ไซโทโครม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไซโตโครมซีกับฮีมซี

ไซโทโครม (Cytochromes) เป็นโปรตีนที่มีหมู่ฮีมที่รับผิดชอบต่อการสร้าง ATP จากการขนส่งอิเล็กตรอน พบทั้งที่เป็นหน่วยเดียว เช่น ไซโทโครมซี หรือเป็นหน่วยย่อยของเอนไซม์เชิงซ้อนที่เร่งปฏิกิริยารีดอกซ์

ชนิด[แก้]

ไซโทโครมมีหลายชนิด แยกตามลักษณะของหมู่ที่มาเกาะ ความจำเพาะต่อตัวยับยั้ง และศักย์รีดักชัน โดยแบ่งตามหมู่ที่มาเกาะได้เป็น:

ชนิด กลุ่มที่มาเกาะ
ไซโทโครมเอ ฮีมเอ
ไซโทโครมบี ฮีมบี
ไซโทโครมดี เตตระไพโรลิกที่จับกับ เหล็ก[1]


ใน ไมโทคอนเดรีย และ คลอโรพลาสต์ ไซโทโครมต่อไปนี้มักจะพบใน การขนส่งอิเล็กตรอน และวิถีเมทาบอลิซึมที่เกี่ยวข้อง:

ไซโทโครม การรวมกัน
a และ a3 ไซโทโครมซีออกซิเดส ("Complex IV") ซึ่งรับอิเล็กตรอนจาก ไซโทโครมซี ที่ละลายได้
b และ c1 โคเอนไซม์คิว - ไซโทโครมซี รีดักเตส ("Complex III")
b6 และ f พลาสโทควิโนน-พลาสโตไซยานิน รีดักเตส

ไซโทโครมที่ต่างออกไปรู้จักในชื่อ ไซโทโครมพี 450 ออกซิเดส ซึ่งตั้งชื่อตามการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นใกล้ 450 nm เมื่อเหล็กในฮีมถูกรีดิวซ์ (ด้วย โซเดียมไดไทโอไนต์) และเกิดสารเชิงซ้อนกับ คาร์บอนมอนอกไซด์

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]