โมกษคุณฑัม วิศเวศวรัยยะ
เอ็ม. วิศเวศวรัยยะ | |
---|---|
เดวันแห่งไมสูรุคนที่ 19 | |
ดำรงตำแหน่ง 1912–1918 | |
กษัตริย์ | กฤษณราชา วฑิยัร ที่สี่ |
ก่อนหน้า | ที. อานันทะ เรา |
ถัดไป | เอ็ม. กันตราช อุรส |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กันยายน 1861 มุทเทนหัลลี ราชอาณาจักรไมสูรุ อินเดียของอังกฤษ |
เสียชีวิต | 12/14 เมษายน 1962 (อายุ 100) บังกาลอร์ รัฐไมสูรุ ประเทศอินเดีย (ปัจจุบันคือรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย) |
เชื้อชาติ | อินเดีย |
ศิษย์เก่า | |
วิชาชีพ | วิศวกร, รัฐบุรุษ |
รางวัล | ภารตรัตนะ (1955) |
เซอร์ โมกษคุณฑัม วิศเวศวรัยยะ (อักษรโรมัน: Sir Mokshagundam Visvesvaraya, KCIE, FASc; 15 กันยายน 1861 – 12/14 เมษายน 1962)[1][2] เป็นวิศวกรโยธาและรัฐบุรุษชาวอินเดีย[3] ผู้ดำรงตำแหน่งดีวันแห่งไมสูรุคนที่ 19 ระหว่างปี 1912 ถึง 1918[4]
เขาได้รับการยอมรับให้อินเดียว่าเป็นหนึ่งในวิศวกรโยธาแนวหน้าของประเทศ ในอินเดีย, ศรีลังกา และแทนซาเนีย เฉลิมฉลองวันเกิดของเขา ซึ่งคือวันที่ 15 กันยายนของทุกปี ให้เป็นวันวิศวกร และเขายังได้รับการยอมรับให้เป็น "ผู้สร้างไมสูรุยุคใหม่"[5]
วิศเวศวรัยยะเริ่มต้นทำงานเป็นวิศวกรโยธาให้รับรัฐบาลของบริติชราช และต่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไมสูรุ สมัยทำงานให้กับบริติชราช เขาได้รับเครื่องราชฯ CIE จากกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่เจ็ด ในฐานะหัวหน้าวิศวกรแห่งรัฐบาลไมสูรุ[6] และได้รับสถาปนายศอัศวิน KCIE โดยกษัตริย์จอร์จที่ห้า ในฐานะนายกรัฐมนตรีแห่งไมสูรุที่มีบทบาทเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะ[7] ส่วนบทบาทของเขาต่ออินเดีย ทำให้เขาได้รับเครื่องราชฯ ภารตรัตนะจากรัฐบาลอินเดียในปี 1955 ซึ่งถือเป็นเครื่องราชฯ ระดับสูงสุดของพลเมือง[8] และได้รับสมาชิกภาพผู้ทรงเกียรติ (honorary membership) ประจำสถาบันวิศวกรโยธาลอนดอน[9][10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mudde, Raggi (2016-12-10). "Sir M Visvesvaraya – An Excellent Statesman and Eminent Engineer". Karnataka.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-09-14.
- ↑ "Complete biography of Dr. M. Visvesvaraya". PreserveArticles.com: Preserving Your Articles for Eternity (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2011-04-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-09-14.
- ↑ "Opinion An unsentimental man of action". 14 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2022. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
- ↑ "Diwans take over". The Hindu. 15 August 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2003.
- ↑ Sen, Siba Pada; India), Institute of Historical Studies (Kolkata (1967). The Indian Press: A Collection of Papers Presented at the Fourth Annual Conference of the Institute, Mysore, 1966 (ภาษาอังกฤษ). Institute of Historical Studies.
- ↑ "No. 28559". The London Gazette. 8 December 1911. p. 9363.
- ↑ "No. 29180". The London Gazette (Supplement). 1 June 1915. p. 5329.
- ↑ "Padma Awards Directory (1954–2007)" (PDF). Ministry of Home affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 April 2009. สืบค้นเมื่อ 26 November 2010.
- ↑ "Welcome to Chikballapur District – Visvesvaraya". Chikballapur.nic.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2010. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.
- ↑ "Fellowship – Visvesvaraya, M." Indian Academy of Sciences. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2018. สืบค้นเมื่อ 5 March 2018.