โมโนเรลสวนสัตว์เชียงใหม่

พิกัด: 18°48′32″N 98°56′49″E / 18.809°N 98.947°E / 18.809; 98.947
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โมโนเรลสวนสัตว์เชียงใหม่
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งสวนสัตว์เชียงใหม่
ประเภทรางเดี่ยวแบบคร่อม
จำนวนสาย1
จำนวนสถานี4
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน21 ธันวาคม พ.ศ. 2551[1]
เลิกให้บริการ16 ธันวาคม พ.ศ. 2557[2]
จำนวนขบวน4
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง2 km (1.24 mi)[3]
รางกว้าง47 เซนติเมตร[3]
ผังเส้นทาง

โมโนเรลสวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นรถรางเดี่ยวทางสั้นสำหรับโดยสารและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่ เปิดบริการแก่นักท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ก่อนให้เปิดบริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา[1] ถือเป็นระบบรางเดี่ยวที่ให้บริการสายแรกของประเทศไทย[4] ดำเนินการโดยบริษัท ไทยโมโนเรล จำกัด[1][4] ทั้งนี้โมโนเรลสวนสัตว์เชียงใหม่มีความยาว 2 กิโลเมตรในสี่สถานี ขบวนรถปรับอากาศ รองรับผู้โดยสารได้ 50–70 คน[3] เดิมมีอัตราค่าโดยสาร เด็กราคา 50 บาท ผู้ใหญ่ราคา 70 บาท และชาวต่างชาติ 100 บาท แต่ภายหลังได้เพิ่มเป็น 100 บาททั้งหมด[4]

แต่โมโนเรลสวนสัตว์เชียงใหม่ประสบปัญหาทางเทคนิคอยู่บ่อยครั้ง[5][6] ประกอบกับการกระทำผิดสัญญาของบริษัท ไทยโมโนเรล จำกัด จึงถูกสวนสัตว์เชียงใหม่ยกเลิกสัญญา และให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดภายในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557[2]

ประวัติ[แก้]

ธนภัทร พงษ์ภมร ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ในขณะนั้น ร่วมกับประเสริฐ เกษมโกเมศ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยโมโนเรล จำกัดซึ่งเป็นบริษัทที่รับสัมปทาน ได้ก่อสร้างเส้นทางรถรางเดี่ยวชมสวนสัตว์เชียงใหม่สำหรับให้บริการนักท่องเที่ยว เพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และเสียงรบกวนที่เกิดจากรถยนต์ส่วนตัวของนักท่องเที่ยว[1] ประเสริฐอ้างว่าบริษัทได้ลงทุนการก่อสร้างและระบบไฟฟ้าใช้งบประมาณราว 200 ล้านบาท[1] ต่อมาบอกว่า 150 ล้านบาท[4][7] โดยทางสวนสัตว์เชียงใหม่และบริษัท ไทยโมโนเรล จำกัดได้ตกลง โดยบริษัทจะสัมปทานเป็นระยะเวลา 20 ปี 10 ปีแรกจะแบ่งรายได้ส่วนเกินราว 2 ล้านบาทแก่สวนสัตว์เชียงใหม่ ส่วน 10 ปีหลังจะแบ่งรายได้ครึ่งหนึ่งของทั้งหมดแก่สวนสัตว์ และหลังครบ 20 ปีจะส่งมอบเส้นทางรถรางเดี่ยวให้ทางสวนสัตว์บริหารจัดการเอง[1] และมีวงเงินประกัน 10 ล้านบาทต่ออุบัติเหตุหนึ่งครั้ง[1]

แต่ตลอดระยะเวลาของการดำเนินกิจการ บริษัทกลับขาดทุนมาโดยตลอดเพราะต้องเสียเฉพาะค่าดอกเบี้ยที่กู้ยืมมาลงทุนไม่ต่ำกว่าปีละ 12 ล้านบาท[7] รวมทั้งประสบปัญหาทางเทคนิคบ่อยครั้ง[5][6] และปัญหาพิพาทกันระหว่างบริษัทกับสวนสัตว์ อาทิ การที่บริษัทเพิ่มราคาตั๋วในราคา 100 บาทโดยไม่ได้รับการยินยอมจากสวนสัตว์ และการค้างชำระเงินตอบแทนแต่สวนสัตว์เชียงใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2554[7] อันส่งผลให้สวนสัตว์เชียงใหม่ประกาศยกเลิกสัญญาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557[7] แต่บริษัทก็ยังคงเปิดให้บริการวิ่งเป็นปกติแม้ถูกยกเลิกสัญญาและมีหนังสือแจ้งเตือนแล้วหลายครั้ง[8]

นายสัตวแพทย์กาญจน์ชัย แสนวงศ์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่กล่าวว่าบริษัท ไทยโมโนเรล จำกัด กระทำผิดสัญญาข้อที่ 10 ทางสวนสัตว์จึงบอกเลิกให้ทางบริษัทรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ยานพาหนะ และพนักงานออกจากสวนสัตว์ภายในหรือก่อนวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557[2][4]

การเดินรถ[แก้]

เส้นทางเดินรถของโมโนเรลสวนสัตว์เชียงใหม่มีระยะทาง 2 กิโลเมตร มีสถานีขึ้นลง 4 สถานี โดยตั้งชื่อตามสัตว์และพรรณพืช เช่น คีรีบูน หรือพุดซ้อน เป็นต้น[9] เบื้องต้นมีรถให้บริการ 4 ขบวน ขบวนละ 5 ตู้ รองรับผู้โดยสานได้ 50[1]-70 คน[3] มีความเร็ว 15-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาวนแต่ละรอบ 25 นาที[1]

มีอัตราค่าโดยสาร เด็กราคา 50 บาท ผู้ใหญ่ราคา 70 บาท และชาวต่างชาติ 100 บาท[4] (บางแห่งว่าชาวต่างชาติ 150 บาท)[1] แต่ภายหลังทางบริษัท ไทยโมโนเรล จำกัดได้เพิ่มอัตราค่าโดยสารขึ้นเป็น 100 บาทสำหรับคนไทยทั้งเด็กและผู้ใหญ่[4] โดยมิได้รับการยินยอมจากสวนสัตว์[2][4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "สวนสัตว์เชียงใหม่พร้อมเปิดให้บริการ "รถโมโนเรลลอยฟ้า" แล้ว". MGR Online. 11 ธันวาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 กนกรัตน์ ปัญญา (21 พฤศจิกายน 2557). "การยกเลิกสัญญาระบบขนส่งมวลชนภายในสวนสัตว์เชียงใหม่". สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Chiang Mai Zoo - Bangkok, Thailand". monorails.org. The Monorail Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-15. สืบค้นเมื่อ 25 September 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 "เลิกโมโนเรลสวนสัตว์ ชม. วุ่น เอกชนจี้คืนเงินประกัน 200 ล." ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 27 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 "ระทึก! ลุยช่วย '10 ชีวิต' ค้างรถรางลอยฟ้า สวนสัตว์เชียงใหม่". ไทยรัฐออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 "แตกตื่น! รถรางไฟฟ้าสวนสัตว์เชียงใหม่ค้าง นักท่องเที่ยวทั้งไทย-ต่างชาติ ติดอยู่นานนับชั่วโมง". คมชัดลึก. 27 เมษายน 2556. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "สวนสัตว์เชียงใหม่ยันรถรางไฟฟ้าผิดสัญญาชัด หลังเอกชนโวยถูกยกเลิกไม่เป็นธรรม". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 22 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. ""โมโดเรล"ดื้อเพ่งเปิดวิ่งปกติในสวนสัตว์เชียงใหม่". โพสต์ทูเดย์. 21 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  9. "ทอดน่องท่องสวนสัตว์เชียงใหม่กับรถ Monorail ส่งท้ายปี 2550". Chubby Review. 30 กรกฎาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-23. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

18°48′32″N 98°56′49″E / 18.809°N 98.947°E / 18.809; 98.947