โรงเขียนหนังสือ
โรงเขียนหนังสือ หรือ โรงคัดหนังสือ (อังกฤษ: Scriptorium[2]) แปลตรงตัวว่า “สถานที่สำหรับเขียนหนังสือ” มักจะใช้สำหรับห้องหรือโถงในสำนักสงฆ์ที่ใช้ในการก็อปปีหนังสือโดยนักคัด (scribe) ของสำนักสงฆ์ จากหลักฐานที่บันทึกไว้ และจากสิ่งก่อสร้างที่ยังคงมีให้เห็น หรือจากการขุดค้นทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าตรงกันข้ามกับความเชื่อโดยทั่วไปว่าเป็นห้องที่มักจะมีในสำนักสงฆ์นั้นแทบจะไม่มีกันเท่าใดนัก การเขียนหรือคัดหนังสือในสำนักสงฆ์จึงมักจะทำกันในคอกเช่นคอกที่ลึกเข้าไปในผนังของระเบียงคดหรือในห้องเล็กที่เป็นที่พำนักของนักบวชเอง การพูดถึง “โรงเขียนหนังสือ” โดยนักวิชาการในปัจจุบันโดยทั่วไปมักจะหมายถึงการเขียนหรือผลิตงานของสำนักสงฆ์แทนที่จะกล่าวถึงโครงสร้างที่เป็น “โรงเขียน” จริงๆ
“โรงเขียนหนังสือ” เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับห้องสมุด ถ้าที่ใดมีห้องสมุดก็สรุปได้ว่าต้องมี “โรงเขียนหนังสือ” หรือ “โรงคัดหนังสือ” [3] “โรงเขียนหนังสือ” ตามธรรมเนียมแล้วหมายถึงห้องที่กำหนดไว้ให้ใช้ในการเขียนหนังสือและก็คงจะมีอยู่ไม่นานนัก เมื่อผู้ใดหรือสถาบันใดต้องการจะคัดหนังสือสำหรับการสะสมในห้องสมุดก่อนที่จะมีการพิมพ์ เมื่อห้องสมุดมีหนังสือพอเพียงแล้วโรงเขียนก็ยุบเลิก เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เกิดร้านบริการคัดหนังสือโดยฆราวาสขึ้น นักคัดอาชีพก็อาจจะมีห้องพิเศษที่ใช้ในการคัดหนังสือ แต่โดยทั่วไปแล้วก็อาจจะเป็นเพียงโต๊ะใกล้หน้าต่างในบ้านของตนเอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Christopher De Hamel, Scribes and Illuminators, (Toronto: U Toronto Press, 1992), 36.
- ↑ Scriptorium, from the medieval Latin script-, scribere (to write), where -orium is the neuter singular ending for adjectives describing place.
- ↑ "Since the early medieval days of the foundling monastic orders, the library and the scriptorium had been linked. for the most part, the library was a storage space. Reading was done elsewhere." (Christopher S. Celenza, "Creating Canons in Fifteenth-Century Ferrara: Angelo Decembrio's "De politia litteraria," 1.10" Renaissance Quarterly 57.1 (Spring 2004:43-98) p. 48