ไฟล์:วัดช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ 11.JPG

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดูภาพที่มีความละเอียดสูงกว่า(960 × 720 พิกเซล, ขนาดไฟล์: 168 กิโลไบต์, ชนิดไมม์: image/jpeg)

Wikimedia Commons logo รูปภาพหรือไฟล์เสียงนี้ ต้นฉบับอยู่ที่ คอมมอนส์ รายละเอียดด้านล่าง เป็นข้อความที่แสดงผลจาก ไฟล์ต้นฉบับในคอมมอนส์
คอมมอนส์เป็นเว็บไซต์ในโครงการสำหรับเก็บรวบรวมสื่อเสรี ที่ คุณสามารถช่วยได้

ความย่อ

คำอธิบาย
ไทย: วัดช่องนนทรีเป็นวัดสมัยอยุธยาตอนปลาย อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันออก หน้าวัดหันไปทางทิศตะวันออกเช่นกัน เพราะเป็นช่วงที่แม่น้ำไหลวกขึ้นเหนือ ตรงข้ามกับบริเวณฝั่งบางกะเจ้า

สิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือพระอุโบสถฐานเป็นโบสถ์แอ่นท้องสำเภา มีขนาด ๕ ห้อง ๒ มุข ลักษณะคล้ายโบสถ์มหาอุตม์ ด้านหน้าพระอุโบสถทำเป็นมุขเด็จ มีเสาหารรองรับเครื่องบนหลังคาสี่ต้น หน้าบันทำเป็นฝาปะกนไม่สลักลวดลาย หลังคาเป็นลอนมุงกระเบื้องแล้วฉาบปูนติดเชิงชาย ด้านหน้าโบสถ์มีเจดีย์และใบเสมาเรียง-รายกันอยู่

ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ลดหลั่นด้วยพระพุทธรูปสี่องค์ที่จัดวางตำแหน่งได้อย่างน่าชม โดยจัดวางเป็นคู่ๆเยื้องกันออกมา ที่ฐานองค์พระมีลายปูนปั้นที่งดงามเช่นกัน โดยออกแบบขาสิงห์เป็นรูปครุฑได้อย่างสวยงาม

ในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เล่าเรื่องทศชาติชาดก เริ่มตั้งแต่ผนังด้านซ้ายของพระประธาน เวียนอุตราวัตรไปจนคบสิบเรื่อง บริเวณผนังสกัดหน้าเหนือช่องประตูเขียนภาพมารผจญ ภาพเขียนที่วัดช่องนนทรีนี้นับเป็น ภาพเขียนสมัยอยุธยาที่ที่ยังหลงเหลือสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งอาจร่วมสมัยกับภาพเขียนที่วัดปราสาท นนทบุรี

ภาพเขียนชุดนี้เป็นงานจิตรกรรมก่อนรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งเป็นยุคที่งานละครหนังใหญ่เจริญรุ่งเรือง ทำให้งานเขียนได้รับแนวทางจากท่าทางของนาฏลักษณ์ ตามการสันนิษฐานของอาจารย์ น ณ ปากน้ำ

ภาพเขียนที่นี่เขียนด้วยเนื้อหาที่สอดแทรกวิถีชีวิต เป็นการเก็บภาพประวัติศาสตร์ผ่านชาดกในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นงานสถาปัตยกรรม ศิลปะวัตถุ เครื่องใช้ การแต่งกาย ไปจนถึงภาพขบวนเสด็จพยุหยาตราทางสถลมารค

นอกจากนี้ยังมีการเขียนภาพธรรมชาติ ที่เกิดจากความคิดในอุดมคติ ที่ดูพริ้วไหวมีชีวิตชีวาลงตัวกับองค์ประกอบอื่นๆไปจนถึงสัตว์เล็กสัตว์น้อย ที่ศิลปินได้สอดแทรกเรื่องราวเอาไว้ได้อย่างลงตัว

ภาพเขียนที่วัดช่องนนทรีถึงแม้จะเป็นภาพเขียนที่ใช้สีน้อยกว่าภาพเขียนในยุคหลัง แต่การจัดวางองค์ประกอบและลายเส้นที่งดงามเป็นธรรมชาติ ก็ทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้อย่างน่าชื่นชม
นี่คือภาพถ่ายของโบราณสถานในประเทศไทย ระบุโดยเลขทะเบียนกรมศิลปากร
0000119 (ลิงก์กรมศิลปากร)
วันที่
แหล่งที่มา งานของตัว
ผู้สร้างสรรค์ KengCH

การอนุญาตใช้สิทธิ

ข้าพเจ้า ในฐานะผู้ถือลิขสิทธิ์ของภาพหรือสื่อนี้ อนุญาตให้ใช้ภาพหรือสื่อนี้ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
w:th:ครีเอทีฟคอมมอนส์
แสดงที่มา อนุญาตแบบเดียวกัน
คุณสามารถ:
  • ที่จะแบ่งปัน – ที่จะทำสำเนา แจกจ่าย และส่งงานดังกล่าวต่อไป
  • ที่จะเรียบเรียงใหม่ – ที่จะดัดแปลงงานดังกล่าว
ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้:
  • แสดงที่มา – คุณต้องให้เกียรติเจ้าของงานอย่างเหมาะสม โดยเพิ่มลิงก์ไปยังสัญญาอนุญาต และระบุหากมีการเปลี่ยนแปลง คุณอาจทำเช่นนี้ได้ในรูปแบบใดก็ได้ตามควร แต่ต้องไม่ใช่ในลักษณะที่แนะว่าผู้ให้อนุญาตสนับสนุนคุณหรือการใช้งานของคุณ
  • อนุญาตแบบเดียวกัน – หากคุณดัดแปลง เปลี่ยนรูป หรือต่อเติมงานนี้ คุณต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกันหรือแบบที่เหมือนกับสัญญาอนุญาตที่ใช้กับงานนี้เท่านั้น


คำบรรยายโดยย่อ

เพิ่มคำบรรยายทรรทัดเดียวเพื่อขยายความว่าไฟล์นี้มีอะไร

ไอเทมที่แสดงอยู่ในไฟล์นี้

ประกอบด้วย

ประวัติไฟล์

คลิกวันที่/เวลาเพื่อดูไฟล์ที่ปรากฏในขณะนั้น

วันที่/เวลารูปย่อขนาดผู้ใช้ความเห็น
ปัจจุบัน09:24, 17 กันยายน 2557รูปย่อสำหรับรุ่นเมื่อ 09:24, 17 กันยายน 2557960 × 720 (168 กิโลไบต์)KengCHUser created page with UploadWizard

ข้อมูลเกี่ยวกับภาพ