ข้ามไปเนื้อหา

ไซเบอร์เนติกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไซเบอร์เนติกส์ (อังกฤษ: cybernetics) เป็นการศึกษาแบบข้ามสาขาวิชาเกี่ยวกับกระบวนการเชิงวงกลม เช่น ระบบผลป้อนกลับ ซึ่งข้อมูลส่งออกเท่ากับข้อมูลรับเข้าด้วย เกี่ยวข้องกับหลักการทั่วไปที่มีความเกี่ยวข้องในบริบทต่าง ๆ[1] อย่างระบบนิเวศ เทคโนโลยี ชีวภาพ การรู้คิด และระบบสังคม ตลอดจนในกิจกรรมภาคปฏิบัติ เช่น การออกแบบ[2] การเรียนรู้ และ การจัดการ

การข้ามสาขาของไซเบอร์เนติกส์ [3] ทำให้มีการเชื่อมโยงกับสาขาอื่น ๆ จำนวนมาก จึงมีอิทธิพลกว้างไกลและมีการตีความที่หลากหลาย

มีการนิยามไซเบอร์เนติกส์ไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนถึง "ความอุดมสมบูรณ์ของฐานแนวคิด"[4] คำจำกัดความที่รู้จักกันดีที่สุดนิยามหนึ่งคือคำจำกัดความของนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน นอร์เบิร์ต ไวเนอร์ ซึ่งระบุว่าไซเบอร์เนติกส์คือ "การควบคุมและการสื่อสารในสัตว์และเครื่องจักร"[5] คำจำกัดความในช่วงแรกอีกนิยามหนึ่งในการประชุมไซเบอร์เนติกส์ที่เมซี ซึ่งเข้าว่าไซเบอร์เนติกส์เป็นการศึกษา "กลไกเชิงเหตุและผลแบบวงกลมในระบบทางชีววิทยาและสังคม" มาร์กาเร็ต มีด เน้นย้ำถึงบทบาทของไซเบอร์เนติกส์ในฐานะ "รูปแบบหนึ่งของความคิดแบบข้ามสาขาที่ทำให้สาขาวิชาสามารถสื่อสารกันได้อย่างง่ายดายในภาษาที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้"[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ashby, W. R. (1956). An introduction to cybernetics. London: Chapman & Hall.
  2. "Design Cybernetics". Design Research Foundations. Cham: Springer International Publishing. 2019. doi:10.1007/978-3-030-18557-2. ISBN 978-3-030-18556-5. ISSN 2366-4622.
  3. Müller, Albert (2000). "A Brief History of the BCL". Österreichische Zeitschrift für Geschichtswissenschaften. 11 (1): 9–30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-22. สืบค้นเมื่อ 2012-06-06.
  4. von Foerster, Heinz (2003). "Ethics and Second-Order Cybernetics". Understanding Understanding. New York, NY: Springer New York. pp. 287–304. doi:10.1007/0-387-21722-3_14. ISBN 978-0-387-95392-2. It seems that cybernetics is many different things to many different people. But this is because of the richness of its conceptual base; and I believe that this is very good, otherwise cybernetics would become a somewhat boring exercise. However, all of those perspectives arise from one central theme; that of circularity
  5. Wiener, Norbert (1948). Cybernetics: Or Control and Communication in the Animal and the Machine. Cambridge, Massachusetts: MIT Press.
  6. Mead, M. (1968). "The cybernetics of cybernetics". ใน H. von Foerster; J. D. White; L. J. Peterson; J. K. Russell (บ.ก.). Purposive Systems (PDF). Spartan Books. pp. 1–11.