ข้ามไปเนื้อหา

โตเกียวสตอรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โตเกียวสตอรี
โปสเตอร์เปิดตัวภาษาญี่ปุ่น
กำกับยาซูจิโร โอซุ
เขียนบทโคโงะ โนดะ
ยาซูจิโร โอซุ
อำนวยการสร้างทาเคชิ ยะมะโมโตะ
นักแสดงนำชิซู รีว
ชิเอโกะ ฮิกาชิยะมะ
เซ็ตสึโกะ ฮาระ
กำกับภาพYūharu Atsuta
ตัดต่อYoshiyasu Hamamura
ดนตรีประกอบKojun Saitō
บริษัทผู้สร้าง
วันฉาย
  • 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1953 (1953-11-03)
ความยาว136 นาที
ประเทศญี่ปุ่น
ภาษาภาษาญี่ปุ่น

โตเกียวสตอรี (อังกฤษ: Tokyo Story; ญี่ปุ่น: 東京物語โรมาจิTōkyō Monogatari) เป็นภาพยนตร์ดรามาภาษาญี่ปุ่นจากปี 1953 ซึ่งกำกับโดยยาซูจิโร โอซุ และนำแสดงโดยชิซู รีว กับ ชิเอโกะ ฮิกาชิยามะ เนื้อเรื่องบอกเล่าเรื่องราวของคู่รักสูงวันที่เดินทางไปนครโตเกียวเพื่อเยี่ยมลูกของตนที่โตแล้ว ภาพยนตร์แสดงให้เห็นความแตกต่างของลูกซึ่งยุ่งเกินกว่าจะดูแลพ่อแม่ของตน ในขณะที่สะใภ้หม้ายที่แต่งงานกับลูกชายคนหนึ่งที่เสียชีวิตในสงครามนั้นกลับดูแลทั้งสองเป็นอย่างดี

โอซุและผู้เขียนยทภาพยนตร์ โคโงะ โนดะ เขียนบทเสร็จภายใน 103 วัน โดยมีแบบอย่างกลาย ๆ มาจากภาพยนตร์อเมริกันจากปี 1937 เรื่อง เมดเวย์ฟอร์ทูมอโรว์ ที่กำกับโดยลีโอ แม็คคารีย์ โนดะเสนอให้นำภาพยนตร์ดังกล่าวมาดัดแปลง ในขณะที่โอซุเองยังไม่เคยชมภาพยนตร์เรื่องนั้น โอซุเลือกทีมงานและนักแสดงชุดเดิมกับที่เขาเคยทำงานมาด้วยเป็นเวลาหลายปี ภาพยนตร์เปิดตัวในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 1953 ที่ซึ่งไม่ได้รับความสนใจระดับนานาชาติในตอนแรก และถูกเรียกขานว่าเป็นภาพยนตร์ที่ "เป็นญี่ปุ่นเกินไป" กว่าที่จะถูกนำไปส่งออกขายในต่างประเทศได้ ต่อมาในปี 1957 ภาพยนตร์ได้ไปฉายที่ลอนดอน ที่ซึ่งได้รับรางวัล Sutherland Trophy ในปีถัดมาจากลอนดอน และได้รับการชื่นชมจากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ชาวอเมริกันหลังนำไปฉายในนิวยอร์กซิตีเมื่อปี 1972 สำหรับในประเทศไทย ภาพยนตร์เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์เฮาส์ สามย่านมิตรทาวน์ ในเดือนสิงหาคม 2020

โตเกียวสตอรี ได้รับการยอมรับในวงกว้างว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของโอซุ และถูกเรียกขานว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาลหลายครั้ง ในปี 2012 ในผลสำรวจที่สำรวจในกลุ่มผู้กำกับภาพยนตร์โดยนิตยสาร Sight & Sound ภาพยนตร์นี้ได้รับการลงคะแนนให้เป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาล

นักแสดง

[แก้]

การผลิต

[แก้]
โอซู (ขวาสุด) ขณะถ่ายทำ

โตเกียวสตอรี ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์อเมริกันจากปี 1937 เรื่อง เมดเวย์ฟอร์ทูมอโรว์ ที่กำกับโดยลีโอ แม็คคารีย์ โนดะเริ่มแรกเสนอพล็อตเรื่อง ในขณะที่โอซุเองยังไม่เคยชมภาพยนตร์เรื่องนี้มาก่อน[1][2] ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องของผู้สูงวัยที่ประสบปัญหาในการเข้ากับคนรุ่นใหม่[3] และล้วนแสดงให้เห็นการเดินทางเยี่ยมลูกหลานของพ่อแม่[4] ความแตกต่างอยู่ที่ เมดเวย์ฟอร์ทูมอโรว มีฉากหลังเป็นยุคดีเพรสชั่นของสหรัฐอเมริกา ที่คู่แต่งงานนี้ประสบปรัญหาทางการเงิน ในขณะที่ โตเกียวสตอรี มีฉากหลังเป็นประเทศญี่ปุ่นหลังสงคราม ที่ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เป็นในเชิงวัฒนธรรมและเชิงอารมณ์มากกว่า[5] The two films also end differently.[6]

สครปต์นั้นผลิตโดยยาซูจิโร โอซุ และคู่ขาคนสำคัญของเขา โคโงะ โนดะ ภายในเวลา 103 วัน ที่เรียวกังแห่งหนึ่งที่ชื่อ ชิงาซากิกัง ในเมืองชิงาซากิ จังหวัดคานางาวะ[7] โอซุ, โนดะ และนัก cinematographer Yūharu Atsuta ลงพื้นที่สำรวจสถานที่ถ่ายทำในโตเกียว และโอโนมิจิ เป็นเวลาอีกหนึ่งเดือนก่อนเริ่มการถ่ายทำ การถ่ายทำจนถึงตัดต่อกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม 1953 โดยมีสถานที่ถ่ายทำได้แก่ในโตเกียว (อาดาจิ ชูโอ ไทโต และชิโยดะ), โอโนมิจิ, อาตามิ และโอซากะ ฉากที่เป็นภายในอาคารทั้งหมดถ่ายทำในสตูดิโอ Shochiku Ōfuna ที่คามากูระ จังหวัดคานางาวะ ยกเว้นเพียงฉากภายในพื้นที่พักคอยของสถานีโตเกียว และในขบวนรถไฟ โอซุเลือกใช้ทีมงานและนักแสดงชุดเดิมที่เขาเคยทำงานด้วยมาเป็นเวลานาน[8][9] นักแสดง ชิชู รีว ระบุว่าโอซุจะมีความสุขที่สุดตอนที่ไฟนอลดราฟต์ของสคริปต์เสร็จ และไม่เคยมีการเปลี่ยนอะไรในไฟนอลดราฟต์อีก[10]

สไตล์และธีม

[แก้]

เช่นเดียวกันกับภาพยนตร์เสียงทุกชิ้นของโอซุ โตเกียวสตอรี' มีความเร็วในการดำเนินเรื่องแบบเนิบช้า[11] เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ มักไม่ได้ถูกแสดงออกมา แต่จะถูกเปิดเผยตามบทสนทนาในเรื่อง เช่น ไม่เคยมีฉากไหนที่แสดงให้เห็นระหว่างการเดินทางบนรถไฟไปและกลับจากโตเกียว[12] มีการใช้รูปแบบกล้องพิเศษเฉพาะที่ซึ่งความสูงของกล้องนั้นต่ำและแทบไม่ขยับเลย นักวิจารณ์ภาพยนตร์ รอเจอร์ เอเบอร์ท (Roger Ebert) พบว่าทั้งภาพยนตร์มีการเคลื่อนของกล้องหนึ่งครั้ง ซึ่งเขาถือว่า "มากผิดปกติ" ในภาพยนตร์ของโอซุ[13] การตั้งกล้องต่ำนั้นยังเป็นการชวนระลึกถึงการนั่งบนเสื่อทาทามิแบบญี่ปุ่น[14] โอซุแทบไม่ได้ถ่ายมาสเตอร็ช็อต (master shot) เลย[15] และมักไม่ทำตามกฎ 180 องศา (180-degree rule) ของการทำภาพยนตร์และทิศทางของหน้าจอ

โอซุชื่นชอบการตั้งกล้องนิ่ง ๆ โดยไม่ขยับเลยเป็นอย่างมาก[16] และเชื่ออย่างแรงกล้าในแนวคิดมินิมอลิสม์[17] เดวิด เดรสเซอร์ (David Dresser) เปรียบเทียบรูปแบบของภาพยนตร์ของและพล็อตเรื่องแบบ "ทำให้ไม่เน้น“ (de-emphasized plot) ของโอซุว่าเหมือนกับศาสนาพุทธแบบเซน และความตื่นเต้นต่อมูลค่าเปลือกนอกและวัตถุนิยมของโลกสมัยใหม่[18]

ผลตอบรับเชิงวิจารณ์

[แก้]

การให้คะแนนบนเว็บไซต์รีวิวภาพยนตร์ รอตเทนโทเมโทส์ ให้คะแนนไปในทิศทางเดียวกันคือ 100% "Fresh" จากการรีวิวของนักวิจารณ์ภาพยนตร์ 43 รีวิว และคะแนนเฉลี่ยที่ 9.66/10 ของรีวิวทั่วไป มติของเว็บระบุว่า: "โตเกียวสตอรีเป็นผลงานชิ้นเอกของโอซุ ที่ซึ่งความซับซ้อนอันคุ้มค่านั้นไม่เคยลดถอยพลังลงไปเลยแม้ภาพยนตร์จะผ่านระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษแล้วก็ตาม"[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Tokyo Story". TCM. สืบค้นเมื่อ May 30, 2011.
  2. Desser, David, บ.ก. (1997). Ozu's Tokyo Story. Cambridge, UK: Cambridge University Press. p. 26. ISBN 0-521-48435-9. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editorlink= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor-link=) (help)
  3. Dresser.1997.p. 28.
  4. Dresser. 1997. p. 69.
  5. Dresser. 1997. p. 28.
  6. Dresser. 1997. p. 46.
  7. Dresser. 1997. p. 20.
  8. Dresser.1997. pp. 20-21.
  9. Eleftheriotis, Dimitris; Gary Needham (May 2006). Asian cinemas: a reader and guide. University of Hawaii Press. pp. 17–26. ISBN 978-0-8248-3085-4.
  10. Dresser. 1997.p. 152.
  11. David Bordwell; Kristin Thompson (2003). Film History: An Introduction (2nd ed.). McGraw-Hill. p. 396.
  12. David Desser (2005). "The Space of Ambivalence". ใน Jeffrey Geiger (บ.ก.). Film Analysis. Norton. pp. 462–3.
  13. Ebert, Roger (November 9, 2003). "Tokyo Story Movie Review & Film Summary (1953)". สืบค้นเมื่อ 6 August 2012.
  14. Desser. 1997.p. 4.
  15. Desser. 1997. p. 15.
  16. Desser. 1997. p. 41.
  17. Desser. 1997. p. 157.
  18. Dresser. 1997. p. 5.
  19. "Tokyo Story (Tôkyô monogatari)". rottentomatoes.com. 3 November 1953. สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]