โอม มณี ปัทเม หูม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หินมณีสลักด้วยมนตร์ "โอม มณี ปัทเม หูม" ในซังสการ์

โอม มณิ ปัทเม หูม (Oṃ maṇi padme hūṃ;[1] สันสกฤต: ॐ मणि पद्मे हूँ, สัทอักษรสากล: [õːː mɐɳɪ pɐdmeː ɦũː]) หรือในเอกสารไทยนิยมใช้ โอม มณี ปัทเม หูม[2] เป็นมนตร์หกพยางค์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา พระษฑักษรี ปางสี่กร ปรากฏการใช้ครั้งแรกในคัมภีร์ของมหายาน การัณฑวยูหสูตร ซึ่งเรียกมนตร์นี้ในชื่อ ษฑกฺษร ("หกพยางค์") และ บรมหฤทัย ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร[3] ในคัมภีร์นี้มองว่ามนตร์นี้เป็นเหมือนรูปย่นย่อของคำสอนทั้งปวงในพุทธศาสนา[4]

คำแปลแท้จริงและความสำคัญของมนตร์นี้ยังเป็นที่พูดถึงโดยมากในบรรดานักวิชาการพุทธศาสนา คำแปลตรงตัวในภาษาอังกฤษมีแปลไว้ว่า "ขอบูชาแด่แก้วมณีในดอกบัว"[5] หรือในรูปกล่าวประกาศที่อาจแปลว่า "ข้าพเจ้าในแก้วมณี-ดอกบัว"[6] ในขณะที่ในภาษาไทยมีการแปลไว้ว่า "โอม แก้วมณีในดอกบัว"[2] มนตร์นี้ประกอบด้วยคำว่า ปัทม แปลว่าดอกบัวอินเดีย (Nelumbo nucifera) กับ มณี ซึ่งในศาสนาพุทธนิยมใช้เรียกมณีทางจิตวิญญาณหรือจินตมณี[7] ส่วนคำนำว่า โอม เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอินเดีย และ หูม ใช้แทนดวงวิญญาณแห่งการตรัสรู้[8]

ในศาสนาพุทธแบบทิเบต มนตร์นี้เป็นมนตร์ที่มีสวดกันทั่วไปที่สุด ทั้งในฆราวาสและสงฆ์ นอกจากนี้ยังปรากฏในฐานะส่วนหนึ่งของทิวทัศน์ที่พบได้ในทิเบต ในรูปของหินมณี หรือใสธงมนตร์กับกงล้อมนตร์[9]

นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ซึ่งมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธในจีน ทิเบต และมองโกเลียมากขึ้น มนตร์นี้ได้เข้ามาสู่ศาสนาพุทธแบบจีน[10] รวมถึงถูกนำไปประยุกต์ใช้ในลัทธิเต๋าของจีน[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Pronunciation of the mantra as chanted by a Tibetan: Wave Format and Real Audio Format.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 ถอดความจาก คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (2022-05-08). "แก้วมณีแห่งความกรุณาในใจ: เพราะเราทุกคนคืออวโลกิเตศวร". วัชรสิทธา.
  3. Studholme (2002), p. 67.
  4. Studholme (2002), p. 72.
  5. Grossman, Carrie
  6. Alexander Studholme, The Origins of Om Manipadme Hum: A Study of the Karandavyuha Sutra, SUNY, 2002, p. 117
  7. Essential Buddhism, A Complete Guide to Beliefs and Practices, p. 126, Jack Maguire, 2013
  8. "Mantras associated with Avalokiteshvara (aka Quan Yin, Chenrezig) in Siddham, Tibetan (Uchen), Ranajana (Lantsa), Elvish, and Klingon". สืบค้นเมื่อ 13 October 2015.
  9. Studholme (2002), p. 2.
  10. Orzech et al. (2011), p. 527.
  11. Jackowicz, Steve, Om Mani Padme Hum in Daoist Revision, Journal of Daoist Studies, University of Hawai'i Press, Volume 6, 2013 pp. 203-210 10.1353/dao.2013.0009

บรรณานุกรม[แก้]

  • Teachings from the Mani retreat, Chenrezig Institute, December 2000 (2001) by Lama Zopa Rinpoche, ISBN 978-1-891868-10-8, Lama Yeshe Wisdom Archive downloadable
  • Bucknell, Roderick & Stuart-Fox, Martin (1986). The Twilight Language: Explorations in Buddhist Meditation and Symbolism. Curzon Press: London. ISBN 0-312-82540-4
  • Lopez, Donald (1998). Prisoners of Shangri-La: Tibetan Buddhism and the West. University of Chicago Press: Chicago. ISBN 0-226-49311-3.