โยเซฟ เฉิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โยเซฟ เซิน เซอะ-เจวิน

SDB
พระคาร์ดินัล
มุขนายกกิตติคุณแห่งฮ่องกง
พระคาร์ดินัลเซินเมื่อปี 2019
สมณนาม(ละติน)
ข้อมูลส่วนพระองค์
ประสูติ
ข้อมูลอื่น
อาร์มประจำพระองค์โยเซฟ เซิน เซอะ-เจวิน's coat of arms
ประวัติศมณศักดิ์ของ
โยเซฟ เฉิน
History
Priestly ordination
ผู้แต่งตั้งมอริโล ฟอซาตี (ตูริน)
เมื่อ11 กุมภาพันธ์ 1961
ที่ตูริน ประเทศอิตาลี
Episcopal consecration
Principal consecratorยอห์นผู้บัปติสต์ อู่ (ฮ่องกง)
Co-consecratorsปีเตอร์ ชิรายะนางิ (โตเกียว)
Charles Asa Schleck (Adj. Sec. Sacr. Cong. Prop. Fide)
เมื่อ9 ธันวาคม 1996
ที่อาสนวิหารปฏิสนธินิรมล บริติชฮ่องกง
Cardinalate
Elevated byพระสันตปาปาเบเนดิกน์ที่สิบหก
เมื่อ24 มีนาคม 2006
Episcopal succession
Bishops consecrated by โยเซฟ เฉิน as principal consecrator
ลูกิอาโน กัปเปลลี21 ตุลาคม 2007
พระยศของ
โยเซฟ เซิน
Coat of arms of Joseph Zen Ze-kiun.svg
Reference styleฮิสเอมิเนนซ์
การทูลYour Eminence
SeeHong Kong (Emeritus)
โยเซฟ เฉิน
อักษรจีนตัวเต็ม陳日君
อักษรจีนตัวย่อ陈日君

โยเซฟ เซิน เซอะ-เจวิน (อักษรโรมัน: Joseph Zen Ze-kiun SDB; เซี่ยงไฮ้: [zəɲ zəʔ tɕyəɲ], เกิด 13 มกราคม 1932) เป็นพระคาร์ดินัลในคริสตจักรคาทอลิกจากฮ่องกง ผู้ดำรงตำแหน่งมุขนายกแห่งฮ่องกงคนที่หก เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัลสนปี 2006 และเป็นผู้มีบทบาทในการออกมาพูดถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน, เสรีภาพ และเสรีภาพทางศาสนาในฮ่องกงและจีน เขามีความสัมพันธ์สำคัญมากกับค่ายสนับสนุนประชาธิปไตยของฮ่องกง และมักถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยกลุ่มสนับสนุนปักกิ่งกับรัฐบาลจีน[2] เขาเกษียณจากตำแหน่งเมื่อ 15 เมษายน 2009 แต่ยังคงมีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้สนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกง ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2022 เขาถูกจับกุมภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ ก่อนจะได้รับประกันตัวในวันถัดมา[3]

เมื่อเดือนตุลาคม 2011 เซินระบุว่าเขาได้รับเงินบริจาค HK$20 ล้าน จากมหาเศรษฐีฮ่องกงและผู้สนับสนุนประชาธิปไตย จิมมี ล่าย มาตั้งแต่ปี 2005 เงินจำนวนนี้ถูกนำไปช่วยเหลือผู้ยากไร้และช่วยดำเนินกิจการของคริสต์จักรใต้ดินในจีนแผ่นดินใหญ่[4] ในปี 2014 พระคาร์ดินัลเซินได้ร้องขอให้พระสันตะปาปาฟรังซิสไม่เดินทางไปยังประเทศจีน โดยระบุว่าพระองค์จะถูก "ชักจูง" โดยในบทสัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์อิตาลี Corriere della Sera เขาระบุว่า "ข้าพเจ้าจะบอกท่าน[พระสันตะปาปา]เดี๋ยวนี้ว่า 'อย่ามา[จีน]เลย ท่านจะถูกชักจูง' ... พี่น้อง[ชาวคาทอลิก]ที่หาญกล้าไม่อาจได้พบ[พระสันตะปาปา] และพรรคคอมมิวนิสต์จะให้ท่านพบแต่มุขนายกที่อาบัติ (illegitimate bishops) ในจำนวนนี้สามคนถูกขับออกจากคริสตจักร (excommunicated) ไปแล้ว"[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) Association for Conversation of Hong Kong Indigenous Languages Online Dictionary for Hong Kong Hakka and Hong Kong Punti (Weitou dialect)
  2. Scimia, Emanuele (29 January 2020). "The Vatican Stays Away from the Hong Kong Crisis Due to Fears of Beijing's Retaliation". Jamestown Foundation. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  3. "Hong Kong police arrest retired Catholic cardinal on national security charges, release him on bail". 11 May 2022.[ลิงก์เสีย]
  4. Gheddo, Piero (20 October 2011). "I received millions and spent them for the Church and the poor, Card Zen says". Asianews.it.
  5. "Hong Kong's Cardinal Joseph Zen asks Pope Francis not to visit China". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 3 July 2014. สืบค้นเมื่อ 13 February 2018.