โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง
(Chronic traumatic encephalopathy)
ชื่ออื่นTraumatic encephalopathy syndrome, dementia pugilistica,[1] punch drunk syndrome
สมองปกติ (ซ้าย) เปรียบเทียบกับสมองผู้ป่วยโรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง (ขวา)
สาขาวิชาประสาทวิทยา, จิตเวชศาสตร์, เวชศาสตร์การกีฬา
อาการBehavioral problems, mood problems, problems with thinking[1]
ภาวะแทรกซ้อนBrain damage, dementia,[2] aggression, depression, suicide[3]
การตั้งต้นYears after initial injuries[2]
สาเหตุRepeated head injuries[1]
ปัจจัยเสี่ยงContact sports, military, domestic abuse, repeated banging of the head[1]
วิธีวินิจฉัยAutopsy[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันAlzheimer's disease, Parkinson's disease[3]
การรักษาSupportive care[3]
ความชุกUncertain[2]

โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง เป็นโรคระบบประสาทเสื่อมชนิดหนึ่ง สัมพันธ์กับการได้รับการกระทบกระแทกที่ศีรษะซ้ำๆ อาการของโรคสมองที่พบได้ในผู้ป่วยโรคนี้ ได้แก่ ปัญหาด้านพฤติกรรม ปัญหาด้านอารมณ์ และปัญหาด้านสติปัญญา เป็นต้น[1][2] อาการเหล่านี้อาจเป็นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นภาวะสมองเสื่อม[2] ยังไม่มีข้อสรุปว่าภาวะนี้สัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายหรือไม่[1]

ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นนักกีฬาที่เล่นกีฬาที่เป็นการต่อสู้ที่มีการกระทบกระแทกรุนแรง เช่น มวยสากล, มวยเตะ (คิกบ็อกซิ่ง), ศิลปะการต่อสู้แบบผสม, มวยไทย เป็นต้น จึงมีชื่อเดิมว่าโรคสมองเสื่อมในนักมวย (dementia pugillistica) นอกจากนี้ยังพบได้ในกีฬาที่มีการปะทะ เช่น อเมริกันฟุตบอล, ออสเตรเลี่ยน รูลส์ ฟุตบอล, มวยปล้ำ, ฮอกกี้น้ำแข็ง, รักบี้, ฟุตบอลสมาคม[1][4] และกีฬากึ่งปะทะ เช่น เบสบอล อีกด้วย ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ เป็นทหาร, มีประวัติความรุนแรงในครอบครัว, และการกระแทกซ้ำๆ ที่ศีรษะ[1] จำนวนครั้งของการกระทบกระแทกที่จะทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด การวินิจฉัยยืนยันยังคงอาศัยการชันสูตรศพ[1] โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคความผิดปกติของโปรตีนเทา[1]

ยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคนี้[3] ในกลุ่มผู้ที่มีประวัติบาดเจ็บที่ศีรษะบ่อยครั้งจะพบเป็นโรคนี้ประมาณ 30%[1] ส่วนความชุกในประชากรทั่วไปยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เริ่มมีการศึกษาถึงการบาดเจ็บต่อสมองในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะบ่อยครั้งตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษ 1920 ซึ่งโรคนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ dementia pugillistica หรือ กลุ่มอาการเมาหมัด[1][3] มีการเสนอให้กีฬาบางชนิดปรับปรุงกติกาการแข่งขันเพื่อป้องกันภาวะนี้[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 Asken, BM; Sullan, MJ; DeKosky, ST; Jaffee, MS; Bauer, RM (1 October 2017). "Research Gaps and Controversies in Chronic Traumatic Encephalopathy: A Review". JAMA Neurology. 74 (10): 1255–1262. doi:10.1001/jamaneurol.2017.2396. PMID 28975240.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Stein, TD; Alvarez, VE; McKee, AC (2014). "Chronic traumatic encephalopathy: a spectrum of neuropathological changes following repetitive brain trauma in athletes and military personnel". Alzheimer's Research & Therapy. 6 (1): 4. doi:10.1186/alzrt234. PMC 3979082. PMID 24423082.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Alzheimer's & Dementia". Alzheimer's Association. สืบค้นเมื่อ 21 September 2017.
  4. Maroon, Joseph C; Winkelman, Robert; Bost, Jeffrey; Amos, Austin C; Mathyssek, Christina; Miele, Vincent (2015). "Chronic Traumatic Encephalopathy in Contact Sports: A Systematic Review of All Reported Pathological Cases". PLOS One. 10 (2): e0117338. Bibcode:2015PLoSO..1017338M. doi:10.1371/journal.pone.0117338. PMC 4324991. PMID 25671598.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค