โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี
ที่ตั้ง
แผนที่
เลขที่ 98 หมู่ที่ 10 ทางหลวงท้องถิ่น นบ.ถ 1-0010 ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
พิกัด13°50′52.8″N 100°26′35.3″E / 13.848000°N 100.443139°E / 13.848000; 100.443139พิกัดภูมิศาสตร์: 13°50′52.8″N 100°26′35.3″E / 13.848000°N 100.443139°E / 13.848000; 100.443139
ข้อมูล
ชื่อเดิม • โรงเรียนบางใหญ่
 • โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ บางใหญ่
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญวิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
(บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร)
สถาปนา8 เมษายน พ.ศ. 2502 (64 ปี)
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1012230150
ผู้อำนวยการโรงเรียนธราภรณ์ พรหมคช
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1–6
เพศสหศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน • ไทย
 • อังกฤษ
สี  ชมพู
  น้ำเงิน
เพลง"มาร์ช ต.อ.พ.น."
ต้นไม้ชมพูพันธุ์ทิพย์
เว็บไซต์www.tpn.ac.th

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 10 บ้านวัดประชารังสรรค์ ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบสหศึกษา เป็นหนึ่งใน 282 โรงเรียนมัธยมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้เป็นโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง และเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีจำนวนนักเรียนอยู่ที่ประมาณ 4 พันกว่าคน[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งถือว่าเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและอัตราการสอบเข้าแข่งขันสูงมากที่สุด เป็นอันดับ 1 ในจังหวัดนนทบุรี[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนบางใหญ่ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2502 จากความคิดริเริ่มของว่าที่ร้อยตรี สวัสดิ์ ดวงจันทร์ ศึกษาธิการอำเภอบางใหญ่ในขณะนั้น โดยเปิดสอนครั้งแรกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้หอพระปริยัติธรรมของวัดพิกุลเงิน ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ต่อมาได้ขยายชั้นเรียนเพิ่มเติมจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ใน พ.ศ. 2512 โรงเรียนบางใหญ่ได้เข้าโครงการปรับปรุงโรงเรียนมัธยมชนบท (ค.ม.ช) รุ่นที่ 6 ต่อจากนั้นได้รับงบประมาณสร้างโรงอาหาร หอประชุม และบ้านพักครู เมื่อจำนวนห้องเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง 10 ห้องเรียน ทำให้อาคารเรียนไม่เพียงพอ ประกอบกับไม่สามารถขยับขยายที่ดินได้ นายบูรณะ โตจำเริญ ศึกษาธิการอำเภอบางใหญ่ และนายชุมพล คำดา ครูใหญ่ในขณะนั้น จึงติดต่อขอใช้ที่ดินบริเวณวัดโบสถ์ดอนพรหมซึ่งมีพระราชปรีชามุนี (พร ปวโร) เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี เป็นผู้ดูแล โรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าอาวาส กรรมการวัด และประชาชนเป็นอย่างดี วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2512 เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรีได้ทำหนังสือยินยอมให้ใช้ที่ธรณีสงฆ์วัดโบสถ์ดอนพรหมเป็นที่สร้างอาคารเรียน โรงเรียนบางใหญ่จึงได้ย้ายมาสอนในที่แห่งใหม่เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา

จากนั้น คณะกรรมการบริหารโรงเรียนบางใหญ่ในสมัยที่นายบุญยืน กนกลาวัณย์ เป็นผู้อำนวยการ ได้ร่วมพิจารณาเห็นว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีทัศนคติและค่านิยมในการส่งบุตรหลานให้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง จึงสมัครเข้าเป็นโรงเรียนในเครือของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และได้รับความเห็นชอบจากคุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู และสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาให้เข้าเป็นโรงเรียนในเครือของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยเป็นโรงเรียนน้องของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เพิ่มชื่อเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ บางใหญ่ ใช้อักษรย่อประจำโรงเรียนว่า ต.พ.ญ และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียนตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจะได้ประดับพระเกี้ยว ผู้ชายใช้เข็มพระเกี้ยวทองและผู้หญิงใช้เข็มพระเกี้ยวเงิน

ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ บางใหญ่ เห็นว่าโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จึงดำเนินการเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ใช้อักษรย่อประจำโรงเรียนว่า ต.อ.พ.น ปัจจุบันโรงเรียนมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 35 ไร่ 1 งาน 89.9 ตารางวา[1][2]

ทำเนียบผู้อำนวยการ[แก้]

รายชื่อผู้อำนวยการโรงเรียนบางใหญ่
ลำดับ รายชื่อผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ว่าที่ร้อยตรี สวัสดิ์ ดวงจันทร์ พ.ศ. 2502 (รักษาการ)
2. นายชุมพล คำดา พ.ศ. 2502–2531
3. นายถวิล บุญภักดี พ.ศ. 2531–2535
4. นายบุญยืน กนกลาวัณย์ พ.ศ. 2535–2536
รายชื่อผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ บางใหญ่
ลำดับ รายชื่อผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายบุญยืน กนกลาวัณย์ พ.ศ. 2536–2539
2. นายวิศรุต สนธิชัย พ.ศ. 2539–2541
3. นายสมพงษ์ พลสูงเนิน พ.ศ. 2541–2544
4. นายสน ศรีบุญเรือง พ.ศ. 2544–2546
5. นายทรงวิทย์ นิลเทียน พ.ศ. 2546–2553
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนีย์ สอนตระกูล พ.ศ. 2553–2555
รายชื่อผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี
ลำดับ รายชื่อผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนีย์ สอนตระกูล พ.ศ. 2555–2556
2. นายนรากร ไหลหรั่ง พ.ศ. 2556–2559
3. นายโชคดี วิหคเหิร พ.ศ. 2559–2562
4. นางธราภรณ์ พรหมคช พ.ศ. 2562–2567
5. นายธานัท เดชะศาศวัต พ.ศ. 2568

คณะสี[แก้]

  • คณะราชพฤกษ์ (สีเหลือง)
  • คณะยูงทอง (สีแสด)
  • คณะอินทนิล (สีม่วง)
  • คณะจามจุรี (สีฟ้า)
  • คณะการเวก (สีเขียว)

เกียรติประวัติ[แก้]

  • ปีการศึกษา 2535 – โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง
  • ปีการศึกษา 2537 – โรงเรียนได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่นของกรมสามัญศึกษา
  • ปีการศึกษา 2538 – โรงเรียนได้รับรางวัลห้องสมุดที่มีผลงานดีเด่นจากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ปีการศึกษา 2544 – โรงเรียนปฏิรูปการศึกษาดีเด่น โรงเรียนเครือข่ายแกนนำการใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สหวิทยาเขตนราภินนท์
  • ปีการศึกษา 2558 – ได้รับเกียรติบัตรเป็นสถานศึกษาวิชาทหารที่ให้ความร่วมมือดีเด่น และได้รับเกียรติบัตรเป็นสถานศึกษาวิชาทหารที่ส่งเสริมการฝึกวิชาทหารเป็นอย่างดียิ่ง จากศูนย์ฝึกกำลังสำรอง วิภาวดี กรุงเทพมหานคร
  • ปีการศึกษา 2560 – โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.tpn.ac.th/document/information/information58.pdf เก็บถาวร 2018-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สารสนเทศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ปีการศึกษา 2558
  2. http://www.tpn.ac.th/document/information/information59.pdf เก็บถาวร 2018-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สารสนเทศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ปีการศึกษา 2559
  3. http://www.obec.go.th/sites/obec.go.th/files/document/attachment/95880/1092305.pdf เก็บถาวร 2018-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รายชื่อนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษาพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2560

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]