โทกูงาวะ อิเอมาซะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โทกูงาวะ อิเอมาซะ
อิเอมาซะในฐานะประธานสภาขุนนาง (1946-47)
ผู้นำตระกูลโทกูงาวะ
ก่อนหน้าโทกูงาวะ อิเอซาโตะ
ถัดไปโทกูงาวะ สึเนนาริ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มีนาคม ค.ศ. 1884(1884-03-23)
เสียชีวิต18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1963(1963-02-18) (78 ปี)
คู่สมรสนาโอโกะ ชิมาซุ
บุตรโทกูงาวะ อิเอฮิเดะ
โทกูงาวะ โทโยโกะ

โทกูงาวะ อิเอมาซะ (ญี่ปุ่น: 徳川 家正โรมาจิTokugawa Iemasa; 23 มีนาคม ค.ศ. 1884 – 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1963) รู้จักกันในชื่อ อิเยมาซะ หรือ เจ้าโทกูงาวะที่ 2 เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่นใน ยุคไทโช และต้น ยุคโชวะ ผู้นำ ตระกูลโทกูงาวะ คนที่ 17 และประธานคนสุดท้ายของ สภาขุนนางญี่ปุ่น ใน รัฐสภาญี่ปุ่น

ประวัติ[แก้]

อิเอมาซะเกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1884 ที่ เซ็นดางายะ, ฐานะบุตรชายคนโตของ โทกูงาวะ อิเอซาโตะ และภรรยาของเขา, โคโนเอะ ฮิโรโกะ, ธิดาของ โคโนเอะ ทาดาฟูซะ. เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมายของ มหาวิทยาลัยโตเกียว ในปี ค.ศ. 1909, และได้เข้ารับราชการใน กระทรวงการต่างประเทศ ในปีเดียวกัน. ในปี ค.ศ. 1924, เขาได้รับแต่งตั้งเป็น กงสุลใหญ่ ประจำสถานกงสุลที่ ซิดนีย์,ออสเตรเลีย. ในปี ค.ศ. 1929, เขาได้รับแต่งตั้งเป็น ทูต ไป แคนาดา และจาก ค.ศ. 1937 ถึง 1939 รับราชการในฐานะ เอกอัครราชทูต ประจำ ตุรกี.[1]

อิเอมาซะเป็นพันธมิตรกับบิดาของเขา, เจ้าชาย โทกูงาวะ อิเอซาโตะ ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง ญี่ปุ่น และ ยุโรป, แคนาดา, และสหรัฐอเมริกา. ในปี ค.ศ. 1940, จากการเสียชีวิตของบิดาของเขา, เขาได้รับตำแหน่ง โคชากุ หรือ เจ้าชาย (公爵) ภายใต้ระบบ คาโซกุ, และที่นั่งฐานะสมาชิกของ สภาขุนนางญี่ปุ่น ใน รัฐสภาญี่ปุ่น. ในวันพุธที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1946, เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาขุนนางญี่ปุ่น, เขาดำรงตำแหน่งจนถึงวันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1947. เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ยกเลิกสภาขุนนาง.

เขาถึงแก่อสัญกรรมด้วย โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ที่บ้านของเขาที่ ชิบูยะ,โตเกียว, เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1963, โดยได้พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นสูงสุด มงกุฎดอกพอลโลเนีย ย้อนหลัง. หลุมศพของเขาตั้งอยู่ที่ สุสานยานากะ.

อ้างอิง[แก้]

  1. Aydin, Cemil (2005). "Orientalism by the Orientals? The Japanese Empire and Islamic Studies (1931-1945)" (PDF). www.isam.org.tr/.
  • Banno, Junji. The Establishment of the Japanese Constitutional System. Routledge (1992). ISBN 0-415-00497-7
  • Lebra, Sugiyama Takie. Above the Clouds: Status Culture of the Modern Japanese Nobility. University of California Press (1995). ISBN 0-520-07602-8
  • Sims, Richard. Japanese Political History Since the Meiji Renovation 1868–2000. Palgrave Macmillan. ISBN 0-312-23915-7