โพกะโยเก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โพะกะโยะเกะ (ญี่ปุ่น: ポカヨケโรมาจิPOKAYOKE) เป็นระบบหรืออุปกรณ์ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อป้องกันการผิดพลาดของการทำงานในสายการผลิต ของโรงงานเป็นต้น ในเรื่องของอุปกรณ์ รากศัพท์ของคำว่า "โพะกะโยะเกะ" มาจากหมากล้อม,หมากรุกญี่ปุ่น ที่นำมาใช้เป็นคำศัพท์นี้ โดยปกติมีความหมายว่าเดินหมากพลาดโดยที่คิดไม่ถึง Poka เราจึง Yokeru มึความหมายแปลว่าหลีกเลี่ยง

ในโรงงานจะใช้คนทำงานเสียส่วนใหญ่ ซึ่งความผิดพลาดของแต่ละคนในการทำงานก็มีมากเช่นเดียวกัน แนวคิดPoka-yoke จึงเน้นการป้องกันความผิดพลาดจากการสะเพร่าของคนงาน 1คน เช่น การติดตั้งปุ่มในการบังคับเครื่องPress ให้ทำงานเมื่อกด ปุ่ม2ปุ่มที่อยู่ห่างกันพร้อมๆกัน การทำระบบให้ต้องเหยียบเบรกก่อนจึงจะสตาร์ทรถได้ เป็นต้น

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก็คือของเสียเป็นต้นจะเกี่ยวเนื่องกับปัญหาเรื่องคุณภาพตามมาเสียส่วนใหญ่ หรือเมื่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกลายเป็นผลิตภัณฑ์แล้วการค้นหาและการเลือกของเสียออกจากของดี ก็จะใช้เวลามากรวมถึงค่าใช้จ่ายก็จะตามมา หรือการค้นหาของไม่ดีที่เกิดขึ้นก็ยากและอาจจะหลุดลอดไปสู่ตลาดหรือลูกค้าได้ง่าย ซึ่ง ณ จุดตรงนี้ เพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการผิดพลาดของการผลิตในขบวนการสายการผลิตไม่ให้หลุดลอดออกจากขบวนการ ในขบวนการผลิตจึงได้นำหรือติดตั้ง โพะกะโยะเกะ ในสายงานของตนเอง

ได้ถูกนับเป็นหนึ่งในระบบการผลิตแบบโตโยต้าซึ่งระบบการผลิตแบบโตโยต้านั้นมีความคิดที่เป็นพื้นฐานก็คือ "ขบวนการถัดไปก็คือลูกค้า" ของตนเอง ซึ่งจะหมายความว่าขบวนการของตนเองเมื่อทำเสร็จแล้วกล่าวคือ ไม่ส่งของที่ไม่ดีให้กับขบวนการถัดไป ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงของที่ไม่ดีเกิดขึ้นแล้ว ต้องรับประกันคุณภาพของในขบวนการตนเองด้วย

แนวคิดพื้นฐานของโพะกะโยะเกะถูกนำเสนอและนำมาใช้ในระบบการผลิตแบบโตโยต้าโดยวิศวกรชาวญี่ปุ่นชื่อ Shigeo Shingo (新郷重雄 しんごう しげお ค.ศ.1909-1990)แต่เดิมแนวคิดนี้ถูกเรียกว่า บะกะโยเกะ (ญี่ปุ่น: バカヨケโรมาจิBAKAYOKE) ซึ่งแปลตรงตัวว่า หลีกเลี่ยงความโง่ ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนเป็น โพะกะโยะเกะ เพื่อให้ความหมายดูซอฟท์ขึ้น

เมื่อเวลาที่วงการอุตสาหกรรมญี่ปุ่นได้ก้าวสู่หรือขยายไปในต่างประเทศนั้น ในต่างประเทศก็ได้มีการค้นคว้าวงการอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเช่นกัน และคำนี้ก็ได้ขยายวงกว้างไปสู่ต่างประเทศผลที่ได้ก็คือโพะกะโยะเกะเป็นคำที่สามารถสือสารกันได้ทั่วไปในวงการผลิต