ไพรเออรีออฟไซออน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไพรออรี ออฟ ไซออน)
สัญลักษณ์ของกลุ่มไพรเออรีออฟไซออนที่มีพื้นฐานมาจากเฟลอร์เดอลิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ฝรั่งเศส[1]

ไพรเออรีออฟไซออน (ฝรั่งเศส: Prieuré de Sion, อังกฤษ: Priory of Sion) เป็นชื่อที่ใช้กับหลายกลุ่มทั้งที่จริงและไม่จริง กลุ่มที่มีชื่อเสียงทางลบที่สุดคือองค์กรลับที่ก่อตั้งและถูกยุบในฝรั่งเศสในปีพ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) โดยปิแอร์ ปลองตาร์ด (Pierre Plantard) ในทศวรรษที่ 1960 ปลองตาร์ดได้แต่งประวัติศาสตร์ขององค์กรขึ้นมา โดยกล่าวว่ามันเป็นสมาคมลับที่ก่อตั้งขึ้นในกรุงเยรูซาเล็มเมื่อปีพ.ศ. 1642 (ค.ศ. 1099) ซึ่งได้ปกป้องสายเลือดของราชวงศ์เมโรแว็งเชียง[2] เรื่องโกหกนี้ถูกขยายขึ้นและโด่งดังในหนังสือชื่อ The Holy Blood and the Holy Grail ในปีพ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982)[1] และต่อมาในนวนิยายสืบสวนชื่อรหัสลับดาวินชี[3]

หลังจากเป็นคดีดังตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1960-1980 ไพรเออรีออฟไซออนถูกเปิดเผยว่าเป็นสิ่งที่ปลองตาร์ดสร้างขึ้นเพื่ออ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของฝรั่งเศส[4] หลักฐานที่สนับสนุนการมีอยู่ในประวัติศาสตร์และกิจกรรมของกลุ่มก่อนปีพ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ถูกค้นพบว่าถูกหลอมและนำไปไว้ในที่ต่าง ๆ ทั่วฝรั่งเศสโดยปลองตาร์ดและผู้สมรู้ร่วมคิด ถึงกระนั้นผู้คนมากมายที่เชื่อว่าไพรออรี ออฟ ไซออนเป็นสมาคมลับในยุคเก่าซึ่งได้ปกปิดความลับที่จะล้มล้างเอาไว้[5]

ตำนานของไพรเออรีออฟไซออนถูกหักล้างอย่างมากโดยนักข่าวและนักปราชญ์ว่ามันเป็นเพียงเรื่องโกหกในศตวรรษที่ 20[6] ผู้สงสัยบางคนแสดงความรู้สึกว่าหนังสือมากมายที่โด่งดัง เว็บไซต์ และภาพยนตร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งนี้ได้ทำให้ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด ประวัติศาสตร์เทียม และการสับสนอื่น ๆ กลายมาเป็นกระแสหลัก[7] พวกอื่นได้รับปัญหาจากแนวคิดฝั่งขวาที่ทำให้พวกเขามีส่วนร่วมในผลงานเหล่านั้นโดยไม่ได้ตั้งใจ[8]

ประวัติ[แก้]

ไพรเออรีออฟไซออนเป็นสมาคมชายล้วนที่ก่อตั้งขึ้นในเมืองอานเนอมาซ (Annemasse) ทางตะวันออกของฝรั่งเศสในปีพ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) กฎหมายฝรั่งเศสต้องการให้กลุ่มไพรเออรีเข้าร่วมกับรัฐบาล การขึ้นทะเบียนเกิดขึ้นที่เซนท์จูเลียง ออง เจอเนอวัวในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 และได้บันทึกไว้ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ในเอกสารทางการของฝรั่งเศส ผู้ก่อตั้งและผู้ลงนามคือปิแอร์ ปลองตาร์ด และอังเดร บงนอม (André Bonhomme) หรือสตานิ เบลลา (Stanis Bellas) อังเดร บงนอมเป็นประธาน ในขณะที่ปิแอร์ ปลองตาร์ดเป็นผู้จัดการ เอกสารการขึ้นทะเบียนยังรวมทั้งชอง เดอเลวัล (Jean Deleaval) เป็นรองประธานและอาร์มอง เดอฟาโก (Armand Defago) เป็นเหรัญญิก สำนักงานของไพรเออรีออฟไซออนและเอกสารอยู่ที่อพาร์ทเมนต์ของปลองตาร์ด[9] ชื่อ "ไซออน" มาจากจุดเด่นของท้องถิ่นที่เป็นเนินเขาทางใต้ของอานเนอมาซในฝรั่งเศส ที่ซึ่งผู้ก่อตั้งตั้งใจที่จะสร้างสถานที่ส่วนบุคคล[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Henry Lincoln, Michael Baigent, Richard Leigh, The Holy Blood and the Holy Grail, Corgi, 1982. ISBN 0-552-12138-X.
  2. Pierre Plantard, Gisors et son secret..., ORBIS, 1961, abridged version contained in Gérard de Sède, Les Templiers sont parmi nous. 1961.
  3. Dan Brown, The Da Vinci Code, Doubleday, 2003. ISBN 0-385-50420-9.
  4. Pierre Plantard, Gisors et son secret..., ORBIS, 1961, abridged version contained in Gérard de Sède, Les Templiers sont parmi nous. 1962.
  5. Bill Putnam, John Edwin Wood, The Treasure of Rennes-le-Château. A Mystery Solved, Sutton Publishers, 2003.
  6. The Secret of the Priory of Sion, '60 Minutes', 30 เมษายน พ.ศ. 2549, presented by Ed Bradley, produced by Jeanne Langley, CBS News
  7. Damian Thompson, "How Da Vinci Code tapped pseudo-fact hunger เก็บถาวร 2008-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Daily Telegraph. 2008. Retrieved on 2008-03-28.
  8. David Klinghoffer, "The Da Vinci Protocols: Jews should worry about Dan Brown’s success เก็บถาวร 2009-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", National Review Online, 2006. Retrieved on 2008-03-28.
  9. Bernardo Sanchez Da Motta, Do Enigma de Rennes-le-Château ao Priorado de Siao - Historia de um Mito Moderno, Esquilo, 2005, p. 322, reproducing the Priory of Sion Registration Document showing the group was based in Plantard's apartment.
  10. Bradley, Ed (2006). "The Priory Of Sion: Is The "Secret Organization" Fact Or Fiction?". สืบค้นเมื่อ 2008-07-16. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)