ไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์
ไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2483 |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2518–2526) ชาติไทย (2526–2535) เอกภาพ (2535–?) |
ไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์ (เกิด 4 มิถุนายน พ.ศ. 2483) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ 2 สมัย อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] และอดีตผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า
ประวัติ
[แก้]ไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์ เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2483 เป็นบุตรของนายก้องศักดิ์ กับนางกิ่งกาญจน์ ไตรยสุนันท์[2] สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม นิติศาสตรบัณฑิต และ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [3]
การทำงาน
[แก้]ไชยวัฒน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก รวมถึงครั้งต่อมา (พ.ศ. 2519) ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคประชาชน[4]
ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2536-2538 เป็นที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2544-2546
ปี พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 50 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคได้รับเลือกตั้งแค่ 44 คน ต่อมา นายนิพนธ์ บุญญามณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลำดับที่ 30 ได้ลาออก จึงได้รับเลื่อนขึ้นมาเป็นแทน
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 56 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (เลื่อนแทน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
- พ.ศ. 2552 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์ ว่าที่ส.ส.คนใหม่ปชป.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒๒๔, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- บุคคลจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.