ข้ามไปเนื้อหา

โยคีอาทิตยนาถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยคีอาทิตยนาถ
อาทิตยนาถในปี 2018
มุขยมนตรีรัฐอุตตรประเทศ คนที่ 22
เริ่มดำรงตำแหน่ง
19 มีนาคม 2017
ผู้ว่าการราม นาอีก
อานันทีเพน ปเฏล
รองเกศัพ ประสาท เมารยะ
ทิเนศ ศรมา
ก่อนหน้าอขิเลศ ยาทัพ
สมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐอุตตรประเทศ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
18 กันยายน 2017
สมาชิกสภาโลกสภา
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม 1998 – 21 กันยายน 2017
ก่อนหน้ามหันต์ อไวทยนาถ
ถัดไปประวีณ กุมาร นิษาท
เขตเลือกตั้งโครัขปุร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อชัย โมหัน พิษฏ์[1]

(1972-06-05) 5 มิถุนายน ค.ศ. 1972 (52 ปี)
ปานจูร อำเภอเปารีครหวาล รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
(ปัจจุบันคือรัฐอุตตราขัณฑ์)
พรรคการเมืองพรรคภารติยชนตา
ที่อยู่อาศัย5 ถนนกาลิทาส ลัคเนา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
ศิษย์เก่าHNB Garhwal University (BSc)
อาชีพนักการเมือง, นักบวชในศาสนาฮินดู (โยคี)
เว็บไซต์www.yogiadityanath.in

โยคีอาทิตยนาถ (ฮินดี: योगी आदित्यनाथ; เกิด 5 มิถุนายน 1972[2]) นามเดิม อชัย โมหัน พิษฎ์[1][3] หรือ อชัย สิงห์ พิษฏ์ (अजय सिंह बिष्ट)[4] เป็นนักบวชในศาสนาฮินดูและนักการเมืองสายชาตินิยมฮินดู เป็นมุขยมนตรีประจำรัฐอุตตรประเทศ คนที่ 22 และปัจจุบัน อยู่ในวาระตั้งแต่ 19 มีนาคม 2017[5][6]

เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นมุขยมนตรีประจำรัฐหลังพรรคภารติยชนตา (BJP) ชนะการเลือกตั้งสภารัฐปี 2017 ที่ซึ่งเขาเป็นผู้ทำแคมเปญคนสำคัญ[7][8][9] นอกจากนี้เขายังเป็นสมาชิกรัฐสภาผ่านนิติบัญญัติมณฑลโครัขปุระ รัฐอุตตรประเทศ ห้าวาระติดต่อกันนับตั้งแต่ปี 1998[10]

นอกจากนี้อาทิตยนาถยังเป็นมหันต์ (Mahant) หรือหัวหน้าคณะนักบวชประจำโครัขนาถมัฐ (Gorakhnath Math) โบสถ์พราหมณ์ในเมืองโครัขปุร (Gorakhpur) ตำแหน่งที่เขาสืบทอดนับจากการเสียชีวิตของบิดาทางจิตวิญญาณของเขา มหันต์ อไวทยนาถ (Mahant Avaidyanath) ในเดือนกันยายน 2014 นอกจากนี้เขายังได้ก่อตั้งองค์กรที่มีแนวคิดสุดโต่ง ฮินดูยุวะวาหิณี (Hindu Yuva Vahini)[11][12] โยคีอาทิตยนาถมีภาพลักษณ์ที่เป็นผู้นิยมประชานิยมขวาจัดฮินดูตวา (Hindutva) และต่อต้านมุสลิม[1][13][14][15] เช่นในครั้งที่ดอนัลด์ ทรัมป์ตรากฎหมายห้ามพลเมืองจาก 7 ประเทศมุสลิมเข้าสหรัฐ อาทิตยนาถได้ชื่นชมการกระทำนี้และได้เรียกร้องให้ประเทศอินเดียเองมีการออกนโยบายที่คล้ายกันเพื่อจัดการกับการก่อการร้าย[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Ellen Barry (18 March 2017), "Firebrand Hindu Cleric Yogi Adityanath Picked as Uttar Pradesh Minister", The New York Times, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2017, สืบค้นเมื่อ 25 March 2017
  2. Shri Yogi Adityanath: Members bioprofile เก็บถาวร 24 มีนาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Sixteenth Lok Sabha, retrieved 19 March 2017.
  3. Who is Yogi Adityanath? MP, head of Gorakhnath temple and a political rabble-rouser เก็บถาวร 20 เมษายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Hindustan Times, 6 April 2017.
  4. In The End, This Is What Worked In Yogi Adityanath's Favour เก็บถาวร 18 มีนาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 18 March 2017.
  5. "Modi's party picks Yogi Adityanath, strident Hindu nationalist priest, as leader of India's biggest state". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2017. สืบค้นเมื่อ 27 April 2017.
  6. Safi, Michael (25 March 2017). "Rise of Hindu 'extremist' spooks Muslim minority in India's heartland". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2017. สืบค้นเมื่อ 27 April 2017.
  7. "BJP's Adityanath sworn in as UP chief minister with 2 deputies". The Times of India. 19 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2017. สืบค้นเมื่อ 22 March 2017.
  8. "Hindu firebrand Yogi Adityanath picked as Uttar Pradesh chief minister". BBC News. 18 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2017. สืบค้นเมื่อ 18 March 2017.
  9. "Yogi Adityanath is new Uttar Pradesh CM, will have two deputies". The Indian Express. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2017. สืบค้นเมื่อ 18 March 2017.
  10. Singh, Akhilesh (22 March 2017). "Yogi, Parrikar and Maurya to stay MPs till President polls in July". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2017. สืบค้นเมื่อ 22 March 2017.
  11. Jha, Prashant (1 January 2014). Battles of the New Republic: A Contemporary History of Nepal (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 110. ISBN 9781849044592.
  12. Violette Graff and Juliette Galonnier (20 August 2013). "Hindu-Muslim Communal Riots in India II (1986-2011)". Online Encyclopedia of Mass Violence; Sciences Po.: 30, 31. CiteSeerX 10.1.1.692.6594. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  13. "Yogi Adityanath, Hindutva Firebrand, Is The New CM Of UP". Huffington Post India. 18 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2017. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
  14. "India's prime minister just selected an anti-Muslim firebrand to lead its largest state". Vox. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2017. สืบค้นเมื่อ 12 April 2017.
  15. "Wag the dog: On Yogi Adityanath as UP CM". The Hindu (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2017. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
  16. "BJP's Yogi Adityanath Praises Trump Ban, Compares Western UP To Kashmir". NDTV. 31 January 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2017. สืบค้นเมื่อ 18 March 2017.