ข้ามไปเนื้อหา

โออีเอ็ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผู้ผลิตอุปกรณ์ตามแบบฐาน (อังกฤษ: original equipment manufacturer) หรือ โออีเอ็ม (OEM) เป็นคำที่ใช้เมื่อบริษัทหนึ่งได้ผลิตชิ้นส่วนหรือส่วนควบขึ้นมา โดยที่ชิ้นส่วนดังกล่าวถูกใช้ในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายของบริษัทตัวเองหรือบริษัทอื่น อย่างไรก็ตาม คำนี้อาจถูกใช้ไปในหลายความหมายตามแต่บริบทที่ต่างกันไป

อุตสาหกรรมการผลิต

[แก้]

ในอุตสาหกรรมการผลิต ผู้ผลิตอุปกรณ์ตามแบบฐาน (OEM) มีอยู่สองประเภทด้วยกันคือ:

  1. รับจ้างผลิตตามแบบฐาน หมายถึง การที่บริษัทโออีเอ็มถูกว่าจ้างจากเจ้าของแบบฐาน(ผู้ถือสิทธิบัตรในแบบฐาน) หรือเจ้าของแบรนด์ (ผู้ถือลิขสิทธิในแบรนด์) ให้ผลิตสินค้าตามแบบฐาน เช่น บริษัทแห่งหนึ่ง ได้รับการว่าจ้างให้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แก่ค่ายรถยนต์มากมาย ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นจะถูกผลิตขึ้นตามแบบฐานที่ทางค่ายรถยนต์เป็นผู้ออกแบบและกำหนดคุณลักษณะ โดยที่ชิ้นส่วนเหล่านั้นจะถูกตีตราเป็นแบรนด์ของแต่ละค่ายรถยนต์ และส่งมอบให้แต่ละค่ายรถยนต์ไปจัดจำหน่ายเอง
  2. ผลิตจำหน่ายเองตามแบบฐาน หมายถึง เมื่อบริษัทโออีเอ็มได้แบบฐานมาอยู่ในมือ หรือทำการศึกษาสินค้านั้นๆจนเข้าใจถึงแบบฐาน ก็อาจทำการผลิตสินค้านั้นออกวางจำหน่ายเอง ซึ่งแยกออกได้เป็นสองกรณี
2.1 ถูกกฎหมาย: ผลิตและวางจำหน่ายภายใต้แบรนด์ตนเองหรือไม่ตีแบรนด์
2.2 ผิดกฎหมาย: ผลิตและวางจำหน่ายโดยแอบอ้างแบรนด์ผู้อื่น หรือที่เรียกว่าของปลอม ทั้งๆที่ผลิตจากโรงงานเดียวกับของแท้

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • โอดีเอ็ม (Original Design Manufacturer) - ผู้ผลิตออกแบบตามแบบฐาน