โรงเรียนช่างก่อสร้างดุสิต

พิกัด: 13°47′09″N 100°31′52″E / 13.7858775°N 100.5311948°E / 13.7858775; 100.5311948
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนช่างก่อสร้างดุสิต (วิทยาลัยเทคนิคดุสิต)
Dusit Technical College
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นก.ส.ด. DOR
ประเภทโรงเรียนอาชีวศึกษาสังกัด กรมอาชีวศึกษา.
คำขวัญวิริเยน ทุกขมจเจติ
คนล่วงทุกข์ได้ ด้วยความเพียร
สถาปนา24 มิถุนายน พ.ศ. 2498
ต้นไม้ต้นสัก
เว็บไซต์http://www.technicdusit.ac.th , http://www.76ranong2.org

โรงเรียนช่างก่อสร้างดุสิต เป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาของรัฐบาลสถาบันผลิตนักเรียนประเภทวิชาชีพช่างก่อสร้าง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498 ตั้งอยู่ที่ ซอยระนอง 2 เขตดุสิต กทม.

ประวัติ[แก้]

พ.ศ. 2498 มีโรงเรียนอาชีวศึกษาขั้นสูง ประเภทช่างก่อสร้างอยู่เพียงแห่งเดียว โดยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในสมัยนั้นชี้ถึงความสำคัญของอาชีวศึกษา จึงได้ให้กระทรวงศึกษาทำการเปิดโรงเรียนช่างก่อสร้างดุสิต (อักษรย่อ ก.ส.ด)

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ

เรื่อง ตั้งโรงเรียนช่างก่อสร้างดุสิต

ด้วยกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นสมควร ขยายการศึกษาวิชาช่างก่อสร้างให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน จึงให้ตั้งโรงเรียนช่างก่อสร้างดุสิตขึ้นที่ ถนนระนอง 2 อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ให้ชื่อว่า "โรงเรียนช่างก่อสร้างดุสิต" สังกัดกองโรงเรียนพานิชย์และอุตสาหกรรม กรมอาชีวศึกษา สอนวิชาช่างก่อสร้าง และวิชาอื่นที่มีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นปีการศึกษา 2498

(ลงชื่อ) พลเอก ม. พรหมโยธี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


โรงเรียนช่างก่อสร้างดุสิต ได้เริ่มเปิดทำการสอนตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม ปีการศึกษา 2498 โดยเปิดรับนักเรียน 2 แผนก คือ

  • หลักสูตรอาชีวศึกษาชั้นสูงแผนกก่อสร้าง (หลักสูตร 3 ปี) รับนักเรียนที่สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • หลักสูตรอาชีวศึกษาชั้นสูงแผนกช่างไม้ (หลักสูตร 1 ปี) รับนักเรียนที่สำเร็จประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย

โรงเรียนก่อสร้างดุสิต ในปีแรกที่เปิดการศึกษารับนักเรียน รุ่นแรกดังนี้ :

  • แผนกช่างก่อสร้าง 73 คน
  • แผนกช่างไม้ 9 คน

ในปีต่อมาโรงเรียนได้ขยายหลักสูตรของช่างไม้ปลูกสร้างออกเป็น 3 ปี และปีเดียวกัน ได้เริ่มเปิดสอนรอบบ่าย ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยนั้นเพื่อช่วยเหลือ นักเรียนที่ไม่มีสถานที่เรียน ซึ่งในที่สุดการเปิดสอนรอบบ่ายนี้ ได้เลิกไปในปีการศึกษา 2504 แผนการศึกษาชาติในปี 2503 กรมอาชีวศึกษาได้ปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนต่างๆ เช่นเดียวกันกับ โรงเรียนช่างก่อสร้าง ซึ่งเดิมเป็นโรงเรียนชั้นประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง ก็กลายเป็นโรงเรียนในระดับประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพในปีการศึกษา 2504 คือ โรงเรียนประเภทนี้เปิดสอนช่างก่อสร้างแผนกต่างๆ ได้ 5 แผนก ดังนี้ :

  • แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง
  • แผนกช่างไม้ครุภัณฑ์
  • แผนกช่างปูน
  • แผนกช่างสุขภัณฑ์
  • แผนกช่างเขียนแบบ

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2519 โรงเรียนช่างก่อสร้างดุสิตได้รับการยกวิทยาฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยอาชีวศึกษากรุงเทพฯ วิทยาเขต 1 ดุสิต" และเปลี่ยนเป็น "วิทยาลัยช่างอุตสาหกรรมนครหลวง" แล้วได้เปลี่ยนมาเป็น "วิทยาลัยเทคนิคดุสิต" เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522

ปัจจุบัน วิทยาลัยเทคนิคดุสิต เปิดสอนระดับ ปวช.ปวท.ปวส. และปทส.

สีประจำวิทยาลัย[แก้]

สีประจำวิทยาลัยเทคนิคดุสิต คือ สีน้ำเงิน - สีเหลือง ซึ่งมีความหมายดังนี้ สีน้ำเงิน หมายถึง ช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคดุสิต เปิดสอนสาขาวิชาการก่อสร้างแต่เพียงอย่างเดียว ทุกวิชาที่เปิดสอนล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับงานก่อสร้างทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นงานโยธา งานสำรวจ งานเคหภัณฑ์ งานเทคนิคสถาปัตยกรรม สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความก้าวหน้า เป็นสิ่งที่สูง ดังเช่น ทอง เจริญรุ่งเรืองของช่างก่อสร้าง นักศึกษาที่เข้ามาอยู่ใต้ร่มธงนี้ จะได้รับความรู้พื้นฐานในการประกอบวิชาชีพในสาขาช่างก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม สำรวจ เคหะภัณฑ์ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติสืบไป

ต้นไม้ประจำวิทยาลัย[แก้]

ต้นไม้ประจำวิทยาลัย คือ ต้นสัก ซึ่งปลูกอยู่หน้าวิทยาลัยมานับสิบปี ไม้สักเป็นไม้ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม เหมาะสำหรับทำเครื่องเรือน เป็นไม้ที่มีลวดลายสวยงาม ราคาแพง ถือเป็นไม้ชั้นหนึ่ง นักศึกษาวิทยาลัยแห่งนี้ ต้องทำตัวให้มีคุณค่าเช่นเดียวกับไม้สักที่เป็นไม้มีค่าในงานก่อสร้าง

ตราสัญลักษณ์วิทยาลัย[แก้]

ตราสัญลักษณ์ของวิทยาลัยเทคนิคดุสิต คือ เครื่องหมายที่แทนแผนกวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนในวิทยาลัยแห่งนี้ ลักษณะของตราประกอบด้วยรูปสามเหลี่ยมหลายรูปบรรจุในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงินกรอบขาว แต่ละรูปมีความหมายต่างๆ กันดังต่อไปนี้

1.รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีน้ำเงินกรอบขาว หมายถึง ช่างก่อสร้าง ช่างเคหภัณฑ์ โรงเรียนต้นแบบช่างก่อสร้างผลิตช่างก่อสร้างมากมาย รับราชการเป็นครู-อาจารย์ อยู่ในวิทยาลัยเทคนิคต่างๆ ไม่น้อย ช่างก่อสร้าง ถือว่าสีน้ำเงิน คือโลหิตของพระวิษณุกรรม ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการก่อสร้าง

2.รูปสามเหลี่ยมสีขาวและสีแดง มีลักษณะคล้ายหกสิบองศา ชนกันเป็นรูปหน้าจั่ว หมายถึง สถาปัตยกรรม นั่นคือ สัญลักษณ์ของช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม ผู้ซึ่งใช้อุปกรณ์เขียนแบบมากกว่าช่างอื่น

3.รูปสามเหลี่ยมทึบสีขาวและสีเทาที่อยู่ด้านล่างของหน้าจั่ว หมายถึง คณะวิชาพื้นฐานประกอบด้วย วิชาพื้นฐาน วิชาสามัญ วิชาสัมพันธ์ วิชาเหล่านี้เป็นวิชาที่มีความสำคัญ เช่นเดียวกับวิชาชีพ ปลูกฝังให้เป็นพลเมืองดี มีคุณธรรม สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้

4.รูปสามเหลี่ยมที่เกิดจากนำรูปสามเหลี่ยมสีขาว และสีเทามาต่อเข้าด้วยกัน จะเป็นเป็นโรงสร้างหลักคาหงายขึ้นนั่นคือ แผนกวิชาช่างโยธา

5.ถ้าหมุนตราสัญลักษณ์นี้ ให้ปลายฉากสามเหลี่ยมชี้ลงมาด้านล่าง ภาพที่ปรากฏแก่สายตาคือ ภาพลูกดิ่ง ซึ่งหมายถึง ช่างสำรวจ ตราสัญลักษณ์นี้ประดับอยู่ที่ผนังข้างประตูทางขึ้นตึก 4 หรือจะเรียกว่า ตึกสี่ชั้นก็ได้ ด้านล่างของตราสัญลักษณ์เป็นปรัชญาของวิทยาลัย มีข้อความดังต่อไปนี้ "ทักษะเด่น เน้นคุณธรรม นำวิชา พัฒนาสังคม"

สาขาวิชาหลักสูตร[แก้]

  • ช่างก่อสร้าง
  • ช่างเทคนิคสถาปัตย์
  • ช่างสำรวจ
  • ช่างโยธา
  • ช่างอุตสาหกรรมเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน (ช่างเคหภัณฑ์)


-  หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ระดับปริญญาตรี) สาขาเทคโนโลยีการก่อสร้าง (ต่อเนื่อง)

แผนภูมิผู้บริหาร[แก้]

  • ปี พ.ศ. 2498 - 2510 นาย สังเวียน หิรัญยเลขา
  • ปี พ.ศ. 2510 - 2513 นาย ประเสริฐ ทิมอุดม
  • ปี พ.ศ. 2513 - 2517 นาย ปัญญา มณีวัฒนา
  • ปี พ.ศ. 2517 - 2518 นาย บุญเลิศ ภพลาภ
  • ปี พ.ศ. 2518 - 2519 นาย สถิต พราหมณะนันทน์
  • ปี พ.ศ. 2519 - 2528 นาย อดิศรัย ศรีสุคนธ์
  • ปี พ.ศ. 2528 - 2534 นาย วิชิต สังขนันท์
  • ปี พ.ศ. 2534 - 2539 นาง วาสนา พราหมณะนันท์
  • ปี พ.ศ. 2539 - 2540 นาย นิสิต ศรีศัมภุวงศ์
  • ปี พ.ศ. 2540 - 2541 นาย ไพศาล สินลารัตน์
  • ปี พ.ศ. 2541 - 2543 นาย สมบูรณ์ อุดมทรัพย์
  • ปี พ.ศ. 2543 - 2550 นาย ชาญเวช บุญประเดิม
  • ปี พ.ศ. 2550 - 2551 นาย จิรพันธ์ พุทธรัตน์
  • ปี พ.ศ. 2551 - 2553 ว่าที่ ร.ต.พงษ์เพ็ชร์ พิทยาพละ
  • ปี พ.ศ. 2553 - 2554 นาย สาคม คันธโกวิท (รองผู้อำนวยการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ)
  • ปี พ.ศ. 2554 - 2554 นาย ประภาส คงสบาย
  • ปี พ.ศ. 2554 - 2560 นาย สุวัฒน์ รัตนปริคณน์
  • ปี พ.ศ. 2560 - 2562 นาย ศักดา มยูขโชติ
  • ปี พ.ศ. 2562 - 2565 ดร.รุจิรา ฟูเจริญ
  • ปี พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน นาย จักรินทร์ ดำรักษ์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°47′09″N 100°31′52″E / 13.7858775°N 100.5311948°E / 13.7858775; 100.5311948