ลบกกะตาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โบกาตอร์)
ลบกกะตาว
มุ่งเน้นการปะทะ, การต่อสู้พื้นดิน,[1] การต่อสู้ด้วยไม้, การต่อสู้ด้วยดาบ, สมรภูมิ
ประเทศต้นกำเนิดกัมพูชา
กุน-ลบกกะตาว ศิลปะการต่อสู้ดั้งเดิมในกัมพูชา *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
การสาธิตลบกกะตาว
ประเทศ กัมพูชา
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขาศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง01868
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2022 (คณะกรรมการสมัยที่ 17)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ลบกกะตาว (เขมร: ល្បុក្កតោ, ลฺบุกฺกโต, [lɓok.kaʔ.tao]) หรือ โบกาตอร์ (ฝรั่งเศส: bokator) เป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศกัมพูชา

ภาพรวม[แก้]

"ลบกกะ" (ល្បុក្ក, ลฺบุกฺก) แปลว่า "ต่อยอย่างแรง" ส่วน "ตาว" (តោ, โต) แปลว่า "สิงโต" รวมคำว่า "ลบกกะตาว" จึงแปลว่า "ต่อยสิงโตอย่างแรง" ตามคำบอกเล่าของสาน เกิมเสียน (សាន គឹម ស៊ាន) นักศิลปะการต่อสู้ชาวเขมร ชื่อเรียกนี้มาจากตำนานที่ว่าเมื่อกอนมีสิงโตโจมตีหมู่บ้านเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว นักรบคนหนึ่งได้ล้มสิงโตลงโดยการโจมตีด้วยหัวเข่า

ลบกกะตาวเป็นศิลปะการป้องกันตัวที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยสร้างนครวัด และกล่าวกันว่าครั้งหนึ่งเคยฝึกโดยกองทัพของอาณาจักรพระนคร[2] เชื่อว่าส่วนหนึ่งของความแข็งแกร่งของอาณาจักรนครวัดที่ได้ปกครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาและได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์อังกอร์ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในปลายศตวรรษที่ 12[2] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความเสื่อมโทรมของอาณาจักรนครวัด ลบกกะตาวก็ได้เสื่อมถอยลง ยิ่งไปกว่านั้นแล้วชะตากรรมของลบกกะตาวก็ยังได้ถูกคุกคามจากการปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศส และการกดขี่ในยุคของพล พต และเขมรแดง[3]

สาน เกิมเสียน ได้พยายามฟื้นฟูศิลปะการต่อสู้แบบดั้งเดิมที่สูญหายนี้ โดยเขาได้ศึกษาศิลปะการต่อสู้มือเปล่า วิชาหอก วิชาไม้ ฯลฯ แต่ได้หลบหนีมายังประเทศไทยในช่วงยุคพล พต และจากนั้นก็อาศัยอยู่ในสหรัฐ ในฐานะผู้สอนฮับกีโด[3] ถึงอย่างนั้นก็ตามเขามีความปรารถนาที่จะฟื้นฟูศิลปะการต่อสู้ในประเทศของเขาและกลับประเทศไปใน ค.ศ. 2001 เมื่อสถานการณ์ในประเทศมีเสถียรภาพ[2]

ใน ค.ศ. 2022 ลบกกะตาวได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Meixner, Seth (October 14, 2007). "'Bokator' makes sudden comeback in Cambodia - Taipei Times". www.taipeitimes.com. สืบค้นเมื่อ 2019-08-09.
  2. 2.0 2.1 2.2 คริส ครูเดลลี (2010) หน้า 167
  3. 3.0 3.1 chromate label guidebook 21 ก.ย. 2012
  4. "UNESCO - Kun Lbokator, traditional martial arts in Cambodia". ich.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-30.