โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา"
Phanomsarakham "Phanom Adun Witthaya" School
หอประชุม 50 ปีพนมอดุลวิทยา เนื่อในวาระครบรอบ 50 ปี วันสถาปนาโรงเรียนพนมสารคาม"พนมอดุลวิทยา"
ที่ตั้ง
แผนที่
ถนนพนมพัฒนา

พนมสารคาม
, ,
24120

ไทย
พิกัด13°44′50″N 101°21′20″E / 13.74735°N 101.35551°E / 13.74735; 101.35551
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.อ.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญปญฺญา นรานํ รตนํ "ปัญญาเป็นสมบัติอันประเสริฐของคน"
สถาปนา17 พฤษภาคม พ.ศ.2499 (67 ปี )
ผู้อำนวยการนายพเยาว์ เกตานนท์ [1]
ความจุ2,923 คน[2]
สีเหลือง-แดง   
เว็บไซต์http://www.phanom.ac.th

โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประจำอำเภอพนมสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประเทศไทย) ตั้งอยู่เลขที่ 660 ถนนพนมพัฒนา ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม ฉะเชิงเทรา 24120


ประวัติ[แก้]

โรงเรียนพนมสารคาม"พนมอดุลวิทยา" ก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้ตั้งเป็นโรงเรียนขึ้นนั้นได้มีการจัดเตรียมที่ดินไว้ล่วงหน้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 โดยมีท่านเจ้าพระคุณพระอดุลสารมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าเกวียน ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพนมสารคาม ท่านเป็นผู้ดำริริเริ่มที่จะให้มีโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอขึ้น โดยท่านได้เชิญชวนและบอกบุญแก่ญาติโยมให้ช่วยกันบริจาคจัดเงินซื้อที่ดิน ในที่สุดก็สำเร็จตามความประสงค์ คือสามารถซื้อที่ดินได้ จำนวน 10 ไร่ 2 งาน เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2498 เป็นเงิน 10,000 บาท และต่อมาเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2499 ได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก 2 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวา เป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นที่ดินทั้งหมดจำนวน 13 ไร่ 96 ตารางวา คิดเป็นเงิน 13,000 บาท

ในระหว่างที่ดำเนินการจัดซื้อที่ดินอยู่นั้น ได้เสนอเรื่องขออนุญาตตั้งโรงเรียนต่อกระทรวงศึกษาธิการไปพร้อมกัน โดยมี นายเสริมศักดิ์ โคจรสวัสดิ์ อดีตนายอำเภอพนมสารคาม และ นายจวน กุลละวณิชย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการ จนสำเร็จได้รับอนุมัติให้ตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมวิสามัญประจำอำเภอและให้เปิดทำการสอนได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2499 ดังนั้นโรงเรียนพนมสารคาม"พนมอดุลวิทยา" จึงได้เปิดทำการสอนเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 และในการเปิดสอนครั้งนี้ยังไม่มีอัตราครูมาให้ จึงได้มอบหมายให้ นายเกษม โอสถานนท์ อดีตผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอพนมสารคาม ทำการสอนเป็นคนแรก และรักษาการณ์ในตำแหน่งครูใหญ่ไปพลางก่อน

ในการเปิดสอนเป็นครั้งแรกดังกล่าว โรงเรียนพนมสารคาม"พนมอดุลวิทยา" ยังไม่มีอาคารเรียนถาวร หรืออาคารเรียนชั่วคราว เป็นของโรงเรียนเองเลย มีแต่ที่ดิน 13 ไร่ 96 ตาราวา ดังนั้นจึงต้องไปอาศัยเรียนที่ "โรงเรียนศรีพนม" ที่วัดท่าเกวียน ซึ่งเป็น โรงเรียนปริยัติธรรมของพระสงฆ์ ต่อมาการเรียนที่นี่มีอุปสรรค คือ ฤดูฝนน้ำจะไหลหลาก ท่วมบริเวณโรงเรียน ทำให้การไปมา ของนักเรียนไม่สะดวก จึงขออนุญาตใช้หอประชุมอำเภอพนมสารคามเป็นสถานที่เรียนแล้วย้ายจากโรงเรียนศรีพนมมาเรียน ที่หอประชุมอำเภอเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2500 รวมเวลาที่ใช้สถานที่โรงเรียนศรีพนม 1 ปี 4 เดือน ในขณะที่นักเรียนรุ่นแรก ยังเรียนอยู่ที่หอประชุมอำเภอนั้นโรงเรียนยังก่อสร้างอาคารเรียนไม่เสร็จฉะนั้นนักเรียนรุ่นที่ 1 จึงเรียนจบหลักสูตรสูงสุดที่หอ ประชุมอำเภอนี้เอง ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2500 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงิน ก.ศ.ส. 750,000 บาท ให้สร้างอาคารเรียนถาวรหลังแรกขึ้น เป็นตึก 2 ชั้นจำนวน 12 ห้องเรียนได้แก่อาคาร 1 ในที่ดินที่ตั้งอยู่ปัจจุบันโดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2501 จนเสร็จ และเปิดใช้เป็นสถานที่เรียนได้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2502

โดยเหตุที่ท่านเจ้าคุณพระอดุลสารมุนี ท่านเป็นผู้ริเริ่มและรับเป็นภาระธุระในเรื่องการจัดหาเงินซื้อที่ดินและดูแลการก่อสร้าง ด้วยความเอาใจใส่ ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก มีแต่เมตตาธรรมหวังที่จะให้มีโรงเรียนมัธยมไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาเล่าเรียน อยู่ใกล้บ้าน จะได้เป็นผู้มีความสามารถมีความเจริญก้าวหน้าสืบไปนับเป็นความดำริที่มองเห็นการณ์ไกล เกิดประโยชน์ต่อส่วน รวมอย่างมหาศาลสุดที่จะพรรณนา ทางราชการและประชาชนจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรใช้ชื่อสมณศักดิ์ ของท่านเป็นชื่อโรงเรียนเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานยกย่องเกียรติยศถวายแด่ท่าน ดังนั้นโรงเรียนจึงชื่อว่า โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" มาจนถึง ปัจจุบันนี้ แต่ประชาชนทั่วไปมักจะเรียกชื่อสั้นๆ จนติดปากว่า "โรงเรียนพนมอดุลวิทยา" และหลังจากได้ตั้งโรงเรียนจนเป็นที่ สำเร็จเรียบร้อยดังกล่าวแล้ว โรงเรียนนี้ก็ได้เจริญเติบโตมาโดยลำดับ ปัจจุบันโรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" สังกัดอยู่ใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ

สัญลักษณ์[แก้]

เนื้อเพลงมาร์ชพนมอดุลวิทยา[แก้]

   **พนมอดุลวิทยา งามสง่าท่าทีมีสานติ์ 

ภาคภูมิด้วยภูมิธรรมวิธาน ปรีชาชาญด้วยการศึกษา

พนมอดุลสุนทรีย์ คือแหล่งที่ดีงามพร่างฟ้า

พร่างพริ้มด้วยวิญญาณโสภา ด้วยภูมิปัญญาดั่งหน้าภราดร (ซ้ำ)


เราทั้งหลาย ภูมิใจ ภูมิใจ ภูมิใจ กำธร

ภูมิเกียรติกำจรสล้างสลอนหน้าตา

เราทั้งหลายเป็นตาย เป็นตาย ลือไว้วิญญาณ์

ทูนเทิดบูชาศักดิ์แห่งสถาบันเรา


(ทั้งหมด ซ้ำ 2 ครั้ง)

คำร้อง : ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน

เนื้อเพลงวอลซ์พนมอดุลวิทยา[แก้]

แดนพนมอดุล ให้ความอบอุ่นซึ้งใจ

ทั้งเป็นแดนที่ศิวิไล ที่ใครๆ สดุดี

ดังมีมนต์ ให้เราทุกคนน้องพี่

ร่วมเรียนวิชาร่วมชีวี ผูกไมตรีร่วมกันมา

มีทิวสน ไหวโอนลู่ลมงามตา

ทอดเงาเย็นร่มลงมา สุขายาตลอดวัน

ชาวพนมอดุล ซึ้งในบุญคุณสถาบัน

ได้เรียนวิชาค่าอนันต์ ต่างสุขสันต์ ซาบซึ้งทรวง

คำร้อง/ทำนอง: ไพโรจน์ อินทศร

เนื้อเพลงมาร์ชเหลือง-แดง[แก้]

พนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา”

สถานศึกษา ที่เราได้มาเรียนรู้ทั่วกัน

เทิดทูน บุญคุณ ท่านหลวงพ่อจันทร์

  สร้างสถาบัน พวกเรานั้น ซาบซึ้งตรึงใจ

พนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา”

ให้การศึกษา ฝึกฝนกีฬา รักษาวินัย

  มุ่งหวัง สร้างศิษย์เจริญก้าวไกล
 พระคุณยิ่งใหญ่ ที่เราได้เล่าเรียนวิชา

พ .อ . คือชื่อย่อ สีเหลืองแดง ส่องประกายด้วยแสง

คบเพลิงเหนือข้อความว่า

     วิชาความรู้ ดุจแสงประทีป เจิดจ้า

นี่คือดวงตรา สัญญาลักษณ์

ของโรงเรียน พนมสารคาม“พนมอดุลวิทยา” พวกเราบูชา พิทักษ์รักษา ศรัทธาเชื่อมั่น

                  เชิดชู  บูชา  ครูบาอาจารย์

มอบจิต ผูกพัน สถาบัน พนมอดุล...


(คำร้อง/ผู้แต่ง: ยังไม่ทราบรอแก้ไขเพิ่มเติม)

สิ่งสักการะ[แก้]

  • หลวงพ่อจันทร์ หลวงพ่อจัทร์ หรือ พระอดุลสารมุณี เป็นปฐมาจาร์ยของชาวพนมอดุลทั้งหลาย ท่านเป็นพระภิกษุที่มีคุณูประการต่อโรงเรียนอย่างยิ่งเพราะหากไม่มีท่านพระอดุลสารมุณีแล้วนั้นโรงเรียนพนมสารคาม“พนมดุลวิทยา” คงยังไม่ได้เป็นสถานศึกษาที่ลูกหลานได้ศึกษากันถึงปัจจุบัน จึงเป็นสิ่งที่พวกเราชาวพนมอดุล นำมายึดเหนี่ยวจิตใจตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
  • หลวงพ่อมหาลาภ หรือ พระพุทธวชิโรภาส ทำพิธีบวงสรวงเบิกเนตรเมื่อ 21 มกราคม 2566 เป็นอีกหนึ่ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพนมอดุลนับถือและสักการะ
พระพทธวชิโรภาส

รายนามผู้อำนวยการโรงเรียน[แก้]

  1. นายเกษม โอสถานนท์ - 17 พ.ค. 2499
  2. นายสุจริต มาปรีดา - 19 พ.ค. 2499
  3. นายเล็ก อิ่มสำราญ - 5 ก.พ. 2501
  4. นายสุจริต มาปรีดา - 16 มิ.ย. 2501
  5. นายปจิต สุริยกุล ณ อยุธยา - 5 ส.ค. 2501
  6. นายสุมล พุ่มผลึก - 5 พ.ค.2524
  7. นายพิชัย โรจนตระกูล - 9 พ.ค 2525
  8. นายเสวก ใหลสกุล - 2529-2533
  9. นายประสิทธิ์ แสนสุข - 2533-2535
  10. นายสงคราม อุทัย - 2536-2540
  11. นายสมบูรณ์ ธุวสินธุ์ - 2540-2543
  12. นายอำนาจ เดชสุภา - 2544-2547
  13. นายโสภณ สุขเสวี - 2547-2555
  14. นายชาติชาย ฟักสุวรรณ - 9 พ.ย. 2555-19 มิ.ย. 2558
  15. นายสุธน คงคาชนะ - 19 มิ.ย. 2558- 30 ก.ย. 2559
  16. นายศักดิ์เดช จุมณี - 8 มี.ค. 2560 - 18 มี.ค. 2563
  17. นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ - 23 มี.ค. 2563 - 8 ต.ค. 2564
  18. นายพเยาว์ เกตานนท์- 11 ต.ค. 2564 - ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


  1. http://www.phanom.ac.th/web/viewpage.php?page_id=13
  2. https://data.bopp-obec.info/web/index_view_stu.php?School_ID=1024070342&Edu_year=2566&p=y