ไดโนเซฟาโลซอรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไดโนเซฟาโลซอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไทรแอสซิกตอนกลาง, 244–245Ma
ภาพของไดโนเซฟาโลซอรัสและตัวอ่อนในช่องท้อง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Protorosauria
วงศ์: Tanystropheidae
สกุล: Dinocephalosaurus
Li, 2003
ชนิดต้นแบบ
Dinocephalosaurus orientalis
Li, 2003

ไดโนเซฟาโลซอรัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dinocephalosaurus; ความหมาย: "สัตว์เลื้อยคลานที่มีหัวน่ากลัว") เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีชีวิตอยู่ในยุคไทรแอสซิก (ราว 245 ล้านปีก่อน) เป็นไดโนเสาร์ชนิดหนึ่งที่มีส่วนคอเรียวยาว มีเท้าที่มีครีบหรือพังผืดระหว่างนิ้วเท้า มีส่วนหัวที่เล็ก โดยตัวอย่างต้นแบบถูกค้นพบที่มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน เมื่อปี ค.ศ. 2002[1][2]

ไดโนเซฟาโลซอรัส มีลำตัวยาว 4 เมตร มีคอเรียวยาว 1.7 เมตร มีส่วนหัวที่เล็ก มีครีบยาวที่นิ้วเท้า และฟันที่แหลมคมใช้สำหรับการจับปลาซึ่งเป็นอาหาร โดยซากดึกดำบรรพ์ล่าสุดที่ถูกขุดพบที่มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของจีน บ่งว่า เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว ซึ่งต่างจากสัตว์เลื้อยคลานหรืออาร์โคซอร์จำพวกอื่น เช่น นก หรือจระเข้ ด้วยพบซากตัวอ่อนในลักษณะที่ขดตัวในท่าปกติแบบเดียวกับตัวอ่อนในท้องแม่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเชื่อว่ามีการกำหนดเพศของตัวอ่อนเป็นไปโดยลักษณะทางพันธุกรรมไม่ใช่อุณหภูมิเป็นตัวกำหนดเหมือนจระเข้[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Li, C. (2003). "First record of protorosaurid reptile (Order Protorosauria) from the Middle Triassic of China". Acta Geologica Sinica. 77 (4): 419–423. doi:10.1111/j.1755-6724.2003.tb00122.x.
  2. Li, C.; Rieppel, O.; LaBarbera, M.C. (2004). "A Triassic Aquatic Protorosaur with an Extremely Long Neck". Science. 305 (5692): 1931. doi:10.1126/science.1100498.
  3. หน้า 7 โลกาภิวัฒน์ GLOBALIZATION, ซากดึกดำบรรพ์ตั้งครรภ์บ่งชี้ การออกลูกเป็นตัวไม่ใช่ไข่. "โลกโศภิณ". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 2158: วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]