โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (มิถุนายน 2018) |
โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร | |
---|---|
Prachak Silapakarn School | |
![]() | |
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 99 หมู่ที่ 4 ถนนเลี่ยงเมือง อุดร – ขอนแก่น ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000 ประเทศไทย ![]() | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ป.ศ. |
ประเภท | โรงเรียนประจำจังหวัด โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ |
คำขวัญ | ปัญญา โลกัสมิ ปัชโชโต (ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก) |
สถาปนา | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 (48 ปี 252 วัน) |
ผู้ก่อตั้ง | กรมสามัญศึกษา |
เขตการศึกษา | อุดรธานี |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 |
รหัส | 1041680824 |
ผู้อำนวยการ | ว่าที่ร้อยตรีสมประสงค์ วงษ์อุบล |
จำนวนนักเรียน | 3,713 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562)[1] |
ภาษา | ภาษาที่มีการเรียนการสอน
![]() ![]() ![]() ![]() |
สี | แสด-ฟ้า |
เพลง | มาร์ช ประจักษ์ศิลปาคาร |
เว็บไซต์ | http://www.prachak.ac.th |
โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร (อักษรย่อ : ป.ศ.; อังกฤษ: Prachak Silapakarn School) ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 4 ถนนรอบเมือง ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขั้นในปี พ.ศ. 2517
ประวัติ[แก้]
โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขั้นในปี พ.ศ. 2517 เพื่อเป็นการสดุดีเกียรติยศ "พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม" ผู้ก่อตั้งจังหวัดอุดรธานี จึงให้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร"[2] เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2517 มีนางสาว สมจิตต์ บุตรดีมี เป็นครูใหญ่ มีครูสอนครั้งแรก 6 คน และมีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 121 คน มีนักการภารโรง 1 คน ได้ใช้หอประชุมคุรุสภาจังหวัดอุดรธานี ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เป็นที่ทำการสอนและสถานที่ชั่วคราว วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ได้ย้ายมาทำการเรียนการอสน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน โดยที่ตั้งของโรงเรียนมีเนื้อที่ทั้งหมด 168 ไร่ 1 งาน 27.2 ตารางวา ซึ่งเป็นสถานที่สาธารณประโยชน์ มีชื่อเรียกว่า "ป่าช้าโคกหนองตุ" เมื่อย้ายมาทำการสอนที่สถานที่แห่งใหม่ ได้ใช้อาคารอุตสาหกรรมศิลป์ดัดแปลงเป็นห้องเรียน
อ้างอิง[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |