โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร
Sriboonruang Wittayakarn School
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร.svg
ที่ตั้ง
Map
หมู่ที่ 13 บ้านสันติสุข ตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู 39180 ประเทศไทย
ข้อมูล
ชื่ออื่นศ.ร.ว / SRW
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญปญฺญาย ชีวเต รุจฺจติ
(ชีวิตจะรุ่งเรืองได้ด้วยปัญญา)
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
สถาปนา17 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 (48 ปี)
ผู้ก่อตั้งกรมวิสามัญศึกษา
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1039760338
ผู้อำนวยการนายณัฏฐ์ณชัย เบี้ยวเก็บ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
จำนวนนักเรียน2,869 คน
(ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2565)[1]
ภาษาภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ จีนภาษาจีน
สี████ ฟ้า-ขาว
เพลงมาร์ชโรงเรียนศรีบุญเรื่องวิทยาคาร
เว็บไซต์http://www.srw.ac.th/

โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร (อังกฤษ: Sribunruang Wittayakarn School; อักษรย่อ: ศ.ร.ว. — SRW) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดหนองบัวลำภู เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปัจจุบันโรงเรียนตั้งอยู่หมู่ 13 บ้านสันติสุข ตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู (เขต 19 เดิม) เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สหวิทยาเขตบัวบาน[2] นอกจากนี้ยังเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของจังหวัดหนองบัวลำภูด้วย

ประวัติ[แก้]

นับย้อนหลังเป็นเวลากว่า 48 ปี นักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาส่วนใหญ่ของอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ไม่มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนในระดับมัธยมศึกษา สาเหตุประการหนึ่งมาจากโรงเรียนมัธยมศึกษานั้นตั้งอยู่ไกล ไม่สะดวกต่อการเดินทาง จนถึงเมื่อปีพุทธศักราช 2512 ได้มีการวางแผนเพื่อที่จะดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำ อำเภอศรีบุญเรืองขึ้น แต่ทว่าโครงการนี้ต้องหยุดชะงักไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกระทั่งปีพุทธศักราช 2516 ทางอำเภอจึงได้นำข้อมูลต่างๆ เสนอกรมสามัญศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้พิจารณาอนุมัติกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติ ต่อมาโรงเรียนก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 โดยกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี โดยให้ชื่อว่า “โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร” สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มเปิดรับนักเรียนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2517 โดยในปีแรกได้เปิดทำการสอน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนมาสมัคร จำนวน 161 คน โรงเรียนรับไว้ 90 คน และต่อมาย้ายเข้ามาอีก 2 คน รวมเป็น 93 คน โดยทางโรงเรียนได้ยืมครูผู้สอนและผู้บริหารจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 6 คน มีนายเดช เสนบัว รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และได้ยืมอาคารเรียนจากโรงเรียนเมืองใหม่วิทยาเป็นที่เรียน ต่อมาจังหวัดได้บรรจุแต่งตั้ง นายสำเริง โยธาวิจิตร มาดำรงตำแหน่งอีกเป็นคนที่สอง และเมื่อปลายเดือนเมษายน 2518 กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้ง นายรังสฤษฏ์ ศรีวิชัย มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่[3]

ปัจจุบัน โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร ตั้งอยู่หมู่ที่ 13 บ้านสันติสุข ตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู 39180 ประเทศไทย มีอาคารเรียน 5 หลัง อาคารอเนกประสงค์ 2 หลัง อาคารโรงอาหาร 1 หลัง หอประชุม 1 หลัง มีนักเรียน 2,644 คน [4] คน จัดเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มีผู้อำนวยการโรงเรียนคือนายณัฏฐ์ณชัย เบี้ยวเก็บ นอกจากนี้โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคารยังเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนที่มีห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของสสวท. และสอวน. และยังเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาของอำเภอศรีบุญเรืองด้วย

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดแผนการจัดชั้นเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 15:13:13/12:12:12รวม 77 ห้องเรียน มีครูและบุคลากรทางการศึกษารวม 141 คน [5] นักเรียน 2,869 คน [6] มีอาคารเรียนถาวร 6 หลัง สถานภาพสำคัญที่หน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

ปัจจุบัน โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคารเป็น 1 ในโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ร่วมกับ โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร คำแสนวิทยาสรรค์ นาวังศึกษาวิช และสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์ นอกจากนี้โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคารยังเป็น 1 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของจังหวัดหนองบัวลำภู ที่เข้าร่วมในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท. ร่วมกับโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคารมีแผนการเรียนให้นักเรียนเลือกตามความถนัดและความชอบ โดยยึดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่

มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - ม.3)
แผนการเรียนพิเศษ ห้องเรียน จำนวนที่รับ
Smart science (SC) ชั้นละ1ห้องเรียน โครงการของสสวท. ห้องเรียนละ40คน
English for Integrated Studies(EIS) ชั้นละ1ห้องเรียน โครงการของ สสวท. ห้องเรียนละ40คน
ทั่วไป 10 ห้องเรียน จำนวนที่รับ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
6 ห้องเรียน โครงการของ โรงเรียน 210 คน
ภาษา-เทคโนโลยี
2 ห้องเรียน โครงการของ โรงเรียน 70 คน
สังคมศึกษา-การงานอาชีพ
1 ห้องเรียน โครงการของ โรงเรียน 35 คน
ศิลปะ-พละศึกษา
1 ห้องเรียน โครงการของ โรงเรียน 35 คน
รวม 12 ห้องเรียน 420 คน
มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - ม.6)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ชื่อย่อ จำนวนห้องเรียน หมายเหตุ จำนวนที่รับ
วิทยาศาสตร์ วิทย์-คณิต 8 ห้องเรียน 240 คน
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ EIS 1 ห้องเรียน โครงการของ สสวท 30 คน
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ Gifted 1 ห้องเรียน โครงการของ สสวท 30 คน
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทย์-คณิต 6 ห้องเรียน โครงการของ โรงเรียน 180 คน
ศิลป์ ศิลป์ 4 ห้องเรียน 100 คน
ภาษาศาสตร์ ศิลป์-ภาษา 2 ห้องเรียน โครงการของ โรงเรียน 50 คน
กีฬาศึกษา ศิลป์-กีฬา 1 ห้องเรียน โครงการของ โรงเรียน 25 คน
เทคโนโลยี ศิลป์-เทคโน 1 ห้องเรียน โครงการของ โรงเรียน 25 คน
รวม 12 ห้องเรียน 340 คน

แผนการเรียนพิเศษของโรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร[แก้]

  • โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ(English for Integrated Studies Classroom) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Smart science) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสตูรสสวท. (Science Math Technology and Environment) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

กิจกรรมโรงเรียน[แก้]

กีฬาสี ดาวเรืองเกมส์[แก้]

โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร จะมีการจัดการแข่งขันกีฬาภายในหรือกีฬาสีในช่วงต้นเดือนพฤษจิกายนของทุกปี ปีละ 3 วัน โดยแบ่งคณะสีทั้งหมด 6 คณะสีคือ

  •      คณะสีชมพู ( แพรวชมพู )
  •      คณะสีแดง ( แสงสุริยา )
  •      คณะสีม่วง ( ทับทิมทอง )
  •      คณะสีเขียว ( เขียวมรกต )
  •      คณะสีเหลือง ( ทุ่งทานตะวัน )
  •      คณะสีแสด ( ศรนารายณ์ )

โดยมีเป้าหมายคือ ให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างการแข็งแรงตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมกีฬาภายใน ซึ่งในปีปัจจุบันได้จัดมาแล้วกว่า49 ครั้ง

รายนามผู้บริหารสถานศึกษา[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายเดช แสนบัว พ.ศ. 2517 - 2518
2 นายรังสฤษฎ์ ศรีวิชัย พ.ศ. 2518 - 2519
3 นายณรงค์ ชาติภรต พ.ศ. 2519 - 2529
4 นางยุพิน สุวรรณนีย์ พ.ศ. 2529 - 2530
5 นายประจวบ ม่วงใจเพชร พ.ศ. 2530 - 2535
6 นายอิสระ แพนศรี พ.ศ. 2535 - 2546
7 นายประสิทธิ์ ศรีเชียงสา พ.ศ. 2546 - 2550
8 นายวีระ พรหมภักดี พ.ศ. 2550 - 2552
9 นายธวัช มูลเมือง พ.ศ. 2553 - 2554
10 นางวิลาวัณย์ พรหมโส พ.ศ. 2554 - 2557
11 ดร.เล็ก ขมิ้นเขียว พ.ศ. 2557 - 2561
12 ดร.จิรศักดิ์ ชัยชนะทรัพย์ พ.ศ. 2561 - 2561
13 ดร.รังสรรค์ ศึกรักษา พ.ศ. 2561 - 2562
14 นายณัฏฐ์ณชัย เบี้ยวเก็บ พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "จำนวนนักเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-26. สืบค้นเมื่อ 2018-04-16.
  2. ข้อมูลทั่วไป
  3. ประวัติโรงเรียน
  4. "จำนวนนักเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-26. สืบค้นเมื่อ 2018-04-16.
  5. https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_techer.php?School_ID=1039760338&Area_CODE=101719
  6. https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student_select.php?School_ID=1039760338&Edu_year=2556&Area_CODE=101719

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]