ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์: เดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์: เดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์
ผู้พัฒนาโทเซะ
สแควร์เอนิกซ์
ไฮคอร์ปอเรชัน (ไอโอเอส / แอนดรอยด์)
ผู้จัดจำหน่ายสแควร์เอนิกซ์
ออกแบบฮิโรยูกิ อิโต
ศิลปินฮิโรชิ มินางาวะ
อากิฮิโกะ โยชิดะ
ฮิเดโอะ มินาบะ
แต่งเพลงฮิโตชิ ซากิโมโตะ
มาซาฮารุ อิวาตะ
ชุดไฟนอลแฟนตาซี
อิวาลิซอัลไลแอนซ์
เครื่องเล่นเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล, ไอโอเอส, แอนดรอยด์
วางจำหน่าย
10 พฤษภาคม ค.ศ. 2007
แนวเล่นตามบทบาทเชิงยุทธวิธี
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์: เดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์ (ญี่ปุ่น: ファイナルファンタジータクティクス 獅子戦争; อังกฤษ: Final Fantasy Tactics: The War of the Lions) เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทเชิงยุทธวิธีที่พัฒนาและเผยแพร่โดยสแควร์เอนิกซ์สำหรับเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล (PSP) เกมนี้เป็นเวอร์ชันที่ได้รับการปรับปรุงของไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ ที่ทำขึ้นสำหรับเพลย์สเตชัน ซึ่งเปิดตัวใน ค.ศ. 1997[4]

ภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์เป็นเกมที่สองที่ได้รับการประกาศในซีรีส์วิดีโอเกม "อิวาลิซอัลไลแอนซ์" ของสแควร์เอนิกซ์ ซึ่งมีฉากอยู่ในโลกสมมุติของอิวาลิซ โดยมีเกมแรกคือไฟนอลแฟนตาซี XII: เรเวแนนต์วิงส์ (ภาคต่อของไฟนอลแฟนตาซี XII) และเกมที่สามคือไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ เอ2: กรีมัวร์ออฟเดอะริฟต์ (ซึ่งทั้งสองเกมนี้วางจำหน่ายในระบบนินเท็นโด ดีเอส)[5] โดยอิวาลิซ (ในช่วงพื้นฉากของเกม) มีเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับยุคกลางตอนปลายของประวัติศาสตร์มนุษย์พร้อมกับเวทมนตร์ทั่วไป และความสามารถเหนือธรรมชาติที่พบในเกมไฟนอลแฟนตาซีส่วนใหญ่ ผู้เล่นควบคุมทหารรับจ้างชื่อแรมซาที่พบว่าตัวเองเข้าไปพัวพันกับสงครามกลางเมืองและปีศาจร้ายยุคโบราณที่เริ่มยึดครองโลก จากผู้สูงศักดิ์โดยกำเนิด เขาได้ถูกบังคับให้ประเมินความคิดเห็นของสามัญชนอีกครั้งเมื่อเพื่อนสนิทที่ต่ำต้อยของเขาเริ่มปฏิวัติต่อต้านอำนาจปกครองของอิวาลิซ

เกมดังกล่าวได้รับการปรับปรุงใหม่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากอัตราส่วนหน้าจอ และความสามารถทางเทคนิคของเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล ซึ่งส่งผลให้มีคัตซีนใหม่, ความจุสำหรับผู้เล่นหลายคน รวมถึงคุณสมบัติอื่น ๆ ภาควอร์ออฟเดอะไลออนส์ยังมีตัวละครใหม่ที่สามารถเล่นได้จากเกมไฟนอลแฟนตาซีอื่น ๆ เช่น บัลเธียร์จากไฟนอลแฟนตาซี XII และลูโซ เคลเมนส์ จากไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ เอ2: กรีมัวร์ออฟเดอะริฟต์ รวมถึงการกลับมาของตัวละครโปรดอย่างคลาวด์ สไตรฟ์ จากไฟนอลแฟนตาซี VII ที่สามารถเล่นได้ในเกมต้นฉบับ โดยภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์ได้รับการวิจารณ์ที่หนักแน่นเมื่อมีการเปิดตัว ตลอดจนได้รับการปรับให้เหมาะกับโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต

เนื้อหาและรูปแบบการเล่น[แก้]

ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์: เดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์ เป็นเกมเล่นตามบทบาทเชิงกลยุทธ์ผลัดกันเล่น[6] ที่มีฉากอยู่ในโลกสมมุติของอิวาลิซ โดยเกมเป็นสงครามระหว่างราชอาณาจักรอิวาลิซและออร์ดาเลียซึ่งเป็นราชอาณาจักรที่อยู่ใกล้กัน โดยได้รับการบอกเล่าในฐานะเอกสารทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการกระทำของตัวละครจำนวนมากซึ่งมาจากความขัดแย้งทั้งสองฝ่าย[7][8][9] ในขณะที่ยังคงการเล่าเรื่องหลักของไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ ด้วยการปรับเทศวิวัฒน์ ภาควอร์ออฟเดอะไลออนส์ยังมีการอ้างอิงที่เชื่อมโยงกับเกมอื่น ๆ ที่อยู่ในอิวาลิซ รวมถึงบัลเธียร์จากไฟนอลแฟนตาซี XII และลูโซ เคลเมนส์ จากไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ เอ2: กรีมัวร์ออฟเดอะริฟต์[10][11][12][13]

การยุทธ์ของภาควอร์ออฟเดอะไลออนส์สามารถเปรียบเทียบได้กับเกมกระดานเช่นหมากรุก โดยแต่ละตัวหมากจะสอดคล้องกับสมาชิกคณะในบัญชีรายชื่อนักรบปัจจุบันของแรมซา[6] นักสู้แต่ละคนอาจเคลื่อนที่ไปบนกระดานคล้ายกริดตามการจัดสรรการเคลื่อนที่ของพวกเขา เช่นเดียวกับการโจมตีนักรบของศัตรู หรือเปิดใช้ความสามารถที่ซับซ้อนมากขึ้น[14] ส่วนภูมิประเทศของแต่ละแผนที่จะกำหนดขอบเขตและความคล่องตัวของนักรบ[15] ทหารของแรมซาแต่ละคนสามารถสวมใส่จ็อบตามแบบแผนของไฟนอลแฟนตาซี ตั้งแต่นักดาบและนักธนูมาตรฐาน ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเวทมนตร์ และไปจนถึงตำแหน่งที่แปลกใหม่ยิ่งขึ้น เช่น อัศวินมังกรและนักเต้น[16] เมื่อการกระทำบรรลุเป้าหมายในระหว่างการยุทธ์จะมอบค่าประสบการณ์และคะแนนจ็อบให้แก่ตัวละครแต่ละตัว ซึ่งสามารถใช้เพื่อจัดซื้อความสามารถใหม่ได้[17] ซึ่งในภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์มีทั้งหมด 22 จ็อบ เมื่อตัวละครได้เรียนรู้ทักษะจากจ็อบแล้ว พวกเขาจะสามารถเข้าถึงมันได้อย่างถาวร แม้ว่าจะมีกลุ่มทักษะหลักเพียงกลุ่มเดียวในแต่ละครั้งและขึ้นอยู่กับจ็อบ ความสามารถหลายอย่าง เช่น ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่หรือการถูกศัตรูโจมตียังคงสามารถติดตั้งได้หากตัวละครเปลี่ยนจ็อบในภายหลัง[18] เกมนี้ยังมีคุณสมบัติระบบการสิ้นชีพถาวร — โดยหากตัวละครไร้ความสามารถจากความเสียหายที่มากเกินไปและไม่ได้รับการเยียวยาภายในหลาย ๆ เทิร์น พวกเขาจะตายอย่างถาวร และไม่สามารถใช้งานได้อีกในการต่อสู้[19]

นอกการต่อสู้ ผู้เล่นสามารถเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ บนแผนที่เหนือโลก (overworld map) ได้ ซึ่งนี่ไม่ใช่การเคลื่อนไหวที่อิสระเหมือนเกมไฟนอลแฟนตาซีอื่น ๆ โดยแรมซาสามารถไปจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบนแผนที่เท่านั้น การข้ามสถานที่รกร้างว่างเปล่าอาจนำไปสู่การต่อสู้แบบสุ่ม[15] ในนครและเมือง ผู้เล่นสามารถซื้ออุปกรณ์ใหม่, รับสมัครทหารใหม่ และส่งสมาชิกคณะออกไปทำภารกิจอัตโนมัติเพื่อรับเงินสดและรางวัลอื่น ๆ[7] ในช่วงหลังของเกม ผู้เล่นจะได้รับรางวัลเพิ่มเติมจากการรุกล้ำเหล่าสัตว์ประหลาดระหว่างการยุทธ์

การเพิ่มเติมเข้ามาในเกมอีกอย่างหนึ่งคือโหมดหลายผู้เล่นแบบไร้สาย ทั้งสำหรับการเล่นแบบร่วมมือและการแข่งขัน โดยในการเล่นแบบแข่งขัน ทีมตรงข้ามอาจวางกับดักไว้ในสนามรบและกับดักเหล่านี้จะถูกซ่อนจากคู่ต่อสู้ ทีมจะถูกกำหนดสีเพื่อให้ง่ายต่อการระบุ การต่อสู้สิ้นสุดลงหลังจากครบตามจำนวนรอบที่กำหนด และทีมที่มีพลังชีวิตเหลือมากที่สุดจะได้รับการประกาศให้เป็นผู้ชนะ จากนั้นผู้ชนะอาจได้รับไอเทมที่สร้างขึ้นแบบสุ่มจากหีบสมบัติ[20] อย่างไรก็ตาม โหมดหลายผู้เล่นไม่ได้รวมอยู่ในเวอร์ชันไอโอเอส[8]

การพัฒนา[แก้]

ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์: เดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์ ได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2006 ในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ในฐานะพอร์ตเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิลของไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ นิตยสารดังกล่าวระบุว่ามีการเพิ่มฟูลโมชันวิดีโอเฉดเซล และจ็อบคลาสพิเศษท่ามกลางคุณสมบัติใหม่อื่น ๆ[21] เดิมชื่อนี้สร้างขึ้นสำหรับคอนโซลเพลย์สเตชัน ค.ศ. 1997 ทากามาสะ ชิบะ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการผลิตของเกมรีเมคกล่าวว่าสแควร์เอนิกซ์ตัดสินใจที่จะ "จินตนาการเกมอีกครั้งในทศวรรษต่อมา" เนื่องจากรูปแบบการเล่นที่ยาวนานและโครงเรื่องที่ลึกซึ้ง เครื่องเพลย์สเตชันจึง "บังคับให้ผู้เล่นใช้เวลาเล่นหลายชั่วโมง" ชิบะได้อ้างถึงสิ่งนี้ รวมถึงความสามารถในการพกพาของระบบ ว่าเป็นเหตุผลหลักที่บริษัทสแควร์เลือกที่จะพัฒนาสำหรับเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล ส่วนชื่อภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์ได้รับเลือกตามที่อธิบายถึง "ฉากหลังเรื่องราวของตัวละครหลักทั้งสองอย่างแรมซาและเดลิตา" รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการเล่นแบบหลายผู้เล่น[22]

ตามกระแสของวิดีโอเกมไฟนอลแฟนตาซีในระบบเพลย์สเตชัน ภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์ได้นำเสนอฟูลโมชันวิดีโอเต็มรูปแบบในบางฉาก วิดีโอเหล่านี้ได้แสดงผลโดยใช้เฉดเซล ซึ่งเป็นเทคนิคที่ให้ภาพเคลื่อนไหวที่วาดด้วยมือเป็นมายา[23] คัตซีนเหล่านี้เป็นภาพเคลื่อนไหวที่ร่วมมือกันโดยสตูดิโอแอนิเมชันของญี่ปุ่นอย่างคามิกาเซะโดงะ และสตูดิโอแอนิมะ[24] เนื่องจากขนาดหน้าจอของเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล เกมนี้จึงมีอัตราส่วนลักษณะเป็น 16:9 เมื่อเทียบกับ 4:3 ก่อนหน้านี้[25] ผู้พัฒนาได้เพิ่มลำดับเหตุการณ์ด้วยทัศนศิลป์ที่วาดโดยอากิฮิโกะ โยชิดะ และเกมดังกล่าวมาพร้อมกับตอนใหม่และคัตซีนที่ไม่ได้อยู่ในภาคต้นฉบับ โดยที่ผู้พัฒนาต้องการให้เกมนี้เหมาะกับทั้งผู้เล่นใหม่และผู้เล่นที่มีประสบการณ์ในเกมต้นฉบับ[20] นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มคัตซีนเพื่อช่วยให้ผู้เล่นได้ดื่มด่ำกับวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของอิวาลิซและภาค "วอร์ออฟเดอะไลออนส์"[26] รวมถึงระบบการต่สู้โซดิแอคได้รับการนำมาใช้ในไฟนอลแฟนตาซี XII เวอร์ชันระดับนานาชาติเนื่องจากทั้งสองเกมเกิดขึ้นในโลกของอิวาลิซ และผู้กำกับการต่อสู้ของภาค "วอร์ออฟเดอะไลออนส์" ยังเป็นผู้อำนวยการของไฟนอลแฟนตาซี XII ที่เผยแพร่ในระดับนานาชาติ และชอบระบบการต่อสู้ดังกล่าว[27] ส่วนลูโซจากไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ เอ2: กรีมัวร์ออฟเดอะริฟต์ ได้รับการเพิ่มเข้ามาเพื่อเชื่อมต่อเกมดังกล่าวกับซีรีส์เกมอิวาลิซอัลไลแอนซ์[26]

คลาสตัวละครใหม่ได้รับการคัดเลือกในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา โดยมีเจ้าหน้าที่ที่ชื่นชอบเกมแทกติกส์ดั้งเดิมที่ได้รับมอบหมายเพื่อสร้างสมดุลให้กับงานใหม่ภายในเกม[26] คลาสใหม่ ได้แก่ อัศวินหัวหอม ซึ่งนำมาจากไฟนอลแฟนตาซี III และอัศวินดำ ซึ่งก่อนหน้านี้มีให้เล่นตัวละครเดียวคือกาฟแกเรียน โดยอัศวินดำในฉบับรีเมคได้มีความสามารถเพิ่มเติม ดังนั้นคลาสอัศวินดำดั้งเดิมจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "เฟลไนต์" ซึ่งคลาสเฟลไนต์ยังคงเป็นเอกลักษณ์ของกาฟแกเรียน[23]

ในแอนิเมชัน แรมซา เบโอลูฟ ซึ่งเป็นตัวเอกหลักจะแสดงอยู่เบื้องหน้า โดยมีน้องสาวของเขาคืออัลมา และผู้หญิงอีกคนอยู่เบื้องหลัง ส่วนคำบรรยายอ่านว่า "ตอนนี้คุณจะพาเธอไปที่ไหน"
หนึ่งในฉากคัตซีนใหม่ของภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์ โดยนักพัฒนาเลือกใช้แอนิเมชันเฉดเซล ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนภาพที่วาดด้วยดินสอ

การแปลในอเมริกาเหนือของภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์มีเสียงพากย์เต็มรูปแบบสำหรับวิดีโอลำดับเหตุการณ์ในเกม[28] การชะลอและการลดระดับเสียง แม้ว่าจะได้รับการยอมรับจากผู้แปล แต่ก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับพวกเขาในการแก้ไข โดยได้แถลงว่า "พวกเขาไม่สามารถควบคุมได้"[29] นักวิจารณ์หลายคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาการชะลอ หนึ่งในตัวอย่างของเวอร์ชันอเมริกาเหนืออ้างว่าการชะลอได้ลดลง โดยกล่าวว่า "ตอนนี้ปัญหาทางเทคนิคใกล้เคียงกับการชะลอเล็กน้อยที่แสดงในรุ่นเพลย์สเตชัน 1 และไม่กวนใจอีกต่อไป" ในขณะที่คนอื่น ๆ กล่าวว่าการชะลอยังคง "เกิดขึ้นเมื่อทำการโจมตีหรือร่ายคาถาในการต่อสู้"[30][31]

เนื่องจากเสียงวิจารณ์การแปลภาษาอังกฤษของภาคต้นฉบับ จึงได้มอบหมายให้มีการแปลใหม่ทั้งหมดสำหรับภาครีเมค[27] ทั้งนี้ อากิโตชิ คาวาซุ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสร้างของเวอร์ชันเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล ได้อธิบายว่าเกมนี้มี "ข้อความจำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อ" เมื่อเทียบกับวิดีโอเกมเล่นตามบทบาททั่วไป[26] ส่วนการแปลสคริปต์ของเกมได้มอบหมายให้แก่โจ รีเดอร์ ซึ่งดึงเพื่อนนักแปลอย่างทอม สแลตเทอรี เข้ามาหลังจากประทับใจกับงานภายในของเขาที่สแควร์เอนิกซ์[32] ทั้งคู่ได้ทำงานเกี่ยวกับเกม โดยสลับกันแปลเรื่องราวจนรีเดอร์ต้องออกจากโครงการไปทำงานสำหรับไฟนอลแฟนตาซี XII: เรเวแนนต์วิงส์ และสแลตเทอรีได้กลายเป็นหัวหน้านักแปล[32] ซึ่งงานแปลใช้เวลาหกถึงเจ็ดวันต่อสัปดาห์ โดยยืดเวลาเป็นสิบสองถึงสิบสามชั่วโมง[32] และเพื่อรวมเกมให้ลึกลงไปในโลกของอิวาลิซ การแปลภาษาอังกฤษแบบใหม่ได้เปลี่ยนคำให้เป็นคำศัพท์และการสะกดคำมาตรฐานของไฟนอลแฟนตาซี เช่น "เมจิก", "ดรากูน" และ "มิสติก"[33] นอกจากนี้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งใด ๆ ที่โครงเรื่องของเกมเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ศาสนาคริสต์ สแลตเทอรียังคงรักษาผู้สวดมนต์ช่วงเปิดเกมที่มุ่งเน้นไปยัง "เหล่าเทพ" โดยแยกฝ่ายศาสนจักรแห่งกัลบาโดสออกจากความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนแบบเอกเทวนิยม[32]

แพลตฟอร์มอื่น[แก้]

เวอร์ชันเพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์ก ได้รับการวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2011 ในประเทศญี่ปุ่น และในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2011[34] เพื่อตอบสนองต่อคำร้องขอของผู้เล่นที่บริษัทสแควร์เอนิกซ์เปิดตัวแค็ตตาล็อกของพวกเขาในโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น จึงได้เริ่มมีโครงการพอร์ต "วอร์ออฟเดอะไลออนส์"[35] การสร้างเกมขึ้นมาใหม่สำหรับอินเทอร์เฟซแบบสัมผัสและไม่มีปุ่มไหล่ของเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล นั้นใช้เวลาและ "ลองผิดลองถูก" อย่างมาก โดยอาศัยงานที่ทำเพื่อดัดแปลงเกมไฟนอลแฟนตาซีก่อนหน้า[35] ส่วนฟีเจอร์บางอย่างของไอโอเอสไม่ได้รับการสนับสนุนรวมถึงเกมเซ็นเตอร์ เนื่องจากเกมดังกล่าวไม่ได้ "แข่งกันโดยเนื้อแท้"[35]

ภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์สำหรับไอโอเอส ได้รับการประกาศในงานอิเล็กทรอนิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป 2010 และเปิดตัวใน ค.ศ. 2011 โดยเวอร์ชันไอโฟนที่วางจำหน่ายในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2011[36] ส่วนเวอร์ชันไอแพดได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012[37] ส่วนพอร์ตแอนดรอยด์ได้เปิดตัวผ่านตลาดสแควร์เอนิกซ์เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีกราฟิกที่ได้รับการปรับปรุง, ความเร็วในการวาดที่สูงขึ้น และการควบคุมที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับจอสัมผัส[38] นอกจากนั้น ได้มีสัญญาการอัปเดตไอโอเอส และเมื่อเปิดตัวยังรองรับสล็อตบันทึกไอคลาวด์หลายช่อง[38][39] ทั้งนี้ เวอร์ชันแอนดรอยด์ได้รับการเปิดตัวในกูเกิล เพลย์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2015 โดยไม่มีการบันทึกบนคลาวด์[2]

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เกมแรงกิงส์เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล: 88 เปอร์เซ็นต์[40]
เมทาคริติกเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล: 88/100[41]
ไอโอเอส: 72/100[42]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
ยูโรเกมเมอร์9 / 10[17]
เกมอินฟอร์เมอร์9.5 / 10[43]
เกมโปร4.25/5[44]
เกมส์เรดาร์9 / 10[18]
เกมสปอต8 / 10[45]
เกมสปาย5/5 stars[7]
เกมเทรเลอส์9.2 / 10[15]
เกมโซน9 / 10[46]
ไอจีเอ็น9 / 10[10]
ออฟฟิเชียลเพลย์สเตชันแมกกาซีน (สหราชอาณาจักร)10 / 10[47]
นิตยสารเพลย์9 / 10[47]
เพลย์สเตชันแมกกาซีน9.5 / 10[47]

ภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์ขึ้นสู่อันดับสูงสุดของชาร์ตเกมประเทศญี่ปุ่น และขายได้ 100,000 ชุดในเดือนแรกที่วางจำหน่ายในสหรัฐ[50] เกมดังกล่าวเป็นเกมขายดีอันดับที่ 53 เมื่อ ค.ศ. 2007 ในประเทศญี่ปุ่นที่ 301,796 ชุดโดยอ้างอิงจากนิตยสารแฟมิซือ[51] ส่วนฉบับอัลทิเมตฮิตส์ขายได้เพิ่มอีก 19,488 ชุดในประเทศญี่ปุ่น[52]

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์สำหรับระบบเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล มีคะแนน 88 เต็ม 100 ที่เว็บไซต์รวมบทวิจารณ์เมทาคริติกโดอยอิงจาก 41 บทวิจารณ์[41] และ 88 เปอร์เซ็นต์ที่เว็บไซต์เกมแรงกิงส์โดยอิงจาก 47 บทวิจารณ์[40] ซึ่งในการเปรียบเทียบ ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ ดั้งเดิมได้ 83 คะแนนจาก 12 บทวิจารณ์ที่เมทาคริติก[53] นักวิจารณ์โดยทั่วไปพอใจที่เกมนี้ได้รับการปรับปรุงใหม่ เนื่องจากถือว่าเป็นความคลั่งที่ได้รับความนิยมในการปรากฏอยู่ในร่างใหม่จากต้นฉบับ แต่สำเนากลับหาได้ยาก[10][15][54] รูปแบบการเล่นทางยุทธวิธีของภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าลึกล้ำและต้องตาต้องใจ เนื่องจากการยุทธ์สามารถดำเนินต่อไปได้หลายแนว โดยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของคณะและกลยุทธ์ของผู้เล่น[7][55] เหล่านักวิจารณ์ชื่นชอบการให้ความสำคัญกับตัวเลือกของผู้เล่นในสนามรบ เช่น การเข้าใกล้การต่อสู้โดยคำนึงถึงการป้องกัน หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือการโจมตีศัตรูอย่างหนัก และรวดเร็วแบบสงครามสายฟ้าแลบ[56] ส่วนระบบจ็อบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความซับซ้อน, การปรับแต่ง และความสามารถในการมีอิทธิพลต่อการต่อสู้ได้รับการยกย่อง[14][19][56] และเว็บไซต์เกมเทรเลอส์ได้เขียนว่า: "จนถึงตอนนี้โครงสร้างการแบ่งประเภทจ็อบของไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ ยังคงเป็นหนึ่งในประเภทที่ดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา โดยระบบที่มีคุณสมบัติหลากหลายและยืดหยุ่น ซึ่งจับคู่กับกลไกยุทธการที่ซับซ้อนพอ ๆ กันเท่านั้น"[15] นอกจากนี้ จ็อบใหม่ก็ได้รับการชื่นชมเช่นกัน[7][55]

คำแปลใหม่ของภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์ได้รับการแสดงความคิดเห็นบ่อยครั้ง นักวิจารณ์รู้สึกว่าในขณะที่การเล่าเรื่องของมันดูน่ากลัว แม้แต่ผู้ศึกษาผลงานของเชกสเปียร์ แต่ก็มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าภาคต้นฉบับ ซึ่งถูกอธิบายว่าสับสนและซับซ้อน[14][15] ส่วนเรื่องราวยังได้รับการยกย่องในด้านความลึกซึ้งและความสมบูรณ์ แม้ว่านักวิจารณ์จะสังเกตว่าตัวละครจำนวนมากในบางครั้งก็ยากที่จะติดตาม[7][19] คัดซีนเฉดเซลแบบใหม่ได้รับความนิยมอย่างมากและได้รับการกล่าวขานว่า "มีมนต์ขลัง", "สวยงาม" และ "โดดเด่น"[10][19][56] มีบางความคิดเห็นว่าสไปรต์, พื้นผิว และภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปไม่ได้รับการปรับปรุง[15][54] ยกเว้นภาพเคลื่อนไหวของการร่ายคาถาใหม่[10] ส่วนด้านเสียงได้รับทั้งการชื่นชมและการติเตียน ด้วยข้อสังเกตเกี่ยวกับดนตรีที่ไพเราะ แต่เอฟเฟกต์เสียงของกล้องน่าขัดเคือง[7][17][19][57]

ความคิดเห็นเชิงลบเกี่ยวกับภาคเดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์มุ่งเน้นไปที่การชะลอของเกมในระหว่างยุทธการและความยากของเกม การกระทำของคณะบางอย่างทำให้อัตราเฟรมของเกมช้าลงและลดคุณภาพเสียง ซึ่งจะเห็นได้ชัดที่สุดเมื่อร่ายคาถาหรือใช้ความสามารถพิเศษที่ต้องใช้เอฟเฟกต์แสงที่แตกต่างกัน[7][10][15] แม้จะเปลี่ยนจากแผ่นดิสก์เท่านั้นสู่ตัวเลือกในการเล่นผ่านการดาวน์โหลดเพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์ก แต่การชะลอก็ยังเหลืออยู่ ตามที่ได้รับการยืนยันจากบทวิจารณ์ของเพลย์สเตชัน ไลฟ์สไตล์[55] ส่วนความยากได้รับการพิจารณาอย่างกว้างขวางว่าเป็นการทารุณ และอาจทำให้ผู้เล่นใหม่ท้อใจ[7][14][57] ร็อบ ฟาเฮย์ ของยูโรเกมเมอร์กล่าวว่า: "เส้นโค้งความยาก [ของเกม] นั้นค่อนข้างแปลก - ที่จะทำให้มันมีเสน่ห์...แน่นอนว่าเราพบการต่อสู้บางอย่างที่ง่ายอย่างน่าหัวเราะ และสองสามครั้ง (โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ) นั้นยากมาก จนเราต้องจัดเตรียมใหม่ และต่อสู้แบบสุ่มสองสามครั้ง ก่อนที่จะลองอีกครั้ง"[17]

เวอร์ชันไอโอเอสได้รับการตอบรับน้อยกว่ารุ่นเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล ในขณะที่นักวิจารณ์แสดงความคิดเห็นเชิงบวกเกี่ยวกับโครงเรื่องและรูปแบบการเล่น แต่พวกเขาไม่พอใจกับการลบโหมดหลายผู้เล่น, ปัญหากราฟิกที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และที่สำคัญที่สุดคือระดับราคาในการเปิดตัวครั้งแรก[6][48][57][58] ซึ่งในเวลานั้น มันเป็นเกมที่แพงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในระบบปฏิบัติการ[16] ในทางกลับกัน เว็บไซต์ยูเอสเกมเมอร์ได้ระบุว่าการรีเมคเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา[59]

อ้างอิง[แก้]

  1. SQUARE ENIX DLG Official Facebook Page (2011-08-11). ""FINAL FANTASY TACTICS: The War of the Lions" Product Information". สืบค้นเมื่อ 2011-08-01. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  2. 2.0 2.1 SQUARE ENIX Co.,Ltd. "FINAL FANTASY TACTICS : WotL - Android Apps on Google Play". google.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-15.
  3. "ファイナルファンタジータクティクス 獅子戦争 - SQUARE ENIX MARKET - SQUARE ENIX". square-enix.co.jp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-02.
  4. Square Enix (2007-05-14). "Square Enix Allies Dragon Quest and Ivalice For North America". PR News Wire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-05-14.
  5. IGN Staff (2006-12-13). "IGN: Final Fantasy Tactics Returns". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-06. สืบค้นเมื่อ 2007-03-01.
  6. 6.0 6.1 6.2 Mustafa, Nathan (2012-02-23). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions Review". Touch Gen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-25. สืบค้นเมื่อ 11 November 2013.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 7.8 Joynt, Patrick (2007-10-05). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions". GameSpy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2012. สืบค้นเมื่อ 11 November 2013.
  8. 8.0 8.1 Tucker, John (2011-08-06). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions". RPG Fan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2013. สืบค้นเมื่อ 12 November 2013.
  9. Greg Vallentin (February 22, 2007). "Final Fantasy XII review". VideoGamer.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 9, 2012. สืบค้นเมื่อ April 21, 2012.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 Jeff Haynes (2007-10-01). "Final Fantasy Tactics: The War Of The Lions Review". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-19. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
  11. Jeriaska (2007-01-15). "Balthier Bunansa all over Ivalice". squarehaven.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-16. สืบค้นเมื่อ 2007-03-01.
  12. GameBase staff (2006-12-13). "PSP『FFT 獅子戦争』にFF12のバルフレアが登場". GameBase.jp (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ 2007-03-01.
  13. Spencer (2007-04-05). "Tying the world of Ivalice together: FF Tactics A2 crosses with the Lion War". siliconera.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-24. สืบค้นเมื่อ 2007-04-16.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Parish, Jeremy (2007-10-09). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions". 1UP. สืบค้นเมื่อ 12 November 2013.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 15.6 15.7 "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions". GameTrailers. 2007-10-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-29. สืบค้นเมื่อ 11 November 2013.
  16. 16.0 16.1 Slater, Harry (August 8, 2011). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions". Pocket Gamer UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2012. สืบค้นเมื่อ 11 November 2013.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 Fahey, Rob (2007-10-04). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions Review". Eurogamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2013. สืบค้นเมื่อ 12 November 2013.
  18. 18.0 18.1 Ryan, Paul (2007-10-08). "FINAL FANTASY TACTICS: THE WAR OF THE LIONS". Games Radar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2014. สืบค้นเมื่อ 12 November 2013.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 Yin-Poole, Wesley (November 14, 2007). "Final Fantasy Tactics: The War Of The Lions Review". Video Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 14 November 2013.
  20. 20.0 20.1 Jeriaska (2007-03-17). "Final Fantasy Tactics goes multiplayer". SquareHaven.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-17. สืบค้นเมื่อ 2007-04-16.
  21. Nutt, Christian (2006-12-13). "A remake and an original game both go portable - get ready". Games Radar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-16. สืบค้นเมื่อ 2007-03-01.
  22. Square Enix (2007-09-23). An Inside Look: Episode 2 About the Game (Podcast). Japan.
  23. 23.0 23.1 Calonne, Stéphane (2006-12-21). "FF Tactics : The Lion War scanné". JeuxFrance.com (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 2007-03-01.
  24. 神風動画/NEWS 2007年以前の情報・作品まとめ. Kamikaze Douga. 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-15. สืบค้นเมื่อ 2017-05-27.
  25. Lumb, Jonathon (2006-12-13). "Final Fantasy Tactics to be Updated on PSP". IGN. สืบค้นเมื่อ 2007-03-01.
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 Mielke, James (2007-10-09). "Square Enix Talks about the Ivalice Alliance". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-29. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
  27. 27.0 27.1 Christian Nutt (2007-05-13). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions - interview". Games Radar. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
  28. Ricardo Torres (2007-05-13). "Final Fantasy Tactics: War of the Lions Hands-On". Gamespot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.
  29. Michael Cunningham (2007-06-01). "Run to the Sun - Square Enix Interview". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-06-14.
  30. Jeremy Parish (2007-08-24). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions Playstation Portable Preview". 1UP.com. สืบค้นเมื่อ 2007-08-27.
  31. Jem Alexander (2007-10-14). "PSP Fanboy review: Final Fantasy Tactics". Joystiq. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-18. สืบค้นเมื่อ 2008-02-02.
  32. 32.0 32.1 32.2 32.3 Michael A Cunningham. "Inside Gaming - Interview with Former Square Enix Translator Tom Slattery". RPGamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
  33. Spencer (2007-07-14). "Looking at localization in Final Fantasy Tactics: The War of the Lions". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-18. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
  34. Spencer (2012-02-21). "Final Fantasy Tactics: The War Of The Lions Roars On To PSN". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-20. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
  35. 35.0 35.1 35.2 Erren Van Duine (2011-08-04). "Final Fantasy Tactics iOS Review". RPG Site. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-13. สืบค้นเมื่อ 2016-04-11.
  36. arn (2010-06-15). "E3 2010: Square Enix's 'Final Fantasy Tactics: War of Lions' Coming to iPhone". Touch Arcade. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-12. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
  37. Mallory, Jordan (February 23, 2012). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions hits iPad for $18". Joystiq. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2013. สืบค้นเมื่อ 14 November 2013.
  38. 38.0 38.1 Spencer (February 14, 2013). "Final Fantasy Tactics: War Of The Lions Makes Android Debut With Enhanced Graphics". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2013. สืบค้นเมื่อ 14 November 2013.
  39. Spencer (4 June 2013). "Final Fantasy Tactics For iOS Now Has High Resolution Unit Graphics". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2016. สืบค้นเมื่อ 10 April 2016.
  40. 40.0 40.1 "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions for PSP". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-03. สืบค้นเมื่อ 2011-02-15.
  41. 41.0 41.1 "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions for PSP Reviews". Metacritic. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-27. สืบค้นเมื่อ 2018-07-02.
  42. "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions for iPhone/iPad Reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 2018-07-02.
  43. Andy McNamara. "Tactical Genius". Games Radar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-23.
  44. Balistrieri, Emily (October 9, 2007). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions". GamePro. Wayback Machine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2010. สืบค้นเมื่อ 14 November 2013.
  45. VanOrd, Kevin. "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-23. สืบค้นเมื่อ 14 November 2013.
  46. Louis Bedigian (2007-10-05). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions Review". GameZone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-27.
  47. 47.0 47.1 47.2 "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions Critic Reviews for PSP". Metacritic. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-12. สืบค้นเมื่อ 2016-04-11.
  48. 48.0 48.1 Klosowski, Thorin (2011-08-08). "'Final Fantasy Tactics: The War of the Lions' Review – A Touchy Port". TouchArcade. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-21. สืบค้นเมื่อ 2013-11-14.
  49. Ford, Eric (2012-02-27). "'Final Fantasy Tactics for iPad' Review – An Improved Port That Still Falls Short Of Nostalgia". TouchArcade. สืบค้นเมื่อ 2018-07-02.
  50. David Radd (2007-12-05). "Chart Toppers: Square Enix Strategizes a Hit with Final Fantasy Tactics". GameDaily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-14. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
  51. Takahashi (June 18, 2008). "Famitsu Top 500 of 2007". GEMAGA.COM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.
  52. "Final Fantasy". Famitsu. Garaph. สืบค้นเมื่อ 21 July 2012.
  53. "Final Fantasy Tactics for PlayStation Reviews". Metacritic. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-28. สืบค้นเมื่อ 2018-07-02.
  54. 54.0 54.1 Dutka, Ben (2007-11-24). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions Review". PSExtreme. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2013. สืบค้นเมื่อ 14 November 2013.
  55. 55.0 55.1 55.2 Hindman, Heath (July 18, 2011). "PSP Review – Final Fantasy Tactics: The War of the Lions". PlayStation Lifestyle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2014. สืบค้นเมื่อ 14 November 2013.
  56. 56.0 56.1 56.2 Parker, Tom (2007-10-26). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions Review". Game Revolution. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2014. สืบค้นเมื่อ 14 November 2013.
  57. 57.0 57.1 57.2 Oxford, Nadia (August 6, 2011). "Final Fantasy Tactics: The War of the Lions Review". Slide to Play. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2013. สืบค้นเมื่อ 14 November 2013.
  58. Hargreaves, Roger (August 5, 2011). "Final Fantasy Tactics: The War Of The Lions iPhone review – raising the stakes". Metro UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2014. สืบค้นเมื่อ 14 November 2013.
  59. Oxford, Nadia. "What Are the Best Video Game Remakes?". US Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2016. สืบค้นเมื่อ April 11, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]