โด่ไม่รู้ล้ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้มในประเทศอินเดีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: แอสเทอริด
อันดับ: อันดับทานตะวัน
วงศ์: วงศ์ทานตะวัน
สกุล: Elephantopus
L.
สปีชีส์: Elephantopus scaber
ชื่อทวินาม
Elephantopus scaber
L.
ชื่อพ้อง[1]
  • Elephantopus carolinensis G.Mey.
  • Elephantopus sordidus Salisb.
  • Scabiosa cochinchinensis Lour.
  • Elephantopus plurisetus (O.Hoffm.) Clonts, syn of subsp. plurisetus
  • Elephantopus sinuatus Zoll. & Moritzi, syn of var. sinuatus
  • Asterocephalus cochinchinensis Sprengel

โด่ไม่รู้ล้ม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Elephantopus scaber L.) ชื่ออื่น เช่น หนาดมีแคลน หนาดผา ตะชีโกวะ หนาดผา ขี้ไฟนกคุ่ม คิงไฟนกคุ่ม เคยโบ้ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปลาบ หญ้าไฟนกคุ่ม หญ้าสามสิบสองหาบ ลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อน ต้นแข็ง ตั้งตรง รากที่มีอายุมากจะมีลัษณะคล้ายเหง้า รากแขนงกลมยาว ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับที่โคนใกล้ผิวดิน ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ใบมีขนสีขาวตรงละเอียด ตรง ห่าง สาก ทอดขนานกับผิวใบทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบ ใบรูปหอกกลับหรือรูปไข่แกมใบหอกกลับ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ ผายกว้าง แล้วสอบแหลมทู่ ๆ ส่วนโคนใบสอบแคบจนถึงก้านใบ ขอบใบหยักมน หรือจักฟันเลื่อยห่าง ๆ เนื้อใบหนาสาก[2] ดอกช่อแบบช่อกระจุกแน่น ก้านช่อดอกยาว ดอกสีม่วงหรือขาว การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด [3]

สรรพคุณ[แก้]

สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม เพิ่มการเกิด libido เปลี่ยนแปลงค่า osmolality และจำนวนอสุจิของน้ำอสุจิ ลดเปอร์เซ็นต์อสุจิเคลื่อนไหว เพิ่มน้ำหนักอวัยวะเพศเสริมในหนู นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อไวรัส ต้านความเป็นพิษต่อตับ ลดไข้ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิตและยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก กระตุ้นมดลูก[2]

รากและใบต้มเป็นยารักษาโรคบิด ท้องร่วง ช่วยขับปัสสาวะ บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก กินแก้กามโรค ส่วนราก หากนำมาตำผสมกับพริกไทยจะแก้อาการปวดฟันได้ หรือนำมาต้มทานหลังคลอด แก้อาเจียนได้ [4]

ในทางสมุนไพรพื้นบ้านของไทย ใช้ทั้งต้น เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น ขับน้ำเหลืองเสีย แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้วัณโรค บำรุงหัวใจ ขับเหงื่อ ขับระดู ขับพยาธิตัวกลม แก้ปัสสาวะพิการ บำรุงความกำหนัด แก้กระษัย แก้กามโรค แก้บวมน้ำ แก้นิ่ว แก้ไข้หวัด เจ็บคอ แก้ตาแดง แก้ดีซ่าน แก้เลือดกำเดาออกง่าย แก้ฝี แก้แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แผลในกระเพาะอาหาร แก้แผลเปื่อยในปาก แก้เหน็บชา ราก ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด แก้ไอเรื้อรัง แก้ท้องเสีย แก้บิด ขับพยาธิ ขับระดู บีบมดลูก ต้มเอาน้ำอมแก้ปวดฟัน แก้ฝี แผลมีหนอง บวมอักเสบทั้งหลาย เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับไส้เดือน รักษาโรคบุรุษ ต้มดื่มแก้อาเจียน ใบ ใช้รักษาบาดแผล แก้โรคผิวหนัง แก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย รักษากามโรค เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง แก้ไอ รากและใบ ใช้ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง แก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร แก้บิด แก้กามโรคในสตรี ใช้สดหรือแห้งประมาณ 2 กำมือ ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง แก้กระเพาะอาหารเป็นแผล ต้มอาบหลังคลอด [2]

สารสำคัญ

     ทั้งต้น มี epifrledelinol, lupeol, stigmasterol, triacon-l-ol, dotriacontarvl-ol, potassiumchloride, lupeolacetate, deoxyelephantopin และ isodeoxyelephantopin

ตำรับยาสมุนไพรของไต้หวัน ชื่อ “Teng-khia-U” มีโด่ไม่รู้ล้มที่สกัดด้วยน้ำเป็นองค์ประกอบ ช่วยป้องกันตับจากการทำลายของสารเคมี และยังมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ[2]

ชนิดย่อย[แก้]

ชนิดย่อยของ E. scaber ได้แก่:[1]

  • Elephantopus scaber subsp. plurisetus (O.Hoffm.) Philipson
  • Elephantopus scaber subsp. scaber
  • Elephantopus scaber var. scaber
  • Elephantopus scaber var. sinuatus (Mor.) Miq.

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 The Plant List, Elephantopus scaber L.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 โด่ไม่รู้ล้ม-ฐานข้อมูลเครื่องยา
  3. "โด่ไม่รู้ล้ม". พรรณไม้งามที่วังตะไคร์. wangtakrai. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-15. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ピクノジェノール®について". nawua-herb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-24. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)