแทนนิก (RMS Britannic) โดยคาดว่าจะใช้รับส่งผู้โดยสารเพื่อข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก แต่ก็เป็นแค่ความฝันเพราะตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พอดี ส่งผลให้ใน ค.ศ. 1915 มันถูกเปลี่ยนจากเรือสำราญเป็นเรือพยาบาล รับ-ส่ง ทหารในต่างแดนในคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียน แทน และเปลี่ยนชื่อเป็น เอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก (HMHS Britannic) แม้บริแทนนิกจะใหญ่กว่าไททานิกกว่า 1,800 ตัน แต่บริแทนนิก ไม่มีโอกาสได้เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะสายการเดินเรือฮาเป็ก (HAPAG หรือ Hamburg Amerika Line) จากเยอรมนี ได้สร้างเรือ SS Imperator ที่ใหญ่กว่าบริแทนนิก เสร็จก่อนบริแทนนิก แต่เป็นที่น่าเศร้าเพราะในปี 1916 เรือได้อัปปางลงในทะเลอีเจียน เนื่องจากโดนทุ่นระเบิดจากเรือดำน้ำฝ่ายเยอรมัน ที่ยังหลงเหลือจากการกู้ระเบิดในเส้นทางดังกล่าว จึงส่งผลให้เรือเสียหายหนักและจมลงในระยะเวลา 55 นาที หลังการเดินทางเพียง 6 ครั้ง เท่านั้น

จุดจบของไวต์สตาร์ไลน์[4][แก้]

RMS Majestic

ต่อมา สายการเดินเรือไวต์สตาร์สร้างเรือ อาร์เอ็มเอส โอเชียนิก (3) (RMS Oceanic) แต่สร้างไม่เสร็จ และต่อมา สายการเดินเรือไวต์สตาร์ได้หันมาสร้างเรือที่เล็กกว่า คือเรือ อาร์เอ็มเอส จอร์จิก (2) (RMS Georgic) หรือ เอ็มวี จอร์จิก (MV Georgic) และ เรือ อาร์เอ็มเอส บริแทนนิก (RMS Britannic) (ค.ศ. 1929) หรือ เอ็มวี บริแทนนิก (MV Britannic)

สายการเดินเรือไวต์สตาร์ ได้ซื้อ SS Bismarck และเปลี่ยนชื่อ เป็น RMS Majestic

เรือ เอสเอส นอร์มองดี (SS Normandie) ของสายการเดินเรือ Compagnie Générale Transatlantique หรือ French Line (สายการเดินเรือของฝรั่งเศส) กลายเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทน Majestic

สัญลักษณ์ถูกรวมกิจการคูนาร์ด-ไวต์สตาร์ไลน์

ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1934, สายการเดินเรือไวต์สตาร์ได้รวมตัวกับสายการเดินเรือคูนาร์ด เพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และกลายเป็น บริษัทสายการเดินเรือคูนาร์ด-ไวต์สตาร์ไลน์จำกัด (Cunard-White Star Line Limited)[5]

รายชื่อเรือ[6][แก้]

  • Oceanic (1870)
  • Atlantic (1871)
  • Baltic (1871)
  • Tropic (1871)
  • Asiatic (1871)
  • Republic (1872)
  • Adriatic (1872)
  • Celtic (1872)
  • Traffic (1872)
  • Belgic (1872)
  • Gaelic (1873)
  • Britannic (1874)
  • Germanic (1875)
  • Arabic (1881)
  • Coptic (1881)
  • Ionic (1883)
  • Doric (1883)
  • Belgic (1885)
  • Gaelic (1885)
  • Cufic (1885)
  • Runic (1889)
  • Teutonic (1889)
  • Majestic (1890)
  • Nomadic (1891)
  • Tauric (1891)
  • Magnetic (1891)
  • Naronic (1892)
  • Bovic (1892)
  • Gothic (1893)
  • Cevic (1894)
  • Pontic (1894)
  • Georgic (1895)
  • Delphic (1897)
  • Cymric (1898)
  • Afric (1899)
  • Medic (1899)
  • Persic (1899)
  • Oceanic (1899)
  • Runic (1900)
  • Suevic (1901)
  • Celtic (1901)
  • Athenic (1902)
  • Corinthic (1902)
  • Ionic (1902)
  • Cedric (1903)
  • Victorian (1903)
  • Armenian (1903)
  • Arabic (1903)
  • Romanic (1903)
  • Cretic (1903)
  • Republic (1903)
  • Canopic (1904)
  • Cufic (1904)
  • Baltic (1904)
  • Tropic (1904)
  • Gallic (1907)
  • Adriatic (1907)
  • Laurentic (1909)
  • Megantic (1909)
  • Zeeland (1910)
  • Nomadic (1911)
  • Traffic (1911)
  • Olympic (1911)
  • Belgic (1911)
  • Zealandic (1911)
  • Titanic (1912)
  • Ceramic (1913)
  • Vaterland (1914)
  • Britannic (1914)
  • Belgic (1917)
  • Justicia (1917)
  • Vedic (1918)
  • Bardic (1919)
  • Gallic (1920)
  • Mobile (1920)
  • Arabic (1920)
  • Homeric (1920)
  • Haverford (1921)
  • Poland (1922)
  • Majestic (1922)
  • Pittsburgh (1922)
  • Doric (1923)
  • Delphic (1925)
  • Regina (1925)
  • Albertic (1927)
  • Calgaric (1927)
  • Laurentic (1927)
  • Britannic (1929)
  • Georgic (1932)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "ประวัติของไวต์สตาร์ไลน์ (ช่วงแรก)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-24. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24.
  2. 2.0 2.1 "ประวัติของไวต์สตาร์ไลน์ใน Hospital Ship Britannic". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24.
  3. "ประวัติของไวต์สตาร์ไลน์ใน White Star Line History Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-28. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24.
  4. "ประวัติของไวต์สตาร์ไลน์ (ช่วงหลัง)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24.
  5. http://www.chriscunard.com/archives3.htm เก็บถาวร 2009-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน White Star Line Archives - 1931 +
  6. "รายชื่อเรือของไวต์สตาร์ไลน์ (ภาษาอังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]