โหนด (วงจร)
หน้าตา

ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า โหนด (อังกฤษ: node) เป็นพื้นที่ใด ๆ ในวงจรไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างองค์ประกอบวงจรไฟฟ้าสองตัว ในแผนภาพวงจรไฟฟ้า การเชื่อมต่อต่าง ๆ ถือเป็นสายไฟที่มีความต้านทานไฟฟ้าและการนำไฟฟ้าเป็นศูนย์ ดังนั้นโหนดจึงครอบคลุมทั้งส่วนของสายไฟระหว่างองค์ประกอบ ไม่ใช่เพียงจุดเดียว[1]
รายละเอียด
[แก้]ตามกฎของโอห์ม V = IR แรงดันไฟฟ้า V ระหว่างจุดสองจุดบนโหนดที่มีค่าความต้านทาน R น้อยมาก จะเป็น
แสดงว่าศักย์ไฟฟ้าที่ทุกจุดในโหนดจะมีค่าเท่ากัน
มีข้อยกเว้นบางกรณีที่ความต่างศักย์มีขนาดใหญ่จนมีนัยสำคัญ ได้แก่:
- การวัดความต้านทานที่มีความแม่นยำสูงโดยใช้การเชื่อมต่อเคลวิน
- ความต่างศักย์ระหว่าง กราวด์และนิวทรัล หรือระหว่างสายไฟนิวทรัลและกราวด์ในปลั๊กไฟฟ้ากระแสสลับในบ้าน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งอย่างถูกต้องจะเชื่อมต่อสองจุดนี้เข้าด้วยกันในตำแหน่งเดียว แต่หลายคนกลับเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงว่าสองจุดนี้มีแรงดันไฟฟ้า "เท่ากัน" หรือกราวด์เพื่อความปลอดภัยเป็น "สิ่งไม่จำเป็น"
- ข้อต่อที่ใช้สายไฟอะลูมิเนียมในอาคาร
- จุดที่ใช้แสดงโหนดบนแผนภาพวงจร บางครั้งเรียกว่า meatballs (ลูกชิ้น) [2]