โรงเรียนเมธีพิทยา

พิกัด: 16°31′19″N 100°19′28″E / 16.522047°N 100.324522°E / 16.522047; 100.324522
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเมธีพิทยา
Metheepittaya School
ที่ตั้ง
พิกัด16°31′19″N 100°19′28″E / 16.522047°N 100.324522°E / 16.522047; 100.324522
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ธ. (M.T.)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญโลโก ปตฺถมฺภิกา เมตฺตา (เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก)
สถาปนา1 เมษายน พ.ศ. 2499
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1066101004
ผู้อำนวยการนายนิรุตติ ครุฑหลวง
พื้นที่39 ไร่ 1 งาน 35 ตารางวา
สี  เขียว   เหลือง
คำขวัญเรียนดี กีฬาเด่น เน้นสิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมคุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง
เพลงมาร์ชเมธี
เว็บไซต์https://met.ac.th

โรงเรียนเมธีพิทยา (อังกฤษ: Metheepittaya School) เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 ตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนเมธีพิทยา ก่อตั้งขึ้นโดย ท่านเจ้าคุณเมธีธรรมประนาท เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ในบริเวณวัดท่าฬ่อ โดยเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 1 เมษายน พ.ศ. 2532 กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นชอบ รับโอนโรงเรียนเมธีพิทยาเข้าสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 เก็บถาวร 2017-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]

ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]

เสมาธรรมจักรอยู่เหนือลูกโลก โดยมีรังสีเปล่งประกายเจิดจ้า มีความหมายคือ

  • รังสี หมายถึง ความเจริญก้าวหน้า
  • เสมาธรรมจักร หมายถึง การศึกษา
  • ลูกโลก หมายถึง ความรู้ที่กว้างไกล

รวมความว่า "การศึกษาคือความเจริญงอกงามของชีวิต ที่ให้ความรู้กว้างไกล"

อักษรย่อประจำโรงเรียน[แก้]

ม.ธ.

สีประจำโรงเรียน[แก้]

  เขียว   เหลือง : มีความหมายคือ

  • สีเขียว หมายถึง ความเจริญงอกงาม
  • สีเหลือง หมายถึง ความมีคุณธรรม จริยธรรม และเมตตาธรรม

ปรัชญาประจำโรงเรียน[แก้]

โลโก ปตฺถมฺภิกา เมตฺตา แปลว่า เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก

คำขวัญประจำโรงเรียน[แก้]

เรียนดี กีฬาเด่น เน้นสิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมคุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

การจัดการศึกษา[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

16°31′19″N 100°19′28″E / 16.522047°N 100.324522°E / 16.522047; 100.324522{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้