ไพล
ไพล | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Liliopsida |
อันดับ: | Zingiberales |
วงศ์: | Zingiberaceae |
สกุล: | Zingiber |
สปีชีส์: | Z. cassumunar |
ชื่อทวินาม | |
Zingiber cassumunar Roxb. |
ไพล เป็นพืชชนิดหนึ่งในวงศ์ขิง ชื่อวิทยาศาสตร์: Zingiber cassumunar เป็นพืชลงหัว มีเหง้าใหญ่ เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นหอมใบเรียวยาวปลายแหลมดอกออกรวมกันเป็นช่ออยู่บนก้านช่อดอก ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเหง้าแก่จัด หลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว
ไพลใช้ผสมในน้ำพริกแกงป่าทางจังหวัดระยอง ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ป่าทำให้น้ำแกงสีเหลือง ส่วนของไพลที่ใช้เป็นยาคือเหง้าแก่จัด แก้ฟกช้ำ บวม เคล็ด ยอก ปวดเมื่อย ขับลม ท้องเดิน ช่วยขับระดูหรือประจำเดือนของสตรีนิยมใช้หลังจากที่คลอดบุตรแล้ว เหง้าไพลมีน้ำมันหอมระเหย ร้อยละ 0.8 และมีสารที่ให้สี ซึ่งจากการทดลองพบว่ามีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการค้นคว้าสารสำคัญที่มีสรรพคุณแก้หอบหืดและมีการวิจัยทางคลีนิค โดยใช้รักษาโรคหืดในเด็ก และไม่มีพิษเฉียบพลัน
การปลูก
[แก้]ไพลสามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด แง่งหรือเหง้าซึ่งเป็นส่วนของลำต้นใต้ดิน โดยทั่วๆ ไปจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการปลูก ไพลชอบดินร่วนซุย ไม่ชอบน้ำขังหรือดินที่มีการระบายน้ำไม่ดีเนื่องจากจะเน่าเสียโดยเฉพาะดินที่มีสภาพเป็นกรด เมื่อมีฝนชุกหรือความชื้นในดินสูง จะทำให้เกิดโรคแง่งเน่า สามารถปลูกกลางแจ้งจนถึงมีแสงแดดพอควร ส่วนต้นเหนือดินมักจะยุบหรือแห้งเมื่อเข้าฤดูแล้ง ส่วนใหญ่จะเก็บเหง้าแก่เมื่ออายุ 2-3 ปีหลังปลูก
อ้างอิง
[แก้]- ไพล จากสำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล
- แกงป่า-ผัดเผ็ด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. แสงแดด. 2550