ไทม์ลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทม์ลาย
Timelie
ผู้พัฒนาUrnique Studio
ผู้จัดจำหน่ายUrnique Studio, Milk Bottle Studio
กำกับปริเมธ วงศ์สัตยนนท์
ออกแบบพงศธร สันติวัฒนกุล
ศิลปินคามิน กลยุทธสกุล
แต่งเพลงพงศธร โปสายานนท์, Angel Ignace, เจษฎา ตรีรุ่งกิจ
เครื่องเล่นไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอส
วางจำหน่าย
  • ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
  • 21 พฤษภาคม 2563[1]
  • แมคโอเอส
  • 23 มิถุนายน 2563[2]
แนวแก้ไขปริศนา, ซ่อนเร้น
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

ไทม์ลาย (อังกฤษ: Timelie) เป็นเกมแนวแก้ไขปริศนา จากค่ายเกมสัญชาติไทย Urnique Studio[3] โดยเกมจะให้เรารับบทเป็นหญิงสาวที่ตื่นขึ้นมาในห้องทดลองลึกลับแห่งหนึ่ง แล้วต้องการหนีเอาตัวรอดจากสถานที่แห่งนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยหุ่นยนต์เฝ้ายาม โดยระหว่างทางเธอจะได้รับพลัง ซึ่งทำให้เธอสามารถควบคุมกาลเวลาภายในโลกของเกมได้ นอกจากนี้ ตัวเกมยังให้เราควบคุมตัวละครแมว ซึ่งคอยให้ช่วยหญิงสาวแก้ไขปริศนาและหลบหนีจากหุ่นยนต์เฝ้ายามอีกด้วยอีกด้วย โดยเกมใช้ระบบการควบคุมเวลาเป็นหัวใจหลักในการแก้ไขปริศนาและหลบหนีจากศัตรู

เกมเพลย์[แก้]

ภาพจับหน้าจอจากเกม

ผู้เล่นจะมีหน้าที่ควบคุมหญิงสาวและแมวในการแก้ไขปริศนาต่าง ๆ ภายในเกม โดยหัวใจหลักของเกมนี้คือระบบควบคุมเวลา ที่เป็นแถบเส้นเวลา[4] (timeline) มีลักษณะเหมือนแถบคุมคุมเครื่องเล่นมัลติมีเดีย ทำให้สามารถเลื่อนไปดูเหตุการณ์ในอนาคต เพื่อดูทิศทางการเคลื่อนที่ของศัตรู หรือดูผลการกระทำของตัวละครของเรา หรือย้อนเวลาไปยังจุดเริ่มต้นเมื่อเห็นว่าการกระทำของเรานั้นไม่ถูกต้อง หรือถูกศัตรูโจมตี สำหรับเกมนี้ จะไม่มีฉากเกมโอเวอร์ (game over) เหมือนเกมทั่วไป แต่ตัวเกมจะหยุดเวลาอยู่ ณ จุดนั้น ทำให้เราจำเป็นต้องเลื่อนแถบเวลาเพื่อย้อนกลับไปยังจุดตั้งต้นที่เหมาะสมในเวลาก่อนหน้านั้น

การควบคุมตัวละครนั้น ใช้การคลิกหรือลากเมาส์ไปบนพื้นที่มีการแบ่งเป็นตารางไว้ เพื่อให้ตัวละครเคลื่อนที่ โดยเราจะต้องเลือกควบคุมตัวละครทั้งสองตัว เพื่อให้แก้ไขปริศนาภายในเกมและออกจากแผนที่ภายในเกมได้ครบทั้งสองตัว นอกจากการควบคุมเวลาโดยใช้แถบเวลาแล้ว เราจะต้องทำการเก็บพลังเฉพาะ เพื่อที่จะทำการซ่อมทางเดินให้เราสามารถผ่านบริเวณนั้นไปได้ สำหรับในส่วนของตัวละครแมว เราสามารถควบคุมให้ช่วยกดปุ่มบางอย่างที่อยู่บนพื้น และช่วยหลอกล่อศัตรูให้พ้นไปจากเส้นทางของเราได้[5] นอกจากนี้ แมวยังสามารถเดินลอดช่องระบายอากาศแคบๆภายในเกม ซึ่งตัวละครหญิงสาวไม่สามารถทำได้อีกด้วย โดยเราจะต้องหลบสายตาจากศัตรูภายในเกม ระวังไม่ให้ศัตรูเห็น หรือทำการขังศัตรูไว้ในห้องๆหนึ่ง สำหรับศัตรูนั้น จะมีระยะการมองเห็น ทำให้เราสามารถกะระยะในการเดินตามหรือหามุมที่หลบสายตาของศัตรูเพื่อไม่ให้ถูกเห็นได้ นอกจากนี้ในบางฉากจะมีการทำลายฉากไปเรื่อย ๆ ระหว่างที่เวลากำลังเดินอยู่ ทำให้ผู้เล่นจำเป็นต้องหาวิธีผ่านพื้นที่นั้นๆไปให้เราที่สุดก่อนที่ฉากจะทำลายถึงตัวผู้เล่น

นอกจากการแก้ปริศนาเพื่อหลบหนีออกจากพื้นที่แล้ว ตัวเกมเองยังมีการเก็บรีลิก[6] ซึ่งต้องทำตามเงื่อนไขบางอย่างของเกม ซึ่งไม่มีการบอกไว้ มีเพียงแต่ไฟบอกสถานะรีลิก ซึ่งจะสว่างเมื่อเรายังอยู่ในเงื่อนไขของการเก็บ และดับลงเมื่อการกระทำของเราไม่อยู่ในเงื่อนไขของการเก็บรีลิก แต่รีลิกนั้น เป็นเพียงแค่ทางเลือก ซึ่งไม่ส่งผลกับเนื้อหาและการจบฉาก และเราสามารถย้อนกลับไปเก็บรีลิกอีกครั้งได้ แต่การเก็บรีลิกจนครบนั้น ทำให้สามารถปลดล็อกฉากจบลับได้

ดนตรีประกอบ[แก้]

ดนตรีบรรเลง (soundtrack) ได้รับการประพันธ์โดยพงศธร โปสายานนท์[7][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] เป็นนักประพันธ์เพลงชาวไทย ผู้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์และสื่อ สำหรับในด้านเสียงประกอบนั้นประพันธ์โดย Angel Ignace นักออกแบบเสียงและอาจารย์สอนการออกแบบเสียงชาวฝรั่งเศส และเพลงโปรโมตเกมที่มีชื่อว่า ไม่มีนิรันดร์สุดท้าย (ภาษาอังกฤษ: No Last Eternity) ได้รับการแต่งโดยเจษฎา ตรีรุ่งกิจ (อั๋น เจษฎา) และขับร้องโดยนัทบัว ณัฐฐาพร [8]

การพัฒนา[แก้]

จุดเริ่มต้นในการสร้าง เริ่มต้นมาจากการทำโครงงานจบการศึกษาของนักศึกษา 5 คน จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วนำไปแข่งขันใน Microsoft’s 2016 Imagine Cup (ปี 2559) จนได้รับรางวัลชนะเลิศ จึงเป็นการเริ่มต้นการสร้างเกม ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ปีในการสร้าง และพัฒนาจนสำเร็จและจัดจำหน่ายในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563[9]

การวิจารณ์[แก้]

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เมทาคริติก(PC) 77/100 [10]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
เกมอินฟอร์เมอร์7.75/10[11]
พีซี เกมเมอร์ ยูเอส73/100 [12]
สกรีนแรนต์4.5/5 stars [13]
นอยซี่ พิคเซล8.5/10 [14]

เกมได้รับความสนใจในหมู่นักเล่นเกมชาวไทยเป็นอย่างมาก[15] และได้รับผลตอบรับในแง่บวกเป็นอย่างมากเช่นกัน เช่นเดียวกับสำนักวิจารณ์หลายแห่งที่ให้คะแนนในแง่บวกเป็นส่วนมาก[16]

รางวัล[แก้]

ตัวเกมได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน Microsoft’s 2016 Imagine Cup (ปี 2559) ตั้งแต่ก่อนที่เกมจะทำการวางจำหน่ายในปี 2563[17]

เนื้อหาเสริม[แก้]

ในวันที่ 9 ตุลาคม 2563 ทางผู้พัฒนา ได้มีการเพิ่มเนื้อหาเสริมที่มีชื่อว่า TIMELIE: Hell Loop ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่เพิ่มด่านใหม่แก่ผู้เล่น จำนวน 30 ด่าน ซึ่งในเนื้อหาเสริมนี้ ไม่มีการเพิ่มเติมในด้านเนื้อเรื่อง เป็นเพียงด่านใหม่ที่เพิ่มมา และจะปลดล็อกให้ผู้ที่เล่นเนื้อหาของภาคหลักจบแล้ว สามารถเข้าไปเล่นได้ โดยความยากของการแก้ปัญหา (puzzle) จะมีความยากกว่าในส่วนของเกมภาคหลักเป็นอย่างมาก โดยตัวเนื้อหาเสริมนี้ ได้ปล่อยมาให้ผู้ที่มีเกมภาคหลักอยู่แล้ว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม[18][19]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศวันวางจำหน่ายเกม Timelie หนึ่งในเกมฝีมือคนไทยที่คว้ารางวัลมาอย่างท่วมท้น". 4gamers. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Timelie วางจำหน่ายบนระบบ MacOS แล้ววันนี้ พร้อมรองรับภาษาในเกมเพิ่มอีก 8 ภาษา". Gamingdose. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "เว็บไซต์ Timelie อย่างเป็นทางการ". Urnique Studio. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Lazefatboy. "รีวิว Timelie เกมคุณภาพจากฝีมือคนไทย". GAMEFEVER. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Adrian Lai. "Timelie - Review". IGN Southeast Asia. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. astider. "Review Timelie เกมพัซเซิลรสชาติใหม่ ควบคุมเวลาเพื่อฝ่าอุปสรรค". droidsans. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Parimeth Wongsatayanon. "Dev Blog #3 — The Sound of Time(lie) เสียงของเวลา". Medium. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. Pongsathorn Posayanonth. "Review 7 ความท้าทายเบื้องหลังการทำดนตรีประกอบเกม "Timelie"". Pongsathorn Posayanonth. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. Jokeboy. "สัมภาษณ์ผู้พัฒนา Timelie เกมอินดี้ไทยที่น่าจับตาที่สุดของปี". GamingDose. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "Timelie". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "Timelie". gameinformer. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "Timelie review". PCGAMER. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "Timelie Review: A Unique Time-Bending Puzzler". screenrant. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "Timelie Review – All the Time in the World". Noisy Pixel. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "สรุปเกม timelie สาวน้อยผู้ควบคุมเวลา 2020 เกมฝีมือคนไทยกระแสดี". สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "รีวิว Timelie เกมคุณภาพจากฝีมือคนไทย". สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "ไมโครซอฟท์เผยโฉมแชมป์การแข่งขัน Imagine Cup Thailand 2016". Microsoft. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "ชีวิตติดลูป !! เมื่อตัวเกม Timelie ประกาศอัพเดต DLC ตัวใหม่แบบฟรีๆ ในชื่อ - TIMTLIE: Hell Loop". 4gamers. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
  19. Orpheus Joshua. "Timelie DLC Hell Loop Trailer Releases With an October Release and Free Download". noisy pixel. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]