มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม

พิกัด: 13°57′41″N 100°24′27″E / 13.96125°N 100.407417°E / 13.96125; 100.407417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรงเรียนนูรุ้ลอิสลาม)
มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม
مسجد نورالإســلام
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทมัสยิด
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมอิสลาม
เมืองจังหวัดนนทบุรี
ประเทศประเทศไทย
พิกัด13°57′40.5″N 100°24′26.7″E / 13.961250°N 100.407417°E / 13.961250; 100.407417
เริ่มสร้างพ.ศ. 2492
ผู้สร้างเซ็น/บะห์เรน
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกแชทู

มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม หรือ สุเหร่าเขียว ตั้งอยู่ที่ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ณ ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี มีนายกาเซ็ม เจริญสุข เป็นอิหม่าม และเป็นมัสยิดสายซุนนี ที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี เรื่องราวของชุมชนมลายูมุสลิมบ้านสุเหร่าเขียว เป็นชุมชนที่เกิดต่อจากชุมชนมุสลิมบ้านปากลัด[1] จังหวัดสมุทรปราการ และชุมชนบ้านท่าอิฐ[2] อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ประวัติ[แก้]

นูรุ้ลอิสลาม แปลว่า รัศมีแห่งความสันติ โดยบรรพบุรุษของชุมชนมลายูมุสลิม สุเหร่าเขียว อพยพมาจากทางภาคใต้ของประเทศไทย มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ภายหลังได้ขยับขยายมาเรื่อยจนถึงตำบลละหาร (ละหาร ในภาษามลายู คือ ละแหร แปลว่า ที่ลุ่ม) และสัปบุรุษของชุมชนแห่งนี้ได้เริ่มจัดตั้งมัสยิดหลังแรก เพื่อใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนา และเป็นศูนย์กลางประจำชุมชน โดยท่านอิหม่ามอะห์หมัด เจริญสุข เป็นผู้เดินทางไปขอให้จุฬาราชมนตรีต่วน สุวรรณศาสน์ เป็นผู้ตั้งชื่อให้ในสมัยนั้น และศาสนสถานแห่งนี้แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ดังนี้

รายนามอิหม่าม[แก้]

ลำดับ รายนาม รับตำแหน่ง สิ้นสุดตำแหน่ง
อิหม่ามที่ 1 บะห์เรน 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 23 ตุลาคม พ.ศ. 2468
อิหม่ามที่ 2 อะห์หมัด เซ็นเยาะ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510
อิหม่ามที่ 3 กาเซ็ม เจริญสุข 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 2 มีนาคม พ.ศ. 2528
(สละตำแหน่ง)
อิหม่ามที่ 4 ปรัชญา เจริญสุข 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558
อิหม่ามที่ 5 สมบัติ เจริญสุข 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ยังอยู่ในตำแหน่ง

สมัยนายเซ็น[แก้]

นายเซ็น หรือ แชร์บะห์เรน ท่านเกิดราว (พ.ศ. 2388) - (ธันวาคม พ.ศ. 2468) รวมอายุ 80 ปีกว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า[3] เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี และเสียชีวิตในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ลำดับที่ 7 แห่งราชอาณาจักรสยาม

และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี (พ.ศ. 2411) - (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) พระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เป็นการปกครองส่วนภูมิภาค เมืองนนทบุรี จึงจัดอยู่ในมณฑลกรุงเทพ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตลาดขวัญ อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และอำเภอปากเกร็ด ส่วนศาลากลางเมืองนนทบุรีนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากปากคลองอ้อม บ้านบางศรีเมือง มาตั้งอยู่ที่ปากคลองบางซื่อใกล้วัดท้ายเมือง

และสถานที่แห่งหนึ่งของอำเภอบางบัวทอง ซึ่งมีแต่ป่าดงพงไพร เต็มไปด้วยแมกไม้นานาพรรณน้อยใหญ่ โดยมีคลองอ้ายรี (คลองลำรีในปัจจุบัน) และคลองอ้ายรีน้อย เป็นแหล่งน้ำ ซึ่งไร้ผู้คนอาศัย ภายหลังได้มีพี่น้องจากชุมชนมุสลิมบ้านท่าอิฐ คือ แชร์ซาและห์ และแชร์บะห์เรน (นายเซ็น) ซึ่งเป็นพี่น้องกัน ได้เดินเท้าบ้าง พายเรือบ้าง เพื่อเข้ามาทำการถากถางพื้นที่ดังกล่าวเพื่อจับจองพื้นที่ ด้วยความเป็นพี่น้องที่รักกัน แชร์ซาและห์ ซึ่งมีพื้นที่ในสถานที่ดังกล่าว จำนวน 80 ไร่ แต่แชร์บะห์เรน มีที่ ๆ ครอบครอง อยู่ที่ชุมชนคลองใหญ่ (เขตมัสยิดนะฮ์ฏอตุลอิสลาห์ หรือสุเหร่าปากคลองลำรี ในปัจจุบัน) จำนวน 16 ไร่ ภายหลังสองพี่น้องได้แลกที่กัน โดยแชร์ซาและห์ ได้ที่ครอบครองของแชร์บะห์เรน ที่ชุมชนคลองใหญ่ จำนวน 16 ไร่ และแชร์บะห์เรนได้ที่ครอบครองของแชร์ซาและห์ ที่คลองอ้ายรี จำนวน 80 ไร่ไป โดยมีข้อแม้ต่อกันว่า ในพื้นที่ ๆ ได้แลกกันนั้นต้องสร้างสถานที่ละหมาดไว้ด้วย (ตามคำบอกเล่าของมารดาของนางมาลัย หรือฮัจยะห์รอฟีอะห์ สุขไสใจ(นิมา) ซึ่งเป็นชาวคลองใหญ่เดิม (6 พ.ศ. 2477 - ปัจจุบัน)) ซึ่งแสดงเห็นความรักใคร่ สามัคคีกันในพี่น้อง และความหนักแน่นต่อศาสนา ภายหลังเมื่อแชร์ซาและห์ ได้กลับไปอยู่ที่ชุมชนคลองใหญ่ และเป็นอิหม่ามของชุมชนคลองใหญ่ (มัสยิดนะฮ์ฏอตุลอิสลาห์ หรือสุเหร่าปากคลองลำรี ในปัจจุบัน) จึงถือได้ว่านายเซ็น หรือแชบะห์เรน เป็นผู้ก่อตั้งชุมชนมุสลิมมลายูสุเหร่าเขียว และได้สร้างที่พัก หรือบ้านขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมกับบาแล เพื่อใช้ในการนมาซ หรือละหมาดต่อพระเจ้า

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ราว พ.ศ. 2466 ได้มีประชาชนเข้ามาตั้งรกรากกันในท้องถิ่นนี้มากขึ้น แชร์บะห์เรนได้บริจาคที่ดินของท่าน เป็นจำนวน 6 ไร่ เพื่อใช้ในการสร้างสุเหร่า แต่ในช่วงนั้นประชากรในชุมชนมีไม่มากนัก จึงสร้างสถานที่ละหมาด (บาแล) เพื่อใช้ในการประกอบศาสนกิจร่วมกัน ในตามเวลาปกติเท่านั้น ส่วนการละหมาดวันศุกร์ สัปบุรุษยังคงต้องเดินเท้าบ้าง พายเรือบ้าง เพื่อไปละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดท่าอิฐบ้าง มัสยิดคลองใหญ่บ้าง (มัสยิดน๊ะฮ์ฎอตุ้ลอิสลาห์) ซึ่งเป็นสถานที่ ที่พี่ชายท่านดำรงตำแหน่งอิหม่ามอยู่ที่นั้น (อิหม่ามซาและห์/โต๊ะเยาะห์ซาและห์) ส่วนการฝังศพโดยการนำศพลงเรือเพื่อนำไปฝังยังมัสยิดท่าอิฐ ส่วนการสร้างสถานที่ละหมาดนั้นสร้างเป็นอาคารไม้ ทรงปั้นหยา หลังคาสังกะสี ฝายืน สภาพภูมิศาสตร์ของมัสยิด รอบ ๆ บริเวณมัสยิดส่วนใหญ่เป็นป่าสะแก มีพันธ์ไม้ เช่น ไผ่ หวาย ปะปนอยู่บ้าง และมีเสือปลาอยู่จำนวนมาก การคมนาคมใช้การเดินเท้าหรือพายเรือ แจวเรือตามลำคลอง สองฟากฝั่งรกไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด สภาพเศรษฐกิจของคนในสมัยนั้น มีสภาพเหมือนคนชนบทโดยทั่ว ๆ ไป อยู่อย่างสมถะ พอมีพอใช้และยังชีพด้วยการทำนา มีความรักใคร่กลมเกลียว มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

สมัยนายอะห์หมัด เซ็นเยาะ[แก้]

อิหม่ามอะห์หมัด เซ็นเยาะ หรือแชมะแก่ ท่านเกิดราว (พ.ศ. 2430) - (พ.ศ. 2510) รวมอายุ 80 ปีกว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี แชมะแก่ ท่านเป็นน้องชายคนเล็กของแชบะห์เรน รูปลักษณ์ของท่านเป็นคนผิวขาว ผมหยิกยาวขาวทั้งศีรษะ

ท่านศึกษาอยู่ที่มหานครมักกะฮ์ (อาหรับ: مكة المكرمة, อักษรโรมัน: مكة المكرمة, Makkat Al Mukarramah) ประเทศซาอุดีอาระเบีย[4] (อังกฤษ: Saudi Arabia; อาหรับ: السعودية) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (อาหรับ: المملكة العربية السعودية) เป็นเวลา 7 ปี

ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ( เมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ) ราว พ.ศ. 2466 ได้มีประชาชนเข้ามาตั้งรกรากกันในท้องถิ่นนี้มากขึ้น และในช่วงนั้นได้รับการบริจาคที่ดินจากแชร์บะห์เรน (พี่ชายของท่านอิหม่าม) เป็นจำนวน ๖ ไร่ เพื่อใช้ในการสร้างมัสยิดและสุสาน แต่ในช่วงนั้นประชากรในชุมชนมีไม่มากนัก จึงสร้างสถานที่ละหมาด (บาลาเซาะห์) เพื่อใช้ในการประกอบศาสนกิจร่วมกัน ในตามเวลาปกติเท่านั้น ส่วนการละหมาดวันศุกร์ สัปบุรุษยังคงต้องเดินเท้าบ้าง พายเรือบ้าง เพื่อไปละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดท่าอิฐบ้าง มัสยิดคลองลำรีบ้าง (มัสยิดน๊ะฮ์ฎอตุ้ลอิสลาห์) ซึ่งเป็นสถานที่ ที่พี่ชายของอิหม่ามอะห์หมัดดำรงตำแหน่งอิหม่ามอยู่ที่นั้น (อิหม่ามซาและห์/โต๊ะเยาะห์ซาและห์) และการฝังศพโดยการนำศพลงเรือเพื่อนำไปฝังยังมัสยิดท่าอิฐ ส่วนการสร้างสถานที่ละหมาดนั้นสร้างเป็นอาคารไม้ ทรงปั้นหยา หลังคาสังกะสี ฝายืน สภาพภูมิศาสตร์ของมัสยิด รอบ ๆ บริเวณมัสยิดส่วนใหญ่เป็นป่าสะแก มีพันธ์ไม้ เช่น ไผ่ หวาย ปะปนอยู่บ้าง และมีเสือปลาอยู่จำนวนมาก การคมนาคมใช้การเดินเท้าหรือพายเรือ แจวเรือตามลำคลอง สองฟากฝั่งรกไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด สภาพเศรษฐกิจของคนในสมัยนั้น มีสภาพเหมือนคนชนบทโดยทั่ว ๆ ไป อยู่อย่างสมถะ พอมีพอใช้และยังชีพด้วยการทำนา มีความรักใคร่กลมเกลียว มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.melayupaklad.org/melayu-paklad/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99/
  2. http://www.masjidinfo.com/mosque/info/1390286475
  3. วันเจษฎาบดินทร์ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุดรธานี อ้างจากบทความโดย เยาวนิศ เต็งไตรรัตน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้น 31-3-2555
  4. http://sameaf.mfa.go.th/th/country/middle-east/detail.php?ID=28
  • แบบ ม.อ ๒, ทะเบียนมัสยิด, ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี, วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒
  • แบบ ม.อ ๓, เรื่องราวแจ้งการแต่งตั้งเปลี่ยนแปลงอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น กรรมการมัสยิด หรือสถานที่ตั้ง, ผู้ช่วยจ่าจังหวัดนนทบุรี, ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี, วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๒๔
  • อนุสรณ์มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม (สุเหร่าเขียว), อัลมัรฮูมอิหม่ามฮัจยีอับดุซซุโก๊ร เจริญสุข, นนทบุรี, 2559

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°57′41″N 100°24′27″E / 13.96125°N 100.407417°E / 13.96125; 100.407417