ข้ามไปเนื้อหา

โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์
ส่วนผสมประกอบด้วย
Lopinavirยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส
Ritonavirยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส (ตัวเร่งเภสัชจลนศาสตร์)
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าKaletra, Aluvia
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa602015
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: B3
  • US: N (ยังไมได้จำแนก)
ช่องทางการรับยาทางปาก
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา)
  • CA: ℞-only [1]
  • UK: POM (Prescription only)
  • US: ℞-only
  • EU: Rx-only
ตัวบ่งชี้
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
KEGG
NIAID ChemDB
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ (Lopinavir/ritonavir, LPV/r) มีชื่อทางการค้าว่า Kaletra (และชื่ออื่น ๆ) เป็นยาสูตรผสมที่มีสัดส่วนยาคงที่สำหรับการรักษาและป้องกันเอชไอวี/เอดส์[2] สูตรยารวมโลปินาเวียร์ เข้ากับริโทนาเวียร์ขนาดต่ำ โดยทั่วไปจะแนะนำให้ใช้ร่วมกับยาต้านรีโทรไวรัสอื่น ๆ[2] อาจใช้ยาสำหรับการป้องกัน หลังจากได้รับบาดเจ็บจากเข็มหรือการสัมผัสอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น[2] โดยใช้การรับประทานทางปากซึ่งเป็นยาเม็ด, แคปซูล หรือสารละลาย

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ท้องเสีย, อาเจียน, อ่อนเพลีย, ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อ ผลข้างเคียงที่รุนแรงอาจรวมถึง ตับอ่อนอักเสบ, ปัญหาที่ตับ และภาวะน้ำตาลในเลือดสูง[2] มีการใช้ทั่วไปในหญิงตั้งครรภ์ และค่อนข้างปลอดภัย[2] ยาทั้งสองชนิดนี้เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ย่อยโปรตีนเอชไอวี ริโทนาเวียร์ทำงานโดย ชะลอการสลายของโลปินาเวียร์

โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ได้รับอนุมัติให้ใช้ในสหรัฐในปี พ.ศ. 2543[2] และอยู่ในรายชื่อยาสำคัญขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุดที่จำเป็นในระบบสุขภาพ[3] ค่าใช้จ่ายในประเทศกำลังพัฒนา (ราคาขายส่ง) คือ 18.96 ถึง 113.52 เหรียญสหรัฐต่อเดือน[4] ในสหรัฐเนื่องจากไม่สามารถจำหน่ายเป็นยาชื่อสามัญ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า 200 เหรียญสหรัฐต่อเดือน สำหรับกรณีทั่วไปในปี พ.ศ. 2559[5]

การใช้ทางการแพทย์

[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ เป็นส่วนหนึ่งของสูตรผสมที่นิยมใช้สำหรับการบำบัดเอชไอวีในขั้นแรก ที่ได้รับการแนะนำโดยกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐ[6]

ผลข้างเคียง

[แก้]

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยที่สุดของยาโลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ที่ตรวจพบคืออาการท้องเสียและคลื่นไส้ ในการทดลองทางคลินิกที่สำคัญพบว่ามีอาการท้องร่วงปานกลางถึงรุนแรงในผู้ป่วยมากถึง 27% และมีอาการคลื่นไส้ปานกลาง ถึงรุนแรงมากถึง 16%[7] ผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดท้อง, อาการอ่อนเพลีย, ปวดหัว, อาเจียน และโดยเฉพาะในเด็กพบผื่นขึ้น[7]

ค่าเอนไซม์ตับที่สูงขึ้นและภาวะสารไขมันสูงในเลือด ทั้งภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (hypertriglyceridemia) และภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด (hypercholesterolemia) ก็มักจะพบในระหว่างกระบวนการรักษาด้วยยาโลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์

โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ได้รับการคาดว่ามีระดับของปฏิกริยาที่แปรปรวนเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ ที่เป็นตัวถูกเปลี่ยนของเอนไซม์ CYP3A และ/หรือไกลโคโปรตีน P-gp เช่นกัน[8]

ผู้ที่มีรูปร่างหัวใจผิดปกติ, มีความผิดปกติของระบบการนำไฟฟ้าหัวใจมาก่อน, มีโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ควรใช้ยาโลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ด้วยความระมัดระวัง[9]

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้ประกาศเตือนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพร้ายแรง ซึ่งได้รับรายงานในทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่ได้รับยาโลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ทางปากในรูปสารละลาย ซึ่งอาจเป็นเพราะมีส่วนประกอบที่มีตัวทำละลายโพรพิลีนไกลคอล พวกเขาแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาในทารกคลอดก่อนกำหนด[10]

ประวัติ

[แก้]

แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส (จากการแยกบริษัท ปัจจุบันคือ Abbvie) เป็นหนึ่งในผู้ใช้รายแรก ๆ ของเทคโนโลยี Advanced Photon Source (APS) จากแหล่งกำเนิดแสงการแผ่รังสีซินโครตรอนแห่งชาติที่ Argonne National Laboratory ของสหรัฐ โครงการวิจัยขั้นต้นคือการมุ่งเน้นไปที่การศึกษาโปรตีนจากไวรัสเอชไอวี (HIV) โดยการใช้เส้นลำแสง APS สำหรับการสร้างภาพโครงสร้างผลึกด้วยรังสีเอกซ์ ทำให้นักวิจัยได้ทราบลักษณะของโครงสร้างโปรตีนของไวรัส ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถกำหนดแนวทางในการพัฒนาสารยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสของไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นเอนไซม์เป้าหมายที่สำคัญที่ทำหน้าที่ผลิตโพลีโปรตีนเอชไอวีของไวรัสภายหลังการติดเชื้อ อันเป็นกลไกในการสืบต่อวัฏจักรชีวิตของไวรัส ผลจากวิธีการออกแบบยาจากฐานการวิเคราะห์โครงสร้างโดยใช้เทคโนโลยี APS ดังกล่าว แอ๊บบอตสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสและหยุดการจำลองแบบตัวเองของไวรัสได้[11][12]

โลปินาเวียร์ ได้รับการพัฒนาโดยแอ๊บบอต ในความพยายามของบริษัทที่จะปรับปรุงสารยับยั้งเอนไซม์โปรติเอสก่อนหน้านี้คือ ริโทนาเวียร์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของสารที่มีผลในการจับกับโปรตีนในน้ำเลือด (ลดการแทรกแซงจากซีรั่มบนสารยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส) และคุณสมบัติการต้านทานเอชไอวี (ลดการที่ไวรัสจะพัฒนาความต้านทานต่อยา)[12] ในการให้ยาโลปินาเวียร์ชนิดเดียว พบว่ามีการดูดซึมไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับในสารยับยั้งเอนไซม์โปรติเอสของไวรัสเอชไอวีหลาย ๆ ชนิด ปริมาณของยาในกระแสโลหิตจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการใช้ยาริโทนาเวียร์ในปริมาณต่ำ ซึ่งมีอำนาจในการยับยั้งเอนไซม์ไซโตโครม P450 3A4 ของลำไส้และตับ อันเป็นกลไกลดระดับยาผ่านแคแทบอลิซึม[12] ดังนั้นแอ๊บบอตจึงใช้กลยุทธ์ของการให้ยาโลปินาเวียร์ร่วมกับการใช้ยาริโทนาเวียร์ปริมาณต่ำ ในการรักษายับยั้งเชื้อเอชไอวี

โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2543[13][14] และจากองค์การยาสหภาพยุโรป (EMA) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2544[15]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ในระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลอิสราเอลประกาศว่าจะบังคับให้ AbbVie ออกใบอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรสำหรับ โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ในการตอบสนองทางบริษัท AbbVie ประกาศว่าจะยุติการบังคับใช้สิทธิบัตรในยาโดยสิ้นเชิง[16][17]

สังคมและวัฒนธรรม

[แก้]

ราคา

[แก้]

ผลที่ตามมาจากราคาที่สูงและการแพร่กระจายของการติดเชื้อเอชไอวี รัฐบาลไทยได้ออกมาตรการบังคับใช้สิทธิเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550 เพื่อผลิตและ/หรือนำเข้ายาชื่อสามัญ (generic drug) ของโลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์[18] แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส ได้ถอนการจดทะเบียนยาโลปินาเวียร์ และยาตัวใหม่อื่น ๆ อีกเจ็ดตัวในประเทศไทยโดยอ้างว่ารัฐบาลไทยขาดความเคารพในสิทธิบัตร[19] ทัศนคติของแอ๊บบอตถูกประณามจากองค์การนอกภาครัฐหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงการประท้วงโดยการโจมตีทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ริเริ่มโดยแอคอัพ-ปารีส (Act Up-Paris) และมีการเรียกร้องต่อสาธารณะโดยองค์กรพัฒนาเอกชนของฝรั่งเศส AIDES ให้คว่ำบาตรยาของแอ๊บบอตทั้งหมด[20]

รูปแบบของยา

[แก้]

รูปแบบยาเม็ดชนิดทนความร้อนที่สามารถให้รับประทานทางปาก ได้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในเด็ก[21]

การวิจัย

[แก้]

ในขณะที่ข้อมูลดูมีประโยชน์สำหรับโรคซาร์ส ที่เกิดจากไวรัส SARS-CoV-1 แต่ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ประโยชน์สำหรับโรคโควิด-19 นั้นยังไม่ชัดเจน[22] การทดลองแบบสุ่มและไม่อำพรางในปี 2563 พบว่าโลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ไม่เป็นประโยชน์ในการรักษาโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง[23] ในการทดลองนี้โดยทั่วไปเริ่มให้ยาประมาณ 13 วันหลังจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการ[22]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Kaletra Product information". Health Canada. 2019-03-19. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Lopinavir and Ritonavir". The American Society of Health-System Pharmacists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016.
  3. World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019. Geneva: World Health Organization. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
  4. "Lopinavir + Ritonavir". International Drug Price Indicator Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016.
  5. Tarascon Pharmacopoeia 2016 Professional Desk Reference Edition. Jones & Bartlett Publishers. 2016. p. 67. ISBN 9781284095302.
  6. "Adult and Adolescent Guidelines". AIDSinfo. 4 พฤษภาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2006.
  7. 7.0 7.1 "Kaletra- lopinavir and ritonavir tablet, film coated Kaletra- lopinavir and ritonavir solution". DailyMed. 26 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2020.
  8. Zhang L, Zhang Y, Huang SM (19 ตุลาคม 2009). "Scientific and regulatory perspectives on metabolizing enzyme-transporter interplay and its role in drug interactions: challenges in predicting drug interactions". Molecular Pharmaceutics. 6 (6): 1766–74. doi:10.1021/mp900132e. PMID 19839641.
  9. "FDA Issues Safety Labeling Changes for Kaletra". Medscape. 10 เมษายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2020.
  10. "Kaletra (lopinavir/ritonavir): Label Change - Serious Health Problems in Premature Babies". Drugs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2011.
  11. Foster, Catherine. "Research at Argonne helps Abbott Labs develop anti-HIV drug". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2006.
  12. 12.0 12.1 12.2 Sham HL, Kempf DJ, Molla A, Marsh KC, Kumar GN, Chen CM, และคณะ (ธันวาคม 1998). "ABT-378, a highly potent inhibitor of the human immunodeficiency virus protease". Antimicrobial Agents and Chemotherapy. 42 (12): 3218–24. doi:10.1128/AAC.42.12.3218. PMC 106025. PMID 9835517.
  13. "Drug Approval Package: Kaletra (Lopinavir/Ritonavir) NDA #21-226 & 21-251". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 20 พฤศจิกายน 2001. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2020.
  14. "Generic Kaletra Availability". Drugs.com. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020.
  15. "Kaletra EPAR". European Medicines Agency (EMA). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020.
  16. "Inoculating the world may mean reviving old curbs on patents". Pittsburgh Post-Gazette. Bloomberg. 14 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2020.
  17. Scheer, Steven (19 มีนาคม 2020). "Israel approves generic HIV drug to treat COVID-19 despite doubts". Reuters. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2020.
  18. "Decree of Department of Disease Control, Ministry of Public Health, regarding exploitation of patent on drugs & medical supplies by the government on combination drug between lopinavir & ritonavir" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 กรกฎาคม 2011.
  19. "Abbott pulls HIV drug in Thai patents protest". Financial Times. 14 มีนาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2020.
  20. "People Living with HIV: Let's change the rules imposed by the pharmaceutical industry!" (PDF). 1 กรกฎาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 ตุลาคม 2007.
  21. Pasipanodya B, Kuwengwa R, Prust ML, Stewart B, Chakanyuka C, Murimwa T, และคณะ (ธันวาคม 2018). "Assessing the adoption of lopinavir/ritonavir oral pellets for HIV-positive children in Zimbabwe". Journal of the International AIDS Society. 21 (12): e25214. doi:10.1002/jia2.25214. PMC 6293134. PMID 30549217.
  22. 22.0 22.1 McCreary, Erin K; Pogue, Jason M (23 มีนาคม 2020). "COVID-19 Treatment: A Review of Early and Emerging Options". Open Forum Infectious Diseases. doi:10.1093/ofid/ofaa105.
  23. Cao B, Wang Y, Wen D, Liu W, Wang J, Fan G, และคณะ (มีนาคม 2020). "A Trial of Lopinavir-Ritonavir in Adults Hospitalized with Severe Covid-19". New England Journal of Medicine. doi:10.1056/NEJMoa2001282. PMID 32187464. This randomized trial found that lopinavir–ritonavir treatment added to standard supportive care was not associated with clinical improvement or mortality in seriously ill patients with Covid-19 different from that associated with standard care alone.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]