โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด
|
บทความนี้หรือส่วนนี้ อาจเป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ คุณสามารถช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสมเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ดูรายละเอียดในหน้าอภิปราย
|
โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม | |
---|---|
![]() |
|
นัตถิ ปัญญา สมาอาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี) |
|
341 หมู่ 2 ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84240 |
|
ข้อมูล | |
ชื่ออังกฤษ | Bannawitthayakom School |
อักษรย่อ | บ.ว. (อดีต : ส.ฎ.11) |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
สังกัด | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
สถาปนา | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2499 (59 ปี) |
เว็บไซต์ | https://th-th.facebook.com/Bannawitthayakom |
โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอบ้านนาเดิม และโรงเรียนมัธยมศึกษาลำดับที่ 11 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนผ่านการประเมินเป็นต้นแบบโรงเรียนดีใกล้บ้าน โรงเรียนในฝัน และผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 จาก สมศ. ปัจจุบันมีนางเพียงแข ชิตจุ้ย เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา (16 ธันวาคม 2556-ปัจจุบัน)
เนื้อหา
ข้อมูลโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม[แก้]
- อักษรย่อโรงเรียน : บ.ว. ในอดีต :ส.ฎ.11
- ปรัชญาของโรงเรียน: สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา รู้หน้าที่ มีคุณธรรม
- คติพจน์โรงเรียน : นัตถิ ปัญญา สมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
- เอกลักษณ์โรงเรียน : บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
- อัตลักษณ์โรงเรียน : อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมทักษะชีวิต
- สัญลักษณ์โรงเรียน : รูปดวงประทีป ซึ่งมีดวงประทีปอยู่เหนือวงกลม 2 ชั้น วงกลม นอกสุด
มีคติพจน์ของโรงเรียนเป็น ภาษาบาลี ว่า นตถิ ปญญา สมา อาภา มีคำแปลว่า "แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี" ใต้วงกลมที่เป็นส่วนโค้งภายในมีข้อความว่าโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม
- สีประจำโรงเรียน : ขาว -แดง สีขาว หมายถึง ความสามัคคี มีระเบียบวินัย รักษาความสะอาด ความสงบ และมีคุณธรรม - สีแดง หมายถึง ความเข้มแข็ง อดทน กล้าหาญ เสียสละ
- เพลงประจำโรงเรียน : มาร์ชโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม- โรงเรียนในฝัน
ประวัติโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม[แก้]
- ปี พ.ศ. 2499 โรงเรียนบ้านนาวิทยาคมเปิดการเรียนการสอนครั้งแรก วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 ณ โรงเรียนบ้านนา อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันคือ โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 (บ้านนา) สอนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยรับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มาเรียนต่อ มีนายชิต สมศักดิ์ เป็นครูใหญ่คนแรก
- การตั้งชื่อโรงเรียน ใช้ชื่อเดิมของโรงเรียนบ้านนาและต่อท้ายด้วย "วิทยาคม" ชื่อใหม่คือ "โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม" เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาลำดับที่ 11 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และใช้อักษรย่อ "ส.ฎ.11" สังกัด กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- ปี พ.ศ. 2500 นายวิญญ์ พลวิชัย กำนันตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาสาร ได้ดำเนินการรวมที่ดินตนเองและผู้ที่อยู่ใกล้เคียงคือที่ดินของนายเลื่อง บัวเพ็ชร ที่ดินของครูกล่อม เพชรานันท์ รวมประมาณ 50 ไร่ พร้อมเงินแรงงานของผู้ปกครองนักเรียน ประชาชนชาวตำบลบ้านนาร่วมกันก่อสร้าง อาคารเรียนและย้ายนักเรียนมาที่โรงเรียนใหม่ติดทางรถไฟสายใต้ เปลี่ยนอักษรย่อ " บ.ว."
- ปี พ.ศ. 2504 โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม จัดการศึกษาชั้นประถมศึกษาตอนปลายปีที่ 5 ถึงชั้นปีที่ 7(ป.5-ป.7)ตามหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2503
- ปี พ.ศ. 2517 วันที่ 17เมษายน พ.ศ. 2517 กรมสามัญศึกษา มีคำสั่งยกเลิกการสอนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และจัดการศึกษาใหม่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.ศ.1-3)
- ปี พ.ศ. 2528 วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการ โอนโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม จากกองการศึกษาพิเศษ ไปสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา
- ปี พ.ศ. 2533 มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้กิ่งอำเภอเป็นอำเภอบ้านนาเดิม โรงเรียนบ้านนาวิทยาคมจึงเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอบ้านนาเดิม กรมสามัญศึกษา ให้โรงเรียนจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ จัดการศึกษาเพิ่มในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
- ปี พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการ โอนโรงเรียนบ้านนาวิทยาคมจากสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- ปี พ.ศ. 2549 คณะศิษย์เก่าโดยนายเทพ รักบำรุงได้ดำเนินการจัดตั้งสำนักงานศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านนาวิทยาคมครั้งแรกประสานจัดงานศิษย์เก่าเพื่อฉลองการก่อตั้งโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม ครบรอบ 50 ปี มีนายอวยชัย อินทรนาค นายอำเภอบ้านนาเดิม เป็นประธาน
- ปี พ.ศ. 2550 โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็น "โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ"
- ปี พ.ศ. 2552 โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็น "โรงเรียนต้นแบบโรงเรียนดีใกล้บ้าน โรงเรียนในฝัน"
- ปี พ.ศ. 2553 กระทรวงศึกษาธิการ โอนโรงเรียนบ้านนาวิทยาคมจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎรธานีเขต 3 ไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- ปี พ.ศ. 2556 โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม ได้รับการรับรองผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 3 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
- ปี พ.ศ. 2558 โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม เข้ารับการประเมินสถานศึกษาต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้บริหารสถานศึกษา[แก้]
- นางเพียงแข ชิตจุ้ย ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม
- นางจันทนี รักษ์ธรรม ตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม[แก้]
ลำดับที่ | รายนาม | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | นายชิต สมศักดิ์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2499 | พ.ศ. 2500 |
2 | นายเกษม สังคหนันท์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2500 | พ.ศ. 2503 |
3 | นายโอชา แก้วศรีช่วง | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2503 | พ.ศ. 2510 |
4 | นายอภินันท์ พาหะมาก | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2510 | พ.ศ. 2525 |
5 | นายฉัตร คงผ่อง | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2528 |
6 | นายต้อง กองทอง | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2528 | พ.ศ. 2533 |
7 | นายนิคม โพธิ์เพชร | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2536 |
8 | นายอรรถพร พัฒนเดช | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2536 | พ.ศ. 2539 |
9 | นางสาวทิพยวรรณ หวานแก้ว | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2543 |
10 | นายสมนึก พรหมแก้ว | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2545 |
11 | นายสมคิด ขวัญพุฒ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2545 | พ.ศ. 2551 |
12 | นางสมร เผือกเดช | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2551 | พ.ศ. 2556 |
13 | นางเพียงแข ชิตจุ้ย | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2556 | ปัจจุบัน |
รางวัลเกียรติยศ และผลงานดีเด่นของโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม[แก้]
ส่วนตรงนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก
|
- รางวัลพระราชทานจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ โครงการลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา
- รางวัลพระราชทานจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ โครงการปาฏิหาริย์แห่งชีวิต (Miracle of Life)
- รางวัลดีเด่น ระดับประเทศ โครงการเธอ คือ แรงบันดาลใจ จากมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
- รางวัลดีเด่น ระดับประเทศ โครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ สนองแนวพระราชดำริฯ จากมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย และสำนักงาน กปร.
- กลุ่มนักเรียนแกนนำโครงการปลูกป่าสานฝันปันรักษ์ให้โลก ผ่านการคัดเลือกจากโครงการปาฏิหาริย์แห่งชีวิต (Miracle of Life) ในพระดำริฯ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ
และให้ดำเนินงานโครงการในพื้นที่จริงผ่านการบันทึกเทปรายการโทรทัศน์ "รายการปาฏิหาริย์แห่งชีวิต (Miracle of Life)" โดยมีพิธีกร เดี่ยว สุริยนต์ อรุณวัฒนกูล (นักแสดงช่อง 3) ดำเนินรายการ ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 16.00-17.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ช่อง 9 อสมท.
- ต้นแบบโรงเรียนดีใกล้บ้าน โรงเรียนในฝัน กระทรวงศึกษาธิการ
- ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 2-3 สมศ.
- โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
- โรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- สถานศึกษาวิชาทหารดีเด่น สังกัดหน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ค่ายวิภาวดีรังสิต จังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี กระทรวงกลาโหม
การเรียนการสอน[แก้]
![]() |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]
แบ่งเป็น
- วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยี (SMET) (ห้อง 1)
- ภาษาไทย-สังคมศึกษา (ห้อง 2)
- คหกรรม-อุตสาหกรรม-เกษตรกรรม (ห้อง 3-4)
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]
แบ่งเป็น
- วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ห้อง 1)
- ภาษาไทย-สังคมศึกษา (ห้อง 2)
- คหกรรม-อุตสาหกรรม-เกษตรกรรม (ห้อง 3)
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน[แก้]
- กิจกรรม - แนะแนว
- กิจกรรม - ลูกเสือ-เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่
- กิจกรรม - นักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 1-3
- กิจกรรม - ชุมนุมส่งเสริมทักษะทางวิชาการ
- กิจกรรม - เพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
วิชาพิเศษที่เปิดสอนทุกระดับชั้น ม.1-6[แก้]
- วิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
- วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
อาคารในโรงเรียน[แก้]
- อาคาร 216 (ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย ห้องแนะแนว,ห้องกิจกรรมลูกเสือ,สำนักงานกลุ่มบริหารแผนและงบประมาณ,ห้องประชาสัมพันธ์,สำนักงานกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน,สำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ
,ห้องนาฏศิลป์,ร้านสวัสดิการ,ห้องสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย สำนักงานผู้อำนวยการ,ห้องธุรการ,ห้องคอมพิวเตอร์ 1-2,ห้อง E-Learning,ห้องพยาบาล,ห้องโสตทัศนศึกษา ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย ห้องภาษาอังกฤษ 1-3,ห้องโครงข่ายเรียนรู้ไร้พรมแดน,ห้องคณิตศาสตร์ 1-3,ห้องศูนย์คณิต สพม.11)
- อาคารกลาง (ประกอบด้วย ห้องสภานักเรียน(ห้องเกียรติยศ),ห้องพัสดุ,ห้องถ่ายเอกสาร,ห้องสมุด 3D)
- อาคารวิทยาศาสตร์ (ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์,วิทยาศาสตร์กายภาพ,เคมี,ห้องสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน,ห้องชีววิทยา ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย ห้องจริยธรรม (ห้องพุทธทาส),ห้องสังคม 1-2,ห้องภาษาไทย 1-3)
- อาคารโรงอาหาร
- อาคารคหกรรม-ดนตรี (ประกอบด้วย ห้องคหกรรม,ห้องดนตรี)
- อาคารเกษตรกรรม-อุตสาหกรรม (ประกอบด้วย ห้องเกษตร,ห้องอุตสาหกรรม)
- อาคารศิลปศึกษา (ประกอบด้วย ห้องศิลปะ)
- อาคารหอประชุม
|