โรห์มา อิรามะ
โรห์มา อิรามะ | |
---|---|
![]() โรห์มา อิรามะ ขณะบรรยายธรรมในปาเล็มบัง ค.ศ. 2015 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซีย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม ค.ศ. 1997 – 1 ตุลาคม ค.ศ. 1999 | |
ประธานาธิบดี | ซูฮาร์โต บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี |
กลุ่มรัฐสภา | F-KP |
เขตเลือกตั้ง | จาการ์ตา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | โอมา อิรามะ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 ตาซิกมาลายา, จังหวัดชวาตะวันตก, อินโดนีเซีย |
พรรคการเมือง | พรรคสหพัฒนาการ[1] |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พรรคอิสลามสงบสันติสุข (2015–2018) |
คู่สมรส |
|
บุตร | 5, รวมถึง เด็บบี อิรามะ, วิคกี อิรามะ, และ ริโดห์ อิรามะ |
อาชีพ |
|
ลายมือชื่อ | ![]() |
อาชีพทางดนตรี | |
ฉายา | Raja Dangdut (ราชาแห่งเพลงดังดุต) |
แนวเพลง | ดังดุต |
เครื่องดนตรี |
|
ช่วงปี | ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | |
เว็บไซต์ | rhomairama |
ระเด่น หัจญี โอมา อิรามะ (อินโดนีเซีย: Raden Haji Oma Irama) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ โรห์มา อิรามะ (อินโดนีเซีย: Rhoma Irama) (เกิดวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946) เป็นนักร้องเพลงดังดุต นักแต่งเพลง และมือกีตาร์ชาวอินโดนีเซียเชื้อสายซุนดา
โรห์มาเริ่มอาชีพนักดนตรีในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ในชื่อ โรห์มา อิรามะ ในฐานะส่วนหนึ่งของวงดนตรีโอร์เกสเมอะลายูปุรนามะ (Orkes Melayu Purnama) โดยเป็นผู้บุกเบิกดนตรีดังดุตหลายรูปแบบ จากนั้นจึงก่อตั้งวงโซเนตากรุป (Soneta Group) และประสบความสำเร็จทางดนตรีมากมายด้วยสไตล์ดังดุตอันล้ำสมัยที่ผสมผสานอิทธิพลของดนตรีตะวันตก มลายู และบอลลีวูด
ตั้งแต่ปลายทศวรรษปี 1970 โรห์มาเริ่มหันเหแนวเพลงตนเองไปเน้นไปทางศาสนาอิสลามมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อวัฒนธรรมดนตรียอดนิยมทางศาสนา [2] ในช่วงที่เขาโด่งดังสูงสุดในยุคทศวรรษ 1970 เขาได้รับการขนานนามว่า "รายา ดังดุต" (Raja Dangdut "ราชาแห่งเพลงดังดุต") พร้อมกับวงของเขา [3] ทั้งยังรับงานแสดงภาพยนตร์อีกด้วย
เขายังมีบทบาททางการเมืองโดยช่วยหาเสียงให้กับพรรคสหพัฒนาการระหว่างยุคระเบียบใหม่ ในปี ค.ศ. 2015 โรห์มาก่อตั้งพรรคอิสลามสงบสันติสุข และดำรงตำแหน่งประธานพรรคไปจนถึง ค.ศ. 2018 เมื่อเขาตัดสินใจยุบรวมพรรคเข้ากับพรรคอาณัติแห่งชาติ
ชีวิตตอนต้น
[แก้]โรห์มาเกิดในครอบครัวชาวซุนดา โดยเป็นบุตรของระเด่นบุรดะห์ อังกาวีรยะ (Raden Burdah Anggawirya) และระเด่น หัจญ์ญะฮ์ ตุตี จูริยะห์ (R. Hj. Tuti Juariah) [4]
อาชีพ
[แก้]ทศวรรษ 1960: ก่อนตั้งวง
[แก้]
วงดนตรีแรก ๆ ของโอมา อิรามะ รู้จักกันในชื่อ โตร์นาโด (Tornado) และไกฮันด์ (Gayhand) ซึ่งเล่นเพลงร็อกแอนด์โรลตะวันตกของ พอล แองคา, แอนดี วิลเลียมส์ และเดอะบีเทิลส์ [5]
ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 โอมา อิรามะ เริ่มร้องเพลงชวาและเพลงป็อปอินโดนีเซีย ในปี 1968 เขาเข้าร่วมวงโอร์เกสเมอะลายูปุรนามะ (Orkes Melayu Purnama) วงนี้เป็นผู้บุกเบิกองค์ประกอบต่าง ๆ ของดนตรีดังดุต โดยในดนตรีโอร์เกสเมอะลายูได้เปลี่ยนกลองเป็นกลองคู่ กีตาร์ไฟฟ้าเริ่มมีบทบาทมากขึ้น และยังมีการปล่อยขลุ่ยคล้ายกับทำนองเพลงบอลลีวูดอีกด้วย นอกจากนี้ เขายังบันทึกเพลงป็อปอินโดนีเซียในช่วงเวลานี้กับซาเอนัล คอมโบ (Zaenal Combo) และกาลักซี (Galaksi) ในขณะที่อัลบั้มอิงการ์ จันจี (Ingkar Janji) ได้รับการบันทึกในปี ค.ศ. 1969 กับวงโอร์เกส เมอะลายู จันดราเลกา (Orkes Melayu Chandraleka)
ต้นทศวรรษ 1970: ตั้งวง
[แก้]หลังจากที่โอมาเลิกบันทึกเสียงกับวงปุรนามะกรุป เขาก็ก่อตั้งวงโอร์เกสเมอะลายูโซเนตา (มาจากคำว่า ซอนเน็ต) ขึ้นมา ซึ่งกลายมาเป็นวงดังดุตวงแรกในปี ค.ส. 1970
กลุ่มนี้มีนักร้องนำคือ โอมา อิรามะ และ เอลวี ซูแกซิห์ ทั้งเพลงร้องเดี่ยวและร้องคู่ อัลบั้มแรกของพวกเขา โวลุมซาตู, เบอะกาดัง (Volume 01, Begadang - "นอนดึก") ออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 1973 ประกอบด้วยเพลงของโอมา อิรามะ 4 เพลง เพลงของเอลวี 3 เพลง และร้องคู่ 3 เพลง เพลงนี้โอมาได้เปลือยท่อนบนและสวมกางเกงขายาวรัดรูปถือกีตาร์ไฟฟ้า ท่าโพสของเขาแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลดนตรีตะวันตกที่มีต่อเขา ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ยังส่งผลต่อดนตรีของเขาด้วย ในความเห็นของเขาโอร์เกสดังดุตนุ่มนวลเกินไป มีความเป็นอะคูสติกเกินไปและสุภาพเกินไป และไม่สามารถแข่งขันกับกระแสของดนตรีร็อกได้ ดังนั้นดนตรีของโอมาจึงเต็มไปด้วยกีตาร์ไฟฟ้า, คีย์บอร์ด กีตาร์และเบสไฟฟ้า รวมถึงขลุ่ยและกลองแบบดั้งเดิม เขาเคยกล่าวว่าสไตล์การเล่นกีตาร์ของเขาได้รับอิทธิพลมาจากริตชี แบล็กมอร์ แห่งวงดีปเพอร์เพิล นอกจากอิทธิพลจากดนตรีตะวันตกและมลายูแล้ว ดนตรีบอลลีวูดยังมีอิทธิพลในเพลงบางเพลงของวงด้วย
อัลบั้ม เบอะกาดัง ติดอันดับที่ 11 ในรายการ "150 อัลบั้มอินโดนีเซียที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล" โดยนิตยสารโรลลิงสโตนอินโดนีเซีย [6] ซิงเกิลหลัก เบอะกาดัง อยู่ในอันดับที่ 24 ในรายการ "150 เพลงอินโดนีเซียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" ของนิตยสารด้วย [7]
เพลง เตอะราจานะ (Terajana) ที่โด่งดังในปี ค.ศ. 1973 ซึ่งเป็นหนึ่งในเพลงดังดุตที่ดังที่สุดตลอดกาล เป็นเพลงแรกที่ใช้คำว่า ดังดุต ซึ่งเป็นศัพท์เรียกแนวเพลงดังดุตอันมีที่มาจากวงโอร์เกสเมอะลายูและดนตรีบอลลีวู้ด
เมื่อโซเนตาก่อตั้งขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1970 โอมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรห์มา และออกผลงานเพลงและภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จต่อเนื่องยาวนานกว่าทศวรรษ โดยโรห์มาเล่นเป็นตัวเองขณะแสดงเพลงฮิตทั้งหมดของเขา เขาแต่งเพลงคลาสสิกอย่าง เกอะเรอะตา มาลัม (Kereta Malam - "รถไฟกลางคืน") และ กูดา ลุมปิง (Kuda Lumping - "ม้าของเล่น") ซึ่งขับร้องโดยเอลวี ซูแกซิห์
เขาแสดงสดโดยใช้พร็อพประกอบฉากมากมายสำหรับดนตรีร็อกแนวอารีนา ไม่ว่าจะเป็นผู้ชมจำนวนมาก ระบบเสียงที่ทรงพลัง ฉากที่ซับซ้อน พลุไฟ ไฟกะพริบ และเครื่องสร้างควัน นอกจากนี้ เขายังโดดเด่นด้วยการใช้เครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงบางชิ้น เช่น กีตาร์สแตนเบอร์เกอร์ (Steinberger) รุ่นต่าง ๆ กีตาร์รุ่นนี้ได้รับการจัดแสดงในโปสเตอร์ แผ่นพับ ภาพยนตร์ และภาพพินอัพของเขา
ปลายทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา: แนวเพลงทางศาสนา
[แก้]หลังจากทำพิธีฮัจญ์ในปี ค.ศ. 1975 เขาใช้ชื่อโรห์มา อิรามะ ซึ่งเป็นคำย่อของ "ระเด่น หัจญี โอมา อิรามะ" หลังจากการเดินทางแสวงบุญครั้งนี้ เขาใช้แนวทางศีลธรรมทางศาสนาอิสลามที่ชัดเจนมากขึ้น โดยสวมชุดอิสลาม ตัดผมสั้น และขับไล่สมาชิกวงดนตรีที่ดื่มแอลกอฮอล์หรือมีเพศสัมพันธ์นอกการสมรสออกไป นอกจากนี้ เขาตั้งปณิธานว่าดนตรีของเขาควรสอน ไม่ใช่เพียงให้ความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นการอุทิศตนผ่านดนตรีอีกด้วย ดนตรีของเขามีเนื้อหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์นอกการสมรส การทุจริตของรัฐบาล ยาเสพติด และการพนัน [5] ตัวอย่างเช่น เพลง ฮะรอม (Haram) เตือนเรื่องยาเสพติดและการพนัน ในขณะที่เพลง เกอะรามัต (Keramat) ก็ตอกย้ำคำสั่งสอนในศาสนาอิสลามที่ให้เกียรติมารดา
ภาพยนตร์ เปอะจูวะงัน ดัน โดอะ (Perjuangan dan Doa - "การต่อสู้และการภาวนา") ของเขาในปี ค.ศ. 1982 ได้รับการขนานนามว่าเป็นภาพยนตร์เพลงร็อกอิสลามเรื่องแรกของโลก
การเมือง
[แก้]ระหว่างยุคซูฮาร์โต
[แก้]โรห์มา อิรามะ รณรงค์หาเสียงให้กับพรรคสหพัฒนาการ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 ถึง ค.ศ. 1982 และด้วยเหตุนี้ เขาจึงถูกห้ามไม่ให้ออกอากาศทางโทรทัศน์และวิทยุของรัฐโดยระบอบการปกครองของซูฮาร์โต ซึ่งในขณะนั้นกำลังบังคับใช้การแยกศาสนาและรัฐออกจากกัน และเพลงบางเพลงของเขายังถูกห้ามจำหน่ายอีกด้วย ข้อห้ามดังกล่าวถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1988 และเมื่อซูฮาร์โตเองหันมาทางศาสนาอิสลามมากขึ้นในช่วงทศวรรษ 1990 ดังดุตก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระแสสังคม
การเลือกตั้งในประเทศอินโดนีเซีย ค.ศ. 2014
[แก้]ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2012 โรห์มา อิรามะได้ประกาศความตั้งใจที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 2014 สมาคมวาซิยัต อุลามะ (Wasiat Ulama) และสมาคมนักดนตรีมลายูแห่งอินโดนีเซีย (PAMMI) ได้ประกาศสนับสนุนเขา [8]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2013 โรห์มา อิรามะได้รับการเสนอให้เป็นหนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคการตื่นตัวแห่งชาติ ร่วมกับยูซุฟ กัลลา และ เอ็มดี มาห์ฟุด [9]
พรรคอิสลามสันติสงบสุข
[แก้]วันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2015 โรห์มาประกาศตั้งพรรคอิสลามสงบสันติสุข (อินโดนีเซีย: Partai Islam Damai Aman อักษรย่อ Idaman) [10] ความพยายามของพรรคที่จะเข้าร่วมการเลือกตั้งทั่วไปของอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 2019 ล้มเหลว หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งทั่วไป (KPU) ปฏิเสธการลงทะเบียน และความพยายามเบื้องต้นที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงานกำกับดูแลการเลือกตั้งทั่วไป (Bawaslu) ล้มเหลว [11] โดยได้พยายามอุทธรณ์ครั้งที่สองต่อศาลปกครองและถูกตัดสินให้เป็นโมฆะเช่นกัน [12] หลังจากที่พรรคได้ใช้ทุกวิถีทางในการอุทธรณ์และไม่สามารถพลิกคำตัดสินได้ โรห์มาได้ประกาศว่าพรรคได้ควบรวมเข้ากับพรรคอาณัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 [13]
แหล่งอ้างอิง
[แก้]- ↑ "Salinan arsip". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-19. สืบค้นเมื่อ 2022-09-04.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ Maribeth Erb, Priyambudi Sulistiyanto (2009). Deepening Democracy in Indonesia?: Direct Elections for Local Leaders (Pilkada). Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. p.219.
- ↑ "Rhoma Irama". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2010. สืบค้นเมื่อ February 27, 2010.
- ↑ "Rajadangdut.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2007.
- ↑ 5.0 5.1 Andrew N. Weintraub, Dangdut Stories: A Social and Musical History of Indonesia's Most Popular Music, Oxford University Press, 2010; ISBN 978-0-19-539567-9
- ↑ Rolling Stone Special Edition: 150 Greatest Indonesian Albums of All Time (ภาษาอินโดนีเซีย) (32nd ed.). Rolling Stone Indonesia. 2007.
- ↑ Rolling Stone Special Edition: 150 Greatest Indonesian Songs of All Time (ภาษาอินโดนีเซีย) (56th ed.). Rolling Stone Indonesia. 2009.
- ↑ "'Dangdut' king ready for presidency". The Jakarta Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2012. สืบค้นเมื่อ November 14, 2012.
- ↑ "PKB Proposes Rhoma Irama for President". Tempo English Online. December 16, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2014. สืบค้นเมื่อ March 30, 2014.
- ↑ Nabilla Tashandra (October 14, 2015). "Sambil Dangdutan, Rhoma Irama Sampaikan Visi Misi Partai Idaman" (ภาษาอินโดนีเซีย). Kompas.com.
- ↑ Alexander Haryanto (January 15, 2018). "Gugatan Partai Idaman Pimpinan Rhoma Irama Ditolak Bawaslu" (ภาษาอินโดนีเซีย). Tirto.id.
- ↑ Agung DH (April 10, 2018). "Gugatan Partai Idaman Ditolak PTUN, Rhoma Irama Akan Bentuk Koalisi" (ภาษาอินโดนีเซีย). Tirto.id.
- ↑ Abi Sarwanto (May 12, 2018). "Partai Idaman Gabung PAN, Zulkifli Sebut Rhoma Tetap Ketum" (ภาษาอินโดนีเซีย). CNN Indonesia.