โบสถ์แห่งความสามัคคี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหพันธ์ครอบครัวเพื่อความสามัคคีและสันติภาพโลก
(โบสถ์แห่งความสามัคคี)
อักษรย่อFFWPU, UM, UC
กลุ่มศาสนาคริสต์ ขบวนการศาสนาใหม่
คัมภีร์ไบเบิล
หลักการดำเนินชีวิต
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนฮักจา ฮัน
ผู้ก่อตั้งซันเมียง มูน
ต้นกำเนิด1 พฤษภาคม ค.ศ. 1954
โซล ประเทศเกาหลีใต้
สมาชิกราว 3 ล้านคน[1]
ชื่ออื่นลัทธิมูน
เว็บไซต์ทางการOfficial site of FFWPU USA

สหพันธ์ครอบครัวเพื่อความสามัคคีและสันติภาพโลก[2] (อังกฤษ: Family Federation for World Peace and Unification) เรียกสั้น ๆ ว่า โบสถ์แห่งความสามัคคี (Unification Church) บ้างเรียก ลัทธิมูน เป็นขบวนการศาสนาเกิดใหม่ เรียกสมาชิกของโบสถ์ดังกล่าวว่า ยูนิฟิเคชั่น[3] หรือ ชาวมูน (Moonies)[4] ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1954 ในนาม สมาคมพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อความสามัคคีของศาสนาคริสต์โลก (Holy Spirit Association for the Unification of World Christianity) โดยมุน ซ็อน-มย็อง (เกาหลี: 문선명; ค.ศ. 1920–2012) ในเอกสารไทยเรียก สาธุคุณซันเมียง มูน[5] ชายชาวเกาหลีใต้ผู้อ้างตนเป็นพระเมสสิยาห์หรือพระผู้ช่วยให้รอด ซึ่งมีชื่อเสียงด้านกิจการทำงาน รวมทั้งอิทธิพลข้องเกี่ยวในแวดวงสังคมและการเมือง[6][7][8][9]

โบสถ์แห่งความสามัคคีมีความเชื่อพื้นฐานที่อิงจากหนังสือ หลักการดำเนินชีวิต (Divine Principle) ซึ่งเป็นงานเขียนของมุน ซ็อน-มย็องเอง ในงานเขียนดังกล่าวมีมุมมองต่อพระเยซูต่างจากศาสนาคริสต์กระแสหลักที่มีหลักข้อเชื่อไนซีนเป็นบรรทัดฐาน[10] และการสอนในเรื่อง "การชดใช้" (indemnity)[11] ขบวนการทางศาสนานี้เป็นที่รู้จักยิ่งในพิธีกรรมสมรสหมู่ หรือที่ศาสนิกชนยูนิฟิเคชั่นจะเรียกว่า การรับพรมงคลสมรสที่ศักดิ์สิทธิ์[12] โบสถ์แห่งความสามัคคีเป็นที่ถกเถียง นักวิจารณ์ยุคแรก ๆ เรียกโบสถ์ว่า "เป็นลัทธิที่อันตราย"[13][14] ทั้งยังเป็นที่กล่าวถึงในการมีส่วนร่วมทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งรวมไปถึงการต่อต้านคอมมิวนิสต์และการรวมชาติเกาหลี[15][16][17][18][19] โบสถ์แห่งความสามัคคีและสมาชิกของโบสถ์ เป็นผู้ก่อตั้ง เป็นเจ้าของ และเป็นผู้สนับสนุนองค์กรต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เป็นต้นว่าธุรกิจ[20] การศึกษา[21] การเมือง[22] และอื่น ๆ[23]

สมาชิกของโบสถ์จะเรียก มุน ซ็อน-มย็อง และฮัน ฮัก-จา ภรรยา อย่างยกย่องว่า "พ่อที่แท้จริง" (True Father) และ "แม่ที่แท้จริง" (True Mother) และเรียกทั้งสองร่วมกันว่า "พ่อแม่ที่แท้จริง" (True Parents) เพื่อเชื่อมโยงคู่สมรส (ที่มาจากการสมรสหมู่) และครอบครัวมุนเข้ากับพระเจ้า[24][25][26]

ประวัติ[แก้]

มุน ซ็อน-มย็อง (문선명, 文鮮明) หรือ ซันเมียง มูน มีนามเดิมว่า มุน ยง-มย็อง (문용명, 文龍明) เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 (ตรงกับวันที่ 6 มกราคม ตามปฏิทินจันทรคติ และ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 ในปฏิทินเกรกอเรียน)[27] ที่บ้านซังซา ตำบลทอกุน อำเภอช็องจู จังหวัดพย็องอันเหนือ ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ในการปกครองของญี่ปุ่น (ปัจจุบันขึ้นกับประเทศเกาหลีเหนือ) พื้นฐานครอบครัวแต่เดิมนับถือลัทธิขงจื๊อ ต่อมาได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายเพรสไบทีเรียน มุนได้กลายเป็นครูผู้สอนศาสนาในโรงเรียนประจำวันอาทิตย์[28]

สมาชิกโบสถ์แห่งความสามัคคีเชื่อว่า พระเยซูเจ้าทรงปรากฏพระองค์ต่อหน้ามุนในวันอีสเตอร์เมื่อ พ.ศ. 2479 โดยพระองค์ให้เขาทำงานสืบทอดต่อหลังพระเยซูถูกตรึงกางเขนไปแล้ว[29] จากนั้นมุนได้ทำการอธิษฐานและใคร่ครวญเรื่องราวระยะหนึ่งก่อนตัดสินใจตอบรับภารกิจ และเปลี่ยนชื่อตัวเป็น มุน ซ็อน-มย็อง มาตั้งแต่นั้น[30]

พฤษภาคม พ.ศ. 2486 มุนสมรสกับชเว ซุน-กิล[31] ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับ ฮัน ฮัก-จา (한학자, 韓鶴子) หญิงชาวเกาหลีเหนือ ผู้เป็นภรรยาคนปัจจุบันของเขาเกิด[32][33]

อ้างอิง[แก้]

  1. Eileen Barker. Abstract of "The Unification Church: A Kaleidoscopic Introduction." Society Register 2, no. 2 (2018): 19–62.
  2. รายงานประจำปี 2546 มูลนิธิเพื่อการพัฒนาและสันติ (PDF). กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการพัฒนาและสันติ. 2546. p. 12.
  3. รายงานประจำปี 2546 มูลนิธิเพื่อการพัฒนาและสันติ (PDF). กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการพัฒนาและสันติ. 2546. p. 29.
  4. Eileen Barker. "The Unification Church: A Kaleidoscopic Introduction." Society Register 2, no. 2 (2018): 19–62.
  5. ซันเมียง มูน (เขียน) มณีรัตน์ โคบายาชิ (แปล). ในฐานะพลเมืองโลกผู้รักสันติภาพ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากล (ประเทศไทย), 2554, หน้าปก
  6. Moon's death marks end of an era เก็บถาวร 2019-08-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Eileen Barker, CNN, 2012-9-3
  7. Introvigne, Massimo (2000). The Unification Church: Studies in Contemporary Religion. Signature Books. ISBN 978-1560851455.
  8. Prophets and Protons: New Religious Movements and Science in Late Twentieth-Century America, Benjamin E. Zeller, NYU Press, 2010, p. 13 แม่แบบ:ISBN?
  9. "CESNUR – From the Unification Church to the Unification Movement, 1994–1999: Five Years of Dramatic Changes". www.cesnur.org. สืบค้นเมื่อ 22 February 2018.
  10. Sontag, Fredrick (1977). Sun Myung Moon and the Unification Church. Abingdon. pp. 102–105. ISBN 978-0-687-40622-7.
  11. Daske, D. and Ashcraft, W. 2005, New Religious Movements, New York: New York University Press, ISBN 0-8147-0702-5
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nrti
  13. The Making of a Moonie: Choice Or Brainwashing? Modern revivals in sociology; Eileen Barker; Edition: illustrated, reprint, revised; Publisher: Gregg Revivals, 1993แม่แบบ:ISBN?แม่แบบ:Page?
  14. "Moonies" in America: Cult, Church, and Crusade: Sage Library of Social Research; David G. Bromley, Anson D. Shupe, Jr.; Editor: David G. Bromley; Sage, 1979
  15. Thomas Ward, 2006, Give and Forget
  16. "The Resurrection of Reverend Moon". Frontline. PBS. 21 January 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2011.
  17. Sun Myung Moon Changes Robes, The New York Times, 21 January 1992
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ books.google.com
  19. From Slogans to Mantras: Social Protest and Religious Conversion in the Late Vietnam War Era, Stephen A. Kent, Syracuse University Press, 2001, p. 168
  20. A Church in Flux Is Flush With Cash,
  21. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ JIYamamoto
  22. Sun Myung Moon forms new political party to merge divided Koreas เก็บถาวร 2013-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Church and State, May 2003
  23. Swatos, Jr, William H. (1998). Encyclopedia of religion and society. Walnut Creek, CA: AltaMira Press. ISBN 978-0-7619-8956-1. สืบค้นเมื่อ 10 February 2018.
  24. Hagerty, Barbara Bradley (2 September 2012). "Rev. Moon, A 'Savior' To Some, Lived A Big Dream". NPR.org (National Public Radio). สืบค้นเมื่อ 19 June 2013.
  25. Schoifet, Mark (2 September 2012). "Sun Myung Moon, Church Head Who Ran Business Empire, Dies". Business Week. Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013.
  26. Moon, Reverend Sun Myung (2010). As a peace-loving global citizen (May 2010 ed.). Washington, D.C.: Washington Times Foundation. ISBN 978-0615393773.
  27. "Moon is mourned by sister in N Korea. Agence France Press". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2018-07-18.
  28. "Unification Church: Mass Moonie Marriage in the US". BBC News. Saturday, November 29, 1997.
  29. Charles. "Belvedere Unification Family, Tarrytown, NY". Belvedere Family. สืบค้นเมื่อ 19 January 2019.
  30. excerpt เก็บถาวร 2008-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Unification Church Studies in Contemporary Religion, Massimo Introvigne, 2000, Signature Books, Salt Lake City, Utah, ISBN 1-56085-145-7
  31. The Unification Church: Studies in Contemporary Religion เก็บถาวร 2008-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Massimo Introvigne, Signature Books, ISBN 1-56085-145-7
  32. Miller, Timothy (1995). America's alternative religions. SUNY Press. p. 223. ISBN 978-0-7914-2397-4.
  33. Lewis, James R (2005). Cults: a reference handbook. ABC-CLIO. p. 171. ISBN 978-1-85109-618-3.