ลอรีฌีนดูว์มงด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โลรีญินดูมอนด์)
ลอรีฌีนดูว์มงด์
ศิลปินกุสตาฟว์ กูร์แบ
ปี1866
สื่อสีน้ำมันบนผ้าใบ
มิติ46 cm × 55 cm (18 นิ้ว × 22 นิ้ว)
สถานที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซ ปารีส

ลอรีฌีนดูว์มงด์ (ฝรั่งเศส: L'Origine du monde; "ต้นกำเนิดของโลก") เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบโดยกุสตาฟว์ กูร์แบ ศิลปินชาวฝรั่งเศส เขียนขึ้นในปี 1866 แสดงภาพใกล้ของสตรีเปลือยส่วนช่องคลอดและท้องขณะนอนถ่างขาบนเตียง

ประวัติศาสตร์[แก้]

ตัวตนของนางแบบในภาพ[แก้]

ตัวตนของนางแบบในภาพเป็นที่สนใจในหมู่นักประวัติศาสตร์ศิลป์มาโดยตลอด ส่วนใหญ่เชื่อว่านางแบบคือโจแอนนา ฮิฟเฟอร์นัน หรือโจ นางแบบคนโปรดของกูร์แบ ซึ่งเป็นคู่รักของเจมส์ วิสเลอร์ ศิลปินชาวอเมริกันและเพื่อนของกูร์แบ[1] ฮิฟเฟอร์นันเคยปรากฏเป็นนางแบบในชุดภาพเขียนสี่ภาพของกูร์แบ ชื่อ โจ ลาแบลีร์ล็องแดซ ("โจ โฉมงามชาวไอริช") เขียนขึ้นในปี 1865–1866 จึงมีความเป็นไปได้มากว่าเธอจะเป็นนางแบบในภาพ ลอรีฌีนดูว์มงด์ เช่นกัน[2][3] นอกจากนี้ยังมีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าเธออาจมีความสัมพันธ์กับกูร์แบ จนนำไปสู่การตัดขาดระหว่างกูร์แบกับวิสเลอร์ไม่นานจากนั้น[4] อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเธอเป็นสตรีผมแดง จึงไม่น่ามีขนอวัยวะเพศสีดำดังที่เห็นในภาพ ลอรีฌีนดูว์มงด์

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 ปารีมัตช์ รายงานว่า ฌ็อง-ฌัก แฟร์นีเย ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกูร์แบ ระบุว่าสามารถยืนยันภาพเขียนที่เป็นท่อนบนของภาพ ลอรีฌีนดูว์มงด์ บางส่วนระบุว่านี่เคยเป็นภาพเดียวกันมาก่อนที่จะถูกแยกจากกัน แฟร์นีเยสรุปผลการศึกษาดังกล่าวหลังใช้เวลาสองปี และเสนอให้ใส่ภาพส่วนท่อนบนประกอบไปด้วยในกาตาลอกแรซอเนของกูร์แบในฉบับถัดไป[2][5] ในขณะที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงภาพ ระบุว่า ลอรีฌีนดูว์มงด์ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภาพชิ้นที่ใหญ่กว่า[6] เดอะเดลีเทลิกราฟ รายงานว่า "ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยการา (ศูนย์วิเคราะห์และวิจัยศิลปะและโบราณคดี) สามารถปะติดปะต่อภาพเขียนทั้งสองโดยใช้ร่องที่มาจากกรอบไม้เดิมและเส้นบนผ้าใบ ซึ่งตรงกันทั้งสองภาพ"[2] แต่การาไม่ได้รายงานข้อสรุปอื่นใดเกี่ยวกับภาพเขียนอีก[7]

มีนักวิจารณ์ศิลปะบางส่วนเชื่อว่าภาพนี้เป็นภาพเขียนจากศพของสตรีมากกว่านางแบบที่ยังมีชีวิตอยู่[8]

เจ้าของ[แก้]

เชื่อกันว่าฮาลิล เชริฟ พาชา (ฮาลิลเบย์) ทูตชาวออตโตมันเป็นผู้จ้างกูร์แบให้สร้างภาพเขียนนี้ขึ้นไม่นานหลังพาชาย้ายไปอาศัยในปารีส โดยชาร์ล โอกุสแต็ง แซ็งต์-เบิฟว์ เป็นผู้แนะนำทั้งสองให้รู้จักกัน พาชาตั้งใจจะเก็บภาพเขียนเข้าชุดสะสมภาพเขียนแนวกามวิสัยของเขา ซึ่งมีผลงานชิ้นอื่น ๆ เช่น เลอแบ็งตูร์ก ("โรงอาบน้ำตุรกี") โดยฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์ และ เลอซอแมย์ ("ผู้หลับใหล") ของกูร์แบเอง[9]

ภายหลังพาชาสูญเสียเงินจากการพนัน ภาพเขียนได้ถูกส่งต่อเป็นของสะสมส่วนบุคคลเรื่อยมา พาชาขายภาพนี้ครั้งแรกในปี 1868 โดยมีผู้ซื้อคืออ็องตวน เดอ ลา นาร์ด พ่อค้าของโบราณผู้ซึ่งต่อมาได้ขายให้แก่แอดมง เดอ กงกูร์ ในปี 1889 ตามด้วยบารอนแฟแร็นตส์ ฮ็อตว็อญ นักสะสมชาวฮังการี ซื้อภาพเขียนนี้จากหอศิลป์แบร์นายม์-เฌินในปี 1910 และนำกลับไปบูดาเปสต์ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ภาพเขียนถูกกองทัพโซเวียตขโมยไป แต่ฮ็อตว็อญได้จ่ายค่าไถ่ขอภาพคืนมาก่อนจะนำภาพเขียนออกจากประเทศฮังการีในปี 1947 ไปยังปารีส[10]

ในปี 1955 ลอรีฌีนดูว์มงด์ ได้รับการประมูลไปด้วยมูลค่า 1.5 ล้านฟรังก์ (4,285 ดอลลาร์สหรัฐในเวลานั้น)[11] โดยฌัก ลาก็อง นักจิตวิเคราะห์ และนำไปแขวนไว้ในบ้านพักที่กีทร็องกูร์[12][13]

หลังลาก็องเสียชีวิตในปี 1981 รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินของฝรั่งเศสได้รับภาพเขียนนี้แลกกับภาษีมรดกของลาก็อง (กระบวนการซึ่งเรียกว่า Dation en paiement ในกฎหมายฝรั่งเศส) ต่อมาภาพเขียนได้รับการจัดแสดงและเป็นของสะสมของพิพิธภัณฑ์ออร์แซนับตั้งแต่ปี 1995 ถึงปัจจุบัน[9]

ความปลุกปั่น[แก้]

ในศตวรรษที่ 19 ได้เกิดการปฏิวัติการจัดแสดงภาพเปลือยบุคคล นำโดยกูร์แบและเอดัวร์ มาแน

ถึงแม้ความตื่นเต้นและปลุกปั่นของภาพเปลือยจะลดลงนับตั้งแต่ยุคของกูร์แบ อันเป็นผลจากวิวัฒนาการของการถ่ายภาพและภาพยนตร์ แต่เมื่อภาพมาถึงที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซก็ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก รายงานการขายโปสต์การ์ดของร้านค้าพิพิธภัณฑ์ออร์แซระบุว่าโปสต์การ์ดภาพ ลอรีฌีนดูว์มงด์ มีคนซื้อไปมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจาก การเต้นรำที่มูแล็งเดอลากาแล็ต ของปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์[14]

อิทธิพล[แก้]

ความโจ่งแจ้งของภาพอาจเป็นแรงบันดาลใจของผลงานชิ้นสำคัญสุดท้ายของมาร์แซล ดูว์ช็อง ในชื่อ เอต็องดอเน (1946–1966)[15]

ในปี 1989 ออร์ล็อง ศิลปินชาวฝรั่งเศส สร้างผลงานชีบาโครม ลอรีฌีนเดอลาแกร์ ("ต้นกำเนิดของสงคราม") ซึ่งเป็นภาพล้อเลียนในรูปแบบผู้ชาย แสดงองคชาตแข็งตัวแทน[16]

ในปี 2004 อานิช กปูร จัดแสดงผลงานติดตั้งชื่อ ลอรีฌีนดูว์มงด์ ซึ่งตั้งตามผลงานของกูร์แบ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด คานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น[17]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 เฟซบุ๊กเซ็นเซอร์ภาพ ลอรีฌีนดูว์มงด์ ซึ่ง Frode Steinicke ศิลปินชาวโคเปนเฮเกนโพสต์เพื่อใช้แทนความเห็นของเขาต่อรายการโทรทัศน์ทางช่อง DR2 หลังเกิดเหตุการณ์ได้มีการเคลื่อนไหวออนไลน์โดยมีผู้ใช้จำนวนหนึ่งเปลี่ยนรูปโพรไฟล์ตนเป็นรูปของภาพเขียนนี้เพื่อแสดงจุดยืนร่วมกับ Steinicke ซึ่งในตอนนั้นถูกเฟซบุ๊กระงับการใช้งานบัญชี ท้ายที่สุดเฟซบุ๊กถอนการระงับบัญชี แต่ยังคงดำเนินการลบหน้าที่มีภาพเขียนนี้ออกต่อไป[18][19]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jones, Jonathan (25 September 2018). "Who posed for the 'Mona Lisa of vaginas'?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2018-10-05.
  2. 2.0 2.1 2.2 Henry Samuel (7 February 2013). "Amateur art buff finds £35 million head of Courbet masterpiece". The Daily Telegraph.
  3. Noël, Benoit; Hournon, Jean (2006). "Gustave Courbet – L'Origine du Monde, 1866". Parisiana – La capitale des peintres au XIXème siècle (ภาษาฝรั่งเศส). Les Presses Franciliennes. p. 37. ISBN 9782952721400.
  4. Dorothy M. Kosinski (1988). "Gustave Courbet's The Sleepers The Lesbian Image in Nineteenth Century French Art and Literature". Artibus et Historiae, Vol. 9, No. 18 , p.187
  5. "L'Origine du monde: Le secret de la femme cachée". Paris Match (ภาษาฝรั่งเศส). 7 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-15. สืบค้นเมื่อ 2013-02-07.
  6. "Has the head of The Origin of the World been found?". The Telegraph. 10 February 2013. สืบค้นเมื่อ 11 February 2013.
  7. "Summary of analytical report – Painting on canvas, portrait of a woman" เก็บถาวร 2015-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Centre d'Analyses et de Recherche en Art et Archéologie, 7 February 2013
  8. Uparella & Jauregui 2018, p. 95.
  9. 9.0 9.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ DB
  10. Konstantin Akinsha (1 February 2008). "The Mysterious Journey of an Erotic Masterpiece". ARTnews.
  11. "Measuring Worth – Relative Worth Comparators and Data Sets". www.measuringworth.com.
  12. Lacan and the Matter of Origins by Shuli Barzilai, p. 8
  13. "courbet – origin of the world". www.lacan.com.
  14. Hutchinson, Mark (8 August 2007). "The history of The Origin of the World". The Times Literary Supplement. London.
  15. "Femalic Molds", The Marcel Duchamp Studies Online Journal (toutfait.com), 1 April 2003/5 May 2016
  16. "ORLAN: L'origine de la Guerre". The Eye of Photography. 21 December 2014. สืบค้นเมื่อ 2018-10-22.
  17. "金沢21世紀美術館". 金沢21世紀美術館.
  18. Emily Greenberg "Facebook, Censorship and Art" เก็บถาวร 2011-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Cornell Daily Sun, 8 March 2011
  19. Dépêche AFP du 17/02/10 "L'Origine du monde de Courbet interdit de Facebook pour cause de nudité"

บรรณานุกรม[แก้]

  • Dagen, Philippe (21 June 1995). "Le Musée d'Orsay dévoile L'Origine du monde". Le Monde.
  • Dagen, Philippe (22 October 1996). "Sexe, peinture et secret". Le Monde.
  • Du Camp, Maxime (1878). Les Convulsions de Paris (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. Volume II: Épisodes de la Commune. Paris: Hachette. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  • Lechien, Isabelle Enaud. James Whistler. ACR Édition.
  • Guégan, Stéphane; Michèle Haddad. L'ABCdaire de Courbet. Flammarion.
  • Noiville, Florence (25 March 1994). "Le retour du puritanisme". Le Monde.
  • Savatier, Thierry (2006). L'Origine du monde, histoire d'un tableau de Gustave Courbet. Paris: Bartillat.
  • Schlesser, Thomas (2005). "L'Origine du monde". Dictionnaire de la pornographie. Paris: Presses Universitaires de France.
  • Teyssèdre, Bernard (1996). Le roman de l'Origine. Paris: Gallimard.
  • Uparella, Paola; Jauregui, Carlos A. (2018). "The Vagina and the Eye of Power (Essay on Genitalia and Visual Sovereignty)". H-Art. 3 (3): 79–114. doi:10.25025/hart03.2018.04.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]