โรงเรียนพยุหะวิทยา (วัดเขาแก้ว)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนพยุหะวิทยา
Phayuhawittaya School
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนพยุหะวิทยา
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ว.
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญ สิกฺขา จรณํ กิตฺติ สุขาวหํ
(การศึกษาและความประพฤติดี เป็นบ่อเกิดแห่งเกียรติและความสุข)
สถาปนา12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
ผู้ก่อตั้งพระธรรมคุณาภรณ์ ( เช้า ฐิตปัญโญ )
หน่วยงานกำกับสช.[1]
ระดับปีที่จัดการศึกษาปฐมวัย , ประถมศึกษา , มัธยมศึกษา,ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปัจจุบันยุติการรับสมัคร)
สี██████ เหลือง - แดง
เว็บไซต์http://www.payuha.ac.th

โรงเรียนพยุหะวิทยา (อังกฤษ: Phayuhawittaya School ตัวย่อ : P.W.S) อักษรย่อ พ.ว. เป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาแห่งเดียวของ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เปิดทำการสอนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย(ค่าเทอม)ตั้งแต่ระดับชั้นก่อนปฐมวัย ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์ – คณิต มัธยมศึกษาตอนปลายสายศิลป์ภาษา [2]ในปีการศึกษา 2553 ได้เปิดรับสมัครเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเปิดการรับสมัครครั้งแรก และปิดการรับสมัครตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 และเปิดการสอนสุดท้ายในปีการศึกษา 2557 สืบเนื่องเหตุผลจากการที่มีบุคลากรที่ไม่เพียงพอ

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนพยุหะวิทยา ( วัดเขาแก้ว ) ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ 4 ถนนพหลโยธิน ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์[3] เดิมนายประเสริฐ เกษมรัติ เป็นเจ้าของได้ขออนุญาตตั้งขึ้นที่วัดอินทรารามเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อมาได้มอบถวายกิจการของโรงเรียนแก่วัดเขาแก้ว ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2490 โดยใช้ชื่อโรงเรียนพยุหะวิทยาตามเดิม ใช้อาคารรัตนคีรีวิทยากร เป็นอาคารเรียนหลังแรก มีพระครูนิสิตคุนากร(หลวงพ่อกัน) เป็นเจ้าของ   พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปัญโญ) เป็นผู้จัดการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ภิกษุ สามเณรได้ศึกษาควบคู่ไปกับการเรียนพระปริยัติธรรม และพัฒนากิจกรรมอันเป็นสาระในวัดเขาแก้วและท้องถิ่นควบคู่กันไปอย่างไม่ขาดสาย

ยุคที่ 1 ยุคพระธรรมไตรโลกาจารย์[แก้]

ท่านเจ้าคุณธรรมไตรโลกาจารย์ ( ยอด อักกวังโส ป.ธ.6 ) เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ได้ริเริ่มก่อตั้งความเจริญรุ่งเรืองไพศาลแห่งการศึกษาและการคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์จนเจริญทั่วจังหวัด การศึกษาและการคณะสงฆ์ที่เจริญมาถึงทุกวันนี้เป็นผลงานตลอด 22 ปีของท่านเจ้าคุณ ต่อมาเห็นว่าภิกษุและสามเณรเรียนแต่ปริยัติธรรมอย่างเดียว ความรู้ไม่กว้างขวางพอ จึงรับโอนโรงเรียนพยุหะวิทยา มาจาก นายประเสริฐ เกษมรัติ ที่ตั้งอยู่ที่วัดอินทารามมาเป็นโรงเรียนของวัดเขาแก้ว เมื่อปลายปี พ.ศ. 2490 ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ตามใบอนุญาต ที่ 10/2490 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ใช้ตึกรัตนคีรีวิทยากรเป็นที่เรียนแห่งแรก คณะกรรมการโรงเรียนสนับสนุนให้เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมถึงชั้นมัธยมปลายได้รับอนุมัติ จากสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา ด้วยความเห็นชอบของคณะสังฆมนตรีตามหนังสือที่ 73/2491 ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดยใช้ศาลา และกุฏิเป็นที่เรียน ระยะหลังนายเกษม บุญศรี ส.ส.นครสวรรค์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปรายเรื่องงบประมาณสร้างอาคารเรียนได้งบประมาณ 420,000 บาท และให้โรงเรียนการช่างนครสวรรค์สร้างอาคารเรียนสองชั้นหกห้องเรียนจนแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2500 จึงย้ายตึกรัตนคีรีวิทยากรไปเรียนที่ใหม่ เป็นสถานที่เรียนในปัจจุบันนี้

ยุคหลังปี พ.ศ. 2541 อาจารย์สมบุญ  มากบุญ[แก้]

มีพระครูนิทัศนพลธรรม (ต่อ มากบุญ) เป็นผู้รับใบอนุญาต ต่อจากพระครูนิสิตคุนากร(หลวงพ่อกัน) พระครูนิทัศ์ธรรมเวที (ปลด ศรีพงษ์สุทธิ์)  เป็นผู้จัดการ ต่อจากพระธรรมคุณาภรณ์(เช้า ฐิตปัญโญ) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2541 นายสมบุญ มากบุญ เป็นผู้อำนวยการ ได้รับมอบหมายหน้าที่ จากผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน,ผู้จัดการ,และคณะกรรมการสถานศึกษา ให้พัฒนาโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ด้านกีฬาและนันทนาการ รวมไปถึงดนตรี-นาฏศิลป์ ซึ่งท่านได้สนับสนุนงบประมาณ เพื่อกิจการงานนักเรียนเป็นอันมาก ทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงที่โด่งดังเป็นอันดับต้นๆ ของอำเภอ และเป็นที่รู้จักกันไปทั่วทั้งจังหวัดนครสวรรค์ รวมไปถึงการแข่งขันในระดับประเทศ ท่านก็สามารถที่จะนำมานักเรียนของโรงเรียนไปพิชิตรางวัลได้อยู่เสมอๆ และทุกครั้งที่มีการมอบวุฒิบัตรในโรงเรียน ท่านจะมีคำคมคำหนึ่งที่ติดปากท่านมาตลอดว่า การเป็นแชมป์น่ะยาก แต่การรักษาแชมป์นั้นยากกว่าและวลีที่ทุกคนจดจำ นั่นคือ"สวัสดีคุณครูทุกท่าน และลูกๆ พ.ว.ที่รักทุกคน" ท่านมักจะตักเตือนนักเรียนด้วยความรักและเมตตา และเรียกนักเรียนทุกๆ คนว่าลูก ทำให้นักเรียนรักและเคารพท่านเป็นอันมาก โรงเรียนก็พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็น

  • การสร้างสระว่ายน้ำแห่งแรกของตำบลพยุหะคีรี
  • การสร้างบ้านบอลเพื่อพัฒนาทักษะความคิดของนักเรียน
  • การสร้างศูนย์กีฬาและนันทนาการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เดอะ มอลด์ กรุ๊ป
  • การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกค์ที่มีการค้นคว้าข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบ
  • การสร้างลานอเนกประสงค์ ศุภชัย อัมพุช เพื่อให้นักเรียนได้เข้าแถวปฏิบัตกิจกรรมในช่วงเช้าอย่างสบาย การก่อสร้างศาลาบนเขา เป็นที่ประดิษฐูนพระเพื่อให้นักเรียนกราบไหว้บูชา
  • การบูรณะหอประชุม ให้เป็นห้องติดแอร์ที่เหมาะแก่การประชุมทุกรูปแบบ
  • สร้างน้ำตกหน้าโรงเรียนเพื่อพัฒนาทัศนียภาพของโรงเรียน
  • การพัฒนาวงดุริยางค์ ให้กลายเป็นวงโยธวาทิต การพัฒนานาฏศิลป์ไทยของโรงเรียนให้เป็นการแสดงโขนระดับจังหวัด ส่งเสริมให้นักเรียนฝึกหัดรำกลองยาวจนดังไกลไปทั้วประเทศ พัฒนาวงดนตรีไทยให้โด่งดังในกลุ่มโรงเรียนการกุศลขอวงวัดในพระพุทธศาสนา
  • ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาทางด้านวิชาการ เพื่อแข่งขันระดับจังหวัดและระดับประเทศ รวมไปถึงการส่งนักเรียนลงแข่งขันงานศิลปะหัตถกรรม

ยุคปัจจุบัน (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555—ปัจจุบัน)[แก้]

ปัจจุบันมี ผู้รับใบอนุญาต,ผู้จัดการ,และคณะกรรมการสถานศึกษา ได้มอบหมายหน้าที่ นางสมพิศ ให้เข้ามาบริหารงานฝ่ายวิชาการ เป็นผู้อำนวยการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของโรงเรียน เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่พัฒนาเพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น การก่อสร้างอาคารรับเลี้ยงเด็กก่อนวัย เพื่อเตรียมเข้าสู่ชั้นปฐมวัย ปรับปรุงทัศนียภาพภายในโรงเรียน ปรับปรุงห้องเรียนคอมพิวเตอร์ มีการเพิ่มเติมสายงานของบุคลากร โดยท่านมีความประสงค์ให้ นักเรียนมีความรู้และพัฒนาคุณธรรม เพื่อให้นักเรียนก้าวไปเป็นเยาวชนที่ดีของชาติในอนาคต มีการเพิ่มรายวิชาการสอนเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ เพิ่มเติมหลักสูตรอาเซียนศึกษา ปรับการเรียนให้ผู้เรียนมีการศึกษาด้วยตนเองมากขึ้น ทำให้นักเรียนมีการพัฒนาตนเอง เพื่อรับความรู้ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาในด้านของศักยภาพของนักเรียน ทางโรงเรียนได้เพิ่มการสนับสนุนนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับดี ให้ได้รับการศึกษาที่ตรงความต้องการ มีการเพิ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาเพื่อใช้เป็นสื่อหลักในการเรียนการสอน มีการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตฟรีภายในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้มีการศึกษาและค้นคว้าหาความรู้ตลอดเวลา รวมไปถึงการปรับทางด้านระเบียบการศึกษา ผู้ที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมจะได้รับการตักเตือนและติดทัณฑ์บน เพื่อไม่ให้นักเรียนได้ทำผิดซ้ำอีก มีมาตราการในการป้องกันนักเรียนจากอบายมุขต่างๆ มีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อป้องกันนักเรียนจากผู้ไม่หวังดีภายนอก มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนในการร่วมกันดูแลโรงเรียน เพื่อปลูกฝังนิสัยความรักโรงเรียนแก่นักเรียน มีการเพิ่มเติมหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนพร้อมในการก้าวสู่อาเซียน สนับสนุนนักเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อฝึกฝน และพัฒนาทักษะของนักเรียน เพื่อเป็นเครื่องยืนยันต่อความสามารถที่นักเรียนมี โดยได้มีทุนการศึกษาจากบริษัท เดอะ มอลด์ กรุ๊ป ซึ่งมอบโดยครอบครัวคุณศุภชัย อัมพุช ครอบครัวอัครวงศ์ และบริษัท ไทยซัมซุง ประกันชีวิต จำกัด ซึ่งมอบทุนการศึกษาเพื่อให้เด็กนักเรียนที่ฐานะทางบ้านไม่สามารถที่จะหาค่าใช้จ่ายในการศึกษเล่าเรียนได้ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสในการเรียนรู้

สิ่งปลูกสร้าง[แก้]

อาคารเรียน 7 หลัง[แก้]

ได้แก่

  1. อาคาร 1 อาคารสธ อาคารเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 เป็นอาคารเรียนที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มีห้องปฏิบัตภายในตึก 3 ห้องด้วยกัน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ ( ห้องซาวด์แล็บ ) ห้องลูกเสือ และห้องปฏิบัติการด้านดุริยางค์ระดับประถม
  2. อาคาร 2 อาคารเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 เป็นอาคารที่ตั้งของห้องธุรการ - การเงิน และห้องทำงานของท่านผู้อำนวยการ ห้องประชุมพลธมโม มีห้องปฏิบัติการ 5 ห้อง ได้แก่ ห้องดุริยางค์หลัก ห้องศูนย์คณิตศาสตร์ ห้องวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา ห้องศิลปะ และห้องเก็บเอกสารการสอน แล้วยังเป็นตึกที่ตั้งของธนาคารโรงเรียน ( ธนาคารออมสิน )
  3. อาคาร 3 อาคารนิทัศพลธรรม 80 อาคารเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 เป็นอาคารเรียนที่ตั้งของห้องประชุมหลัก ห้องปฏิบัติงานท่านรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ห้องประกาศข่าวสาร และห้องปฏิบัติการ 5 ห้อง ได้แก่ ห้องสมุดอี-ไลเบอร์รี่(ปัจจุบันเป็นห้องพักครูระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2) ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ ( ซาวด์แล็บ ) ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องจริยธรรม และห้องวิชาการ
  4. อาคาร 4 อาคารเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4–6และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปัจจุบันเป็นห้องวิชาการและห้องพักครู) เป็นอาคารเรียนที่มีห้องปฏิบัติการ 3 ห้อง ได้แก่ ห้องเรียนสีเขียว ห้องสมุดอีเล็กทรอนิกค์ และห้องพยาบาลและห้องปฏิบัติงานสภานักเรียน
  5. อาคาร 5 อาคารอนุสรณ์สถาน 50 อาคารเรียนระดับปฐมวัย (บูรณะเสร็จสิ้นในปี 2561)
  6. อาคาร 6 (216ล) อาคารเรียนระดับปฐมวัย
  7. อาคาร 10 (216ล) อาคารเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน ฯ

อาคารทั่วไป[แก้]

ได้แก่

  1. อาคารหอประชุมนิทัศนพลธรรม 72
  2. อาคารคอมพิวเตอร์และโรงอาหาร
  3. ตึกนิสิตคุณากร เป็นห้องนาฏศิลป์และห้องดนตรีไทย
  4. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ 72 พรรษา
  5. อาคารนิสิตคุณากร อาคารรับดูแลเด็กก่อนปฐมวัย
  6. อาคารศุภชัย บุญเลี้ยง อัมพุช อาคารห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ทีทันสมัยที่สุดในอำเภอพยุหะคีรี
  7. ห้องพัสดุ
  8. สหกรณ์โรงเรียนพยุหะวิทยา
  9. ลานอเนกประสงค์ศุภชัย อัมพุช
  10. ศูนย์กีฬาและนันทนาการศุภชัย บุญเลี้ยง อัมพุช
  11. อาคารสระว่ายน้ำ
  12. ห้องปกครองและประชาสัมพันธ์

สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนพยุหะวิทยา[แก้]

  1. ค่ายลูกเสือโรงเรียนพยุหะวิทยา[4]
  2. สนามฟุตบอลและกรีฑาโรงเรียนพยุหะวิทยา

รายนามผู้บริหารโรงเรียนพยุหะวิทยา ( วัดเขาแก้ว )[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายโกสินทร์ กัณหเนตร พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2492 (2ปี)
2 นายวิมล พงษ์ประดิษฐ์ พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2495 (3ปี)
3 นายประจวบ สุริยา พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2502 (7ปี)
4 นายฉะอ้อน อินทรวิชัย พ.ศ. 2502 – พ.ศ. 2503 (1ปี)
5 ผศ.บุญช่วย มนุญญวงษ์ พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2505 (2ปี)
6 นายวิสุทธิ์ พิสิทธิจำนง พ.ศ. 2505 – พ.ศ. 2508 (3ปี)
7 นายวิธาน เกิดปรุง พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2509 (1ปี)
8 รศ.มาณพ พราหมณโชติ พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2510 (1ปี)
9 นายทองเอื้อม เจริญสม พ.ศ. 2510 – พ.ศ. 2511 (1ปี)
10 นายไพฑูรย์ สุขศรีงาม พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2512 (1ปี)
11 นายบรรจง สุขเปรม พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2513 (1ปี)
12 นายปัญญา อยู่มาก พ.ศ. 2513 – พ.ศ. 2513 (6 เดือน)
13 ผศ.สวัสดิ์ โพธิวัฒน์ พ.ศ. 2513 – พ.ศ. 2514 (1ปี)
14 พระครูนิทัศนพลธรรม ( ต่อ มากบุญ ) พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2536 (22ปี)
15 นายถมยา เย็นสุข พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2541 (5ปี)
16 นายสมบุญ มากบุญ พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2555 (14ปี)
17 นางสมพิศ สุขศรีชวลิต พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2561 (6ปี)
18 นางวรรณทิวา หมวกแก้ว พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน

หมายเหตุ

  • ตำแหน่งที่ได้รับนั้นเป็นตำแหน่ง ณ ปัจจุบัน
  • พระครูนิทัศนพลธรรม ( ต่อ มากบุญ ) ในขณะที่ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้มอบหมายให้นายภาณุวัฒน์ วงษ์คำภา ครูฝ่ายปกครองในสมัยนั้น ปฏิบัติหน้าที่แทนในการบริหารโรงเรียน เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการจัดการงาน
  • นาย สมบุญ มากบุญ เป็นผู้อำนวยการเพียงคนเดียวที่ถึงแก่อนิจกรรมในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง
  • แต่เดิม ตำแหน่งผู้บริหารจะเรียกว่า ครูใหญ่ แล้วมาเปลี่ยนเป็น ผู้อำนวยการ ในสมัยของนางสมพิศ สุขศรีชวลิต
  • นาง สมพิศ สุขศรีชวลิต เดิมเข้ามาร่วมงานเป็นรองผู้อำนวยการด้านบุคคล แต่เนื่องจากนายสมบุญ เสียชีวิตในวันที่ 10 สิงหาคม 2555 ทางคณะกรรมการบริหาร 4 ฝ่ายจึงมีมติให้นางสมพิศ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการแทน เพื่อความต่อเนื่องในการบริหารงาน
  • เนื่องด้วยนาง สมพิศ สุขศรีชวลิต ได้ขอลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ด้วยเหตุผลส่วนตัว ทางคณะกรรมการโรงเรียนจึงได้มีมติแต่งตั้ง นางวรรณทิวา หมวกแก้ว ซึ่งแต่เดิมดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ขึ้นเป็นผู้อำนวยการ
  • เนื่องด้วยพระครูนิทัศน์ธรรมเวที(ปลด ศรีพงษ์สุทธ์) ได้มรณะภาพเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562 พระครูนิทัศนพลธรรม(ต่อ มากบุญ) ผู้รับใบอนุญาต ได้แต่งตั้ง พระสมบูรณ์  ปญฺญาวชิโร (ดรุณศิลปี),ผศ.เป็นผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2562
  • เนื่องด้วยพระครูนิทัศนพลธรรม ผู้รับใบอนุญาต ได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อให้โรงเรียนพยุหะวิทยาดำเนินการได้ต่อเนื่อง โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ขอแต่งตั้งพระสมบูรณ์ ปญฺญาวชิโร (ดรุณศิลปี),ผศ. ตำแหน่งผู้จัดการ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓
  • เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พระสมบูรณ์ ปญฺญาวชิโร (ดรุณศิลปี),ผศ. ได้ขอลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการและผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ มติที่ประชุม คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ขอแต่งตั้งพระราชรัตนเวที,ผศ. ดร.รักษาการเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต จัดตั้งโรงเรียนตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป

ปัจจุบัน มี พระราชรัตนเวที,ผศ. ดร.รักษาการเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต มี พระครูนิเทศเขมรัตน์ (เกรียงไกร เขมปุญโญ) เป็นผู้จัดการ มี พระจักรกฤษ ฐิตวิริโย เป็นที่ปรึกษาผู้แทนผู้รับใบอนุญาต มี นางวรรณทิวา หมวกแก้ว เป็นผู้อำนวยการ

กิจกรรม-ประเพณี[แก้]

  • กิจกรรมปฐมนิเทศ
  • กิจกรรมไหว้ครู,กิจกรรมเลือกตั้งสภานักเรียน
  • กิจกรรมรับน้องม.ต้น – ม.ปลาย
  • กิจกรรมประจำวันสำคัญทางพระพุทรศาสนา ( วันอาสาฬหบูชา , วันวิสาขบูชา , วันมาฆบูชา , วันธรรมสวณะ , วันเข้าพรรษา - วันออกพรรษา )
  • กิจกรรมไหว้ครูดนตรีนาฏศิลป์
  • กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ
  • กิจกรรมพยุหะวิทยาเกมส์ ( กีฬาสี ) ในอดีต โรงเรียนพยุหะวิทยา (วัดเขาแก้ว) มีชื่อกลุ่มสี ดังนี้ มรกตจำรูญ ไพทูรย์พิษฐาน เพทายอมรมาน เกียรติตระการไพลิน
  • กิจกรรมรัตนคีรีบอล ( กินเลี้ยงศิษย์เก่า )
  • กิจกรรมถวายทักษิณานุประทานแด่พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปัญโญ) 9 ตุลาคม ของทุกปี
  • กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ
  • กิจกรรมวันคริสต์มาส – กินเลี้ยงปีใหม่
  • กิจกรรมการแข่งขันทักษะทางด้านวิชาการ กลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
  • กิจกรรมบัณฑิตน้อย ( เลี้ยงส่งนักเรียนที่จบ อนุบาล 3 , ป.3 , ป.6 , ม.3 , ม.6 )

อ้างอิง[แก้]

http://www.payuha.ac.th