โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โปเกมอน โกลด์
โปเกมอน ซิลเวอร์
กล่องเกม โปเกมอน โกลด์ แสดงภาพโปเกมอนในตำนาน โฮโอ โปเกมอน ซิลเวอร์ แสดงภาพโปเกมอนในตำนาน ลูเกีย
ผู้พัฒนาเกมฟรีก
ผู้จัดจำหน่ายนินเท็นโด
กำกับซาโตชิ ทาจิริ
อำนวยการผลิตทาเกฮิโระ อิซูซิ
ทาเคชิ คาวากุจิ
สึเนคาซึ อิชิฮาระ
ศิลปินเค็น ซูงิโมริ
เขียนบทโทชิโนบุ มัตสึมิยะ
เค็นจิ มัตสึชิมะ
แต่งเพลงจุนอิจิ มาสึดะ
โก อิจิโนเซะ
โมริคาซุ อาโอกิ(ภาคคริสตัล)
ชุดโปเกมอน
เครื่องเล่นเกมบอย, เกมบอยคัลเลอร์ (รองรับซูเปอร์เกมบอย; ไม่รองรับเกมบอยและซูเปอร์เกมบอยในเกาหลีใต้
วางจำหน่าย
  • JP: 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999[1]
  • AUS: 13 ตุลาคม ค.ศ. 2000[2]
  • NA: 15 ตุลาคม ค.ศ. 2000[2]
  • EU: 6 เมษายน ค.ศ. 2001[2]
แนววิดีโอเกมเล่นตามบทบาท
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, ผู้เล่นหลายคน

โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ (อังกฤษ: Pokémon Gold Version and Silver Version[a]) เป็นเกมโปเกมอนรุ่นที่สองของซีรีส์โปเกมอน พัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก และวางจำหน่ายโดยนินเท็นโด สำหรับเครื่องเล่นเกมบอย ต่อมาเกมได้ปรับปรุงและทำการตลาดสำหรับเครื่องเล่นเกมบอยคัลเลอร์ วางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 โดยแบ่งเป็น 2 เวอร์ชันประกอบไปด้วย พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ สีทอง[b] และ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ สีเงิน[c] ต่อมาได้ถูกวางจำหน่ายในภาษาต่างประเทศทั้งอเมริกาเหนือ, ออสเตรเลีย และทวีปยุโรป โดยออสเตรเลียวางขายเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2000 ตามด้วยทวีปอเมริกาเหนือ วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2000 และทวีปยุโรป วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2001

และในปีต่อมาได้เพื่มเวอร์ชันเสริมที่มีชื่อว่า พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ คริสตัลเวอร์ชัน[d] วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2000

ต่อมาได้ถูกนำมาทำใหม่สำหรับเครื่องนินเท็นโด ดีเอส ในชื่อ โปเกมอน ฮาร์ตโกลด์ และ โซลซิลเวอร์

นอกจากนี้ได้ถูกวางจำหน่ายในรูปแบบเวอร์ชวลคอนโซลบนเครื่องนินเท็นโด 3ดีเอส เมื่อวันที่ ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

ประวัติ[แก้]

โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ เป็นเกมโปเกมอนชุดใหม่ของซีรีส์เกมโปเกมอน ชุดที่ 2 หลังจากที่ได้รับความนิยมจากเกมก่อนหน้านี้อย่างพ็อกเก็ตมอนสเตอร์ สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน, พิคาชู ปกของเกมนี้ใช้โปเกมอนในตำนานประจำเขตโตโจ ประกอบไปด้วย โฮโอ (โกลด์) และ ลูเกีย (ซิลเวอร์)

เกมนำเสนอโปเกมอนสายพันธุ์ใหม่ 100 ชนิด และผู้เล่นได้ควบคุมตัวละคร โดยที่ผู้เล่นสามารถเลือกตั้งชื่อเองได้ ภารกิจคือเป็นยอดนักต่อสู้โปเกมอน เกมทั้งสองภาคเป็นอิสระต่อกันแต่มีเนื้อหาส่วนใหญ่เหมือนกัน ขณะที่เกมทั้งสองภาคสามารถเล่นแยกกันได้ แต่จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนระหว่างภาคและภาคก่อนหน้าเพื่อเติมเต็มโปเกเดกซ์ เนื้อเรื่องอนิเมะภาคโจโตซากายึดตามภูมิภาคในเกม

โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ ยังคงประสบความสำเร็จมหาศาลต่อจากพ็อกเก็ตมอนสเตอร์ สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน, พิคาชู เนื่องจากโปเกมอนเริ่มทำรายได้ได้ถึงหลักพันล้าน เกมทำรายได้เกือบเท่ากับยอดขายของ โปเกมอนเกมชุดแรก และยังคงขายได้รวมหลายล้านหน่วยทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2010 ยอดขาย โกลด์ และ ซิลเวอร์ ที่มีการบันทึกไว้คือ 23 ล้านหน่วย

เกมโปเกมอนภาคนี้เป็นเกมโปเกมอนเกมเดียวที่ออกจำหน่ายในประเทศเกาหลีใต้ก่อนก่อตั้งสำนักงานย่อยของนินเท็นโด และบริษัท โปเกมอนโคเรีย จำกัด เมื่อ ค.ศ. 2006 และจำหน่ายเกมโปเกมอน ไดมอนด์ และ เพิร์ลที่นั่น โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ ออกจำหน่ายในประเทศเกาหลีใต้ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2002 สำหรับเครื่องเล่นเกมบอยคัลเลอร์เช่นเดียวกับ โปเกมอน คริสตัลเวอร์ชัน

ระบบเกม[แก้]

อาลิเกตซ์ เลเวล 18 ของผู้เล่น ต่อสู้กับบูลู เลเวล 13 ของคู่แข่ง ในภาคคริสตัล

พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน, พิคาชู ตัวโปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ มีมุมมองการเล่นจากด้านบนหรือเรียกว่าบุคคลที่สาม โดยสามารถใช้ผู้เล่นเดินทางไปได้ทั่วโลกของเกม และสามารถสนทนากับวัตถุและตัวละครอื่นได้ ในการสำรวจโลกของเกมก็จะมีภูมิประเทศที่แตกต่างกันออกไป เช่นทุ่งหญ้า, ป่า, ถ้ำและทะเล ซึ่งก็จะมีโปเกมอนที่มีสายพันธุ์แตกต่างกันอยู่ เมื่อเราเดินสุ่มแล้วเจอกับโปเกมอนเหล่านี้หน้าจอจะสลับไปที่"ฉากต่อสู้"ซึ่งจำเป็นต้องใช้โปเกมอนของเราเข้าสู้[3]

ตัวเกมมีเป้าหมายหลักสองประการคือ: ต้องผ่านเนื้อเรื่องหลักของเกม และต้องเอาชนะสี่จตุรเทพและแชมป์เปียน เพื่อที่เราจะได้เป็นเป็นแชมป์คนใหม่[4] และเอาชนะเรด ซึ่งเราจะต้องเติมเต็มโปเกเด็กซ์ด้วยการจับและพัฒนา ให้ได้โปเกมอนครบ251ชนิด ส่วนสำคัญจะพัฒนาและเพิ่มโปเกมอนของผู้เล่นคือ โดยผู้เล่นจะต้องต่อสู้กับโปเกมอนตัวอื่นซึ่งสามารถพบได้ในป่า หรือโปเกมอนที่มีเจ้าของฝึกอบรมอื่นๆ ก็จะมีระบบค่าประสบการณ์(EXP) และเลเวล ลักษณะพบได้ทั่วไปในวิดีโอเกมโปเกมอนทุกภาค ซึ่งก็จะทำให้โปเกมอนเกิดการพัฒนาร่างจากการต่อสู้และได้เรียนรู้ท่าต่างๆ[5]

ระบบใหม่[แก้]

โปเกมอน ภาคโกลด์และซิลเวอร์ยังคงรักษากลไกพื้นฐานอย่างการควบคุม,การต่อสู้และการพัฒนาร่าง คุณสมบัติใหม่ที่ถูกเพิ่มขึ้นในเกมนี้คือระบบเวลา ซึ่งใช้ระบบเวลาจริงๆที่เป็นวัน,สัปดาห์ รวมทั้งยังมีการบันทึกเหตุการณ์บางอย่าง เช่นการปรากฏตัวของโปเกมอนใหม่ๆ ซึ่งก็ส่งผลต่อเกมนี้[3] และมีการเพิ่มไอเทมใหม่เพื่อที่ผู้เล่นจะได้นำมาใช้ประโยชน์: มีไอเทมฟื้นฟูสำหรับโปเกมอนดังนี้[6] มีไอเทมใหม่ซึ่งก็คือเบอร์รี่ ซึ่งสามารถฟื้นฟูพลังชีวิตหรือรักษาผลแทรกซ้อนอื่นๆให้กับโปเกมอนในระหว่างการต่อสู้ ได้มีการเพิ่มเติมชนิดของโปเกบอล และก็ทำให้จับโปเกมอนได้ง่ายขึ้นได้ง่ายในบางสถานการณ์[7] ซึ่งไดมีไอเทมใหม่ที่มีชื่อว่า โปเกเกียร์ (อังกฤษ: Pokégear; ญี่ปุ่น: ポケギアโรมาจิPokegia) ซึ่งมีหน้าที่เป็นนาฬิกา, แผนที่, วิทยุ, โทรศัพท์, ช่วยให้ผู้เล่นสามารถคุยกับตัวละครอื่นๆได้ รวมทั้งยังมีหมายเลขโทรศัพท์ของตนเอง และผู้อื่น และตัวละครอื่นก็สมารถโทรบอกเรื่องที่เกี่ยวกับโปเกมอนหายากที่สามารถจับได้ในบางพื้นที่[8]

เกมนี้ได้แนะนำไรโค, เอ็นเทย์ และ ซุยคุน โปเกมอนในตำนานชนิดใหม่ ที่จะเดินไปรอบๆ เขตโจโตและจะเปลี่ยนสถานที่บ่อย[9] สามารถติดตามได้ด้วยสมุดภาพโปเกมอน ซึ่งต้องเคยเจอและมักจะพยายามหนี แต่พลังชีวิตก็ยังถือว่าน้อย นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะพบกับโปเกมอนที่มีสีแตกต่างจากโปเกมอนตามปกติ แต่ก็ปรากฏน้อยมาก[10] นอกนี้ได้มีการเพื่มโปเกมอนประเภทใหม่ 2 ชนิดคือ ประเภทเหล็กและประเภทปีศาจ[11] ประเภทเหล็กจะเป็นโปเกมอนที่มีการป้องกันสูงมาก และไม่ก่อการเกิดปฏิกิริยาอื่นๆ ในขณะที่ประเภทปีศาจเป็นโปเกมอนประเภทมีภูมิคุ้มกันต่อท่าพลังจิตและชนะทางต่อโปเกมอนประเภทพลังจิต รวมทั้งยังมีจุดอ่อนน้อย[5] ในเวอร์ชัน โกลด์ และ ซิลเวอร์ สามารถที่จะแลกเปลี่ยนโปเกมอนได้ แต่ไม่สามารถที่จะแลกเปลี่ยนโปเกมอนที่อยู่ในภาคก่อนได้ วิธีแก้ปัญหานี้จึงต้องย้ายระบบลบที่รู้จัก จึงจะสามารถลบหรือย้ายโปเกมอนได้ ที่สำคัญอีกคือการเปลี่ยนแปลงสถานะพิเศษในการโจมตีท่าพิเศษและการป้องกันท่าพิเศษที่เพิ่มขึ้นสำหรับต่อสู้[5]

มีการแนะนำเพศของโปเกมอนสายพันธุ์เดียวกันเป็นครั้งแรกในเกม โปเกมอนที่นำไปเก็บไว้ในโปเกมอนเดย์แคร์ พวกมันอาจจะฟักไข่ออกมาเป็นโปเกมอนตัวใหม่[12] โปเกมอนตัวลูกจะสืบสายพันธุ์ทางฝั่งแม่ แต่ย้ายมาจากพ่อ อย่างไรก็ตาม โปเกมอนในตำนานบางชนิดไม่สามารถที่จะผสมพันธุ์ได้[13]

โครงเรื่อง[แก้]

ฉากท้องเรื่อง[แก้]

สิ่งก่อสร้างในยุคเก่า(ในภาพเป็นวัดโฮริวในจังหวัดนะระ)ของเมืองคันไซและเมืองโทไก ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับภูมิภาคโจโต

โปเกมอน ภาคโกลด์และซิลเวอร์ตั้งอยู่ในภูมิภาคโจโตซึ่งอยู่ติดทางตะวันตกของเขตคันโตซึ่งตั้งอยู่ในภาคเรดและบลู สามปีหลังจากบทสรุปของเกมภาคก่อน การออกแบบโจโตได้แรงบันดาลใจมาจากภูมิภาคคันไซ, โทไกและเกาะชิโกกุตะวันออกที่ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น วัดจากภูมิภาคนี้มีความงดงามอย่างมาก จึงได้ถูกใส่ไว้ในเขตโจโต[ต้องการอ้างอิง]

เนื้อเรื่อง[แก้]

เช่นเดียวกับเกมภาคก่อนๆ ตัวละครของผู้เล่น(เฉพาะเด็กผู้ชายในภาคโกลด์และซิลเวอร์,สามารถเลือกเล่นตัวละครเด็กผู้หญิงได้ในภาคคริสตัล) และจะต้องเลือกโปเกมอนเริ่มต้น ต้องเลือกชิโคริตา,ฮิโนอาราชิ และวานิโนโกะซึ่งเป็นโปเกมอนเขตท้องถิ่นตัวใดตัวหนึ่ง จากศาสตราจารย์อุสึกิ หลังจากนั้นก็เริ่มต้นเดินทาง และต้องเอาชนะโรงยิมแปดยิมในเขตโจโต และเอาชนะสี่จตุรเทพเพื่อเป็นโปเกมอนมาสเตอร์[11] ฝ่ายคู่แข่งของเรา จะเป็นคู่แข่งลึกลับ ที่จะขโมยโปเกมอนจากศูนย์วิจัยของศาสตราจารย์อุสึกิ และจะเป็นผู้ท้าแข่งเรา[8] ผู้เล่นยังได้พบกับแก็งค์ร็อกเก็ตผู้ชั่วร้าย ได้รวมตัวกันขึ้นมาใหม่เพื่อค้นหาหัวหน้าแก็งก์ซาคากิ และจะได้ก่อตั้งแก็งก์ใหม่อีกรอบ[7] หลังจากผู้เล่นเอาชนะแก็งก์ร็อคเก็ตได้ทั้งหมด,สี่จตุรเทพและแชมป์ของโปเกมอนคันโตลีก ผู้เล่นจะสามารถเดินทางไปยังเขตคันโตจากเกมภาคก่อน และสมารถท้าประลองผู้นำยิมได้ มีการเปลี่ยนแปลงในเขต ซึ่งเกิดขึ้น3ปีหลังจากเหตุการณ์ในภาคเรด และ ภาคบลู หลังจากเอาชนะผู้นำยิมในเขตคันโต ผู้เล่นจะได้รับอนุญาตให้ขึ้นไปยังภูเขาซิลเวอร์ได้ ในเขตนี้จะมีโปเกมอนที่แข็งแกร่งมากกว่าปกติ และลึกเข้าไปภายในถ้ำภูเขาซิลเวอร์ จะได้พบกับเรดตัวเอกของภาคเรดและภาคบลูที่ผู้เล่นสามารถท้าแข่งได้ ซึ่งเป็นคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่งที่สุดในเกม[14]

การพัฒนา[แก้]

ข้อมูลของภาคโกลด์และซิลเวอร์ออกแสดงครั้งแรก ในงานนินเท็นโด สเปซเวิลด์ เอ็กซ์โปในญี่ปุ่นปีค.ศ.1997 ซึ่งเป็นงานจัดแสดงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของทั้งหมด และแตกต่างจากเกมภาคก่อนหน้านี้อย่างโปเกมอน ภาคเยลโลว์ มีการตั้งชื่อภาคใหม่ให้ดูดีกว่า"โปเกมอน ภาคเรดและบลู" และทางทีมงานก็ได้แต่งเนื้อเรื่องในเกมขึ้นใหม่ ในทวีปใหม่ และโปเกมอนสายพันธุ์ใหม่ ภาคโกลด์และซิลเวอร์ได้รับการออกแบบมาสำหรับเล่นในเครื่องเกมบอยคัลเลอร์ ทำให้พวกเขาให้การสนับสนุนในการใส่สีลงในเกมอย่างเต็มรูปแบบ และรายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆเพิ่มเติมในสไปรต์ ซึ่งรวมถึงสีของโปเกมอนแต่ละสายพันธุ์ ไอเทมใหม่ของเกมได้ใช้ระบบเกมแกดเจ็ต มีชื่อว่าโปเกเกียร์ ซึ่งได้เลียนแบบระบบจริงๆของนาฬิกาและสามารถใช้ได้ร่วมกันกับระบบของภาคก่อนๆได้[15]

ในระหว่างการสัมภาษณ์สึเนะคาสุ อิชิฮาระประธานบริษัทเครียเจอร์ จำกัดโดยเอบีซี นิวส์ เขาได้ให้ข้อมูลเชิงลึกในการกพัฒนาโปเกมอนสายพันธุ์ใหม่ๆเขาอธิบายว่า" ความคิดของมอนสเตอร์แต่ละตัวนี้ล้วนมาจากจินตนาการของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในเกมฟรีก พวกเขานำความคิดนี้มาจากประสบการณ์ในวัยเด็กของพวกเขา ทั้งจากการอ่านมังงะ,ชื่อหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น,ประสบการณ์ที่ไม่ดอนพวกเขายังเป็นเด็ก,การจับแมลง และอื่นๆ ดังนั้น จากประสบการณ์เหล่านี้ในวัยเด็ก ความคิดเหล่านี้จึงได้สร้างสรรค์โปเกมอนชนิดต่างๆออกมา"[16] ในขณะเดียวกันโปเกมอน ภาคเรดและบลูจะมีมิว และมีโปเกมอนเซเลบีในภาคโกลด์และซิลเวอร์ แต่ก็จะได้มาจากการเข้าโปรโมตเกมในงาน เหตุการณ์แรกอย่างเป็นทางการในการได้เซเลบีมา ในงานนินเท็นโด สเปซเวิลด์ ปีค.ศ.2000 ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม100,000คนจะได้รับโปเกมอนตัวนี้ ในการที่จะได้มา ผู้เล่นต้องส่งโปสการ์ดใส่สลาก100,000ใบรับรองเซเลบี ช่วยให้สามารถเข้าร่วมการแข่งขันและได้รับมัน[17]

ดนตรี[แก้]

จุนอิจิ มาสึดะแต่งเพลงของเขาด้วยอะมิกา คอมพิวเตอร์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเพลงนี้แก้ไขให้ใช้กับMIDI ซึ่งข้อมูลนี้ก็ถูกนำไปใช้กับเกมบอยคัลเลอร์[18]

พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ คริสตัลเวอร์ชัน[แก้]

พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ คริสตัลเวอร์ชัน
ผู้พัฒนาเกมฟรีก
ผู้จัดจำหน่ายนินเท็นโด
กำกับจุนอิจิ มาสึดะ
อำนวยการผลิตซาโตรุ อิวาตะ
ซาโตชิ ยามาโมโตะ
ชิเงรุ มิยาโมโตะ
สึเนคาซึ อิชิฮาระ
ศิลปินเค็น ซุงิโมริ
เขียนบทจุนอิจิ มาสึดะ
โคติ นิชิโนะ
โทชิโนบุ มัตสึมิยะ
เคนจิ มัตสึชิมะ
แต่งเพลงจุนอิจิ มาสึดะ
โมริคาชุ อาโอกิ
โก อิจิโนเซะ
ชุดโปเกมอน
เครื่องเล่นเกมบอยคัลเลอร์
วางจำหน่าย
  • JP: 14 ธันวาคม 2543
  • NA: 29 กรกฎาคม 2544
  • EU: 2 พฤศจิกายน 2544
  • AU: 30 กันยายน 2544
แนววิดีโอเกมสวมบทบาท
รูปแบบเล่นคนเดียว, ผู้เล่นหลายคน

พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ คริสตัลเวอร์ชัน (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター クリスタルバージョンโรมาจิPoketto Monsutā Kurisutaru Bājon) หรือ โปเกมอน คริสตัลเวอร์ชัน (อังกฤษ: Pokémon Crystal Version) เป็นเวอร์ชันที่ปรับปรุงจากภาคหลัก (สีเงิน และ สีทอง) และเป็นส่วนหนึ่งของรุ่นที่สองในโปเกมอนซีรีส์ ปกเกมโปเกมอนที่ปรากฏตัวคือ ซุยคุน ตัวเกมมีจุดแตกต่างกับ สีเงิน และ สีทอง ประกอบไปด้วยอัตราการปรากฏตัวของโปเกมอนที่แตกต่างกัน, ประเภทของโปเกมอนที่ปรากฏในเวอร์ชัน และข้อความในสมุดภาพโปเกมอน แต่ก็มีจุดเพิ่มเติมของเกมคือรายละเอียดภาพของเกมที่ปรับปรุงทั้งแก้จุดบกพร่องและเพิ่มแอนิเมชันให้โปเกมอนสไปรต์ , รูปโปเกมอนที่แตกต่างจากเกมก่อนหน้านี้, ภาพเปิดเกมที่แก้ไขใหม่ และเป็นครั้งแรกที่มีการนำตัวละครเอกเป็นผู้หญิงมาให้เล่น รวมทั้งสามารถรองรับการใช้ โมบายล์แดปเตอร์ GB ในเกมนี้อีกด้วย

จุดเพิ่มเติม[แก้]

  • เป็นเกมซีรีส์แรกที่ได้มีตัวละครหลักหญิงเป็นครั้งแรก
  • สามารถเชื่อมต่อไปยัง โมบายล์แดปเตอร์ GB และสื่อสารได้ผ่านโทรศัพท์มือถือเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
  • โมบายล์แดปเตอร์ GB เป็นตัวช่วยในการใช้ในส่วนแบทเทิลทาวเวอร์ที่ใช้ในครั้งแรก
  • เพิ่มส่วนไอคอนที่แสดงผลว่าจับโปเกมอนได้แล้วรวมถึงระบุเพศของโปเกมอนได้
  • กราฟิกในส่วนของโปเกมอนถูกเพิ่มเติมให้มีความเคลื่อนไหว ทั้งเรียกจากโปเกมอนเทรนเนอร์, ปรากฏจากป่า รวมถึงแสดงสถานะที่ผิดปกติได้ชัดเจน
  • ซีรีส์นี้เพิ่มดนตรีให้กับฉากสู้โปเกมอนในตำนานทั้ง 3 ทั้งไรโค, เอ็นเต้ และซุยคุน
  • เพิ่มส่วน NPC ในส่วนการสอนท่าไม้ตาย
  • ในส่วนเรื่องเล่าของภูมิภาคโจโตได้เล่าลึกยิ่งขึ้นโดยมีความเกี่ยวข้องความสัมพันธ์ระหว่างโปเกมอนในตำนาน ไรโค, เอ็นเต้, ซุยคุน และ โฮโอ

ระบบการเล่น[แก้]

ระบบการเล่นจะคล้ายกับ โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ แต่จะปรับปรุงเนื้อหาหรือรูปแบบการเล่นให้ดีขึ้นอย่างเช่น แก้จุดบกพร่องที่อยู่ในภาคโกลดและซิลเวอร์, เพิ่มแอนิเมชันให้โปเกมอนสไปรต์, เป็นต้น และเป็นเกมแรกที่ผู้เล่นสามารถเลือกตัวละครเพศหญิงที่สามารถเล่นได้โดยมีชื่อว่า คริส

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เกมแรงกิงส์89% (โกลด์ และ ซิลเวอร์)[19]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
แฟมิซือ33/40 (โกลด์ และ ซิลเวอร์)[20]
เกมสปอต8.8/10 (โกลด์ และ ซิลเวอร์)[11]
ไอจีเอ็น10/10 (โกลด์ และ ซิลเวอร์)[3]
นินเท็นโดเพาเวอร์8.7/10 (โกลด์ และ ซิลเวอร์)[19]
การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เกมแรงกิงส์80% (คริสตัล)[21]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
เกมสปอต8.4/10 (คริสตัล)[22]
ไอจีเอ็น9/10 (คริสตัล)[23]
นินเท็นโดไลฟ์9/10 stars (คริสตัล)[24]

โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องต่อจากเกมรุ่นแรก โดยเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนโปเกมอนให้เป็นแฟรนไซส์มูลค่าหลายพ้นล้านดอลลาร์[25] ในวันเดือน เมษายน ปี ค.ศ. 2000 ประมาณ 6.5 ล้านตลับของเกมได้ถูกขายในประเทศญี่ปุ่น ซิลเวอร์ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นภาคที่ได้รับความนิยมมากกว่า โกลด์ กว่า 100,000 ตลับ[26] ในสัปดาห์แรกของการวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเกมบดบังยอดการขายของ โปเกมอน พิคาชู ยอดขายในสัปดาห์แรกของพิคาชูมีกว่า 600,000 ตลับ ยอดขายรวมของภาคโกลด์และซิลเวอร์มีมากกว่า 1.4 ล้านตลับทำให้เป็นเกมที่ขายเร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา[27][28]

ส่วนโปเกมอน คริสตัลเวอร์ชัน ได้รับการตอบรับโดยร่วมในระดับดี ถึงแม้ว่าบทวิจารณ์ในแง่บวกจะน้อยกว่า โกลด์ และ ซิลเวอร์ โดยเกมแรงกิงส์ให้คะแนน 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ำกว่าที่ให้ โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ ถึง 10 เปอร์เซ็นต์[19] และเป็นเกมที่ขายดีเป็นอันดับสองของเครื่องเกมบอยคัลเลอร์ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมียอดขายถึง 1,871,307 ชุด[29]

เวอร์ชวลคอนโซล[แก้]

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2017 นินเท็นโดประกาศในการนำเสนอนินเท็นโดไดเรกต์ว่าเกมโปเกมอน โกลด์, ซิลเวอร์ และ คริสตัลเวอร์ชัน ได้วางจำหน่ายในบริการเวอร์ชวลคอนโซล (Virtual Console) ของนินเท็นโด 3ดีเอส โดยได้ประกาศดาวน์โหลดล่วงหน้าในวันที่ 14 กันยายน ปีเดียวกัน และได้วางขายเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2017 สำหรับเวอร์ชัน สีเงิน และ สีทอง

ในส่วนตัวหน้าจอของเกมเป็นรูปแบบเกมบอยคัลเลอร์ทั้งหมด และในส่วนตัวเกมสามารถแลกเปลี่ยนหรือต่อสู้จากเวอร์ชวลคอนโซล ได้ทั้งเวอร์ชัน สีเงิน และ สีทอง และ เวอร์ชวลคอนโซล โปเกมอน สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน, พิคาชู ได้

เกมรุ่นนี้สามารถย้ายโปเกมอนไปยังเกมหลักตั้งแต่ โปเกมอน ซัน และ มูน, โปเกมอน อัลตร้าซัน และ อัลตร้ามูน ผ่านทางโปรแกรมประยุกต์ โปเกมอนแบงค์ได้ด้วย

ในส่วนคริสตัลเวอร์ชันได้ออกวางขายเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2018

เชิงอรรถ[แก้]

  1. เป็นที่รู้จักในชื่อภาษาญี่ปุ่นคือ ญี่ปุ่น: ポケットモンスター 金・銀โรมาจิPoketto Monsutā Kin & Ginทับศัพท์: พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ คิน และ งิน
  2. ญี่ปุ่น: ポケットモンスター 金โรมาจิPoketto Monsutā Kinทับศัพท์: พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ คิน
  3. ญี่ปุ่น: ポケットモンスター 金・銀โรมาจิPoketto Monsutā Ginทับศัพท์: พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ งิน
  4. ญี่ปุ่น: ポケットモンスター クリスタルバージョンโรมาจิPoketto Monsutā Kurisutaru Bājon

อ้างอิง[แก้]

  1. "Game Boy Color Games on Official Nintendo Co., Ltd. Website". Nintendo Co., Ltd. สืบค้นเมื่อ 2014-08-25.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Pokemon Gold for Game Boy". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-25. สืบค้นเมื่อ 2009-08-09.
  3. 3.0 3.1 3.2 Harris, Craig (2000-10-16). "Pokemon Gold Version Review". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2008-06-28.
  4. "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide (page 10)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-28.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide basics". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-28.
  6. "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide items". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
  7. 7.0 7.1 "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide (page 3)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
  8. 8.0 8.1 "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide (page 1)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-07-06.
  9. "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide (page 5)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
  10. Gudmundson, Carolyn. "Shiny Pokemon Guide". GamesRadar. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
  11. 11.0 11.1 11.2 Povo, Frank (2000-02-03). "Pokemon Gold for Game Boy Color Review (page 1)". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-11. สืบค้นเมื่อ 2008-06-28.
  12. Povo, Frank (2000-02-03). "Pokemon Gold for Game Boy Color Review (page 2)". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
  13. "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide breeding". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-07-06.
  14. "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide (page 14)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-28.
  15. IGN Staff (1999-08-27). "Eye on Pokemon Gold and Silver". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-07-25.
  16. IGN Staff (2000-02-09). "ABC News Pokémon Chat Transcript". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-07-26.
  17. IGN Staff (2000-06-16). "Serebii, I Choose You!". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-08-02.
  18. http://www.gamefreak.co.jp/blog/dir_english/?p=185
  19. 19.0 19.1 19.2 "Pokemon Gold Reviews". Game Rankings. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.
  20. ゲームボーイ - ポケットモンスター 金・銀. Weekly Famitsu. No.915 Pt.2. Pg.109. 30 June 2006.
  21. "Pokemon Crystal Version". GameRankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
  22. Povo, Frank (2001-07-30). "Pokemon Crystal for Game Boy Color Review". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05 (คริสตัล). {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ IGNCrystal
  24. Joshi, Arjun (2018-01-26). "Pokémon Crystal Version Review". Nintendo Life. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
  25. "Pokemon Franchise Approaches 150 Million Games Sold". Nintendo. PR Newswire. 4 October 2005.
  26. IGN Staff (2000-04-03). "The Poke-Phenomenon Continues". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-08-02.
  27. IGN Staff (2000-10-23). "Pokémon Goes Platinum". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
  28. "Latest Pokemon Games Surpass One Million Sales in First Week; Pokemon Gold And Silver Sales For Game Boy Color Break U.S. Video Game Sales Record". bNET. 2000-10-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-27. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.
  29. "【GBC20周年企画(2)】いちばん売れたゲームボーイカラー専用ソフトは『遊☆戯☆王DM4』! では2位は? GBC専用ソフト販売ランキングTOP10!". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Enterbrain. 2018-10-21. p. 1. สืบค้นเมื่อ 2018-10-21.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]