โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
Hatyaiwittayalai 2 School
ข้อมูล
ชื่ออื่นญ.ว.๒
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสุวิชาโน ภว โหติ ผู้รู้ดีคือผู้เจริญ
สถาปนา30 มีนาคม 2539
ผู้ก่อตั้งนายจุ๊
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สงขลา สตูล (เขต ๑๖)
ผู้อำนวยการนายสมโชค สิงห์เกลี้ยง
ระดับปีที่จัดการศึกษารับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4
วิทยาเขตโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ ฝ่ายมัธยมศึกษาตอนปลาย
สีแดง-ฟ้า
เพลงมาร์ชหาดใหญ่วิทยาลัย ๒
ต้นไม้อินทนิล
เว็บไซต์http://www.yorwor2.ac.th

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ (ย่อ: ญ.ว.๒) คือโรงเรียนสาขาของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย แห่งที่ 2 อดีตเป็นสาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยประจำจังหวัดสงขลา และเป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา ของจังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2539 เดิมมีชื่อว่า "ศูนย์เกษตรกรรมโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย (ก.ษ.ญ.ว.)" และ "สาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย" มีนายธรรมนูญ วิสัยจร เป็นครูใหญ่คนแรก

ปัจจุบันโรงเรียนจัดการศึกษาเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบในระดับมัธยมศึกษารูปแบบสหศึกษา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษมีจำนวนนักเรียนปัจจุบัน (พ.ศ. 2564) ประมาณ 3,008 คน และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประมาณ 169 คน มีเนื้อที่ 71 ไร่ 3 งาน มีอาณาเขตติดกับ สนามกีฬาเมืองหลักภาคใต้ และสวนสาธารณะเทศบาลเมืองบ้านพรุ ปัจจุบัน ว่าที่ร้อยตรีโกศล สุวรรณมณี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

โดยในวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จทรงเปิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น TO BE NUMBER ONE FRIEND CORNER และทอดพระเนตรกิจกรรมของสมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วัน โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ นับเป็นที่ปลื้มปิติแก่บุคลากรโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ เป็นอย่างยิ่ง

ประวัติ[แก้]

จากหาดใหญ่วิทยาลัย[แก้]

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ ได้รับการประกาศจัดตั้ง จากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการเมื่อ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2539 มีชื่อเดิมว่าสาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เพื่อให้เป็นสาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ทั้งนี้ นายธรรมนูญ วิสัยจร อดีตผู้อำนวยการ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ได้จัดตั้งเป็นศูนย์วิชาเกษตรกรรม และเป็น 1 ใน 2 ของสาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยคือ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยาและโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ ซึ่งต่อมา นายวิรัช บุญนำ รับนโยบายจากกรมสามัญศึกษา ประกาศจัดตั้งเป็นสาขา โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย โดยระยะแรกชื่อว่า "โรงเรียนสาขาหาดใหญ่วิทยาลัย" มีเนื้อที่ 71 ไร่ 3 งาน อยู่ในเขตหมู่ 3 และหมู่ 5 ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย แห่งที่ ๒

ปีการศึกษา 2539 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งสาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยเป็นโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ โดยมี นายวิลาพ อุทัยรัตน์ เป็นผู้บริหารโรงเรียนย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ ท่านได้ดำเนินการจัดตั้ง โรงเรียนเป็นเอกเทศ ขึ้น รวมทั้งได้วางแผน และ ขออนุมัติก่อสร้างอาคารต่างๆ

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒ เริ่มรับนักเรียนชั้น ม.1 จำนวน 12 ห้องเรียน ในปีการศึกษา 2539 โดยอาศัยเรียนที่ ศูนย์เกษตรกรรม โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีต่อมา จึงได้ย้ายมาเรียนในสถานที่ปัจจุบันในปีเดียวกันนี้ (1 เมษายน 2539)

กรมสามัญศึกษาได้ประกาศ เปลียนชื่อสาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เป็น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ และได้ร่วมใช้ตราตรีจักรเป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน เช่นเดียวกับ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย และมีปรัชญาของโรงเรียนคือ "ความรู้เลิศ กีฬานำ คุณธรรมเยี่ยม"

สู่หาดใหญ่วิทยาลัย ๒[แก้]

หาดใหญ่วิทยาลัย ๒ หรือ ญ.ว.๒ ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2539 ซึ่ง แยกสาขามาจาก หาดใหญ่วิทยาลัย หรือ ญ.ว. ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ เนื่อที่ 74 ไร่ ติดกับการกีฬาแห่งประเทศไทยภาคใต้ อดีตเป็นศูนย์วิชาเกษตรกรรม ญ.ว. จนปัจจุบัน สถาปณาเอกเทศเป็นหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ มีนักเรียนประมาณ 3,100 คน จัดเป็นโรงเรียนที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเทียบกับจำนวนและสิ่งอื่น ๆ กับโรงเรียนในจังหวัด จนได้รับสมญาคือ ญ.ว. แห่งใหม่ สภาพของโรงเรียนเมื่อแรกก่อตั้ง เป็นพื้นที่พรุค้างคาวซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำแปลงใหญ่มีเนื้อที่ 471 ไร่ มีแหล่งน้ำในพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ โดยเป็นเนื้อที่ของโรงเรียนจำนวน74ไร่3งาน ไม่มีถนนหรือทางเข้า ทำให้การก่อสร้างอาคารเรียนประสบความลำบาก แต่ก็สำเร็จลงในเวลา 2 ปีด้วยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของบุคคลหลายฝ่ายทั้งคณะผู้บุกเบิก คณาจารย์ของโรงเรียนเอง และผู้นำชุมชนใกล้เคียง โดยอาจารย์มนัส อัลภาส เป็นบุคคลแรก พร้อมกับผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ในขณะนั้นเป็นเป็นผู้ประสานงานในการจัดตั้งเพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของเยาวชนในเขตตำบลบ้านพรุ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นตำบลบ้านพรุที่ยังไม่มีโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบอำเภอหาดใหญ่เป็นอำเภอขนาดใหญ่ และประชากรหนาแน่นมากและโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ซึ่งเนื้อที่14 ไร่ 2 งาน ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากผู้ปกครองของนักเรียนเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี ประกอบกับสถานที่ของโรงเรียนมีเนื้อที่จำกัดไม่สามารถขยายได้อีกจึงประสบปัญหาเรื่องการรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นกรมสามัญศึกษาจึงมี-นโยบายที่จะเปิดโรงเรียนสาขาสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นที่นิยมและต้องการของผู้ปกครอง โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย มีแผนการจัดชั้นเรียนเต็มรูปแบบ รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 12 ห้องเรียน ต้องรับเพิ่มเป็น 14 ห้องเรียน และมัธยมศึกษาปีที่4 จำนวน20ห้องเรียน เมื่อประสบปัญหาในเรื่องสถานที่ กรมสามัญศึกษาจึงต้องหาสถานที่ เพื่อก่อสร้างโรงเรียนสาขาไว้รองรับนักเรียน โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จึงเปิดสอนหลักสูตรวิชาเกษตรกรรม และเป็นศูนย์เกษตรกรรม สาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนสหศึกษา ชื่อ "โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย แห่งที่ ๒" สังกัดกรมสามัญศึกษา โดยมอบให้โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เป็นพี่เลี้ยง และให้นายธรรมนูญ วิสัยจร ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยโรงเรียนไปพลางก่อน

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ เป็นโรงเรียนในเครือหาดใหญ่วิทยาลัยแห่งที่ 2 สืบเนื่องจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ได้รับความนิยม และมีนักเรียนเข้าสมัครเรียนเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี ด้วยกรมสามัญศึกษามีนโยบายที่จะให้จัดตั้งโรงเรียนชานเมืองเพื่อเป็นการรองรับนักเรียนรอบนอก ที่จะเข้าไปเรียนในตัวอำเภอหาดใหญ่ เช่นเดียวกับโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ จัดตั้งขึ้นในปี พศ 2539 เป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษา ในอดีตเป็นศูนย์เกษตรกรรมหาดใหญ่วิทยาลัย (กษญว) พัฒนาการจนขยายเป็นสาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย และจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนโรงเรียนแยกตัวออกเป็นเอกเทศ โดยได้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์เทศบาลเมืองบ้านพรุแบ่งออกเป็น 3 บริเวณ คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย (สนามกีฬาเมืองหลักภาคใต้) สวนสาธารณะเทศบาลเมืองบ้านพรุ และที่ตั้งโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย2 และได้รับการสถาปนาชื่อโรงเรียนตามชื่อ หาดใหญ่วิทยาลัย อันเป็นโรงเรียนผู้พี่ และมีผู้ดูแลระยะเริ่มแรกคือ นายธรรมนูญ วิสัยจร จนสรุปพัฒนาการได้ดังนี้

  • ปีการศึกษา 2524 ได้จัดตั้งเป็นศูนย์วิชาเกษตรกรรม โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย โดยมี นายธรรมนูญ วิสัยจร เป็นผู้อำนวยการ
  • ปีการศึกษา 2533 นายวิรัช บุญนำ รับนโยบายจากกรมสามัญศึกษา ประกาศจัดตั้งเป็นสาขา โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
  • ปีการศึกษา 2539 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งสาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เป็นโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ โดยมี นายวิลาพ อุทัยรัตน์ เป็นผู้บริหารโรงเรียน
  • ปีการศึกษา 2542-2547 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ มีนักเรียนจำนวน 2,551 คน ครู-อาจารย์ จำนวน 120 คน โดยมีนางบุปผา มณีพรหม เป็นผู้อำนวยการ
  • ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ มีนักเรียนจำนวน 3,078 คน ครู-อาจารย์ จำนวน 151 คน โดยมีนางสาวผ่องศรี เรืองดิษฐ์ เป็นผู้อำนวยการ
  • ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ มีนักเรียนจำนวน 3,113 คน ครู-อาจารย์ จำนวน 152 คน โดยมี ดร.พิมพ์มาส รังสรรค์สฤษดิ์ เป็นผู้อำนวยการ คนปัจจุบัน
  • ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน ประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่ ปี 2550 ก้าวสู่ปีที่12 พร้อมแล้วสำหรับการก้าวไปสู่โรงเรียน ICT

ปัจจุบันโรงเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒ เปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปัจจุบันนี้โรงเรียนมีรุ่นนักเรียนที่จบการศึกษาแล้วจำนวน 14 รุ่น

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

ก่อตั้งโรงเรียน[แก้]

อาจารย์มนัส อัลภาส เป็นบุคคลแรกที่ได้ไปสำรวจพบแหล่งที่เรียนใหม่ ที่ตำบลบ้านพรุ บริเวณพรุค้างคาวซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำแปลงใหญ่มีเนื้อที่ 471 ไร่ มีแหล่งน้ำในพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ จึงมีการจัดตั้ง ศูนย์เกษตรกรรม สาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย และพัฒนาการมาเป็น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒

อาคารแรก[แก้]

อาคารเรียนถาวรอาคารแรกคือ อาคารเจิดตรีจักร เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น ห้อมล้อม ด้วยอาคารชั่วคราว ที่ไม่มีฝากัน สมัยนั้นโรงเรียนมีปัญหาเรื่องห้องเรียนเป็นอย่างมาก

ญ.ว.อักษรย่อของหาดใหญ่วิทยาลัย ๒[แก้]

หลังจากมีการจัดตั้งโรงเรียนอย่างเป็นถาวร คณาจารย์รุ่นแรก จึงมีการบวงสรวง พระภูมิเจ้าที่ สักการะคณูประการ ต่อโรงเรียนแล้ว ตามธรรมเนียมของโรงเรียนที่จัดตั้งที่ใช้ชื่อร่วมกัน จึงใช้อักษรย่อ ว่า ญ.ว. เพิ่ม ๒ ต่อท้าย เพื่อรำลึกต่อโรงเรียนผู้สร้าง

เสาธงมาตรฐานโรงเรียน[แก้]

ปีการศึกษา 2544 เป็นปีที่โรงเรียน เพิ่มชั้นมากขึ้น และจำนวนครู บุคลากรมากขึ้นตามกัน ประกอบกับเสาธง เก่าโรงเรียน เป็นลักษณะติดกับอาคารเจิดตรีจักร และบริเวณเข้าแถวทำกิจกรรม แคบ โรงเรียนจึงได้ทำการย้ายสนามเข้าแถวมายังฝั่งอาคารกิตตระการ พร้อมกันสร้าง เสาธงมาตรฐานแบบพิเศษ

สร้างพระพิฆเนศวร[แก้]

พระพิฆเนศวร เทพผู้เป็นเลิศทางศิลปวิทยาการทุกแขนง เป็นพระผู้เแทนของสถาบันครู ตามสัจจะปฏิญาณที่ว่า "ผู้ใดบูชาครู เป็นมงคลแก่บุคคลนั้น" ซึ่งประดิษฐ์ฐาน บริเวณด้านหน้าหอประชุมภัคพิพิธ ด้านขวามือ

เพิ่มชั้นม.ปลาย[แก้]

โรงเรียนเปิดการเรียนการสอน มาช่วงหนึ่งประกอบนักเรียนเพิ่มขึ้นหลังรวดเร็ว จึงเปิดทำการสอน ชั้นมัธยมปลายรุ่นแรก โดยรับนักเรียนชั้นม.3 เดิม โดยเปิดสอนแผนกวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ แผนกศิลป์-คณิตศาสตร์ 2 ห้องเรียน

แผนกศิลป์-ฝรั่งเศส รุ่นแรก[แก้]

หลังจากจัดการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในรุ่นที่4 โรงเรียนจึงเปิดสอนแผนกศิลป์ภาษา เป็นรุ่นแรก ในปีการศึกษา2544 โดยมีอาจารย์มนูญ ละอองจิต เป็นครูผู้สอนท่านแรก

สร้างชื่อเสียง ญ.ว. ๒[แก้]

ใน พ.ศ. 2544 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ เป็นโรงเรียนที่มีการสอบแข่งขันสูง โรงเรียนก้าวสู่ระดับภูมิภาค ทั้งวิชาการ และการกีฬา นักเรียนจบการศึกษาแต่ละปี สามารถสอบเช้า ระดับอุดมศึกษา จนโรงเรียน จัดการเรียนการสอน ตามหลักมาตรฐาน ร่วมกับโรงเรียนส่วนกลาง

ยุคเรียนดีกีฬาเด่น[แก้]

ปีการศึกษา 2545 หลังจากโรงเรียน เปิดสอนมา6ปี ผลิตนักเรียนไป6รุ่น ประกอบการที่นักเรียนมีความขยันมั่นเพียร ทำให้วิชาการและกีฬาโรงเรียน อยู่ในอันดับต้นๆของหวัดสงขลา และการฝึกฝนด้านต่างๆ ทำให้ค่านิยมของนักเรียน มีการพัฒนาอย่างเด่นชัด

สร้างพระพุทธรูป[แก้]

พระพุทธรูปที่สร้างขึ้น เพื่อความเป็นศิริมงคล และเคารพสักการะ สร้างในวาระครบรอบ10ปีแห่งการก่อตั้งโรงเรียน ประดิษฐฐาน ณ.บริเวณ ด้านหน้าหอประชุม ขวามือ

สร้างป้ายโรงเรียน ประตูที่2[แก้]

สร้างป้ายและประตูทางเข้าโรงเรียน เป็นป้ายที่2 ด้านทางเข้า เพื่อความสวยงามโรงเรียนและ ลดปัญหาด้านจราจร ด้านประตูเดิม เป็นป้ายลักษณะ สีเหลี่ยม อักษรตัวใหญ่

รางวัลเกียรติยศ[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานกีฬาตระกร้อ จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
  • รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • รางวัลยอดเยื่ยมส่งเริมการอ่าน จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
  • รางวัลเกียรติบัตรเยาวชนดีเด่น
  • รางวัลห้องสมุดเฉลิมพระเกรียติกาญจณาภิเษก
  • โรงเรียนผู้นำการเปลื่ยนแปลง
  • โรงเรียนดีเด่นด้านการช่วยเหลือนักเรียนเป็นระบบ
  • รางวัลดีเด่นด้านการสื่อสารภาษาไทย
  • ปีการศึกษา 2548-2550 มีนักเรียนเอเอฟเอสจำนวน 5 คน
  • นักกีฬาตระกร้อทีมชาติไทยจำนวน 7 คน
  • รางวัลกีฑาเหรียญทองโอลิมปิก
  • รางวัลชนะเลิศ 2 เหรียญทอง
  • โรงเรียนแกนนำเยาวชนพลยุธธรรม ตามโครงการเยาวชนพลยุธิธรรม
  • โรงเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมและจริยธรรม ระดับประเทศ
  • รางวัลสถานศึกษาพระราชทานปีการศึกษา พ.ศ 2550 ขนาดใหญ่
  • รางวัลสถานศึกษาพระราชทานปีการศึกษา พ.ศ 2555 ขนาดใหญ่

พื้นที่ของสถานศึกษา[แก้]

อาคารและสถานที่ภายในบริเวณโรงเรียน สถานที่ตั้งของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒ ประกอบด้วยบริเวณโรงเรียน ตั้งอยู่เลขที่80 หมู่ 3 และหมู่ 5 ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา บนพื้นที่ 71 ไร่ 3 งาน 33 ตารางวา ของกรมธนารักษ์ โดยมีอาณาบริเวณทิศเหนือ จดการกีฬาแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ ทิศใต้ จดสวนสาธารณะเทศบาลเมืองบ้านพรุ ทิศตะวันออก จดถนนที่ดินเอกชน และทิศตะวันตก จดที่ดินสวนยางพารา

สำหรับบริเวณโรงเรียนนั้น ตั้งอยู่เขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ บริเวณชานเมืองรอบนอกของอำเภอหาดใหญ่ รายล้อมด้วยสถานที่สำคัญหลายแห่ง คือ สวนสาธารณเทศบาลเมืองบ้านพรุ การกีฬาแห่งประเทศไทย ภาคใต้ ในส่วนอาคารต่างๆ ของโรงเรียนนั้น ประกอบด้วยอาคารเรียน8หลัง และอาคารประกอบแปดหลัง อาคารต่างๆ มีดังต่อไปนี้

การจัดการศึกษา[แก้]

ประเภท สหศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบัน โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ มีจำนวน 79 ห้องเรียน นักเรียนประมาณ 2,848 คน ครูจำนวน 160 คน

แผนการจัดชั้นเรียน[แก้]

มัธยมศึกษาตอนต้น 14-14-14 มัยมศึกษาตอนปลาย 10-10-10

อาคารต่าง ๆ[แก้]

  • อาคารเรียน :กลุ่มอาคารเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒เป็นอาคารเรียนลักษณะกลุ่มอาคารทรงไทย แบบพิเศษ ขนาด4ชั้น และ5ชั้นพิเศษ
  • หอประชุม  : เป็นอาคาร2ชั้น ชั้น แบบพิเศษ
  • เรือนเกษตร : เป็นอาคารที่ใช้เรียนในวิชาเกษตร
  • เรือนพลานามัย : เป็นอาคารที่ใช้เรียนวิชาพลานามัยและศิลปะ

ลานกิจกรรม[แก้]

  • สนามฟุตบอล : เป็นสนามหญ้าใช้สำหรับทำกิจกรรมรวมสำหรับโรงเรียนใช้เป็นที่ทำกิจกรรมได้ถึง5,000คน
  • ลานรวมใจ : อยู่ด้านหน้าของอาคารเรียน5 ชั้นใช้ประะกอบพิธีการหน้าเสาธง และยังเป็นลานกีฬาอีกด้วย
  • ลานกีฬาแดง-ฟ้า : อ่ยู่ระหว่างหอประชุมกับสนามบอล แบ่งเป็น2ส่วน คือ สนามบาสเกตบอล และสนามวอลเลย์บอล

สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ[แก้]

  • สวนพฤกษ์ศาสตร์โรงเรียน
  • สวนวรรณพฤกษ์-วรรณคดี

อาคารเรียน 1 เจิดตรีจักร[แก้]

  • ชั้นที่ 1 สำนักงานกลุ่มบริหารทั่วไป ที่ 2 (กลุ่มงานส่งเสริมและสัมพันธ์ชุมชน) สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ห้องปฏิบัติการดนตรีสากล ห้องปฏิบัติการทัศนศิลป์ และห้องปฏิบัติการดนตรีไทย
  • ชั้นที่ 2 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่ 1 ห้องเรียน และห้องเรียนโครงการ SMP
  • ชั้นที่ 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่ 2 ห้องเรียน และห้องเรียนโครงการ SMP
  • ชั้นที่ 4 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่ 3 ห้องเรียน และห้องเรียนโครงการ SMP

หอประชุมภัคพิพิธ[แก้]

  • ชั้นที่ 1 ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น To Be Number One Friend Corner สำนักงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ห้องวงโยธวาธิต ห้องละหมาด
  • ชั้นที่ 2 ห้องประชุมกลาง

อาคารเรียน 2 กิตระการ[แก้]

  • ชั้นที่ 1 ห้องเกียรติยศ สำนักงานกลุ่มบริหารบุคคล ที่ 1 (กลุ่มงานกิจการนักเรียน) สำนักงานกลุ่มบริหารทั่วไป ที่ 1 (กลุ่มงานอาคารสถานที่) สำนักงานประชาสัมพันธ์
  • ชั้นที่ 2 สำนักงานผู้อำนวยการ สำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ สำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ ที่ 1 (กลุ่มงานงบประมาณ) สำนักงานกลุ่มบริหารบุคคล ที่ 2 (กลุ่มงานครูและบุคลากร) สำนักงานปฏิรูปการเรียนรู้ สำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ ที่ 2 (กลุ่มงานนโนบายและแผน)
  • ชั้นที่ 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ห้อง Cyber Zone ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ไทยเข้มแข็ง (SP 2) และห้องเรียน
  • ชั้นที่ 4 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และห้องเรียน
  • ชั้นที่ 5 ห้องเรียนโครงการ Cyber Classroom ห้องเรียนโครงการ SMP ห้องเรียนภาษาฝรั่งเศส

โรงธารศรัทธา[แก้]

โรงอาหารกลาง ร้านค้า 17 ร้าน ห้องรับประทานอาหารครูและบุคลากร สำนักงานโภชนาการและอนามัยโรงเรียน และสำนักงานคณะกรรมการนักเรียน

อาคารเรียน 3 ปัญจาสิริ[แก้]

  • ชั้นที่ 1 สำนักงานกลุ่มงานส่งเสริมวิชากา(กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) สำนักงานแนะแนว สำนักงานพยาบาล
  • ชั้นที่ 2 ห้องสมุดเฉลิมพระเกรียติกาญจนาภิเษก ห้อง Knowledge Assets ห้อง TOT IT SCHOOL ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
  • ชั้นที่ 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ศูนย์สื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และห้องเรียน
  • ชั้นที่ 4 ห้องเรียน

อาคารเรียน 4 ปีตินุสรณ์[แก้]

  • ชั้นที่ 1 โถงกิจกรรม และห้องปฏิบัติการพลศึกษา
  • ชั้นที่ 2 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และห้องเรียน
  • ชั้นที่ 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ห้องโฮมเธียร์เตอร์ ห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้ประชาคมอาเซียน ห้อง ฯพณฯ ชวน หลีกภัย และห้องเรียน
  • ชั้นที่ 4 ห้องเรียน

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียน[แก้]

  • 1. นายวิลาพ อุทัยรัตน์ (ผอ. 9) ผู้อำนวยการคนที่ 1 ระยะที่ที่เป็นผู้อำนวยการของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ คือ ปีการศึกษา 2539-2542 (ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว)
  • 2. นางบุปผา มณีพรหม (ผอ. 9) ผู้อำนวยการคนที่ 2 ระยะเวลาที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ คือ ปีการศึกษา 2542-2547 (ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว)
  • 3. นางสาวผ่องศรี เรืองดิษฐ์ (ผอ. 9) ผู้อำนวยการคนที่ 3 ระยะเวลาที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ คือ ปีการศึกษา 2547-2549 (ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว)
  • 4. ดร.พิมพ์มาส รังสรรค์สฤษดิ์ (ผอ. เชี่ยวชาญ) ผู้อำนวยการคนที่ 4 ระยะเวลาที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ คือ ปีการศึกษา 2549-2554 (ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว)
  • 5. นายก่อศักดิ์ ศรีน้อย (ผอ. ชำนาญการพิเศษ) ผู้อำนวยการคนที่ 5 ระยะเวลาที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ คือ ปีการศึกษา 2554-2559 (ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว)
  • 6. ดร.ถนอมทรัพย์ นูนน้อย (ผอ. เชี่ยวชาญ) ผู้อำนวยการคนที่ 6 เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 - 30 ตุลาคม 2561 (ปัจจุบัน ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย)
  • 7. ว่าที่ร้อยตรีโกศล สุวรรณมณี (ผอ.ชำนาญการพิเศษ) ผู้อำนวยการคนที่ 7 เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 - ปัจจุบัน

เพลงประจำโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒[แก้]

เพลงประจำโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ ประพันธ์โดยท่านผู้อำนวยการบุปผา มณีพรหม ผู้เรียบเรียงและให้ทำนองคือ อาจารย์วีระ รักงาม ในอดีตใช้เพลงร่วมเช่นเดียวกัน โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย หลังจากโรงเรียนแยกตัวออกเป็น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ ซึ่งขับร้องโดยคณาจารย์รุ่นแรกของโรงเรียน หลังจากนั้น มีการเปลื่ยนผู้ขับร้องไปตามเวลา ซึ่งบทเพลง จะเปิดในช่วงเช้าก่อนเวลาเข้าแถวเคารพธงชาติ 15 นาที และเปิดในงานพิธีการสำคัญ

กีฬาประเพณี ตรีจักรเกมส์[แก้]

การแข่งขันกีฬาประเพณีตรีจักรเกมส์นั้น เป็นความคิดริเริ่มของอาจารย์บุปผา มณีพรหม ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ กับอาจารย์สงบ มณีพรหม ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ทั้งสองท่านได้มีแนวคิดในการสร้างผูกพันความสามัคคีระหว่างโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง] ในอันที่จะร่วมกันจัดการแข่งขันกีฬาขึ้นเพื่อเป็นการเชื่อมความสามัคคีของครูอาจารย์ และนักเรียนทุกฝ่าย ซึ่งอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ได้มีความเห็นพ้องกันในความคิดอันนี้ โดยเวียนกันเป็นเจ้าภาพไปจนครบ สถานที่แข่งขันคือ สนามกีฬาจิระนคร โดยปัจจุบันได้ยกเลิกการจัดแล้ว

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]