โอเมปราโซล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอเมปราโซล
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/ˈmɛprəzl/
ชื่อทางการค้าLosec, Prilosec, Zegerid, อื่น ๆ[1]
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: B3
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
ช่องทางการรับยาปาก หลอดเลือดดำ
ประเภทยายายับยั้งการหลั่งกรด
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล35-76%[2][3]
การจับกับโปรตีน95%
การเปลี่ยนแปลงยาตับ (CYP2C19, CYP3A4)
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ1-1.2 ชม.
การขับออก80% (ปัสสาวะ)
20% (อุจจาระ)
ตัวบ่งชี้
  • 5-Methoxy-2-[(4-methoxy-3,5-dimethylpyridin-2-yl)methanesulfinyl]-1H-benzimidazole
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
PDB ligand
ECHA InfoCard100.122.967
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC17H19N3O3S
มวลต่อโมล345.42 กรัม/โมล g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
ไครัลลิตีRacemic mixture
ความหนาแน่น1.4±0.1[4] g/cm3
จุดหลอมเหลว156 องศาเซลเซียส (313 องศาฟาเรนไฮต์)
  • Cc1c(OC)c(C)cnc1CS(=O)c2nc3ccc(OC)cc3n2
  • InChI=1S/C17H19N3O3S/c1-10-8-18-15(11(2)16(10)23-4)9-24(21)17-19-13-6-5-12(22-3)7-14(13)20-17/h5-8H,9H2,1-4H3,(H,19,20) checkY
  • Key:SUBDBMMJDZJVOS-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

โอเมปราโซล (อังกฤษ: omeprazole) ซึ่งขายในยี่ห้อต่าง ๆ เช่น Prilosec และ Losec เป็นยารักษาโรคกรดไหลย้อน โรคแผลเปื่อยเพปติก/แผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcer disease) และภาวะกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป (Zollinger-Ellison syndrome)[1] ทั้งยังใช้ป้องกันเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนสำหรับผู้ที่เสี่ยงมาก[1] เป็นยาที่ใช้รับประทานหรือฉีดเข้าในเส้นเลือด[1][5]

ผลข้างเคียงโดยทั่วไป เป็นต้นว่า คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ และลมในทางเดินอาหาร/ท้องอืด[1] ส่วนผลข้างเคียงอย่างหนัก เป็นต้นว่า ลำไส้ใหญ่อักเสบเนื่องจากเชื้อโรค Clostridium difficile ความเสี่ยงเกิดปอดบวมสูงขึ้น ความเสี่ยงกระดูกแตก/หักสูงขึ้น และมะเร็งกระเพาะอาหารถูกการอำพราง[1] นอกจากนี้ ไม่ชัดเจนว่า ยานี้ปลอดภัยเมื่อใช้ตอนตั้งครรภ์หรือไม่[1] และเนื่องจากเป็นยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) จึงมีฤทธิ์ระงับการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร[1]

ยานี้ได้รับการค้นพบใน ค.ศ. 1979[6] เป็นยาจำเป็นในรายการขององค์การอนามัยโรค ถือเป็นยาที่มีประสิทธิผลและปลอดภัยที่สุดที่จำเป็นในระบบสาธารณสุข[7] และเป็นยาที่หมดอายุสิทธิบัตรแล้ว[1] สำหรับราคาขายส่งในประเทศกำลังพัฒนานั้น ใน ค.ศ. 2014 อยู่ที่ 0.01-0.07 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 0.32-2.27 บาท) ต่อเม็ด[8] ในสหรัฐอเมริกา ราคาขายปลีกโดยเฉลี่ยใน ค.ศ. 2016 อยู่ที่ 0.50 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 18 บาท)[9]

การใช้ในการแพทย์[แก้]

ยาสามารถใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน (GERD), แผลเปื่อยเพปติก/แผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcers), หลอดอาหารอักเสบเหตุกร่อน (erosive esophagitis), Zollinger-Ellison syndrome, และหลอดอาหารอักเสบแบบชอบอีโอซิโนฟิล (eosinophilic esophagitis)[10][1]

การใช้ยา[แก้]

เป็นยาชนิดเม็ดใช้สำหรับรับประทาน การหยุดใช้ยาต้องปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน ไม่ควรแบ่งหรือเคี้ยวเม็ดยา ควรกลืนยาทั้งเม็ด

ในผู้จำเป็นต้องใช้ยาทั่วไปรับประทานวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ ส่วนการใช้เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ควรใช้ยาหลังอาหารเช้า

การใช้ยาร่วมกับยาอื่น ๆ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori ในกระเพาะอาหาร รับประทานวันละ 2 ครั้ง หรือให้ใช้ยาตามที่ระบุไว้ในฉลาก

การใช้ยาควรระมัดระวังกับผู้ป่วยโรคตับ สตรีมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร นอกจากนี้ฤทธิ์ของยายังอาจบดบังอาการของมะเร็งกระเพาะอาหารจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรมีการวินิจฉัยแยกโรคมะเร็งกระเพาะอาหารก่อนการรักษาด้วยยานี้

แผลเปื่อยเพปติก/แผลในกระเพาะอาหาร[แก้]

แผลเปื่อยเพปติก/แผลในกระเพาะอาหารสามารถรักษาได้ด้วยยานี้ การรักษาการติดเชื้อ Helicobacter pylori ทำได้ด้วยยา 3 อย่าง คือ ยานี้ อะม็อกซีซิลลิน และคลาริโทรมัยซินเป็นเวลา 7-14 วัน[11] แต่ก็อาจแทนอะม็อกซีซิลลินด้วย metronidazole สำหรับคนไข้ที่แพ้เพนิซิลลิน[12]

ผลไม่พึงประสงค์[แก้]

ผลไม่พึงประสงค์สำคัญซึ่งเกิดบ่อยที่สุดโดยเกิดในคนไข้อย่างน้อย 1% รวมทั้ง[13]

ปัญหาอื่น ๆ ที่เนื่องกับผลที่ไม่พึงประสงค์รวมทั้ง

  • การเกิดอาการท้องร่วงเนื่องจากเชื้อ Clostridium difficile ซ้ำ ๆ[14]
  • กระดูกหัก/แตกเนื่องกับภาวะกระดูกพรุน[15][16]
  • ภาวะแมกนีเซียมในเลือดน้อยเกิน (hypomagnesemia)[17]

มีงานศึกษาที่ยกประเด็นเรื่องการดูดซึมวิตามินบี12[18] และธาตุเหล็กได้ไม่ดี[19] แต่ผลดูเหมือนจะไม่มาก โดยเฉพาะเมื่อให้อาหารเสริมเพิ่ม[20]

ตั้งแต่ได้เริ่มใช้ ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) โดยเฉพาะยานี้ ได้สัมพันธ์กับกรณีไตอักเสบ (acute interstitial nephritis) หลายกรณี[21] ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ต่อยา

การใช้ PPI ในระยะยาวสัมพันธ์อย่างมีกำลังกับการเกิดติ่งเนื้อเมือกที่ไม่ร้าย (benign polyp) จากต่อมส่วนกระพุ้งกระเพาะ (fundic gland) (ซึ่งต่างจาก fundic gland polyposis) ติ่งเหล่านี้ไม่ได้ก่อมะเร็งและจะหายไปเองเมื่อหยุดใช้ยา ยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ PPI กับมะเร็ง แต่การใช้ยาก็อาจอำพรางมะเร็งกระเพาะอาหารหรือปัญหากระเพาะปัญหาที่หนักอื่น ๆ ซึ่งแพทย์จะต้องคอยระวัง[22]

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2017 พบความสัมพันธ์ของการใช้ยา PPI ระยะยาวกับสภาวะต่าง ๆ ในระดับไม่เท่ากันคือ[23]

การตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่[แก้]

ข้อมูลทางวิทยาการระบาดไม่แสดงความเสี่ยงพิการที่สูงขึ้นของทารก[24] ยังไม่มีการทดลองทางคลินิกซึ่งประเมินผลที่อาจเป็นไปได้อย่างถ้วนถี่สำหรับการใช้ยาเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่เภสัชพลวัต (pharmacokinetics) ของโมเลกุลยา แสดงนัยอย่างมีกำลังว่า ปลอดภัยสำหรับใช้เมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ

  • ยาจับกับโปรตีนพลาสมาในอัตราที่สูง (95%)[25] ซึ่งแสดงว่า จะถ่ายโอนไปยังท่อหลั่งน้ำนม (milk duct) น้อยมาก เมื่อร่างกายผลิตนม
  • ยาต้องเคลือบกันกรดกระเพาะอาหาร (enteric coating) เพราะสลายอย่างรวดในภาวะกรดภายในกระเพาะ ซึ่งแสดงนัยว่า ทารกจะย่อยสลายโมเลกุลอิสระของยาโดยมากก่อนที่จะดูดซึมเข้าร่างกาย[ต้องการอ้างอิง]

ดังนั้น ยาในขนาดธรรมดาน่าจะปลอดภัยในช่วงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่[26]

ปฏิสัมพันธ์[แก้]

ขนาดและขวดของยายี่ห้อ Omeprazol Actavis 20 มก

ปฏิสัมพันธ์ที่สำคัญกับยาอื่น ๆ เกิดน้อยมาก[27][28] แต่ปัญหาสำคัญสุดเป็นการลดฤทธิ์ของยาลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง คือ clopidogrel เมื่อรับประทานพร้อม ๆ กับโอเมปราโซล[29] แม้ผลที่เกิดจะยังเป็นเรื่องไม่ยุติ[30] แต่ก็อาจเพิ่มโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวายสำหรับคนที่รับประทานยา clopidogrel เพื่อป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้

ปฏิสัมพันธ์เยี่ยงนี้เป็นไปได้ก็เพราะยาเป็นสารยับยั้งเอนไซม์ CYP2C19 และ CYP3A4[31] และยา clopidogrel อยู่ในรูปแบบที่ไม่มีฤทธิ์ซึ่งต้องผ่านเมแทบอลิซึมอาศัย CYP2C19 เพื่อเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบที่มีฤทธิ์ ดังนั้น การยับยั้ง CYP2C19 จึงอาจระงับฤทธิ์ของ clopidogrel ซึ่งก็จะลดผลของมัน[32][33]

อนึ่ง เบ็นโซไดอาเซพีนเกือบทั้งหมดก็ต้องผ่านผ่านเมแทบอลิซึมอาศัยเอนไซม์ CYP3A4 และ CYP2D6 และการยับยั้งเอนไซมเหล่านี้จะมีผลเพิ่ม AUC ของเบ็นโซไดอาเซพีน ซึ่งก็คือเพิ่มผลรวมของยาตามเวลาสำหรับขนาดยาหนึ่ง ๆ ตัวอย่างยาที่อาศัย CYP3A4 เพื่อเมแทบอลิซึมอีกอย่างก็คือยาแก้ซึมเศร้า escitalopram[34], สารกันเลือดเป็นลิ่มคือวาร์ฟาริน,[35] ยาแก้ปวดต่าง ๆ รวมทั้งออกซิโคโดน ทรามาดอล และ oxymorphone คือ ความเข้นข้นของยาเหล่านี้อาจเพิ่มเมื่อใช้ร่วมกับโอเมปราโซล[36]

ยายังระงับการทำงานของโปรตีน p-glycoprotein เหมือนกับยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) อื่น ๆ[37]

ยาที่อาศัยสภาพกรดในกระเพาะอาหาร (เช่น คีโตโคนาโซลและ atazanavir) อาจดูดซึมได้ไม่ดี และยาปฏิชีวนะที่ไม่เสถียรเนื่องจากสภาพกรด (เช่น อิริโทรมัยซิน ซึ่งเป็นสารยับยั้ง CYP3A4 ที่มีฤทธิ์สูงมาก) อาจดูดซึมได้มากกว่าปกติเนื่องจากสภาวะที่เป็นด่างมากกว่าปกติของกระเพาะเมื่อรับประทานยานี้[36] สมุนไพร Hypericum perforatum (St. John's wort) และ Gingko biloba สามารถลดความเข้มข้นของโอเมปราโซลในพลาสมาอย่างสำคัญผ่านกระบวนการเหนี่ยวนำ (induction) ของ CYP3A4 และ CYP2C19[38]

PPI ต่าง ๆ เช่น โอเมปราโซล พบว่า เพิ่มความเข้มข้นในพลาสมาของสารเคมีบำบัดและสารระงับภูมิคุ้มกันคือ methotrexate[39]

เภสัชวิทยา[แก้]

กลไกการทำงาน[แก้]

ยาเป็นสารยับยั้งการหลั่งกรด (PPI) ที่จำเพาะเจาะจง (selective) และผันกลับไม่ได้ (irreversible) คือมันยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ H+/K+-ATPase ซึ่งพบที่ผิวของ parietal cell ในกระเพาะโดยเฉพาะ ระบบเอนไซม์นี้มองได้ว่า เป็นปัมพ์ของการหลั่งกรด (proton หรือ H+) ในเยื่อเมือกกระเพาะ ดังนั้น ยาจึงยับยั้งขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร[ต้องการอ้างอิง] โดยระงับทั้งการหลั่งกรดพื้นฐานและการหลั่งกรดเมื่อได้อาหารเป็นตัวกระตุ้น[40]

ยามีผลยับยั้งภายในหนึ่ง ชม. หลังได้ยา โดยให้ผลสูงสุดภายใน 2 ชม. และอาจมีฤทธิ์นานถึง 72 ชม. ผลยับยั้งกรดของยาจะไม่เพิ่มอีกหลังจาก 4 วันที่รับประทานยาซ้ำ ๆ เมื่อหยุดใช้ยา การหลั่งกรดกระเพาะอาหารจะกลับคืนปกติภายใน 3-5 วัน[41]

เภสัชพลวัต (Pharmacokinetics)[แก้]

ลำไส้เล็กเป็นจุดดูดซึม ซึ่งเสร็จภายใน 3-6 ชม. เมื่อได้ใช้ยาแล้วอย่างซ้ำ ๆ สภาพพร้อมใช้ทางชีวภาพ (bioavailability) จะอยู่ที่ 60%[ต้องการอ้างอิง] เหมือนกับยายับยั้งการหลั่งกรดอื่น ๆ ยาจะมีผลต่อระบบเอนไซม์ H+/K+-ATPase ซึ่งมีสภาพกัมมันต์เท่านั้น อาหารเป็นตัวกระตุ้นให้เอนไซม์เริ่มทำงานเพื่อช่วยย่อยอาหาร เพราะเหตุนี้ จึงแนะนำให้คนไข้รับประทานยาเมื่อท้องว่าง[42] เช่นผู้ผลิตรายหนึ่งแนะนำให้รับประทานพร้อมกับน้ำเปล่าแก้วหนึ่งโดยไม่รวมน้ำอื่น ๆ หรืออาหาร[43]

อนึ่ง แหล่งอ้างอิงโดยมากแนะนำว่า หลังจากรับประทานยา ให้รอ 30 นาทีก่อนรับประทานข้าว[44][45] (อย่างน้อย 60 นาทีสำหรับยาที่ไม่ได้เคลือบกันกรดแต่ใช้บวกกับสารทำให้เป็นด่างในกลุ่มโซเดียมไบคาร์บอเนต[43]) แม้ก็มีบางแห่งที่กล่าวว่า มีรูปแบบแคปซูลที่รับประทานพร้อมกับอาหารได้เลย[46]

เมแทบอลิซึมของยาจะเกิดผ่านอาศัยเอนไซม์ cytochrome P450 อย่างสิ้นเชิง โดยหลักในตับ เมแทบอไลต์ที่ได้ระบุแล้วรวมทั้ง sulfone, sulfide, และ hydroxy-omeprazole ซึ่งล้วนแต่ไม่มีผลต่อการหลั่งกรด ยาประมาณ 80% ที่รับประทานจะขับออกเป็นเมแทบอไลต์ในปัสสาวะ และที่เหลือจะพบในอุจจาระโดยหลักจากน้ำดี[ต้องการอ้างอิง]

เคมี[แก้]

ค่าวัดในร่างกาย[แก้]

ยาสามารถวัดในน้ำเลือดหรือในซีรั่มเพื่อตรวจผลการรักษา หรือเพื่อยืนยันการวินิจฉัยว่าคนไข้ที่ได้ยาเกิน ความเข้มข้นของยาในเลือดปกติจะอยู่ระหว่าง 0.2-1.2 มิลลิกรัม/ลิตร ในคนไข้ผู้ได้ยาปกติและ 1-6 มก./ลิตร สำหรับคนไข้ที่ได้ยาเกิน มีวิธีการทางโครมาโทกราฟี (enantiomeric chromatography) ต่าง ๆ ที่สามารถใช้แยก esomeprazole จากโอเมปราโซล[47]

ประวัติ[แก้]

บริษัท Astra AB (ปัจจุบัน AstraZeneca) ได้วางขายยาในตลาดเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี 1989 โดยมียี่ห้อว่า Losec ในปี 1990 องค์กรอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ให้บริษัทเปลี่ยนยี่ห้อเป็น Prilosec เพื่อไม่ให้สับสนกับยาขับปัสาวะคือ Lasix[48] แต่ก็ยังสับสนกับยาแก้ซึมเศร้า คือ Prozac อยู่ดี[48] เมื่ออายุสิทธิบัตรของยาหมดในเดือนเมษายน 2001 บริษัทก็เริ่มวางขาย esomeprazole (ยี่ห้อ Nexium) เป็นยาทดแทนโดยยังมีสิทธิบัตร[49] บริษัทจำนวนมากได้วางตลาดขายยาที่หมดสิทธิบัตรทั่วโลก โดยมียี่ห้อต่าง ๆ มากมาย

โอเมปราโซลขนาด 10 มก. ในสหราชอาณาจักร

รูปแบบยา[แก้]

ยามีขายเป็นเม็ดและแคปซูล (ซึ่งมีโอเมปราโซล หรือยาในรูปแบบแมกนีเซียม) ในขนาดต่าง ๆ รวมทั้ง 10, 20, 40, และในบางที่ 80 มก. และเป็นยาผง (omeprazole sodium) เพื่อใช้ฉีดในเส้นเลือด ยาสำหรับรับประทานโดยมากจะเคลือบกันกรดกระเพาะอาหาร (enteric coating) เนื่องจากยาจะสลายไปอย่างรวดเร็วเมื่อเจอสภาพกรดในกระเพาะ คือปกติจะเคลือบเป็นเม็ดเล็ก ๆ แล้วบรรจุภายในแคปซูล หรือเป็นยาเม็ดเคลือบ หรือใช้ระบบ MUPS[50] มีรูปแบบยาที่ปล่อยทันที (immediate release) โดยประกอบกับสารบัฟเฟอร์[51] จึงไม่จำเป็นต้องเคลือบกันกรดกระเพาะ

มีแพ็คยาสำหรับฉีดเข้าเส้นเลือดด้วยโดยมียาขวดหนึ่งและหลอดสารละลายอีกหลอดหนึ่ง ในขวดจะมียาเป็นผงออกสีขาว ๆ ซึ่งมี omeprazole sodium 42.6 มก. ซึ่งเท่ากับโอเมปราโซล 40 มก.

อนึ่ง มียาน้ำแบบเป็นสารแขวนลอย โดยสารจะเป็นเม็ดยาเคลือบกันกรดกระเพาะ เป็นยาที่โดยหลักให้แก่เด็ก แต่คนไข้ที่มีปัญหาการกลืนก็สามารถใช้ยานี้ได้

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. จากงานศึกษาแบบสังเกต อาจมีเหตุจาก gastrin ระดับสูงซึ่งมีผลทำให้เยื่อเมือกทางเดินอาหารงอกขึ้น
  2. จากงานศึกษาแบบสังเกต อาจมีเหตุจาก gastrin ระดับสูงซึ่งมีผลทำให้เยื่อเมือกทางเดินอาหารงอกขึ้น เหตุไม่ชัดเจน แต่อาจจะากการสะสม PPI และเมแทบอไลต์ของมันในไตแล้วทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนอง
  3. จากงานทดลองแบบสุ่ม งานศึกษาแบบสังเกต งานทบทวนเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน อาจมีเหตุจากการลดการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เล็กส่วนต้นและลำไส้เล็กส่วนกลางต้น ๆ โดยเป็นผลของภาวะไร้กรดเกลือ (achlorhydria)
  4. งานทบทวนเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของการศึกษาแบบสังเกต เหตุไม่กำหนดอย่างชัดเจน อาจมาจากการดูดซึมได้ไม่ดี หรือไตเสีย
  5. จากงานศึกษาแบบสังเกต มีเหตุจากดูดซึมได้น้อยลงเนื่องจากการย่อยโปรตีนอาศัยสภาพกรดภายในกระเพาะได้ลดลง
  6. การวิเคราะห์อภิมานของงานศึกษาแบบสังเกตและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม มีเหตุจากการอาศัยเมแทบอลิซึมในระบบ cytochrome P450 ร่วมกัน
  7. จากการวิเคราะห์อภิมานงานศึกษาแบบสังเกต มีเหตุจากการเพิ่มเชื้อในทางเดินอาหารเพราะกรดกระเพาะลดลง
  8. จากการวิเคราะห์อภิมานงานศึกษาแบบสังเกต จาก case-control studies มีเหตุจากการสูดหรือการเคลื่อนย้ายของเชื้อโรคจากทางเดินอาหารส่วนบนเข้าในปอด

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Omeprazole". The American Society of Health-System Pharmacists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.
  2. "Prilosec Prescribing Information" (PDF). AstraZeneca Pharmaceuticals. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 February 2010.
  3. Vaz-Da-Silva, M; Loureiro, AI; Nunes, T; Maia, J; Tavares, S; Falcão, A; Silveira, P; Almeida, L; Soares-Da-Silva, P (2005). "Bioavailability and bioequivalence of two enteric-coated formulations of omeprazole in fasting and fed conditions". Clinical Drug Investigation. 25 (6): 391–9. doi:10.2165/00044011-200525060-00004. PMID 17532679. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2013.
  4. "omeprazole_msds".
  5. "Omeprazole 40 mg Powder for Solution for Infusion". EMC. 10 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2016. สืบค้นเมื่อ 29 March 2016.
  6. Fischer, edited by János; Ganellin, C. Robin (2006). Analogue-based drug discovery. Weinheim: Wiley-VCH. p. 88. ISBN 9783527607495. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. {{cite book}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  7. "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  8. "Omeprazole". International Drug Price Indicator Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2017. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.
  9. "NADAC as of 2016-11-16 Data.Medicaid.gov". Centers for Medicare and Medicaid Services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2016.
  10. Cheng, Edaire (July 2013). "Proton Pump Inhibitors for Eosinophilic Esophagitis". Current Opinion in Gastroenterology. 29 (4): 416–420. doi:10.1097/MOG.0b013e32835fb50e. ISSN 0267-1379. PMC 4118554. PMID 23449027.
  11. Fuccio, L; Minardi, M. E.; Zagari, R. M.; Grilli, D; Magrini, N; Bazzoli, F (2007). "Meta-analysis: Duration of first-line proton-pump inhibitor based triple therapy for Helicobacter pylori eradication". Annals of Internal Medicine. 147 (8): 553–62. doi:10.7326/0003-4819-147-8-200710160-00008. PMID 17938394.
  12. Malfertheiner, P; Megraud, F; O'Morain, C; Bazzoli, F; El-Omar, E; Graham, D; Hunt, R; Rokkas, T; Vakil, N; Kuipers, EJ (June 2007). "Current concepts in the management of Helicobacter pylori infection: the Maastricht III Consensus Report". Gut. 56 (6): 772–81. doi:10.1136/gut.2006.101634. PMC 1954853. PMID 17170018.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. McTavish, D; Buckley, MM; Heel, RC (1991). "Omeprazole. An updated review of its pharmacology and therapeutic use in acid-related disorders". Drugs. 42 (1): 138–70. doi:10.2165/00003495-199142010-00008. PMID 1718683.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  14. Abou Chakra, CN; และคณะ (June 2014). "Risk factors for recurrence, complications and mortality in Clostridium difficile infection: a systematic review". PLoS ONE. 9 (6): e98400. Bibcode:2014PLoSO...998400A. doi:10.1371/journal.pone.0098400. PMC 4045753. PMID 24897375.
  15. Yang, Yu-Xiao; และคณะ (2006). "Long-term proton pump inhibitor therapy and risk of hip fracture". JAMA. 296 (24): 2947–2953. doi:10.1001/jama.296.24.2947. PMID 17190895.
  16. Yu, Elaine W.; และคณะ (2011). "Proton pump inhibitors and risk of fractures: a meta-analysis of 11 international studies". The American Journal of Medicine. 124 (6): 519–526. doi:10.1016/j.amjmed.2011.01.007. PMC 3101476. PMID 21605729.
  17. Hess, M. W.; และคณะ (2012). "Systematic review: hypomagnesaemia induced by proton pump inhibition". Alimentary pharmacology & therapeutics. 36 (5): 405–413. doi:10.1111/j.1365-2036.2012.05201.x.
  18. Neal, Keith; Logan, Richard (2001). "Potential gastrointestinal effects of long‐term acid suppression with proton pump inhibitors". Alimentary pharmacology & therapeutics. 15 (7): 1085–1085. doi:10.1046/j.1365-2036.2001.0994a.x. PMID 11421886.
  19. Sarzynski, Erin; และคณะ (2011). "Association between proton pump inhibitor use and anemia: a retrospective cohort study". Digestive diseases and sciences. 56 (8): 2349–2353. doi:10.1007/s10620-011-1589-y. PMID 21318590.
  20. McColl, Kenneth EL (2009). "Effect of proton pump inhibitors on vitamins and iron". The American Journal of Gastroenterology. 104: S5–S9. doi:10.1038/ajg.2009.45. PMID 19262546.
  21. Härmark, Linda; และคณะ (2007). "Proton pump inhibitor‐induced acute interstitial nephritis". British Journal of Clinical Pharmacology. 64 (6): 819–823. doi:10.1111/j.1365-2125.2007.02927.x. PMC 2198775. PMID 17635502.
  22. Corleto, V.D. (February 2014). "Proton pump inhibitor therapy and potential long-term harm". Curr Opin Endocrinol Diabetes Obes. 21 (1): 3–8. doi:10.1097/med.0000000000000031. PMID 24310148.
  23. Eusebi, LH; Rabitti, S; Artesiani, ML; Gelli, D; Montagnani, M; Zagari, RM; Bazzoli, F (July 2017). "Proton pump inhibitors: Risks of long-term use". Journal of Gastroenterology and Hepatology. 32 (7): 1295–1302. doi:10.1111/jgh.13737. PMID 28092694.
  24. Pasternak, Björn; Hviid, Anders (2010). "Use of Proton-Pump Inhibitors in Early Pregnancy and the Risk of Birth Defects". New England Journal of Medicine. 363 (22): 2114–23. doi:10.1056/NEJMoa1002689. PMID 21105793.
  25. "Omeprazole drug summary". PDR.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2014. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
  26. "LACTMED: OMEPRAZOLE". 10 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2017. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.
  27. Fitzakerley, Janet (2014-01-05). "2014 Treatments for Acid-Peptic Diseases: PPIs Side Effects". University of Minnesota Medical School Duluth. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2014.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. "Proton Pump Inhibitor: Use in Adults" (PDF). CMS Medicaid Integrity Program. August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 December 2013.
  29. Douglas, I. J.; Evans, S. J.; Hingorani, A. D.; Grosso, A. M.; Timmis, A; Hemingway, H; Smeeth, L (2012). "Clopidogrel and interaction with proton pump inhibitors: comparison between cohort and within person study designs". BMJ. 345: e4388. doi:10.1136/bmj.e4388. PMC 3392956. PMID 22782731.
  30. Focks, J. J.; Brouwer, M. A.; Van Oijen, M. G. H.; Lanas, A.; Bhatt, D. L.; Verheugt, F. W. A. (2012). "Concomitant use of clopidogrel and proton pump inhibitors: Impact on platelet function and clinical outcome- a systematic review". Heart. 99 (8): 520–7. doi:10.1136/heartjnl-2012-302371. PMID 22851683.
  31. Shirasaka, Y; Sager, J. E.; Lutz, J. D.; Davis, C; Isoherranen, N (July 2013). "Inhibition of CYP2C19 and CYP3A4 by Omeprazole Metabolites and Their Contribution to Drug-Drug Interactions". Drug Metab. Dispos. 41 (7): 1414–24. doi:10.1124/dmd.113.051722. PMC 3684819. PMID 23620487.
  32. Lau, WC; Gurbel, PA (March 2009). "The drug-drug interaction between proton pump inhibitors and clopidogrel". CMAJ. 180 (7): 699–700. doi:10.1503/cmaj.090251. PMC 2659824. PMID 19332744.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  33. Norgard, NB; Mathews, KD; Wall, GC (July 2009). "Drug-drug interaction between clopidogrel and the proton pump inhibitors". Ann Pharmacother. 43 (7): 1266–1274. doi:10.1345/aph.1M051. PMID 19470853.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  34. Torkamani, Ali. "Selective Serotonin Reuptake Inhibitors and CYP2D6". Medscape.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2015.
  35. Daly, AK; King, BP (May 2003). "Pharmacogenetics of oral anticoagulants". Pharmacogenetics. 13 (5): 247–52. doi:10.1097/00008571-200305000-00002. PMID 12724615.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  36. 36.0 36.1 Stedman, CA; Barclay, ML (August 2000). "Review article: comparison of the pharmacokinetics, acid suppression and efficacy of proton pump inhibitors". Aliment Pharmacol Ther. 14 (8): 963–978. doi:10.1046/j.1365-2036.2000.00788.x. PMID 10930890.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  37. Pauli-Magnus, C; Rekersbrink, S; Klotz, U; Fromm, MF (December 2001). "Interaction of omeprazole, lansoprazole and pantoprazole with P-glycoprotein". Naunyn Schmiedebergs Arch Pharmacol. 364 (6): 551–557. doi:10.1007/s00210-001-0489-7. PMID 11770010.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  38. Izzo, AA; Ernst, E (2009). "Interactions between herbal medicines and prescribed drugs: an updated systematic review". Drugs. 69 (13): 1777–1798. doi:10.2165/11317010-000000000-00000. PMID 19719333.
  39. Brayfield, A, บ.ก. (2014-01-06). "Methotrexate". Martindale: The Complete Drug Reference. Pharmaceutical Press. สืบค้นเมื่อ 12 April 2014.
  40. "DrugBank: Omeprazole (DB00338)". Drugbank.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2014. สืบค้นเมื่อ 24 February 2014.
  41. "Omeprazole [package insert]". India: Dr. Reddy's Laboratories Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2014. Revised: 0613.
  42. Katz, PO; Gerson, LB; Vela, MF (2013). "Guidelines for the diagnosis and management of gastroesophageal reflux disease". Am J Gastroenterol. 108 (3): 308–28. doi:10.1038/ajg.2012.444. PMID 23419381.
  43. 43.0 43.1 "Zegerid (Omeprazole, Sodium Bicarbonate) Patient Information, Side Effects". RxList. 14 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2010. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018.
  44. "Omeprazole, in The Free Medical Dictionary". สืบค้นเมื่อ 11 November 2010.
  45. "Omeprazole". Drugs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2011. สืบค้นเมื่อ 11 November 2010.
  46. "Omeprazole". MIMS Malaysia. สืบค้นเมื่อ 30 July 2018. Cap: Should be taken with food. Take immediately before a meal. Mups Tab: May be taken with or without food.
  47. Baselt, RC (2008). Disposition of Toxic Drugs and Chemicals in Man (8th ed.). Foster City, CA: Biomedical Publications. pp. 1146–7.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  48. 48.0 48.1 Farley, D (July–August 1995). "Making it easier to read prescriptions". FDA Consum. 29 (6): 25–7. PMID 10143448. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2012.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  49. Harris, Gardiner (6 June 2002). "Prilosec's Maker Switches Users To Nexium, Thwarting Generics". The Wall Street Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2017.
  50. Aubert, Jerome; Mulder, Chris JJ; Schrör, Karsten; Vavricka, Stephan R (2011). "Omeprazole MUPS®: An Advanced Formulation offering Flexibility and Predictability for Self Medication". SelfCare Journal. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2016. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  51. "Santarus Receives FDA Approval for Immediate-Release Omeprazole Tablet with Dual Buffers". Santarus (Press release). 4 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]