ข้ามไปเนื้อหา

โตมือริส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โตมือริส
โตมือริสตามจินตนาการของกัสตัญโญ คริสต์ศตวรรษที่ 15
ราชินีแห่ง Massagetae
ครองราชย์ไม่ทราบ – ป. ทศวรรษ 520 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้าพระราชสวามีไม่ทราบพระนาม
ถัดไปสกุนคา (?)
สวรรคตป. ทศวรรษ 520 ปีก่อน ค.ศ.
คู่อภิเษกพระราชสวามีไม่ทราบพระนาม
พระราชบุตรสปาร์กาปิแซส
ศาสนาศาสนาซิเทีย
โตมือริสกับพระเศียรของไซรัส, Frankenthal porcelain, ป. ค.ศ. 1773

โตมือริส (กรีกโบราณ: Τομυρις; ซากา: *Taumuriyaʰ; ละติน: Tomyris)[1][2] บางครั้งเรียกว่า ธอมีริส, ตอมริส หรือ ตอมิริเด รู้จักกันเฉพาะจากเฮโรโดตุส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก โดยเขารายงานว่า พระนางครองราชย์เหนือกลุ่ม Massagetae ชาวซากาแห่งอิหร่านในเอเชียกลาง[3] โตมือริสนำกองทัพป้องกันการโจมตีของพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด แล้วเอาชนะกับปลงพระชนม์พระองค์เมื่อ 530 ปีก่อน ค.ศ. พระนางให้นำพระเศียรของพระองค์ที่ถูกตัดขาดใส่ไว้ในถุงหรือชามที่เต็มไปด้วยเลือด พร้อมพูดกับเศียรนั้นว่า "นี่ไง เสวยเลือดให้อิ่มหนำสำราญเสีย!"

พระนางไม่ได้รับการกล่าวถึงในแหล่งข้อมูลสมัยต้นไม่กี่แห่งที่ครอบคลุมช่วงเวลาดังกล่าว แม้แต่ Ctesias ก็ไม่ได้กล่าว

โตมือริสกลายเป็นหัวข้อที่ได้รับความนิยมพอสมควรในงานศิลปะและวรรณกรรมยุโรปสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ในงานศิลปะ หัวข้อที่มักพบเห็นบ่อยคือภาพที่พระนางได้รับพระเศียรของไซรัส หรือภาพที่พระนางใส่พระเศียรลงในภาชนะที่เต็มไปด้วยเลือด สิ่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ Power of Women กลุ่มสตรีที่เอาชนะผู้ชายด้วยวิธีต่าง ๆ

พระนาม

[แก้]

พระนาม Tomyris เป็นรูปภาษาละตินจากพระนามภาษากรีกโบราณว่า Tomuris (Τομυρις) ซึ่งเป็นรูปแผลงเป็นกรีกจากพระนามภาษาซากาว่า *Taumuriyaʰ หมายถึง "ของครอบครัว" มีรากศัพท์จากคำร่วมเชื้อสายในภาษาอเวสตะว่า taoxman (𐬙𐬀𐬊𐬑𐬨𐬀𐬥) และศัพท์ภาษาเปอร์เซียเก่าว่า taumā (𐎫𐎢𐎶𐎠) หมายถึง "เมล็ด," "หน่อ" และ "เครือญาติ"[1][2]

พระประวัติ

[แก้]

ภูมิหลัง

[แก้]

โตมือริสเป็นมเหสีหม้ายในกษัตริย์แห่ง Massagetae ที่พระนางขึ้นครองราชย์เป็นราชินีของชนเผ่าหลังจากที่พระองค์สวรรคต[4]

สงครามกับเปอร์เซีย

[แก้]

เมื่อไซรัส ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิอะคีเมนิดของเปอร์เซีย ของอภิเษกสมรสกับพระนางโตมือริสเพื่อหวังจะครอบครองอาณาจักร แต่พระนางเข้าใจจุดมุ่งหมายของไซรัสและปฏิเสธคำขอของพระองค์ ไซรัสถึงตอบสนองต่อการปฏิเสธด้วยการรุกราน Massagetae ตามคำแนะนำของCroesusแห่งลิเดีย[3][5][4]

เมื่อไซรัสสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ Araxes เพื่อจะโจมตี Massagetae โตมือริสแนะนำให้พระองค์พอพระทัยกับการปกครองอาณาจักรของพระองค์เอง และปล่อยให้พระนางปกครองอาณาจักรของพระนางไป การโจมตีครั้งแรกของไซรัสถูกพวก Massagetae กำจัด หลังจากนั้น พระองค์ได้จัดงานเลี้ยงหรูหราพร้อมไวน์จำนวนมากในเต็นท์ค่ายของเขาเป็นที่ซุ่มโจมตีและถอนทัพออกไป[6][7][4]

การสิ้นพระชนม์ของสปาร์กาปิแซส

[แก้]

การสวรรคตของไซรัส

[แก้]
จานเงินแสดงโตมือริสกับพระศพของไซรัส, สเตาร์เฮด

ในรายงานของเฮโรโดตุส (ขัดแย้งกับข้อมูลอื่น ๆ หลายแห่ง) โตมือริสเป็นผู้นำทัพ Massagetae เข้าสู่สงคราม และระหว่างการสู้รบครั้งต่อไปเพื่อต้านทานกองทัพไซรัส โตมือริสก็เอาชนะชาวเปอร์เซียและทำลายกองทัพของพวกเขาไปเกือบหมด ไซรัสถูกปลงพระชนม์ในสงคราม และโตมือริสพบพระศพ ตัดพระเศียรและนำไปใส่ในถุงที่บรรจุเลือดพร้อมตรัสถึงไซรัสว่า "จงดื่มเลือดให้เต็มที่!"[3][6][5][8]

ภายหลัง

[แก้]

ส่วนรายงานการสวรรคตของไซรัสอีกแบบที่บันทึกโดย Ctesias ระบุว่า ไซรัสสวรรคตขณะสู้รบกับพวก Derbices ที่อาจดูเหมือนกับพวก Massagetae หรือเป็นเผ่าย่อยของ ในฉบับนี้ พระองค์บาดเจ็บอย่างหนักจากการสู้รบกับพวก Derbices และพันธมิตรอินเดีย จากนั้น พระเจ้า Amorges แห่ง Amyrgians ผู้เป็นพันธมิตรกับไซรัส เข้าแทรกแซงด้วยกองทัพของพระองค์และช่วยทหารเปอร์เซียเอาชนะ Derbices หลังจากนั้น ไซรัสยังคงทนอยู่เป็นเวลาสามวัน ในช่วงนั้นพระองค์จัดระเบียบอาณาจักรและแต่งตั้ง Spitaces โอรสใน Sisamas เป็นเซแทร็ปเหนือพวก Derbices ก่อนที่จะสวรรคต[9][10][1]

ข้อมูลเกี่ยวกับโตมือริสหลังทำสงครามกับไซรัสมีเพียงอีกเล็กน้อย เมื่อประมาณ 520 ปีก่อน ค.ศ. หรืออาจเป็นก่อนหน้านั้น เผ่าของพระนางอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์นามสกุนคาผู้ก่อกบฏต่อจักรวรรดิเปอร์เซีย จนกระทั่งพระเจ้าดาไรอัสที่ 1 แห่งอะคีเมนิด หนึ่งในผู้สืบทอดของไซรัส นำทัพไปปราบพวกซากาใน 520 ถึง 518 ปีก่อน ค.ศ. โดยพระองค์พิชิต Massagetae จบกุมสกุนคา และแทนที่พระองค์ด้วยผู้ปกครองที่จงรักภักดีต่ออะคีเมนิด[11][12]

สื่งสืบทอด

[แก้]
Mattia Preti, Tomyris Receiving the Head of Cyrus, 1670–72
ราชินีโตมือริสกับพระเศียรไซรัส โดย Mattia Preti

ประวัติของโตมือริสได้รับการผนวกเข้ากับธรรมเนียมศิลปะตะวันตก ศิลปินที่วาดภาพเหตุการณ์ในชีวิตของโตมือริสและการเอาชนะไซรัสกับกองทัพของพระองค์ได้แก่ รือเบินส์,[13] อัลเลกรีนี,[14] Luca Ferrari,[15] Mattia Preti, Gustave Moreau และ Severo Calzetta da Ravenna ประติมากร[16]

ประเทศคาซัคสถานรับโตมือริสเป็นวีรสตรีแห่งชาติและออกเหรียญเพื่อเป็นเกียรติแด่พระนาง[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Schmitt, Rüdiger (2003). "Die skythischen Personennamen bei Herodot" [Scythian Personal Names in Herodotus] (PDF). Annali dell'Università degli Studi di Napoli l'Orientale (ภาษาเยอรมัน). 63: 1–31.
  2. 2.0 2.1 Bukharin, Mikhail Dmitrievich (2011). "Колаксай и его братья (античная традиция о происхождении царской власти у скифов" [Kolaxais and his Brothers (Classical Tradition on the Origin of the Royal Power of the Scythians)]. Аристей: вестник классической филологии и античной истории (ภาษารัสเซีย). 3: 20–80. สืบค้นเมื่อ 2022-07-13.
  3. 3.0 3.1 3.2 Schmitt 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 Gera, Deborah Levine (2018). Warrior Women: The Anonymous Tractatus De Mulieribus. Leiden, Netherlands; New York City, United States: Brill. p. 187-199. ISBN 978-9-004-32988-1.
  5. 5.0 5.1 Rollinger 2003.
  6. 6.0 6.1 6.2 Mayor 2017.
  7. Mayor 2014.
  8. Faulkner, Robert (2000). "CYRUS iiia. Cyrus II as Portrayed by Xenophon and Herodotus". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ 8 August 2011.
  9. Francfort 1988, p. 171.
  10. Dandamayev 1994.
  11. Schmitt, Rüdiger (1994). "AMORGES". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ 2022-07-12.
  12. Shahbazi, A. Shapur (1994). "DARIUS iii. Darius I the Great". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ 8 August 2022.
  13. "Питер Пауэль Рубенс (Peter Paul Rubens). Queen Tomyris before the Head of Cyrus. Масло на холсте. The Museum of Fine Arts, Boston, MA, USA". staratel.com (Russian). 2006. สืบค้นเมื่อ 2010-05-14.
  14. "Francesco Allegrini, attrib. to Italian, 1587 – 1663, Tomyris and Cyrus, 17th century". Fine Arts Museums of San Francisco. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-14.
  15. "Queen Tomyris with the head of Cyrus the Great by Ferrari, Luca (1605–54)". Bridgeman Art Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2010-05-14.
  16. "The Frick Collection". collections.frick.org. 1998–2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ 2010-05-14.

ข้อมูล

[แก้]